29 กรกฎาคม 2556 (แหล่งข่าวชี้ กสทช. หลายคนแสดงความไม่พอใจ นพ.ประวิทย์ ที่ได้มีการจัดประชุมครั้งนี้) นักกฏหมายชี้ กสทช.ไม่มีสิทธิต่ออายุสัมปทานเด็ดขาด (สิ่งเดียวที่ทำได้ กสทช. ต้องเตือนและดึงลูกค้าออกจากระบบแล้วให้ซิมดับ) แล้วกสทช.จะรอด++
ประเด็นหลัก
นางสาวจันทจิรา เอี่ยมมยุรา หัวหน้าโครงการประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า กสทช. ไม่มีอำนาจในการออกกฎหมายเพื่อมารองรับร่างประกาศฯ เพราะฐานอำนาจในการออกกฎหมายมีปัญหา กสทช. ไม่มีฐานอำนาจในการดำเนินการนี้ คณะกรรมการ กสทช. มีหน้าที่เพียงกำหนด แต่ไม่ใช่กำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ให้บริการ ให้บริการต่อหลังหมดสัญญาสัมปทาน โดยรวมเห็นว่ามาตรการที่ปรากฏไม่ชอบด้วยกฎหมาย มาตรการนี้กำหนดด้วยการมีมาตรการบางอย่างลิดรอนสิทธิให้กับบุคคลภายนอก ซึ่งในที่นี้ คือ กสท แต่ร่างนี้ บังคับให้ กสท ให้โครงข่าย, อุปกรณ์ และให้ลูกค้า หรือผู้ใช้สัมปทาน ใช้โครงข่ายเดิมต่อไป
ขณะเดียวกัน มีรายงานข่าวจาก กสทช.ว่า ขณะนี้มีกรรมการ กสทช. หลายคนแสดงความไม่พอใจ นพ.ประวิทย์ ที่ได้มีการจัดประชุมครั้งนี้ แถมยังทำหนังสือปฎิเสธที่จะเข้าร่วมงานดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าเป็นการจัดสัมมนาแบบส่วนตัว ซึ่ง กสทช.ไม่ได้มีมติให้จัดงานดังกล่าว
นายปิยบุตร กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ก่อนหมดอายุสัญญาสัมปทาน กสทช. ควรมีบทบาท เช่น แจ้งล่วงหน้า หรือบอกให้เตรียมโอนย้าย แต่ถ้าแจ้งแล้วไม่ทำ รู้แล้วแต่ไม่ทำ กสทช. ก็อาจจะรอดตัวได้หลังเกิดเหตุซิมดับ อย่างไรก็ตาม ในทางกฎหมายทุกคนรู้ว่าเมื่อซิมดับ จะหมดอายุสัมมปทาน โดยที่ทุกฝ่ายจะอ้างว่าไม่รู้ล่วงหน้าไม่ได้ พร้อมแนะนำให้ กสทช. เอาเวลาไปประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบล่วงหน้าดีกว่า เพราะปัญหา คือ กสทช. ไม่เคยแสดงให้เห็นต่อสาธารณะเลยว่า ย้ายได้หรือไม่ได้อย่างไร
______________________________________
จวกร่างคุ้มครองคลื่น1800ขัดกม. กสทช.รุมสวด'หมอลี่' ดีแทคฟุ้งยอดไตรเน็ตพุ่ง
นักกฎหมายรุมจวก กทค. ชี้ร่างประกาศฯ คุ้มครองผู้บริโภค 1800 ขัดกฎหมาย อลเวง กรรมการ กสทช. จวกหมอลี่ จัดงานไม่ปรึกษา ดีแทค ฟุ้ง ลูกค้าพอใจบริการใหม่ ตั้งเป้าลูกค้าไตรเน็ตสิ้นปี 10 ล้านราย
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ได้จัดการประชุมเฉพาะประเด็นเรื่อง ปัญหาทางกฎหมาย กรณีสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800 MHz และแนวทางแก้ไข ก่อนจะหมดอายุลงในวันที่ 15 ก.ย.2556 ระหว่าง บมจ. กสท โทรคมนาคม หรือ CAT กับ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) หลัง กสทช. เสนอร่างประกาศเรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน
นางสาวจันทจิรา เอี่ยมมยุรา หัวหน้าโครงการประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า กสทช. ไม่มีอำนาจในการออกกฎหมายเพื่อมารองรับร่างประกาศฯ เพราะฐานอำนาจในการออกกฎหมายมีปัญหา กสทช. ไม่มีฐานอำนาจในการดำเนินการนี้ คณะกรรมการ กสทช. มีหน้าที่เพียงกำหนด แต่ไม่ใช่กำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ให้บริการ ให้บริการต่อหลังหมดสัญญาสัมปทาน โดยรวมเห็นว่ามาตรการที่ปรากฏไม่ชอบด้วยกฎหมาย มาตรการนี้กำหนดด้วยการมีมาตรการบางอย่างลิดรอนสิทธิให้กับบุคคลภายนอก ซึ่งในที่นี้ คือ กสท แต่ร่างนี้ บังคับให้ กสท ให้โครงข่าย, อุปกรณ์ และให้ลูกค้า หรือผู้ใช้สัมปทาน ใช้โครงข่ายเดิมต่อไป
นายปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มธ. กล่าวว่า ร่างประกาศฉบับดังกล่าว กทค. อ้างว่า ถ้าไม่ออกร่างฯ นี้ขึ้นมา จะทำให้ซิมดับ ประชาชนเดือดร้อน ทั้งนี้ กทค. ต้องคำนึงด้วยว่า ร่างฯ ที่ออกมาต้องอยู่ภายใต้หลักกฎหมาย และต้องชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งร่างฯ ดังกล่าวที่ออกมาไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จะอ้างว่าคุ้มครองผู้บริโภค
ขณะเดียวกัน มีรายงานข่าวจาก กสทช.ว่า ขณะนี้มีกรรมการ กสทช. หลายคนแสดงความไม่พอใจ นพ.ประวิทย์ ที่ได้มีการจัดประชุมครั้งนี้ แถมยังทำหนังสือปฎิเสธที่จะเข้าร่วมงานดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าเป็นการจัดสัมมนาแบบส่วนตัว ซึ่ง กสทช.ไม่ได้มีมติให้จัดงานดังกล่าว
ด้าน นายปกรณ์ พรรณเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการตลาด บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค กล่าวว่า หลังจากที่ดีแทคไตรเน็ต เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา ผลปรากฏว่า ลูกค้าส่วนใหญ่พึงพอใจในการใช้บริการ ปัจจุบันมีลูกค้าลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ขอโอนย้ายแล้วกว่า 3.5 ล้านราย ซึ่งนับตั้งแต่วันที่เปิดให้บริการจนถึงวันนี้ สามารถโอนย้ายได้แล้วจำนวน 5 หมื่นราย หรือประมาณ 8 พันรายต่อวัน ตั้งเป้าโอนย้ายให้แล้วเสร็จภายในเดือน ต.ค. และตั้งเป้าว่าภายในสิ้นปีนี้จะมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการบนไตรเน็ต 10 ล้านราย
ทั้งนี้ ในปัจจุบันคลื่นความถี่ 2100 MHz ครอบคลุมแล้ว 54 จังหวัด และจะครอบคลุมทั่วประเทศภายในเดือน ต.ค.นี้.
http://www.thaipost.net/news/300713/77103
___________________________________________
ชี้ร่างประกาศ 1800 ขัดกฎหมายฟันธงออกไม่ได้
จวกเละ! เปิดเวที ประชุมเฉพาะประเด็นปัญหาทางกฎหมายกรณีสิ้นสุดคลื่น 1800 นักกฎหมายรุมจวก กทค. ชี้ร่างประกาศฯ คุ้มครองผู้บริโภคขัดกฎหมาย...
เมื่อวันที่ 29 ก.ค. โครงการประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ส่วนงาน นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค จัดการประชุมเฉพาะประเด็นเรื่อง ปัญหาทางกฎหมายกรณีสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) และแนวทางแก้ไข ก่อนจะหมดอายุลงในวันที่ 15 ก.ย. 2556 ระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT กับ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) หลัง กสทช. เสนอร่างประกาศเรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทานฯ
ฝ่ายหนึ่ง คือ กสทช. กำหนดให้ มีหน้าที่รวบรวมขึ้นมา ส่วนอีกฝ่ายที่โต้แย้งอยู่คือ กสท และ ทีโอที ในกรณีนี้ จากการศึกษา ข้อกฎหมายต่างๆ นักวิชาการ และผู้ที่เสนอความเห็นเห็นว่า ผู้ที่มีหน้าที่ในการถือครองคลื่น คือ กสทช.
นางสาวจันทจิรา เอี่ยมมยุรา หัวหน้าโครงการประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า กสทช.ไม่มีอำนาจในการออกกฎหมายเพื่อมารองรับร่างประกาศฯ เพราะฐานอำนาจในการออกกฎหมายมีปัญหา กสทช. ไม่มีฐานอำนาจในการดำเนินการนี้ คณะกรรมการ กสทช. มีหน้าที่เพียงกำหนด แต่ไม่ใช่กำหนดหลักเกณฑ์ ให้ผู้ให้บริการให้บริการต่อ หลังหมดสัญญาสัมปทาน โดยรวมเห็นว่ามาตรการที่ปรากฏไม่ชอบด้วยกฎหมาย มาตรการนี้กำหนดด้วยการมีมาตรการบางอย่างริดรอนสิทธิ์ให้กับบุคคลภายนอกซึ่งในนี้ คือ กสท แต่ร่างนี้ บังคับให้ กสท ให้โครงข่าย และอุปกรณ์ และให้ลูกค้า หรือผู้ใช้สัมปทานใช้โครงข่ายเดิมต่อไป ดังนั้น หลังจากหมดสัญญานี้ กสท
“แต่ร่างประกาศเป็นการบังคับให้คู่สัญญาสัมปทานต้องทำหน้าที่เดิมต่อไป บังคับให้ กสท จับมือผู้ประกอบการต่อไป แม้ว่าจะเป็นเวลา 1 ปี แต่ไม่ได้บอกว่า 1 ปีหลังจากนี้ จะทำอย่างไรต่อ และถ้าพิจารณาดีๆ จะเห็นว่าริดรอนสิทธิเสรีภาพของผู้บริโภคด้วย” หัวหน้าโครงการประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มธ.
นายปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มธ. กล่าวว่า ร่างประกาศฉบับดังกล่าว กทค. อ้างว่า ถ้าไม่ออกร่างฯนี้ ขึ้นมาจะทำให้ซิมดับ ประชาชนเดือดร้อน ทั้งนี้ กทค. ต้องคำนึงด้วยว่า ร่างฯที่ออกมาต้องอยู่ภายใต้หลักกฎหมาย และต้องชอบด้วยกฎหมายซึ่งร่างฯ ดังกล่าวที่ออกมาไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ว่าจะอ้างว่าคุ้มครองผู้บริโภค
“วันนี้ กสทช. ออกร่างฯ อะไรขึ้นมา กฎหมายไม่ได้อนุญาตให้ กสทช. ออกมาตราการใดใดก็ได้ โดยอ้างว่าคุ้มครองผู้บริโภคแต่ต้องชอบด้วยกฎหมาย ก่อนหน้านี้ คุณได้ทำอะไรแล้วหรือยัง หรือมีมาตรการอะไรบ้าง แต่มาตรการนี้ ก็ออกไม่ได้ เพราะไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นจึงเลือกไม่ได้ จึงต้องเลือกทางเลือกอื่นๆ” อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มธ. กล่าว
นายปิยบุตร กล่าวต่อว่า หากสมมติว่า กสทช. ไม่ทำอะไรเลย ปล่อยให้เกิดกรณีซิมดับกับผู้บริโภค แล้วก่อให้เกิดความเสียหาย กสทช. อาจถูกฟ้องคดีได้ ว่ามีหน้าที่กำกับดูแล แต่ไม่ปฏิบัติ หรือละเลยหน้าที่ แต่ถ้า กสทช. เลือกทำร่างประกาศฉบับนี้ ก็อาจถูกบุคคลที่เดือดร้อนเสียหาย ฟ้องคดีได้เหมือนกัน ซึ่งคนที่เดือดร้อนเสียหายจากร่างประกาศ คือ บรรดาผู้ให้บริการที่เป็นคู่แข่งที่มีส่วนได้เสีย หลังประกาศฉบับนี้ใช้แล้วเกิดความเสียหาย และผู้ฟ้องคดีเป็นกลุ่ม อาทิ สมาคมต่างๆ และมูลนิธิที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ซึ่งต้องพิจารณาว่าที่จดทะเบียนมีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกันอย่างไร
นอกจากนี้ ก่อนหมดอายุสัญญาสัมปทาน กสทช. ควรมีบทบาท เช่น แจ้งล่วงหน้า หรือบอกให้เตรียมโอนย้าย แต่ถ้าแจ้งแล้วไม่ทำ รู้แล้วแต่ไม่ทำ กสทช. ก็อาจจะรอดตัวได้หลังเกิดเหตุซิมดับ อย่างไรก็ตาม ในทางกฎหมายทุกคนรู้ว่าเมื่อซิมดับ จะหมดอายุสัมมปทาน โดยที่ทุกฝ่ายจะอ้างว่าไม่รู้ล่วงหน้าไม่ได้ พร้อมแนะนำให้ กสทช. เอาเวลาไปประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบล่วงหน้าดีกว่า เพราะปัญหา คือ กสทช. ไม่เคยแสดงให้เห็นต่อสาธารณะเลยว่า ย้ายได้หรือไม่ได้อย่างไร
นายปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ขอตั้งข้อสังเกตว่า ประกาศฉบับดังกล่าว ออกมาเพื่อคุ้มครอง กสทช. เพราะหากปล่อยให้ซิมดับ คนที่เดือดร้อนไม่ใช่ ผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการ นอกจากนี้ ยังไม่เห็นว่าร่างประกาศฯ มีจุดไหนจะมีส่วนที่คุ้มครองผู้บริโภค นอกจาก คำว่า ชื่อ ที่ระบุว่า คุ้มครองผู้บริโภค
นายกิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มธ. กล่าวว่า กสทช. รู้อย่างช้าสุดในเดือน ก.ย. 2555 ซึ่งอยู่ในการประชุมเรื่องการปรึกษาปัญหาว่าจะหาแนวทางอย่างไร ทั้งนี้ ในแง่กฎหมายบอกวิธีคืนคลื่นให้กสทช. ไปแล้วและกำหนดกฎหมายเรียบร้อยแล้ว โดยระบุว่าขยายไม่ได้ นอกจากใช้วิธีการประมูล ต่อมามีการตั้งคณะอนุกรรมการเตรียมพร้อมการประมูลคลื่น ซึ่งคณะอนุฯ ระบุว่าอาจมีเหตบางอย่างทำให้ทำไม่ได้ตามกำหนด ซึ่งเรื่องนี้มีการปรึกษากันภายในโดย กสทช. ท่านหนึ่ง ขอเชิญผู้ทรงคุณวุฒิท่านหนึ่งมาหารือกัน ว่าหากประมูลไม่ทันจะทำอย่างไรดี ซึ่งคณะกรรมการมีการประชุมกันเมื่อ เม.ย.2556 ที่ผ่านมา และลงความว่า เจตนารมย์ของคลื่นความถี่เปลี่ยนจากของรัฐมาเป็นสาธารณสมบัติ โดยกำหนดให้ กสทช. เป็นผู้ดำเนินการแต่ต้องดำเนินการตามกฎหมาย ดังนั้น เมื่อหมดสัญญาสัมปทานจะต้องคืนคลื่นโดยไม่มีการบ่ายเบี่ยงเป็นอย่างอื่นได้
“ผลจะทำให้ กสทช. ไม่มีอำนาจเป็นอย่างอื่นนอกจากคืนคลื่น และถ้าถามนักกฎหมายทุกคนก็จะได้คำตอบตรงกันทั้งหมด กสทช. ผิด อย่าไปดึงดัน ลากยาวให้มันผิดเข้าไปอีก เดี๋ยวจะติดบ่วงเข้าไปอีก” อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มธ. กล่าว
นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ อนุกรรมการ กสทช.ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายการถือครองคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ กล่าวว่า มองว่าในร่างประกาศดังกล่าวนั้น มีข้อดีบางประการ อาทิ ร่างประกาศฉบับนี้มีเนื้อหาที่ไปค้านอย่างชัดเจนเมื่สัญญาสัมปทานจบลงคือจะไม่ให้รัฐวิสาหกิจถือครองต่อ ทั้งนี้เพราะได้มองไปถึงอนาคตว่าจะนำไปใช้กับเอกชนรายอื่นๆ ด้วย เพื่อให้มีการเตรียมตัวล่วงหน้าในการเยียวยาและเตรียมประมูล ส่วนการเร่งประมูลให้เร็วขึ้นนั้น คงทำได้ยากแล้ว เพราะระยะเวลานั้นกฎหมายให้ความยืดหยุ่นแก่ กสทช.ในการพิจารณาตามกรอบความจริงและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตอนนั้น ขณะที่ปัญหาซึ่งถกเถียงกันอยู่ในการขยายระยะเวลา 1 ปีนั้น ว่าร่างดังกล่าวไม่มีกฎหมายมารองรับนั้น หากดูตามกฎหมายของ กสทช.มาตรา 27 ได้ระบุไว้ชัดเจนในเรื่องการกำกับดูแลการประกอบกิจการทั้งสิ้น.
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/360109
ไม่มีความคิดเห็น: