Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 กรกฎาคม 2556 (นักวิชาการเปิดอก)การต่ออายุ1800ทำชาติเสียหาย1.6 แสนล้านไร้4Gแถมเอือเอกชน!!กสทช.สามารถเร่งโอนย้ายเป็น1ล้านเบอร์ต่อวันแต่ไม่ทำ!! ชัดร่างเยียวยา ผิดกฏหมายรัฐธรรมนูญ


ประเด็นหลัก

 นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
     
       “จุดยืนของผมมีมาโดยตลอดว่าต้องการให้ กสทช.รีบเร่งดำเนินการจัดการประมูลคลื่น 1800 MHz โดยเร็วตั้งแต่ก่อนจะมาถึงวันนี้ ซึ่งใกล้จะสิ้นสุดอายุสัมปทานในวันที่ 15 กันยายน 2556 เช่นเดียวกับกรณีการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ที่จะสิ้นสุดสัญญาอีก 5 ปีข้างหน้า ก็จะเกิดปัญหาดังกล่าวเช่นกัน”
     
       ผศ.ดร.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา หัวหน้าโครงการประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเสริมว่า ร่างประกาศเยียวยาดังกล่าวเปรียบเสมือนการขยาย และการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ออกไปโดยไม่มีการเปิดประมูล ซึ่ง กสทช.ไม่มีฐานอำนาจในการดำเนินการออกประกาศฉบับดังกล่าว
     
       และร่างประกาศดังกล่าวเป็นการออกซึ่งไม่ถูกกฎหมาย ภายใต้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ที่กฎหมายบัญญัติให้ กสทช.กำหนดระยะเวลาคืนคลื่นความถี่ในแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ฯ ซึ่งเป็นเพียงเรื่องที่กฎหมายประสงค์ให้ กสทช. ประกาศระยะเวลาคืนคลื่นความถี่ให้ชัดเจนเท่านั้น มาตรา 84 วรรคท้าย พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ประกอบกับยุทธศาสตร์ในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ข้อ 8.2 แต่ไม่ได้หมายความว่ามาตราดังกล่าวจะสามารถนำมาอ้างเพื่อให้อำนาจแก่ กสทช.ขยายระยะเวลาใช้คลื่นหรือระยะเวลาประกอบกิจการของผู้รับสัมปทานออกไปได้
     

     
       “การฟ้องเพิกถอนประกาศเป็นการเพิกถอนด้วยความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตัวอย่างเช่น คณะนิติศาสตร์ ฟ้องคดีในนามสื่อสันติภาพ แต่ไม่รับฟ้องเพราะไม่ได้เป็นนิติบุคคล แต่เมื่อปี 2546 ศาลปกครองยอมรับให้คณะบุคคลฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้เปิดโอกาสให้คณะบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลฟ้องได้ ศาลปกครองเปิดโอกาสไม่ว่า กสทช.จะตัดสินใจใดๆ ก็อาจจะถูกฟ้องโดยเอกชนรายใดที่จดทะเบียน หรือคณะที่เกี่ยวกับเสรีและเป็นธรรม ทำให้ไม่ว่าจะเลือกทางใดก็มีโอกาสถูกฟ้องทั้งสิ้น ถ้าประเมินแล้วมีปัญหา และถูกฟ้องได้ทำไมไม่มองทางอื่นที่มาตรการอื่นๆ เช่น เหลือระยะเวลา 2 เดือนเศษ ควรประกาศแจ้งล่วงหน้าคนที่ใช้บริการภายในวันที่เท่านี้จะสิ้นอายุ ถ้าอ้างการคุ้มครองผู้บริโภคจะต้องออกมาตรการให้ถูกกฎหมาย ไม่ใช่ออกมาตรการที่ไม่ถูกกฎหมาย”
     

     
       ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ อ.ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า กฎหมายในแผนแม่บทบริหารจัดการคลื่นความถี่ พ.ศ. 2555 ระบุเอาไว้อย่างชัดว่า เมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทานแล้วคลื่นความถี่จะต้องนำมาให้รัฐจัดสรรใหม่ แต่ในตอนนี้ กสทช.กลับเดินหน้าออกร่างประกาศ กสทช.ซึ่งเป็นการขัดต่อกฎหมาย โดยระยะเวลาที่เหลือ กสทช.สามารถนำเงินไปดำเนินการเพื่อให้เกิดการประมูลได้ทันเวลาที่เหลืออยู่แต่กลับไม่ทำ โดยอ้างว่าระยะเวลาที่เหลืออยู่ไม่เพียงพอต่อการดำเนินการและยุ่งยากหากจัดการประมูลแบบรวดเร็ว
     
       “กสทช.ควรจะหยุดการกระทำที่ผิดกฎหมาย อย่าดึงดันต่อไป เดี๋ยวจะยิ่งติดเป็นบ่วงกรรมที่ตัวเองสร้างขึ้นเข้าไปใหญ่”
     
       ขณะที่ รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า กสทช.ไม่มีอำนาจในการออกประกาศ กสทช.ดังกล่าว และเสนอให้แก้ปัญหาโดยเร่งประชาสัมพันธ์และเพิ่มขีดความสามารถในการโอนย้ายผู้ใช้บริการไปยังผู้ให้บริการรายอื่นให้เต็มศักยภาพในระยะเวลา 2 เดือนเศษ ก่อนที่สัญญาสัมปทานคลื่น 1800 MHz ที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้จะสิ้นสุดลง โดยระหว่างระยะเวลาที่เหลืออยู่ 2 เดือนเศษ กสทช.ต้องกำหนดให้ผู้ประกอบการขยายศักยภาพในการรับโอนผู้ใช้บริการตามสัญญาสัมปทานให้มากที่สุด
     
   

 นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า การที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. จะขยายระยะเวลาให้เอกชนมีสิทธิ์ใช้คลื่น 1800 MHz ออกไปอีก 1 ปี จะสร้างความเสียหายให้กับประเทศและประชาชนเบื้องต้น 1.6 แสนล้านบาท จากการที่คลื่น 1800 ไม่สามารถเปิดประมูลได้ในปีนี้
    สำหรับตัวเลขดังกล่าวเป็นไปตามผลการวิจัยของสถาบันอนาคตประเทศไทย ที่เคยประเมินความเสียหายจากความล่าช้าในการประมูลใบอนุญาตให้บริการ (ไลเซนส์) 3G 2100 MHz รวมถึงตัวอย่างผลการศึกษาของประเทศอังกฤษที่ประมูลคลื่น 3G ล่าช้าเช่นเดียวกัน และทำให้ประเทศต้องเสียโอกาสทางธุรกิจประมาณ 1.4 แสนล้านบาท
    “กสทช.ไม่สามารถชดเชยโอกาสของประชาชน ซึ่งควรจะได้ใช้ 4G และมูลค่าทางเทคโนโลยีที่ไม่เกิดขึ้นจากการที่ไม่สามารถเปิดประมูลคลื่น 1800 ในปีนี้ได้ทัน ทั้งที่ กสทช. รู้ล่วงหน้าว่าคลื่น 1800 จะสิ้นสุดสัมปทาน เดือน ก.ย.อยู่แล้ว” นางเดือนเด่น กล่าว
    ทั้งนี้ หาก กสทช. ยังพยายามผลักดันให้ร่างประกาศ เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. .... มีผลบังคับใช้เป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องสูงมาก เพราะนักวิชาการด้านกฎหมายได้แสดงความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ร่างประกาศฉบับนี้ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะ กสทช. ไม่มีอำนาจที่จะให้เอกชนเข้ามามีสิทธิ์ในคลื่นที่หมดสัมปทานแล้ว


    ด้าน นายประเสริฐ อภิปุญญา กรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการ และการบริหารงานของ กสทช. (ซูเปอร์บอร์ด) กล่าวว่า สิ่งที่ซูเปอร์บอร์ดเข้าไปตรวจสอบได้ในขณะนี้ คือ แผนการบริหารจัดการเรื่องการโอนย้ายลูกค้าผ่านระบบคงสิทธิเลขหมาย (นัมเบอร์พอร์ทบิลิตี้) ที่จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยโอนย้ายลูกค้าที่หมดสัมปทานให้ทันเวลาที่กำหนดได้ โดยสามารถเพิ่มปริมาณได้สูงสุดมากกว่า 1 ล้านเลขหมายต่อวัน แต่ที่ผ่านมา กสทช.ยังไม่ได้ทำอย่างเต็มที่ ทำให้การโอนย้ายเป็นปัญหา








______________________________________





นักวิชาการจวก กทค.เละ เตือนระวังบ่วงกรรม 1800 MHz รัดคอ



       นักวิชาการสับแหลกร่างประกาศเยียวยา 1800 MHz ของ กสทช. ระบุชัดขัดกฎหมายเอื้อประโยชน์เอกชน-ค่ายมือถือ พร้อมแนะผู้เสียหายสามารถฟ้องร้องได้
     
     
       นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวสรุปถึงการเปิดประชุมเฉพาะประเด็นเรื่องปัญหาทางกฎหมายกรณีการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800 MHz และแนวทางแก้ไขปัญหา ซึ่งจัดโดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยระบุว่าร่างประกาศ กสทช.เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ...(ร่างเยียวยา 1800 MHz) นั้นได้เสนอให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ส่งให้ทีมงานด้านกฎหมายของสำนักงาน กสทช.ตีความข้อกฎหมายก่อนว่าสามารถดำเนินการได้ แต่ปรากฏว่าไม่มีการดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งๆ ที่มีนักกฎหมายหลายรายระบุว่าร่างเยียวยา 1800 MHz ขัดกับกฎหมาย
     
       “จุดยืนของผมมีมาโดยตลอดว่าต้องการให้ กสทช.รีบเร่งดำเนินการจัดการประมูลคลื่น 1800 MHz โดยเร็วตั้งแต่ก่อนจะมาถึงวันนี้ ซึ่งใกล้จะสิ้นสุดอายุสัมปทานในวันที่ 15 กันยายน 2556 เช่นเดียวกับกรณีการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ที่จะสิ้นสุดสัญญาอีก 5 ปีข้างหน้า ก็จะเกิดปัญหาดังกล่าวเช่นกัน”
     
       ผศ.ดร.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา หัวหน้าโครงการประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเสริมว่า ร่างประกาศเยียวยาดังกล่าวเปรียบเสมือนการขยาย และการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ออกไปโดยไม่มีการเปิดประมูล ซึ่ง กสทช.ไม่มีฐานอำนาจในการดำเนินการออกประกาศฉบับดังกล่าว
     
       และร่างประกาศดังกล่าวเป็นการออกซึ่งไม่ถูกกฎหมาย ภายใต้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ที่กฎหมายบัญญัติให้ กสทช.กำหนดระยะเวลาคืนคลื่นความถี่ในแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ฯ ซึ่งเป็นเพียงเรื่องที่กฎหมายประสงค์ให้ กสทช. ประกาศระยะเวลาคืนคลื่นความถี่ให้ชัดเจนเท่านั้น มาตรา 84 วรรคท้าย พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ประกอบกับยุทธศาสตร์ในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ข้อ 8.2 แต่ไม่ได้หมายความว่ามาตราดังกล่าวจะสามารถนำมาอ้างเพื่อให้อำนาจแก่ กสทช.ขยายระยะเวลาใช้คลื่นหรือระยะเวลาประกอบกิจการของผู้รับสัมปทานออกไปได้
     
       อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า กสทช.ไม่มีอำนาจในการออกประกาศฯ ซึ่งกฎหมายไม่ได้กำหนดให้ กสทช.ออกมาตราการใดๆ ที่คุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นการออกโดยขัดต่อกฎหมาย ซึ่ง กสทช.ทราบดีว่าสัญญาสัมปทานของบริษัท กสท โทรคมนาคม ผู้ให้สัญญาแก่ บริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน หรือดีพีซี ในเครือเอไอเอส ที่จะสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 15 กันยายน 2556 นี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ กสทช.ได้เคยดำเนินการใดบ้างหรือไม่
     
       ขณะเดียวกัน กสทช.มีทางเลือกทางใดบ้าง ที่จะเป็นทางเลือกในการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งทุกทางเลือกจะต้องเป็นทางเลือกที่ถูกกฎหมาย ซึ่งการออกมาตรการดังกล่าวเป็นการออกกฎบังคับทางปกครองที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่หาก กสทช.ปล่อยให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 1800 MHz เกิดภาวะซิมดับโดยไม่ดำเนินการใดๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะถูกบุคคลที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายฟ้องดำเนินคดีภายใต้ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 42 ที่ระบุว่า ผู้ใดที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อน หรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องมาจากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งผู้ฟ้องร้องจะฟ้องร้องว่าร่างประกาศฯ ดังกล่าวผิดกฎหมาย สามารถฟ้องเพิกถอนประกาศ
     
       “การฟ้องเพิกถอนประกาศเป็นการเพิกถอนด้วยความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตัวอย่างเช่น คณะนิติศาสตร์ ฟ้องคดีในนามสื่อสันติภาพ แต่ไม่รับฟ้องเพราะไม่ได้เป็นนิติบุคคล แต่เมื่อปี 2546 ศาลปกครองยอมรับให้คณะบุคคลฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้เปิดโอกาสให้คณะบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลฟ้องได้ ศาลปกครองเปิดโอกาสไม่ว่า กสทช.จะตัดสินใจใดๆ ก็อาจจะถูกฟ้องโดยเอกชนรายใดที่จดทะเบียน หรือคณะที่เกี่ยวกับเสรีและเป็นธรรม ทำให้ไม่ว่าจะเลือกทางใดก็มีโอกาสถูกฟ้องทั้งสิ้น ถ้าประเมินแล้วมีปัญหา และถูกฟ้องได้ทำไมไม่มองทางอื่นที่มาตรการอื่นๆ เช่น เหลือระยะเวลา 2 เดือนเศษ ควรประกาศแจ้งล่วงหน้าคนที่ใช้บริการภายในวันที่เท่านี้จะสิ้นอายุ ถ้าอ้างการคุ้มครองผู้บริโภคจะต้องออกมาตรการให้ถูกกฎหมาย ไม่ใช่ออกมาตรการที่ไม่ถูกกฎหมาย”
     
       อ.ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวต่อว่า ร่างประกาศ กสทช.เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ...ที่กสทช.กำลังเดินหน้าออกประกาศอยู่นั้น เนื้อหาในร่างประกาศกลับไม่ได้ให้สิทธิผู้บริโภคดีขึ้นจากเดิมเลย ทั้งๆ ที่ร่างประกาศดังกล่าวเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค อีกทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นจากปัญหาทางเทคนิคแต่อย่างใด
     
       ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ อ.ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า กฎหมายในแผนแม่บทบริหารจัดการคลื่นความถี่ พ.ศ. 2555 ระบุเอาไว้อย่างชัดว่า เมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทานแล้วคลื่นความถี่จะต้องนำมาให้รัฐจัดสรรใหม่ แต่ในตอนนี้ กสทช.กลับเดินหน้าออกร่างประกาศ กสทช.ซึ่งเป็นการขัดต่อกฎหมาย โดยระยะเวลาที่เหลือ กสทช.สามารถนำเงินไปดำเนินการเพื่อให้เกิดการประมูลได้ทันเวลาที่เหลืออยู่แต่กลับไม่ทำ โดยอ้างว่าระยะเวลาที่เหลืออยู่ไม่เพียงพอต่อการดำเนินการและยุ่งยากหากจัดการประมูลแบบรวดเร็ว
     
       “กสทช.ควรจะหยุดการกระทำที่ผิดกฎหมาย อย่าดึงดันต่อไป เดี๋ยวจะยิ่งติดเป็นบ่วงกรรมที่ตัวเองสร้างขึ้นเข้าไปใหญ่”
     
       ขณะที่ รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า กสทช.ไม่มีอำนาจในการออกประกาศ กสทช.ดังกล่าว และเสนอให้แก้ปัญหาโดยเร่งประชาสัมพันธ์และเพิ่มขีดความสามารถในการโอนย้ายผู้ใช้บริการไปยังผู้ให้บริการรายอื่นให้เต็มศักยภาพในระยะเวลา 2 เดือนเศษ ก่อนที่สัญญาสัมปทานคลื่น 1800 MHz ที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้จะสิ้นสุดลง โดยระหว่างระยะเวลาที่เหลืออยู่ 2 เดือนเศษ กสทช.ต้องกำหนดให้ผู้ประกอบการขยายศักยภาพในการรับโอนผู้ใช้บริการตามสัญญาสัมปทานให้มากที่สุด
     
       ขณะเดียวกัน แม้ว่าประกาศดังกล่าวในด้านหนึ่งจะมองได้ว่า กสทช.ต้องการคุ้มครองผู้บริโภค แต่ในอีกด้านหนึ่งสามารถมองได้ว่า กสทช.ย่อมเล็งเห็นแล้วว่าหากบุคคลใดคัดค้านวิธีการแก้ปัญหาตามร่างประกาศนี้ บุคคลดังกล่าวอาจถูกกล่าวหาว่าไม่แยแสไยดีความเดือดร้อนของผู้ใช้บริการ อันจะมีผลเป็นการ “ปิดปาก” ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่มีปัญหาความชอบด้วยกฎหมายโดยปริยาย แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ประเด็นหนึ่งที่ กสทช.ยากที่จะอธิบายคือ การแก้ปัญหาตามวิธีการที่ กสทช.เสนอตามร่างประกาศนี้มีผลเอื้อประโยชน์แก่คู่สัญญาที่เป็นบริษัทเอกชนตามสัญญาสัมปทานอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
     
       “ที่น่าจับตาคือประเด็นการลดลงของค่าสัมปทานจากเดิมที่เก็บ 30% ของรายได้ ลดลงเหลือ 6% ของรายได้ ซึ่งจะทำให้ กสทช.มีความสุ่มเสี่ยงต่อการถูกฟ้องในคดีปกครองในการฟ้องเพิกถอนประกาศ และยังสุ่มเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องในคดีอาญา”

http://astvmanager.com/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000093324


_________________________________________________________________


จวกต่ออายุคลื่น1800MHZ TDRIชี้ทำชาติเสียหาย1.6แสนล.



 ทีดีอาร์ไอ ชี้ กสทช.ต่ออายุคลื่น 1800 MHz ทำประเทศชาติและประชาชน เสียผลประโยชน์ 1.6 แสนล้านบาท
    นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า การที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. จะขยายระยะเวลาให้เอกชนมีสิทธิ์ใช้คลื่น 1800 MHz ออกไปอีก 1 ปี จะสร้างความเสียหายให้กับประเทศและประชาชนเบื้องต้น 1.6 แสนล้านบาท จากการที่คลื่น 1800 ไม่สามารถเปิดประมูลได้ในปีนี้
    สำหรับตัวเลขดังกล่าวเป็นไปตามผลการวิจัยของสถาบันอนาคตประเทศไทย ที่เคยประเมินความเสียหายจากความล่าช้าในการประมูลใบอนุญาตให้บริการ (ไลเซนส์) 3G 2100 MHz รวมถึงตัวอย่างผลการศึกษาของประเทศอังกฤษที่ประมูลคลื่น 3G ล่าช้าเช่นเดียวกัน และทำให้ประเทศต้องเสียโอกาสทางธุรกิจประมาณ 1.4 แสนล้านบาท
    “กสทช.ไม่สามารถชดเชยโอกาสของประชาชน ซึ่งควรจะได้ใช้ 4G และมูลค่าทางเทคโนโลยีที่ไม่เกิดขึ้นจากการที่ไม่สามารถเปิดประมูลคลื่น 1800 ในปีนี้ได้ทัน ทั้งที่ กสทช. รู้ล่วงหน้าว่าคลื่น 1800 จะสิ้นสุดสัมปทาน เดือน ก.ย.อยู่แล้ว” นางเดือนเด่น กล่าว
    ทั้งนี้ หาก กสทช. ยังพยายามผลักดันให้ร่างประกาศ เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. .... มีผลบังคับใช้เป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องสูงมาก เพราะนักวิชาการด้านกฎหมายได้แสดงความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ร่างประกาศฉบับนี้ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะ กสทช. ไม่มีอำนาจที่จะให้เอกชนเข้ามามีสิทธิ์ในคลื่นที่หมดสัมปทานแล้ว
    อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นางเดือนเด่นเป็นหนึ่งในคณะอนุกรรมการ เรื่อง แนวทางการบริหารคลื่นความถี่ 1800 MHz หลังสิ้นสุดสัมปทานที่ กสทช. ตั้งขึ้น แต่ กสทช. ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของคณะอนุกรรมการชุดนี้ และได้ตั้งคณะทำงานชุดใหม่ขึ้นมาทดแทน คือ คณะทำงานการมีส่วนร่วมสร้างความเข้าใจแนวทางการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz ที่มีนายแก้วสรร อติโพธิ เป็นประธาน
    ด้าน นายประเสริฐ อภิปุญญา กรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการ และการบริหารงานของ กสทช. (ซูเปอร์บอร์ด) กล่าวว่า สิ่งที่ซูเปอร์บอร์ดเข้าไปตรวจสอบได้ในขณะนี้ คือ แผนการบริหารจัดการเรื่องการโอนย้ายลูกค้าผ่านระบบคงสิทธิเลขหมาย (นัมเบอร์พอร์ทบิลิตี้) ที่จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยโอนย้ายลูกค้าที่หมดสัมปทานให้ทันเวลาที่กำหนดได้ โดยสามารถเพิ่มปริมาณได้สูงสุดมากกว่า 1 ล้านเลขหมายต่อวัน แต่ที่ผ่านมา กสทช.ยังไม่ได้ทำอย่างเต็มที่ ทำให้การโอนย้ายเป็นปัญหา
    ก่อนหน้านี้ นางจันท์จิรา เอี่ยมมยุรา อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า กสทช. ไม่มีอำนาจในการออกกฎหมายเพื่อมารองรับร่างประกาศ เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งนี้ คลื่นความถี่ไม่อาจกลับไปเป็นของบริษัท กสท จำกัด (มหาชน) และ กสทช. ก็ไม่อาจใช้มาตรการที่เรียกว่า มาตรการคุ้มครองชั่วคราว อนุญาตให้บริษัท ทรูมูฟ และดีพีซี ได้สิทธิ์ใช้คลื่นความถี่นั้นต่อไปภายหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง โดยไม่ผ่านกระบวนการจัดสรรคลื่น เพราะจะเป็นการทำลายหลักการของรัฐธรรมนูญและกฎหมายการประกอบกิจการโทรคมนาคม และจะส่งผลให้เป็นการทำลายระบบใบอนุญาต.


http://www.thaipost.net/news/310713/77163


______________________________________________




_____ความเห็นนักวิชาการด้านกฎหมาย ต่อประเด็นการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน 1800MHz
By: mk FounderAndroidRed HatWindowsmk's blog on 29/07/13 21:34 Tags: Law NBTC Telecom Thailand
NBTC
จากกรณีปัญหาการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800MHz ในวันที่ 15 กันยายนนี้ (บทความชุด ตอนที่ 1, ตอนที่ 2, ตอนที่ 3) วันนี้โครงการประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับส่วนงาน กสทช. ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา สำนักงาน กสทช. จัดงานประชุมเรื่อง "ปัญหาทางกฎหมายกรณีการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800MHz และแนวทางการแก้ไขปัญหา" ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผมไปร่วมงานมาด้วย เลยจดประเด็นที่นักวิชาการด้านกฎหมายนำเสนอ + อัดเสียงพูดในงานสัมมนามาเผยแพร่ เพื่อเป็นประโยชน์ทางวิชาการต่อไปครับ

ผศ.ดร. จันทจิรา เอี่ยมมยุรา หัวหน้าโครงการประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ขอนำเสนอประเด็นสรุป 3 ประเด็น ส่วนประเด็นสุดท้ายคือแนวทางการแก้ปัญหา ขอให้วิทยากรท่านอื่นๆ ร่วมเสนอความเห็น
1) ใครมีอำนาจถือครองคลื่น 1800MHz หลังสิ้นสัญญาสัมปทาน
เรื่องนี้มีผู้เกี่ยวข้อง 2 ฝ่าย คือ กสทช. ที่อาศัยหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ กับฝ่ายของรัฐวิสาหกิจผู้ให้สัมปทานคือ CAT/TOT ซึ่งในกรณีนี้นักวิชาการส่วนใหญ่มองว่า กสทช. เป็นผู้ถือครองคลื่นตามกฎหมายระบบใหม่ ส่วนรัฐวิสาหกิจเปลี่ยนสภาพตัวเอง จากการเล่น 2 บทบาท (ผู้กำกับดูแล/ผู้ประกอบการ) มาเหลือบทบาทเดียวคือ ผู้ประกอบกิจการ สถานะเท่ากับเอกชนรายอื่น
เมื่อสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง ตามระบบกฎหมายใหม่ คลื่นจะกลับไปที่ กสทช.
2) กสทช. มีอำนาจกำหนดการคุ้มครองชั่วคราวให้ยืดระยะเวลาการให้บริการอีก 1 ปีตามร่างประกาศฯ ของ กสทช. หรือไม่
จากการศึกษาร่างประกาศฯ นี้ พบว่ามาตรการในประกาศมีผลเหมือนการ "ขยายสัญญาสัมปทาน" โดยไม่มีการประมูล
คำถามคือฐานอำนาจทางกฎหมายของ กสทช. คืออะไร จากการศึกษารัฐธรรมนูญปี 50 และ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ไม่พบฐานอำนาจตามที่ กสทช. กล่าวอ้าง
มาตรา 27 (13) ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ที่ให้ กสทช. คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ จากถ้อยคำในกฎหมายเป็นการกำหนดหน้าที่โดยทั่วไป แต่ไม่ได้มอบอำนาจให้ กสทช. ในการออกกฎใช้บังคับเลย
มาตรา 83-84 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ มุ่งกำหนดให้ กสทช. กำหนดระยะเวลาคืนคลื่นใหัชัดเจน ใช้กับคลื่นที่ไม่มีกำหนดชัดเจนก่อนกฎหมายประกาศใช้ แต่คลื่น 1800MHz มีระยะเวลาชัดเจน ดังนั้นจึงไม่สามารถนำ 83-84 มาใช้ได้ ดังนั้นถ้าคลื่นมีอายุชัดเจน กสทช. จะยืดหรือขยายระยะการถือครองคลื่นไม่ได้
มาตรา 20 พ.ร.บ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม กำหนดว่าห้ามการหยุดให้บริการ ดังนั้น กสทช. สามารถกำหนดเรื่องการ "พัก" การให้บริการได้ แต่กฎหมายไม่ได้บอกให้ กสทช. "ยืด" ระยะการให้บริการ
3) มาตรการที่กำหนดในร่างประกาศ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ถ้าพิจารณาประเด็นที่สองแล้วว่าไม่มีอำนาจ ความจริงไม่ต้องพิจารณาประเด็นที่สามเลย แต่ก็ขอแสดงความคิดเห็นประกอบในเชิงวิชาการด้วย
โดยรวมเห็นว่ามาตรการในร่างประกาศฉบับนี้ "ไม่ชอบ" ด้วยกฎหมาย เพราะ
มาตรการในประกาศ ไปริดรอนสิทธิของบุคคลภายนอกคือผู้ให้สัมปทาน (CAT) เพราะตามหลักแล้วเมื่อสัญญาสัมปทานหมดลง ผู้ประกอบการ (CAT) มีเสรีภาพในการประกอบกิจการตามใจตน จะจับมือกับพันธมิตรรายใดก็ได้ แต่ กสทช. ไปกำหนดว่า CAT ต้องให้ TRUE/DPC ใช้โครงข่าย และใช้ฐานข้อมูลลูกค้าของ TRUE/DPC
ผู้บริโภคก็ถูกลิดลอนสิทธิ เพราะถูกบังคับให้ไปอยู่กับผู้ประกอบการรายใด และต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการย้ายค่ายเองถ้าต้องการย้าย
ร่างฉบับนี้ยังก่อให้เกิดความเท่าเทียม-ไม่เสมอภาคในหมู่ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม โดยเฉพาะเรื่องค่าธรรมเนียมที่กำหนดให้ผู้ใช้คลื่น 1800MHz ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเท่ากับผู้ใช้คลื่น 2100MHz แต่อย่าลืมว่า 1800MHz ไม่ต้องประมูล ส่วน 2100MHz ต้องประมูลมา ก็เกิดความไม่เท่าเทียมกัน และคำถามว่า กสทช. ใช้อำนาจอะไรกำหนดค่าใช้จ่ายในการใช้คลื่นให้เท่ากัน

ดร. ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กสทช. เป็นหน่วยงานทางปกครอง การกระทำใดๆ ของ กสทช. จะต้องชอบด้วยกฎหมาย ตามหลักคือ
กฎหมายต้องให้อำนาจเสียก่อน
กระทำแล้วต้องไม่ขัดตามกฎหมาย
ร่างประกาศนี้พิจารณาดูแล้ว ไม่มีฐานอำนาจให้เลย แถมเนื้อหาเองก็ขัดกับกฎหมายของ กสทช. เองด้วย นั่นคืออนุญาตให้ 2 บริษัทนี้ใช้คลื่น 1800MHz ได้ต่อไป
กสทช. มักอ้างเรื่องซิมดับ เลยต้องออกมาตรการคุ้มครอง แต่ตัวมาตรการของ กสทช. เองก็ต้องชอบด้วยกฎหมายด้วย ไม่ใช่อ้างว่าคุ้มครองผู้บริโภคแล้วจะทำอะไรก็ได้
ถ้า กสทช. ออกประกาศฉบับนี้ ใครสามารถฟ้องได้บ้าง?
ตามมาตรา 42 ตามกฎหมายจัดตั้งศาลปกครอง กำหนดให้ประกาศฉบับนี้อยู่ภายใต้อำนาจของศาลปกครอง ศาลสามารถเพิกถอนได้
ผู้ให้บริการคู่แข่งที่เห็นว่า ประกาศฉบับนี้ออกแล้ว ตัวเองเสียหาย สามารถยื่นฟ้องได้
ศาลปกครองไทยอนุญาตให้กลุ่มบุคคลฟ้องได้ มูลนิธิหรือสมาคม นิติบุคคลต่างๆ ฟ้องได้ ต้องดูว่าวัตถุประสงค์เกี่ยวข้องกับประกาศฉบับนี้หรือไม่ เช่น สมาคมมีวัตถุประสงค์ด้านการแข่งขันโดยเสรีในตลาดโทรคมนาคม ก็สามารถยื่นฟ้องได้
กฎหมายศาลปกครองไทยได้อิทธิพลมาจากฝรั่งเศส ที่กำหนดให้บุคคลทั่วไปฟ้องทางปกครองได้ (เพิกถอนประกาศได้) แต่ในกฎหมายไทยใช้คำว่า "ผู้ใด" ยังต้องตีความกันว่าหมายถึงอะไรกันแน่

ดร. ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

เรื่องนี้มีผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด 5 ฝ่าย
รัฐ (กสทช)
ผู้ประกอบการ 2 ราย
ผู้บริโภค
ผู้ประกอบการที่รอใช้คลื่น
ผู้บริโภคที่รอใช้คลื่น
เราไม่ค่อยพูดถึงกลุ่มที่ 4-5 เท่าไรนัก แต่ต้องไม่ลืมว่าคลื่น 1800MHz เป็นคลื่นมีมูลค่า ในทางเทคนิคชัดเจนว่าเอาไปทำ LTE ได้ ดังนั้นการที่เก็บคลื่นไว้ก็ทำให้กลุ่มที่ 4-5 เสียประโยชน์ด้วยเหมือนกัน
แนวทางการแก้ปัญหาในปัจจุบันของ กสทช. เสนอเป็นสามขั้นคือ ถ่ายโอน > คืนคลื่น > ประมูลใหม่
ประเด็นที่เป็นปัญหาคือเราจะต้องถ่ายโอนลูกค้าทำไม เราจำเป็นต้องขนคนออกจากคลื่นนี้หรือเปล่า? เราอาจไม่ต้องขนคนออกก็ได้ แต่ต้องไปแก้เรื่องการคืนคลื่น
แนวทางที่ควรจะเป็นคือทำขนานกัน สองเรื่องอย่าเอามาปนกัน
จัดการเรื่องคืนคลื่น > แล้วจัดการประมูล
ระหว่างนั้นต้องดูแลสิทธิผู้ใช้บริการควบคู่ไปด้วย
ตัวเลขลูกค้า 17 ล้านรายไม่เคยถูกแยกแยะออกมาชัดเจนว่า ลูกค้าเหล่านี้มีสัญญาเหลือกันกี่ปี กี่เดือน ซึ่งอาจไม่เยอะเท่ากับ 17 ล้านก็ได้
เคสของสัมปทานไทยหายาก แต่เมืองนอกมีการเปลี่ยนโครงข่ายโดยการซื้อบริษัทกันเยอะ กรณีของ Sprint ซื้อ US Cellular ทำให้ผู้บริโภคต้องเปลี่ยนเครื่องเพราะซื้อคลื่นแล้วเปลี่ยนโครงข่าย ผู้ให้บริการให้เวลาลูกค้าเพียง 1 เดือนในการเปลี่ยนเครื่อง มีโปรโมชันเครื่องราคาถูกให้ แต่สุดท้ายภาระค่าใช้จ่ายเป็นเรื่องของผู้บริโภค
ในเชิงกฎหมายแล้ว การประเมินผลกระทบการกำกับดูแล (เชิงสิทธิหน้าที่) มีได้ 3 แบบ
เชิงกำหนดให้กระทำการ (persciptive)
เชิงอนุญาตให้กระทำการ (permissive)
เชิงห้ามไม่ให้กระทำการ (prohibitive)
ในร่างประกาศ กสทช. ฉบับนี้สร้างคำว่า "ระยะเวลาความคุ้มครอง" (ข้อ 3 ในประกาศ) ถือเป็นการอนุญาตให้กระทำ (perscriptive) ซึ่งการขยายระยะเวลาคืนคลื่นเป็นโจทย์ของรัฐ ไม่ใช่ของประชาชนที่ต้องสนใจ
แต่มาตรการที่เหลือในร่างประกาศอีก 7 ข้อ (ข้อ 4-10) เป็นแนว instructive บอกการดำเนินการอย่างกว้างๆ บอกว่าจะทำอะไรบ้าง แต่ไม่ยอมบอกรายละเอียดว่ามีเงื่อนไขอย่างไร เนื้อหาส่วนนี้ไม่มีคุณค่าจะออกเป็นประกาศด้วยซ้ำ เพราะ กสทช. กลับมอบหมายหน้าที่ให้ผู้ประกอบการเป็นคนคิดว่าจะคุ้มครองผู้บริโภคอย่างไร ต้องถามว่ามันคุ้มครองผู้บริโภคตรงไหน
สรุปว่าประกาศ 8 ข้อ มีเรื่องคืนคลื่น 1 ข้อ (ซึ่งเป็นเรื่องของรัฐ) แต่เรื่องสิทธิผู้ใช้บริการ กลับไม่มีความชัดเจนใดๆ เลย
ข้อเสนอ
คลื่นคืนเลย
ระหว่างนี้ กสทช. ต้องสรรหาผู้ให้บริการชั่วคราว ซึ่งก็ต้องหากระบวนการทางกฎหมายที่สังคมยอมรับ
รีบประมูลทันที
ปกติแล้ว ผู้ให้บริการรายใหม่ต้องรับเงื่อนไขการให้บริการเดิม (เช่น ต้องมีบริการ 2G/SMS) ให้กับลูกค้าที่รับไปแล้วด้วย แต่แทบไม่มีคนพูดถึงกันเลย
หลักเกณฑ์การคุ้มครองผู้ใช้งานโดยทั่วไป
ต้องบริการต่อเนื่อง ไม่มีการหยุด
เงื่อนไขการให้บริการ-อัตราค่าบริการ เทียบเท่าหรือดีกว่าของเดิม
ให้ลูกค้าย้ายเครือข่ายตามความสมัครใจ
สรุปว่าร่างประกาศฯ ฉบับนี้ไม่เพิ่มสิทธิผู้บริโภคเลย แค่มีชื่อว่าคุ้มครองผู้บริโภค แต่ดันไปขยายระยะเวลาการคืนคลื่นให้เอกชน

ผศ.ดร. กิตติศักดิ์ ปรกติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ต่อให้ กสทช. รู้เรื่องการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน อย่างช้าที่สุดก็คือเดือนกันยายน 55 โดยนับจากคณะอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย กสทช. ส่งรายงานเข้า กสทช.
ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายหลายคนมาประชุมกันช่วงเดือนเมษายน 56 เห็นตรงกันว่าเจตนารมณ์ของกฎหมาย ต้องคืนคลื่นตามแผนแม่บท ไม่มีทางบ่ายเบี่ยงเป็นอย่างอื่นไปได้
กรณีนี้เราจะเห็นว่า อนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของ กสทช. เอง, ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายภายนอก รวมถึงนักกฎหมายทั่วไป เห็นตรงกันหมดว่าขยายระยะเวลาไม่ได้
ลองเทียบเคียงกับกรณีใกล้ๆ กันคือการคืนพัสดุของราชการ ตัวอย่างเช่น รถยนต์หลวง มีไว้เพื่อประโยชน์แผ่นดิน ผู้มีตำแหน่งใช้งานเพื่อแผ่นดิน เป็นสาธารณะสมบัติ แต่ถ้าเก่าเก็บหรือแพงเกินไป สามารถแทงจำหน่ายได้ ความหมายคือบริจาคให้วัดหรือมูลนิธิได้ แต่มอบให้เอกชนไม่ได้ ต้องประมูลเท่านั้น
เคยมีคนไปขอมติ ครม. ว่าไม่ต้องทำตามระเบียบราชพัสดุได้ไหม ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาบอกว่าทำไม่ได้ เว้นแต่ ครม. จะไปสั่งแก้ระเบียบราชพัสดุเอาไว้ก่อน ถ้าฝ่าฝืนระเบียบนี้ก็ถือว่า ครม. ฝ่าฝืนกฎหมาย จะโดนข้อหาใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ครม. จะต้องรับผิดตามกฎหมายอาญา
ตามหลักแล้ว การโอนทรัพย์สมบัติแผ่นดินไปให้ใครก็ตามจำเป็นต้องใช้อำนาจที่ระบุไว้ในกฎหมายเฉพาะ ซึ่งในที่นี่คือ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่น ที่เขียนไว้ชัดเจนว่าให้โอนคลื่นด้วยการประมูล
ในกรณีว่า กสทช. พยายามหาทางออกอื่นในเชิงกฎหมาย เช่น อ้างว่าเป็นเหตุจำเป็น กสทช. ก็ต้องแสดงให้เห็นว่าเป็นเหตุจำเป็นหรือเหตุสุดวิสัย แต่ตัวของ กสทช. ก็เคยพูดในสื่อ บอกว่ารู้ปัญหานี้อยู่ก่อนแล้ว บังเอิญเดินหน้าช้าเพราะปัญหาเรื่องการเดินเอกสาร แบบนี้อ้าง "เหตุจำเป็น" ไม่ได้
คำว่า "เหตุจำเป็น" ในทางกฎหมาย จำเป็นต้องเป็นเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดหมาย และตัวเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วย ซึ่งกรณีนี้ กสทช. คาดเดาได้อยู่ก่อน และมีส่วนเกี่ยวข้องตรงให้มันช้า ก็ยิ่งไม่มีทางอ้างได้ในทางกฎหมาย
ทางออกมีสองทาง
จัดประมูล ซึ่งตอนนี้ก็คงไม่ทัน
แก้แผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ ที่กำหนดการคืนคลื่นเอาไว้ให้ยืดระยะเวลาออกไป
แน่นอนว่าการแก้แผนแม่บทฯ จำเป็นต้องรับฟังความคิดเห็น ต้องอ้างประโยชน์สาธารณะ และจะโดนโจมตีแน่นอนว่ายืดระยะเวลาเพื่อให้ประโยชน์กับเอกชนหรือเปล่า แต่ก็ถูกโจมตีน้อยกว่าการออกประกาศเพื่อยืดระยะเวลาคืนคลื่นแน่
อีกหนทางที่เป็นไปได้ถ้าจวนตัวจริงๆ กสทช. อาจใช้วิธีขอให้รัฐบาลออกเป็นพระราชกำหนดได้ ซึ่งก็คงถูกด่าบ้าง แต่อย่างน้อยก็มีฐานอำนาจทางกฎหมายไปใช้บังคับได้

http://www.blognone.com/node/46921

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.