3 กรกฎาคม 2556 (NGOรอกระหน่ำ)แก้วสรรคณะทำงานฯ คลื่น 1800++เตรียมประชาพิจารณ์ด้วยวาจา25 กรกฎาคม(มี2ทางเลือก ให้เอกชนเช่าใช้โครงข่ายCATหรือให้โอนลูกค้าให้CATแล้วให้เอกชนให้บริการ)
ประเด็นหลัก
นายแก้วสรร กล่าวด้วยว่า สำหรับโครงสร้างการให้บริการในระหว่างมาตรการการคุ้มครองนั้น ให้เอกชนกับรัฐวิสาหกิจมีหน้าที่ร่วมกัน และไปปรึกษาเจรจาตกลงกันว่าจะใช้โครงสร้างใดในการให้บริการ เช่น ให้เอกชนเช่าใช้โครงข่าย หรือจะเป็นอีกทางหนึ่งคือให้โอนลูกค้ามาให้รัฐวิสาหกิจเข้าเป็นคู่สัญญาแทน ส่วนเอกชนก็เป็นผู้รับเหมารับงานบริการและการตลาดไปทำอีกส่วนหนึ่ง โดย กสทช.จะไม่เข้าไปกำหนดว่าจะต้องเป็นรูปแบบใด ซึ่งจะต้องสรุปรูปแบบการให้บริการหลังจากประชาพิจารณ์แล้ว 60 วัน
ทั้งนี้ คณะทำงานฯ ได้ประกาศลงในเว็บไซต์ กสทช. เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเสนอความคิดเห็น ตามเอกสารแบบฟอร์มการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะและส่งแบบฟอร์มสรุปความคิดเห็นมายัง กสทช. ภายในวันที่ 17 กรกฎาคมนี้ อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียต้องแจ้งความประสงค์ในแบบฟอร์มเพื่อขอเข้าร่วมนำเสนอความเห็นหรือให้ข้อมูลในประเด็นต่างๆ ด้วยวาจาต่อคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นในวันที่ 25 กรกฎาคม ในเวลา 09.00-15.00 น. ณ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดี กรุงเทพฯ เพื่อคณะทำงานฯ จะนำผลที่ได้รับจากการเปิดประชาพิจารณ์ไปปรับปรุงร่างฯ และนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เพื่อพิจารณาต่อไป.
**นักก.ม.ตั้งคำถามขัดเจตนารมณ์หรือไม่
นายวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง อาจารย์คณะประจำคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ ว่า กทค. ไม่มีฐานอำนาจทางกฎหมายในการขยายระยะเวลาการคืนคลื่นความถี่ออกไป เจตนารมณ์ในกฎหมายต้องการให้คลื่นความถี่ที่หมดอายุสัมปทานคืนกลับมาสู่มือสาธารณะในฐานะทรัพยากรสื่อสารของชาติ และให้อำนาจ กสทช. เป็นตัวแทนในการจัดสรรเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทานซึ่งขาดความโปร่งใสและสร้างสนามแข่งขันที่ไม่เท่าเทียม ไปสู่ระบบใบอนุญาตด้วยวิธีการประมูล ซึ่งมีความโปร่งใสและสร้างกฎกติกาการแข่งขันที่เท่าเทียมกว่า การขยายระยะเวลาโดย "จับผู้บริโภคเป็นตัวประกัน" ทั้งที่ กทค. มีเวลาเตรียมการเพียงพอให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่นโดยไม่ขัดกับข้อกฎหมาย ย่อมเป็นการสร้างมาตรฐานที่ไม่ดีให้กับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบใบอนุญาต ซึ่งถือเป็นภารกิจหลักของ กทค. ตามที่กฎหมายกำหนด
**ยื้อคลื่นเรื่องอาจถึงศาลฯ
กรณีเรื่องคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์นั้นมีการถกเถียงระหว่าง แคท และ กสทช. มาก่อนหน้านี้ ซึ่ง นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. กสท โทรคมนาคม ได้เสนอแผนการขอใช้คลื่นความถี่ตามมาตรา 82, 83 และ 84 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ในบทเฉพาะกาลที่บัญญัติเกี่ยวกับเหตุแห่งความจำเป็นและสิทธิในการบริหารต่อไป โดย บมจ. กสท ออกมายืนยันว่าในรายละเอียดของกฎหมายที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลเขียนไว้ชัดเจนเกี่ยวกับการให้บริหารต่อไปได้นั่นเอง
โดย กสท ระบุด้วยว่าการขออนุญาตใช้งานความถี่ต่อไปในครั้งนี้จะแบ่งเป็นความถี่จำนวน 12.5 เมกะเฮิรตซ์ ของ ทรูมูฟ จะขอบริหารจัดการต่อถึงปี 2568 ส่วนความถี่จำนวน 12.5 เมกะเฮิรตซ์ ของดีพีซี จะขอบริหารจัดการต่อถึงปี 2559 รวมถึงความถี่จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นฯ หรือ ดีแทค ที่ยังไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน และจะหมดอายุสัญญาสัมปทานในปี 2561 ซึ่ง กสท จะขอใช้งานต่อไปจนถึงปี 2568 เช่นเดียวกัน
ขณะที่นายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ อินทัช กล่าวว่า แม้ กสทช.เตรียมจะมีร่างประกาศเยียวยาคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ออกมาเพื่อให้ขยายเวลาการใช้งานต่อไปอีก 1 ปี ทำให้ผู้บริโภคไม่ต้องกลัวเรื่อง "ซิมดับ" แต่หลังจากนั้นก็ขึ้นอยู่กับกระบวนการของคณะกรรมการกลั่นกรองที่จะต้องพิจารณาจากข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องว่าจะได้ข้อสรุปอย่างไรในเรื่องสิทธิการถือครองหลังหมดสัญญาสัมปทาน โดยคาดว่าการดำเนินการทุกอย่างจะเสร็จก่อนหมดระยะเวลา 1 ปีที่ กสทช.ยืดออกไป
"ตอนนี้มีความคิดเห็นเรื่องการถือครองคลื่นความถี่ เพราะ บมจ. กสท ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงไอซีทีคิดว่าตัวเองมีอำนาจตามกฎหมายที่จะใช้ความถี่ต่อกับ กสทช.มีกฎหมายให้อำนาจจัดสรรความถี่ด้วยการประมูล เมื่อความเห็นไม่ตรงกันคงต้องมีการฟ้องศาลปกครอง ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นกระบวนการทุกอย่างต้องหยุดหมด รวมทั้งการประมูลความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ด้วย"
______________________________________
จ่อหาข้อสรุป 7 ปม ก่อนหาทางออก กรณีคลื่น 1800
คณะทำงานฯ คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ เตรียมเปิดรับฟังความเห็นสาธารณะ หาข้อสรุปใน 7 ประเด็น ยันไม่ได้เอื้อประโยชน์เพื่อยืดอายุสัมปทาน โยนเอกชนกับรัฐวิสาหกิจเคลียร์โครงสร้างการให้บริการกันเอง...
เมื่อวันที่ 4 ก.ค. นายแก้วสรร อติโพธิ ประธานคณะทำงานการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้าใจแนวทางการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เปิดเผยว่า คณะทำงานได้สรุปประเด็นที่จะขอรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในร่างประกาศ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรื่อง “มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตหรือสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ...” โดยจะรับฟังความคิดเห็นใน 7 ประเด็น ได้แก่ เรื่องอำนาจทางกฎหมาย เนื้อหาความคุ้มครอง ค่าธรรมเนียมการคงสิทธิเลขหมาย ผู้มีหน้าที่ให้ความคุ้มครอง ระยะเวลาคุ้มครอง การหยุดให้บริการ และค่าธรรมเนียม
ประธานคณะทำงานการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้าใจแนวทางการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ กล่าวว่า จากนี้คณะทำงานจะส่งคำอธิบายพร้อมประเด็นให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นหน่วยงานราชการ อาทิ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้อง และรัฐวิสาหกิจ รวมถึงเอกชนคู่สัญญาสัมปทานทั้งหมด สมาคมโทรคมนาคมต่างๆ องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค และประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วไป เพื่อศึกษาและให้ความคิดเห็นโดยสรุปส่งให้สำนักงาน กสทช.
นายแก้วสรร กล่าวต่อว่า คณะทำงานฯ ได้เตรียมแต่งตั้งคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นจำนวน 3 ท่าน ที่จะเป็นคณะกรรมการฯ ที่มีความเป็นกลาง โดยได้ทาบทามนายดิเรก เจริญผล ซึ่งปัจจุบันเป็นประธานคณะอนุกรรมการเลขหมายโทรคมนาคม กสทช. และคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ อีก 2 ท่าน
ประธานคณะทำงานการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้าใจแนวทางการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ กล่าวอีกว่า เนื่องจากสัญญาสัมปทานแรกจะสิ้นสุดอายุสัมปทานในวันที่ 15 กันยายนนี้ เป็นการสิ้นสุดสัญญาบริการคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ด้วยบทบาทของ กสทช. จึงต้องมีมาตรการกำกับดูแลเพื่อให้ผู้ใช้บริการไม่ได้รับผลกระทบจากการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน และมีเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการเร่งโอนย้ายผู้ใช้บริการให้เสร็จภายในช่วงเวลาคุ้มครอง ซึ่งต้องไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน โดยระหว่างนี้ผู้ประกอบการจะไม่สามารถรับผู้ใช้บริการรายใหม่เพิ่มเข้าสู่ระบบเดิมได้อีก ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวไม่ได้เป็นการต่ออายุสัมปทานและการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ตามมาตรา 45 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 แต่เป็นการกำกับดูแลเพื่อให้ผู้ใช้บริการไม่ได้รับผลกระทบจากการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน
นายแก้วสรร กล่าวด้วยว่า สำหรับโครงสร้างการให้บริการในระหว่างมาตรการการคุ้มครองนั้น ให้เอกชนกับรัฐวิสาหกิจมีหน้าที่ร่วมกัน และไปปรึกษาเจรจาตกลงกันว่าจะใช้โครงสร้างใดในการให้บริการ เช่น ให้เอกชนเช่าใช้โครงข่าย หรือจะเป็นอีกทางหนึ่งคือให้โอนลูกค้ามาให้รัฐวิสาหกิจเข้าเป็นคู่สัญญาแทน ส่วนเอกชนก็เป็นผู้รับเหมารับงานบริการและการตลาดไปทำอีกส่วนหนึ่ง โดย กสทช.จะไม่เข้าไปกำหนดว่าจะต้องเป็นรูปแบบใด ซึ่งจะต้องสรุปรูปแบบการให้บริการหลังจากประชาพิจารณ์แล้ว 60 วัน
ทั้งนี้ คณะทำงานฯ ได้ประกาศลงในเว็บไซต์ กสทช. เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเสนอความคิดเห็น ตามเอกสารแบบฟอร์มการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะและส่งแบบฟอร์มสรุปความคิดเห็นมายัง กสทช. ภายในวันที่ 17 กรกฎาคมนี้ อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียต้องแจ้งความประสงค์ในแบบฟอร์มเพื่อขอเข้าร่วมนำเสนอความเห็นหรือให้ข้อมูลในประเด็นต่างๆ ด้วยวาจาต่อคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นในวันที่ 25 กรกฎาคม ในเวลา 09.00-15.00 น. ณ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดี กรุงเทพฯ เพื่อคณะทำงานฯ จะนำผลที่ได้รับจากการเปิดประชาพิจารณ์ไปปรับปรุงร่างฯ และนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เพื่อพิจารณาต่อไป.
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/355258
___________________________________
กสทช.ต่อสัญญาคลื่น1800เอ็นจีโอรอกระหน่ำ
แม้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือบอร์ด กทค. มีมติพิจารณามาตรการเยียวยาลูกค้า และดูแลลูกค้าที่ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด หรือ ดีพีซี ซึ่งได้รับสัมปทานจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กำลังจะหมดสัญญาสัมปทานในวันที่ 15 กันยายน 2556
โดยที่ประชุมที่มี พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการเตรียมการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ นั่งหัวโต๊ะเป็นประธานเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2556 เห็นชอบร่างประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการโทรคมนาคมในกรณีสิ้นสุดอายุการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ...และเห็นชอบให้สำนักงาน กสทช. จัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ
อย่างไรก็ตามการกำหนดมาตรการเยียวยาในช่วงเปลี่ยนผ่านหลังหมดสัมปทานไปสู่ระบบใบอนุญาต เป็นระยะเวลา 1 ปี ซึ่ง พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ ก็ออกมายืนยันว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เป็นลักษณะการขยายเวลาในการให้สัมปทานแก่เอกชน และไม่ใช่การต่ออายุสัมปทาน และได้เตรียมออกร่างประกาศ กสทช.ว่าด้วยการคุ้มครองผู้ใช้บริการกรณีสิ้นอายุสัญญาสัมปทาน หรือร่างประกาศเฉพาะกิจภายในเดือนกรกฎาคม 2556 เพื่อให้ ทรูมูฟ และ ดีพีซี เป็นผู้ดูแลลูกค้าต่อไป
แต่ดูเหมือนว่าการเตรียมออกมาตรการเยียวยาของ กสทช. ครั้งนี้ทั้งฝ่ายนักวิชาการและฝ่ายกฎหมาย และคณะกรรมการบอร์ด กสทช. อย่าง นางสาวสุภิญญา กล้าณรงค์ และ น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ออกมาตั้งคำถามถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
**นักก.ม.ตั้งคำถามขัดเจตนารมณ์หรือไม่
นายวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง อาจารย์คณะประจำคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ ว่า กทค. ไม่มีฐานอำนาจทางกฎหมายในการขยายระยะเวลาการคืนคลื่นความถี่ออกไป เจตนารมณ์ในกฎหมายต้องการให้คลื่นความถี่ที่หมดอายุสัมปทานคืนกลับมาสู่มือสาธารณะในฐานะทรัพยากรสื่อสารของชาติ และให้อำนาจ กสทช. เป็นตัวแทนในการจัดสรรเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทานซึ่งขาดความโปร่งใสและสร้างสนามแข่งขันที่ไม่เท่าเทียม ไปสู่ระบบใบอนุญาตด้วยวิธีการประมูล ซึ่งมีความโปร่งใสและสร้างกฎกติกาการแข่งขันที่เท่าเทียมกว่า การขยายระยะเวลาโดย "จับผู้บริโภคเป็นตัวประกัน" ทั้งที่ กทค. มีเวลาเตรียมการเพียงพอให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่นโดยไม่ขัดกับข้อกฎหมาย ย่อมเป็นการสร้างมาตรฐานที่ไม่ดีให้กับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบใบอนุญาต ซึ่งถือเป็นภารกิจหลักของ กทค. ตามที่กฎหมายกำหนด
**ยื้อคลื่นเรื่องอาจถึงศาลฯ
กรณีเรื่องคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์นั้นมีการถกเถียงระหว่าง แคท และ กสทช. มาก่อนหน้านี้ ซึ่ง นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. กสท โทรคมนาคม ได้เสนอแผนการขอใช้คลื่นความถี่ตามมาตรา 82, 83 และ 84 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ในบทเฉพาะกาลที่บัญญัติเกี่ยวกับเหตุแห่งความจำเป็นและสิทธิในการบริหารต่อไป โดย บมจ. กสท ออกมายืนยันว่าในรายละเอียดของกฎหมายที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลเขียนไว้ชัดเจนเกี่ยวกับการให้บริหารต่อไปได้นั่นเอง
โดย กสท ระบุด้วยว่าการขออนุญาตใช้งานความถี่ต่อไปในครั้งนี้จะแบ่งเป็นความถี่จำนวน 12.5 เมกะเฮิรตซ์ ของ ทรูมูฟ จะขอบริหารจัดการต่อถึงปี 2568 ส่วนความถี่จำนวน 12.5 เมกะเฮิรตซ์ ของดีพีซี จะขอบริหารจัดการต่อถึงปี 2559 รวมถึงความถี่จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นฯ หรือ ดีแทค ที่ยังไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน และจะหมดอายุสัญญาสัมปทานในปี 2561 ซึ่ง กสท จะขอใช้งานต่อไปจนถึงปี 2568 เช่นเดียวกัน
ขณะที่นายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ อินทัช กล่าวว่า แม้ กสทช.เตรียมจะมีร่างประกาศเยียวยาคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ออกมาเพื่อให้ขยายเวลาการใช้งานต่อไปอีก 1 ปี ทำให้ผู้บริโภคไม่ต้องกลัวเรื่อง "ซิมดับ" แต่หลังจากนั้นก็ขึ้นอยู่กับกระบวนการของคณะกรรมการกลั่นกรองที่จะต้องพิจารณาจากข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องว่าจะได้ข้อสรุปอย่างไรในเรื่องสิทธิการถือครองหลังหมดสัญญาสัมปทาน โดยคาดว่าการดำเนินการทุกอย่างจะเสร็จก่อนหมดระยะเวลา 1 ปีที่ กสทช.ยืดออกไป
"ตอนนี้มีความคิดเห็นเรื่องการถือครองคลื่นความถี่ เพราะ บมจ. กสท ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงไอซีทีคิดว่าตัวเองมีอำนาจตามกฎหมายที่จะใช้ความถี่ต่อกับ กสทช.มีกฎหมายให้อำนาจจัดสรรความถี่ด้วยการประมูล เมื่อความเห็นไม่ตรงกันคงต้องมีการฟ้องศาลปกครอง ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นกระบวนการทุกอย่างต้องหยุดหมด รวมทั้งการประมูลความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ด้วย"
** "แคท"ตั้งขั้นต่ำ 30%
อย่างไรก็ตามในขณะนี้ บมจ.กสทโทรคมนาคม ได้มีการกำหนดโมเดลหลังสัญญาสัมปทานของ ดีพีซี และ ทรูมูฟ หมดอายุสัญญาสัมปทานหากทั้ง 2 บริษัทต้องการเข้ามาบริหารความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์อีก 1 ปีจะต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ขั้นต่ำ 30% หรือเท่าเดิมที่ได้รับสัมปทานไปก่อนหน้านี้
สอดคล้องกับนายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหาร บมจ. ชิน คอร์ป หากสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ระหว่าง ดีพีซี กับ บมจ. กสท โทรคมนาคม สิ้นสุดลงในวันที่ 15 กันยายน 2556 หาก กสทช. ออกประกาศเรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่ว่าจะให้ บมจ. กสท โทรคมนาคม เป็นผู้ให้บริการแล้วมาจ้า งดีพีซี ดูแลลูกค้า หรือจะให้ ดีพีซี เป็นผู้ให้บริการ ดีพีซี ก็พร้อมที่จะจ่ายส่วนแบ่งให้รัฐอย่างน้อย 30% ของรายได้ ซึ่งเท่ากับปัจจุบันที่ ดีพีซี จ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้กับ บมจ. กสทโทรคมนาคม
เชื่อได้เลยว่า หาก กสทช. ออกร่างประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการโทรคมนาคมในกรณีสิ้นสุดอายุการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ...เมื่อใด...วันนั้นจะเกิดค้าความอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้แต่ สมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการ บมจ. ชิน คอร์ป และ นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ออกมายืนยันเลยว่า "จะเกิดการฟ้องร้อง และคนที่จะฟ้องหนีไม่พ้น เอ็นจีโอ" เพราะเรื่องนี้มีเอกชนบางรายไม่ต้องการคืนคลื่นกลับมายัง กสทช.
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=189501:1800&catid=123:2009-02-08-11
-44-33&Itemid=491
ไม่มีความคิดเห็น: