Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

05 สิงหาคม 2556 อนุดิษฐ์ ลุยด่วนที่สุด!! แก้พ.ร.บ.กสทช. ชี้ลุแก่อำนาจเอื้อประโยชน์เอกชน ตีความกฏหมายเข้าข้างตัวเอง!! ( ข้อหาลึกๆเช่น มาตราการเยียวยา1ปี,ไม่ฟังCATให้บริหารคลื่น1800ในส่วนที่DTACไม่ใช้งาน)


ประเด็นหลัก


  เนื่องจากข้อกฏหมายในบางมาตราของ พ.ร.บ.กสทช. ก่อให้เกิดการตีความในเชิงของกฎหมายที่ต่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะตีความเข้าข้างตัวเอง ฉะนั้นจึงมีความเห็นว่าควรจะแก้ไขกฎหมายเพื่อให้การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และไม่ต้องตีความอีก
   
       “ล่าสุดที่ตีความต่างกันกรณีการบริหารจัดการคลื่นหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่ทำไว้ร่วมกับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือ ดีพีซี ซึ่งในประเด็นดังกล่าวทาง กระทรวงไอซีที และกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีความเห็นในการตีความกฎหมายที่ต่างกัน”
   
       ทั้งนี้ ตลอดเวลา 3 ปีที่ผ่านมาที่มีการนำเอา พ.ร.บ.กสทช.มาใช้ มีทั้งปัญหา และอุปสรรค รวมไปถึงมีการฟ้องร้องมาโดยตลอด ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อวงการโทรคมนาคมแต่อย่างใด โดยทางออกที่ดีควรระดมสมองเพื่อแก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าวให้สมบูรณ์ และถูกต้อง เพื่อไม่ต้องนำไปตีความ หรือมีเรื่องต้องฟ้องศาล ถึงแม้จะต้องใช้เวลาแก้ไขกฎหมายไม่ต่ำกว่า 1-2 ปีก็ต้องทำ ส่วนใครจะเป็นเจ้าภาพในการแก้ไขนั้น คงต้องหารือกันอีกครั้งต่อไป
   
       ส่วนรายละเอียดที่มีหลายฝ่ายให้ความเห็นว่าควรจะแก้ไขได้แก่ มาตรา 27 เรื่องอำนาจหน้าที่ของ กสทช. เนื่องจากการใช้อำนาจของ กสทช.ขัดแย้งกับ พ.ร.บ.ประกอบกิจการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และมาตรา 28 การรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชนทั่วไป เพื่อนำความเห็นที่ได้มาประกอบการพิจารณาก่อนออกประกาศ แต่ในทางปฏิบัติมีการเสนอความเห็น แต่ กสทช.ไม่ได้นำมาประกอบการพิจารณาแต่อย่างใด
   
       นอกจากนี้ ในมาตรา 29 การกำหนดอัตราค่าเชื่อมใช้หรือค่าเชื่อมต่อโครงข่ายหรือค่าธรรมเนียม กสทช.ไม่ได้นำต้นทุนที่แท้จริงมาคำนวณ ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม และเป็นภาระของผู้ประกอบการ มาตรา 45 ผู้ประสงค์จะใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ต้องได้รับใบอนุญาต และต้องประมูลคลื่นความถี่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศ กสทช. แต่ผู้มีข้อโต้แย้งกรณีที่มีการใช้คลื่นความถี่อยู่แล้วก็จะมีสิทธิใช้คลื่นไปจนกว่าจะสี้นสุดใบอนุญาต ไม่ใช่สิ้นสุดสัญญาสัมปทาน และบทเฉพาะกาล มาตรา 84 ซึ่งถือว่ามีความไม่ชัดเจน ทำให้มีการตีความกันหลายความเห็นมาก ซึ่งถือว่าไม่เป็นผลดีต่อวงการโทรคมนาคม
   
       รวมไปถึงกรณีอ้างอิงมาตรา 46 มิให้ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจที่นำคลื่นที่ได้รับจัดสรรแล้วไปให้ผู้อื่นประกอบกิจการโดยการอนุญาต สัมปทาน หรือตามสัญญา ไปใช้คลื่นความถี่แล้วสามารถประกอบกิจการได้ตามระยะเวลาที่เหลืออยู่ ซึ่งก็จะเกิดคำถามว่า แล้วสัญญานั้นต้องโอนทรัพย์สินคืนให้รัฐแล้วจะนำทรัพย์สินนั้นมาใช้กับคลื่นความถี่ใด และหากต้องขายทรัพย์สินก็ต้องใช้เวลาในการดำเนินการ และหากขยายระยะเวลาการเยียวยาเหมือนกับที่ กสทช.พยายามจะออกประกาศมาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการออกไปอีก 1 ปีนั้น ก็ถูกมองว่าเป็นการขยายอายุสัญญา ซึ่งก็ไม่มีข้อยุติ และมีแนวโน้มที่จะมีการยื่นฟ้องร้องต่อศาลเพื่อให้ชี้ขาด ฉะนั้นทางออกที่ดีควรจะดำเนินการแก้ไข พ.ร.บ.กสทช.โดยด่วน


น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่า สำหรับคลื่นความถี่จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ ที่ บริษัท โทเทิ่ล แอ็สเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ถืออยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ไม่ได้ใช้งานนั้น กสทช.เคยระบุว่า จะนำคลื่นดังกล่าวมาประมูล ส่วนตัวมองว่า การนำคลื่นมาประมูลจะส่งผลกระทบต่อแผนและแนวทางการดำเนินงานของ กสท เพราะแผนการบริหารคลื่นความถี่ของกสท ในช่วงดังกล่าวยังมีผลถึงปี 2561.





ขณะที่แหล่งข่าวจาก กระทรวงไอซีที กล่าวว่า  แนวคิดการแก้ไขพ.ร.บ.กสทช.นั้น สืบเนื่องจากตลาดระยะเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา ปัญหาของวงการโทรคมนาคม ไม่มีข้อยุติ และถกเถียงกันหลายประเด็น ซึ่งแต่ละฝ่ายต่างยึดกฎหมายเป็นหลัก รวมถึงยังส่อขัดกับรัฐธรรมนูญปี 2550 อีกด้วย ฉะนั้นจึงต้องสังคยานาพ.ร.บ.กสทช.ใหม่ โดยไม่ต้องตีความคนละทิศละทางกันอีก






ข่าวที่เกี่ยวข้อง

http://somagawn.blogspot.com/2013/07/30-2556-cat-1800dtaccat-1800.html






______________________________________




“อนุดิษฐ์” เดินเกมแก้ พ.ร.บ.กสทช.



       ลุแก่อำนาจเอื้อประโยชน์เอกชนดีนัก “ไอซีที” เล็งเดินหน้าแก้ พ.ร.บ.กสทช.หลังใช้มา 3 ปีมีแต่ปัญหาอุปสรรคไม่ส่งผลดีต่อวงการโทรคมนาคม โดยเฉพาะประเด็นการตีความเข้าข้างตัวเอง คาดใช้เวลาไม่เกิน 2 ปีแล้วเสร็จ
     
       น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ในตอนนี้กระทรวงไอซีทีมีแผนทำเรื่องเสนอต่อสำนักนายกรัฐมนตรี ในการขอแก้ไข และปรับปรุงกฎหมายใน พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ภายหลังหารือกับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องหลังพบว่า พ.ร.บ.กสทช.ฉบับดังกล่าวมีปัญหา และอุปสรรคในการใช้กฎหมาย
     
       เนื่องจากข้อกฏหมายในบางมาตราของ พ.ร.บ.กสทช. ก่อให้เกิดการตีความในเชิงของกฎหมายที่ต่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะตีความเข้าข้างตัวเอง ฉะนั้นจึงมีความเห็นว่าควรจะแก้ไขกฎหมายเพื่อให้การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และไม่ต้องตีความอีก
     
       “ล่าสุดที่ตีความต่างกันกรณีการบริหารจัดการคลื่นหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่ทำไว้ร่วมกับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือ ดีพีซี ซึ่งในประเด็นดังกล่าวทาง กระทรวงไอซีที และกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีความเห็นในการตีความกฎหมายที่ต่างกัน”
     
       ทั้งนี้ ตลอดเวลา 3 ปีที่ผ่านมาที่มีการนำเอา พ.ร.บ.กสทช.มาใช้ มีทั้งปัญหา และอุปสรรค รวมไปถึงมีการฟ้องร้องมาโดยตลอด ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อวงการโทรคมนาคมแต่อย่างใด โดยทางออกที่ดีควรระดมสมองเพื่อแก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าวให้สมบูรณ์ และถูกต้อง เพื่อไม่ต้องนำไปตีความ หรือมีเรื่องต้องฟ้องศาล ถึงแม้จะต้องใช้เวลาแก้ไขกฎหมายไม่ต่ำกว่า 1-2 ปีก็ต้องทำ ส่วนใครจะเป็นเจ้าภาพในการแก้ไขนั้น คงต้องหารือกันอีกครั้งต่อไป
     
       ส่วนรายละเอียดที่มีหลายฝ่ายให้ความเห็นว่าควรจะแก้ไขได้แก่ มาตรา 27 เรื่องอำนาจหน้าที่ของ กสทช. เนื่องจากการใช้อำนาจของ กสทช.ขัดแย้งกับ พ.ร.บ.ประกอบกิจการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และมาตรา 28 การรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชนทั่วไป เพื่อนำความเห็นที่ได้มาประกอบการพิจารณาก่อนออกประกาศ แต่ในทางปฏิบัติมีการเสนอความเห็น แต่ กสทช.ไม่ได้นำมาประกอบการพิจารณาแต่อย่างใด
     
       นอกจากนี้ ในมาตรา 29 การกำหนดอัตราค่าเชื่อมใช้หรือค่าเชื่อมต่อโครงข่ายหรือค่าธรรมเนียม กสทช.ไม่ได้นำต้นทุนที่แท้จริงมาคำนวณ ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม และเป็นภาระของผู้ประกอบการ มาตรา 45 ผู้ประสงค์จะใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ต้องได้รับใบอนุญาต และต้องประมูลคลื่นความถี่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศ กสทช. แต่ผู้มีข้อโต้แย้งกรณีที่มีการใช้คลื่นความถี่อยู่แล้วก็จะมีสิทธิใช้คลื่นไปจนกว่าจะสี้นสุดใบอนุญาต ไม่ใช่สิ้นสุดสัญญาสัมปทาน และบทเฉพาะกาล มาตรา 84 ซึ่งถือว่ามีความไม่ชัดเจน ทำให้มีการตีความกันหลายความเห็นมาก ซึ่งถือว่าไม่เป็นผลดีต่อวงการโทรคมนาคม
     
       รวมไปถึงกรณีอ้างอิงมาตรา 46 มิให้ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจที่นำคลื่นที่ได้รับจัดสรรแล้วไปให้ผู้อื่นประกอบกิจการโดยการอนุญาต สัมปทาน หรือตามสัญญา ไปใช้คลื่นความถี่แล้วสามารถประกอบกิจการได้ตามระยะเวลาที่เหลืออยู่ ซึ่งก็จะเกิดคำถามว่า แล้วสัญญานั้นต้องโอนทรัพย์สินคืนให้รัฐแล้วจะนำทรัพย์สินนั้นมาใช้กับคลื่นความถี่ใด และหากต้องขายทรัพย์สินก็ต้องใช้เวลาในการดำเนินการ และหากขยายระยะเวลาการเยียวยาเหมือนกับที่ กสทช.พยายามจะออกประกาศมาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการออกไปอีก 1 ปีนั้น ก็ถูกมองว่าเป็นการขยายอายุสัญญา ซึ่งก็ไม่มีข้อยุติ และมีแนวโน้มที่จะมีการยื่นฟ้องร้องต่อศาลเพื่อให้ชี้ขาด ฉะนั้นทางออกที่ดีควรจะดำเนินการแก้ไข พ.ร.บ.กสทช.โดยด่วน
     
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000096310

______________________________________________

‘อนุดิษฐ์’ เล็งแก้ไขพ.ร.บ.กสทช.
.

“อนุดิษฐ์” เตรียมเสนอ ครม.เห็นชอบการปรับแก้กฎหมายใน พ.ร.บ.กสทช.2553 โดยเฉพาะมาตรา 46 การใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ระบุแม้แต่กสทช.ผู้ปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวยังกลายเป็นผู้ถูกฟ้องร้องเอง

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี  (ครม.) เพื่อขอปรับแก้ไขพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมพ.ศ.2553 ที่ส่งผลถึงการตีความของข้อกฎหมาย อีกทั้งตามความเห็นของแต่ละภาคส่วนต่อ พ.ร.บ.ดังกล่าวระบุว่ามีลายลักษณ์อักษรและความเห็นแตกต่างกัน ซึ่งเนื้อหาบางเรื่องมีเนื้อหาไม่ชัดเจน ดังนั้นการตีความตามกฎหมายจึงเห็นสมควรที่ต้องแก้ไข

สำหรับข้อกฎหมายที่มีปัญหาเช่น มาตรา 46 ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมเป็นสิทธิ เฉพาะตัวของผู้ได้รับใบอนุญาต จะโอนแก่กันมิได้ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ต้องประกอบกิจการด้วยตนเอง จะมอบการบริหารจัดการทั้งหมดหรือบางส่วน หรือยินยอมให้บุคคลอื่นเป็นผู้มีอำนาจประกอบกิจการแทนมิได้ แต่ในอีกมาตราก็ระบุให้มีการเช่าใช้โครงข่ายหรือสินทรัพย์กันได้ จึงทำให้ตัวกฎหมายขัดกันเอง

“เรื่องนี้ได้มีการหารือหลายรอบแล้ว ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายก็เห็นด้วยกับปัญหาเพราะตอนที่บังคับใช้ก็มีการตีความต่างกัน แม้แต่กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ยังโดนฟ้องร้องภายใต้ประกาศฉบับดังกล่าว ซึ่งการแก้ไขอาจต้องใช้ระยะเวลาอยู่ที่ประมาณ 2-3 ปี เพราะต้องเข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ” น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าว

น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่า สำหรับคลื่นความถี่จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ ที่ บริษัท โทเทิ่ล แอ็สเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ถืออยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ไม่ได้ใช้งานนั้น กสทช.เคยระบุว่า จะนำคลื่นดังกล่าวมาประมูล ส่วนตัวมองว่า การนำคลื่นมาประมูลจะส่งผลกระทบต่อแผนและแนวทางการดำเนินงานของ กสท เพราะแผนการบริหารคลื่นความถี่ของกสท ในช่วงดังกล่าวยังมีผลถึงปี 2561.




http://www.dailynews.co.th/technology/223825

________________________________________________________


จ่อรื้อพรบ.กสทช. “อนุดิษฐ์”อ้างฉบับเดิมคลุมเครือ



รมว.ไอซีที ตั้งทีมร่าง พ.ร.บ.กสทช. ฉบับใหม่ อ้างฉบับที่ใช้ปัจจุบันตีความคนละทิศทาง และใช้มานานกว่า 3 ปีแล้ว

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาได้มีการหารือกับหลายๆฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมพ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ทราบว่า มีปัญหา และอุปสรรคในการใช้กฎหมายฉบับกล่าว โดยมีความเห็นที่แตกต่างกัน และตีความคนละทิศละทาง ส่วนใหญ่จะตีความเข้าข้างตัวเอง  ฉะนั้นจึงมีความเห็นว่าควรจะแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้การทำงานไปในทิศทางเดียวกัน มีความชัดเจนไม่ต้องตีความอีก

“พ.ร.บ.กสทช. ใช้มานานเกือบ 3 ปีแล้ว มีทั้งปัญหาและอุปสรรค มีการฟ้องร้องกันหลายคดี ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อวงการโทรคมนาคมแต่อย่างใด ฉะนั้นทางออกที่ดีควรระดมสมอง เพื่อแก้ไขกฎหมายให้สมบูรณ์และถูกต้อง ไม่ต้องตีความ ไม่ต้องฟ้องศาล  แม้จะต้องใช้เวลาแก้ไขกฎหมายไม่น้อยกว่า 1-2 ปี ก็ต้องทำ ส่วนใครจะเป็นเจ้าภาพในการแก้ไขนั้น คงต้องหารือกันอีกครั้ง” รมว.ไอซีที กล่าว

ขณะที่แหล่งข่าวจาก กระทรวงไอซีที กล่าวว่า  แนวคิดการแก้ไขพ.ร.บ.กสทช.นั้น สืบเนื่องจากตลาดระยะเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา ปัญหาของวงการโทรคมนาคม ไม่มีข้อยุติ และถกเถียงกันหลายประเด็น ซึ่งแต่ละฝ่ายต่างยึดกฎหมายเป็นหลัก รวมถึงยังส่อขัดกับรัฐธรรมนูญปี 2550 อีกด้วย ฉะนั้นจึงต้องสังคยานาพ.ร.บ.กสทช.ใหม่ โดยไม่ต้องตีความคนละทิศละทางกันอีก

ส่วนรายละเอียด ที่มีหลายฝายมีความเห็นว่าควรจะแก้ไขได้แก่ มาตรา 27 เรื่องอำนาจหน้าที่ของกสทช. เนื่องจากการใช้อำนาจของ กสทช.ขัดแย้งกับพ.ร.บ.ประกอบกิจการประกอบกิจการโทรคมนาคมพ.ศ.2544 และพ.ร.บ.ว่าด้วยวิทยุคมนาคม  มาตรา 28  การรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนทั่วไป เพื่อนำความเห็นที่ได้มาประกอบการพิจารณาก่อนออกประกาศ  ซึ่งประเด็นนี้ในทางปฏิบัติ มีการประชาพิจารณ์ เสนอความเห็น แต่ไม่ได้นำมาประกอบการพิจารณา  ,มาตรา 29 การกำหนดอัตราค่าเชื่อมใช้หรือค่าเชื่อมต่อโครงข่ายหรือค่าธรรมเนียม กสทช.ไม่ได้นำต้นทุนที่แท้จริงมาคำนวณ ทำให้ผู้ประกอบการบางรายโต้แย้งว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม


http://www.naewna.com/business/62923

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.