Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

11 สิงหาคม 2556 (แก้ร่างเยียวยา 1800 ส่งการบ้าน 14 สิงหาคม) โดยเฉพาะเรื่องเงินให้ส่งรายได้สุทธิทั้งหมดให้แผ่นดิน (หักต้นทุนค่าใช้โครงข่าย ค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคม ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ และต้นทุนค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นในการให้บริการแล้ว)

ประเด็นหลัก


โดยจากร่างฯ พบว่า ข้อ 7 มีการปรับแก้มากที่สุด โดยจะระบุให้ในช่วงระยะเวลาคุ้มครอง ให้ผู้ให้บริการเป็นผู้รับชำระเงินรายได้จากการให้บริการแทนรัฐ โดยการแยกบัญชีการรับเงินไว้เป็นการเฉพาะ แล้วรายงานจำนวนเงินรายได้และดอกผลที่เกิดขึ้น ซึ่งได้หักต้นทุนค่าใช้โครงข่าย ค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคม ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ และต้นทุนค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นในการให้บริการแล้ว

ส่วนที่เหลือให้นำส่งสำนักงาน กสทช. เพื่อตรวจสอบ ก่อนนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป โดยสำนักงานจะตั้งคณะทำงาน 5 คน ประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและฝ่ายบัญชี และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ โดยผู้แทนสำนักงาน กสทช. เป็นเลขานุการคณะทำงานฯ

กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า สำหรับท่าทีของทั้ง 3 บริษัท ที่เกี่ยวข้องกับสัญญา ประกอบด้วย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ผู้ให้สัมปทาน และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด บริษัท ดีพีซี จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานนั้น มีท่าทีแตกต่างกัน ซึ่งในภาพรวม มีทั้งเรื่องสิทธิ์ในการรับบริการลูกค้าใหม่ ค่าธรรมเนียม และค่าใบอนุญาต แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าแต่ละรายมีท่าทีอย่างไร

ทั้งนี้ ในส่วนผู้ให้บริการตามร่างประกาศนั้น หมายถึงทั้งผู้ให้และผู้รับสัมปทานที่สิ้นสุดลง เป็นความรับผิดชอบร่วมกัน โดยใช้หลักให้แต่ละฝ่ายทำหน้าที่ของตัวเองต่อไปตามเดิม ดังนั้น ทรูมูฟ และ ดีพีซี จึงต้องเป็นผู้ดูแลลูกค้าต่อไป ขณะนี้เมื่อสัมปทานสิ้นสุดผู้รับสัมปทานจะต้องส่งมอบอุปกรณ์ต่างๆ ให้แก่เจ้าของสัมปทาน คือ กสท

สำหรับระยะเวลาในการเยียวยาลูกค้า ยืนยันว่า ให้เวลาแค่ 1 ปีเท่านั้น และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการคุ้มครอง หากยังมีผู้ใช้บริการคงเหลือไม่แจ้งความประสงค์จะขอย้ายไปยังผู้ให้บริการรายอื่น ให้ถือว่าสิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครอง ซึ่งหมายความว่าไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป แต่ผู้ให้บริการรายเดิมต้องคืนเงินที่ค้างอยู่ในระบบให้กับลูกค้าถ้ามีเงินเหลืออยู่

พร้อมกันนี้ นายสุทธิพล ยังกล่าวด้วยว่า ร่างประกาศฉบับนี้ เป็นการแก้ไขครั้งสุดท้าย ก่อนสนอให้ที่ประชุมบอร์ด กสทช.พิจารณา ในวันที่ 14 ส.ค. เพื่อนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ต่อไป.

______________________________________



กทค.ปรับแก้ร่างประกาศซิมดับ-ชงบอร์ด กสทช. 14ส.ค.นี้


บอร์ด กทค. สรุปครั้งสุดท้าย ร่างประกาศ เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราว ในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ... ให้สิทธิ์ทรูมูฟ-ดีพีซี ดูแลลูกค้าต่อ 1 ปี พร้อมชงบอร์ด กสทช.14 ส.ค.นี้...

เมื่อวันที่ 9 ส.ค. นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กทค. ว่า ที่ประชุมพิจารณาร่างประกาศ เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราว ในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ... โดยรวบรวมความคิดเห็นของคณะอนุกรรมการเตรียมการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) และความเห็นจากเวทีสาธารณะ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข และเน้นให้เกิดความเท่าเทียมในตลาดโทรคมนาคม และเกิดประโยชน์ต่อการคุ้มครองผู้บริโภคให้มากที่สุด

โดยจากร่างฯ พบว่า ข้อ 7 มีการปรับแก้มากที่สุด โดยจะระบุให้ในช่วงระยะเวลาคุ้มครอง ให้ผู้ให้บริการเป็นผู้รับชำระเงินรายได้จากการให้บริการแทนรัฐ โดยการแยกบัญชีการรับเงินไว้เป็นการเฉพาะ แล้วรายงานจำนวนเงินรายได้และดอกผลที่เกิดขึ้น ซึ่งได้หักต้นทุนค่าใช้โครงข่าย ค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคม ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ และต้นทุนค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นในการให้บริการแล้ว

ส่วนที่เหลือให้นำส่งสำนักงาน กสทช. เพื่อตรวจสอบ ก่อนนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป โดยสำนักงานจะตั้งคณะทำงาน 5 คน ประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและฝ่ายบัญชี และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ โดยผู้แทนสำนักงาน กสทช. เป็นเลขานุการคณะทำงานฯ

กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า สำหรับท่าทีของทั้ง 3 บริษัท ที่เกี่ยวข้องกับสัญญา ประกอบด้วย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ผู้ให้สัมปทาน และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด บริษัท ดีพีซี จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานนั้น มีท่าทีแตกต่างกัน ซึ่งในภาพรวม มีทั้งเรื่องสิทธิ์ในการรับบริการลูกค้าใหม่ ค่าธรรมเนียม และค่าใบอนุญาต แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าแต่ละรายมีท่าทีอย่างไร

ทั้งนี้ ในส่วนผู้ให้บริการตามร่างประกาศนั้น หมายถึงทั้งผู้ให้และผู้รับสัมปทานที่สิ้นสุดลง เป็นความรับผิดชอบร่วมกัน โดยใช้หลักให้แต่ละฝ่ายทำหน้าที่ของตัวเองต่อไปตามเดิม ดังนั้น ทรูมูฟ และ ดีพีซี จึงต้องเป็นผู้ดูแลลูกค้าต่อไป ขณะนี้เมื่อสัมปทานสิ้นสุดผู้รับสัมปทานจะต้องส่งมอบอุปกรณ์ต่างๆ ให้แก่เจ้าของสัมปทาน คือ กสท

สำหรับระยะเวลาในการเยียวยาลูกค้า ยืนยันว่า ให้เวลาแค่ 1 ปีเท่านั้น และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการคุ้มครอง หากยังมีผู้ใช้บริการคงเหลือไม่แจ้งความประสงค์จะขอย้ายไปยังผู้ให้บริการรายอื่น ให้ถือว่าสิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครอง ซึ่งหมายความว่าไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป แต่ผู้ให้บริการรายเดิมต้องคืนเงินที่ค้างอยู่ในระบบให้กับลูกค้าถ้ามีเงินเหลืออยู่

พร้อมกันนี้ นายสุทธิพล ยังกล่าวด้วยว่า ร่างประกาศฉบับนี้ เป็นการแก้ไขครั้งสุดท้าย ก่อนสนอให้ที่ประชุมบอร์ด กสทช.พิจารณา ในวันที่ 14 ส.ค. เพื่อนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ต่อไป.
โดย: ไทยรัฐออนไลน์

http://m.thairath.co.th/content/tech/362516

__________________________________________


กทค.ผ่านร่างมาตรการดูแลผู้ใช้1800เมกะเฮิร์ตซ
วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2556 เวลา 16:37 น.

กทค. อนุมัติร่างมาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ป้องกัน"ซิมดับ" ส่งบอร์ด กสทช. ชี้ทรูมูฟ – ดีพีซี รับหน้าที่ดูแลลูกค้า 1 ปี รายได้หักหลังต้นทุน ส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
วันนี้(ส.ค.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)นายสุทธิพล ทวีชัยการ  กรรมการกสทช. และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมกทค.พิจารณา ร่างประกาศเรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ... เพื่อป้องกันปัญหาซิมดับ  โดยจะนำเสนอให้ที่ประชุม กสทช. พิจารณาวันที่ 14 ส.ค. เพื่อนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา คาดว่าจะบังคับใช้ได้ก่อนระยะเวลาสัญญาสัมปทาน 1800 เมกะเฮิร์ตซของบริษัท  ทรูมูฟ  จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ซึ่งจะหมดในวันที่ 15 ก.ย.56

สำหรับร่างประกาศมาตราการคุ้มครองฯระยะเวลา 1 ปี เพื่อเยียวยาผู้ใช้บริการระบบ 1800 เมกะเฮิร์ตซที่มีจำนวน 17-18 ล้านเลขหมาย ได้รับบริการคุณภาพสัญญาณ และอัตราค่าบริการต่อเนื่อง  และหากลูกค้าโอนย้ายเลขหมายออกจากระบบหมดแล้ว คณะกรรมการอาจสั่งให้ยุติมาตรการเยียวยาได้ก่อนครบกำหนด 1 ปี  ถ้าสิ้นสุดระยะเวลาเยียวยา ยังมีลูกค้าที่ไม่แจ้งความประสงค์จะย้ายไปใช้บริการรายอื่น ให้ถือว่าสิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครองและ ซิมการ์ดนั้นจะใช้งานไม่ได้อีก แต่ขณะเดียวกันหากลูกค้ามีเงินค้างในระบบ ผู้ให้บริการทั้ง ทรูมูฟ และดีพีซี ต้องคืนเงินทั้งหมดให้ลูกค้าเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ผู้รับผิดชอบที่ให้บริการตามร่างประกาศนี้ หมายถึงทั้งผู้ให้และผู้รับสัมปทานที่สิ้นสุดลง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของ ทรูมูฟ และดีพีซี เป็นผู้ดูแลลูกค้าต่อไป แต่เมื่อสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลงเอกชนทั้ง 2 รายต้องส่งมอบอุปกรณ์ให้แก่บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)  โดยทั้ง 3 รายต้องหารือกันเพื่อหักต้นทุนดำเนินงานทั้งหมด เพื่อนำส่งรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายให้สำนักงานกสทช.เป็นรายได้ของแผ่นดิน


http://www.dailynews.co.th/technology/225032

____________________________________________

บอร์ดกทค.ปรับแก้ร่างประกาศซิมดับ-ชงบอร์ด กสทช. 14ส.ค.
วันศุกร์ที่ 09 สิงหาคม 2013 เวลา 18:12 น. ณัฐญา เนตรหิน ข่าวรายวัน - คอลัมน์ : ข่าวในประเทศ พิมพ์
User Rating: / 0
แย่ดีที่สุด
นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กทค. ว่า ที่ประชุมฯมีมติพิจารณาร่างประกาศ เรื่อง

มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราว ในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ... โดยรวบรวมความคิดเห็นของคณะอนุกรรมการ เตรียมการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) และความเห็นจากเวทีสาธารณะ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข และเน้นให้เกิดความเท่าเทียมในตลาดโทรคมนาคม และเกิดประโยชน์ต่อการคุ้มครองผู้บริโภคให้มากที่สุด

ภายหลังรวบรวมความเห็นเพิ่มของคณะอนุกรรมการฯ คณะอนุกรรมการเตรียมการกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์  ในที่ประชุมบอร์ดมีมติอนุมัติร่างประกาศดังกล่าว ด้วยเสียง 4 ต่อ 1 ซึ่งจากนี้จะมีการนำเสนอให้บอร์ด กสทช. พิจารณาวันที่ 14 สิงหาคมนี้ เพื่อนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา คาดว่าจะบังคับใช้ได้ก่อนระยะเวลาสัญญาสัมปทาน 1800 เมกะเฮิร์ตซของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ซึ่งจะหมดในวันที่ 15 ก.ย.56

ในส่วนหลักที่มีการแก้ไข คือ  การระบุให้ในช่วงระยะเวลาคุ้มครอง 1 ปี จากเดิมที่กำหนดให้ผู้ให้บริการเดิมนำส่งเงินรายได้ตามสัญญาสัมปทานให้แก่รัฐโดยตรง ให้เป็นผู้ให้บริการ คือ ทรูมูฟ และ ดีพีซี เป็นผู้รับชำระเงินรายได้จาการให้บริการแทนรัฐวิสาหกิจ โดยให้นำเงินรายได้ทั้งหมด เมื่อหักต้นทุนค่าเช่าใช้โครงข่าย ค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคม ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ และต้นทุนค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นในการให้บริการแล้ว ส่วนที่เหลือให้นำส่ง สำนักงาน กสทช. ทั้งหมด เพื่อตรวจสอบก่อนนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป  โดยทางสำนักงานจะตั้งคณะทำงาน 5 คน เพื่อพิจารณาความถูกต้องของเงินรายได้ดังกล่าว ประกอบด้วย  ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและบัญชี 1 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ 1 คน โดยผู้แทนสำนักงาน กสทช. เป็นเลขานุการคณะทำงาน
     
สำหรับท่าทีของทั้ง 3 บริษัท ที่เกี่ยวข้องกับสัญญา ประกอบด้วย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ผู้ให้สัมปทาน และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด บริษัท ดีพีซี จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานนั้น มีท่าทีแตกต่างกัน ซึ่งในภาพรวม มีทั้งเรื่องสิทธิ์ในการรับบริการลูกค้าใหม่ ค่าธรรมเนียม และค่าใบอนุญาต แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าแต่ละรายมีท่าทีอย่างไร

ในส่วนผู้ให้บริการตามร่างประกาศนั้น หมายถึงทั้งผู้ให้และผู้รับสัมปทานที่สิ้นสุดลง เป็นความรับผิดชอบร่วมกัน โดยใช้หลักให้แต่ละฝ่ายทำหน้าที่ของตัวเองต่อไปตามเดิม ดังนั้น ทรูมูฟ และ ดีพีซี จึงต้องเป็นผู้ดูแลลูกค้าต่อไป ขณะนี้เมื่อสัมปทานสิ้นสุดผู้รับสัมปทานจะต้องส่งมอบอุปกรณ์ต่างๆ ให้แก่เจ้าของสัมปทาน คือ  กสท

 นายสุทธิพล กล่าวด้วยว่า ในร่างประกาศฯ ยังมีการกำหนดระยะเวลาในช่วงเยียวยาที่แน่นอน โดยยืนยันว่า เป็นมาตรการตามความจำเป็นที่ให้เวลาแค่ 1 ปีเท่านั้น เนื่องหากเหตุแห่งความจำเป็นหมดไป เช่น ได้มีการย้ายเลขหมายออกจากระบบหมดแล้ว ทางคณะกรรมการอาจสั่งให้ยุติมาตรการเยียวยาวได้ก่อนครบ 1 ปี แต่ถ้าสิ้นสุดระยะเวลาเยียวยา 1 ปี แล้ว ยังมีลูกค้าที่ไม่แจ้งความประสงค์จะย้ายไปใช้บริการของผู้ให้บริการรายอื่น ให้ถือว่าสิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครองผู้ใช้บริการ และซิมการ์ดนั้นก็จะใช้งานไม่ได้อีก หรือซิมดับ  หมายความว่าไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป แต่ผู้ให้บริการรายเดิมต้องคืนเงินที่ค้างอยู่ในระบบให้กับลูกค้าถ้ามีเงินเหลืออยู่

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=194452:----14&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.