11 สิงหาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) กสทช.สุภิญญา ยอมรับ อาจออกอากาศDigital TV ในวันที่ 5 ธันวาคม ไม่ครบพื้นที่+++ เหตุผู้ให้บริการโครงข่าย ยังไม่มีการกำหนดราคาค่าเช่าแถมยังไม่รายงานความเสรียรของสัญญาณ
ประเด็นหลัก
ตามที่มีการเสนอร่างประกาศกสทช. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลทีวีดิจิตอล ประเภทช่องรายการธุรกิจทั้ง 24 ช่อง เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ ได้ล่าช้ากว่าเดิม 1 เดือน จากเดิมที่กำหนดให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน เลื่อนไปเป็นเดือนตุลาคม แต่กสทช.ยืนยันพร้อมออกอากาศให้ได้ชมในวันที่ 5 ธันวาคมนี้แน่นอน นั้น
สุภิญญา กลางณรงค์สุภิญญา กลางณรงค์ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ยอมรับว่า แม้กำหนดเดือนตุลาคมเองนั้น ก็อาจไม่ทัน ต้องเลื่อนออกไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีผู้ประกอบการด้านโครงข่ายรายใด นำเสนอแผนพร้อมกำหนดราคาโครงข่ายเข้ามา ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดต้นทุนของการยื่นประมูลทีวีดิจิตอล คาดจะส่งผลให้ผู้บริโภคไม่สามารถรับชมทีวีดิจิตอล ได้ในวันที่ 5 ธันวาคมตามแผนเดิมที่กำหนดไว้
" ขณะนี้ยังไม่มีผู้ประกอบการด้านโครงข่ายรายได้เสนอราคาค่าใช้จ่ายโครงข่ายกับกสทช.เลย อีกทั้งพบว่าความพร้อมด้านเทคนิคของโครงข่ายยังไม่เสถียร และไม่แน่ใจว่าหากเปิดให้ประชาชนรับชมทีวีดิจิตอลได้ภายในวันที่ 5 ธันวาคมนี้แล้ว ประชาชนจะสามารถรับชมได้ครอบคลุมตามพื้นที่ที่กำหนดหรือไม่" นางสาวสุภิญญา กล่าวและว่า
แม้จะสามารถออกอากาศได้ทันภายในวันที่ 5 ธันวาคม แต่การรับชมทีวีดิจิตอล ก็อาจจะรับสัญญาณได้เพียงไม่กี่ช่องเท่านั้น ไม่เต็มรูปแบบ เบื้องต้นอาจจะออกได้ 6 ช่องฟรีทีวีเดิมก่อน ที่เป็นในรูปแบบดิจิตอลเดิมคู่ขนานกับระบบอะนาล็อก
ด้านนายสมพร ธีระโรจนพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีเอสไอ โฮลดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายกล่องรับสัญญาณและจานทีวีดาวเทียม "พีเอสไอ" กล่าวว่า การเปิดทีวีดิจิตอลให้ทันภายในวันที่ 5 ธันวาคมนี้ บริษัทมองว่าอาจเป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กสทช.กำหนดไว้ แต่สัญญาณพื้นที่การส่งอาจจะไม่ครอบคลุมตามเป้าหมายที่กสทช.คาดการณ์ไว้ ซึ่งในอนาคตกสทช.ก็ต้องเตรียมแผนสำรองไว้ เพื่อกันประชาชนเรียกร้องด้วย ในกรณีที่สัญญาณเข้าไปไม่ถึงบางครัวเรือน และเรื่องของการแจกคูปองที่จะแจกให้กับประชาชน ที่ยังขาดความชัดเจน และหากแจกจ่ายไม่ทั่วถึง หรือประชาชนรับสัญญาณรับชมทีวีดิจิตอลไม่ได้ ก็จะเกิดปัญหาตามมาภายหลัง
ทั้งนี้กสทช. ได้มอบใบอนุญาตเพื่อให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์แก่ 4 หน่วยงาน ได้แก่ กองทัพบก (ช่อง 5) , บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (ช่อง9) , กรมประชาสัมพันธ์ (ช่อง11) และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) ซึ่งทั้งหมดจะต้องนำเสนอราคาค่าบริการโครงข่ายให้กับกสทช. และผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอล เพราะค่าบริการโครงข่ายถือเป็นต้นทุนที่สำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องนำไปร่วมประกอบในการนำเสนอราคาประมูลในครั้งนี้
______________________________________
ปัญหารุมทีวีดิจิตอลส่อเลื่อนยาว
"ทีวีดิจิตอล"เมืองไทยส่อเค้าเลื่อนยาว ชี้ 3 โจทย์ใหญ่ค้ำคอกสทช. ทั้ง ระบบโครงข่ายขาดความพร้อมทำให้กำหนดราคาไม่ได้ ขณะเงื่อนไขการประมูลก็ไม่เป็นธรรมสำหรับรายเล็ก ซ้ำด้วยความไม่ชัดเจนของการแจกคูปอง "สุภิญญา"รับหวั่นส่งผล 5 ธ.ค. ดูได้แค่บางจุด
ด้านพีเอสไอโต้กสทช. ยื่นขอรับใบอนุญาตแล้ว ขณะที่ "อสมท" เตรียมเสนอค่าบริการโครงข่าย 60 ล้านบาทต่อปีในระบบ SD และ 180 ล้านบาทในระบบ HD
ตามที่มีการเสนอร่างประกาศกสทช. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลทีวีดิจิตอล ประเภทช่องรายการธุรกิจทั้ง 24 ช่อง เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ ได้ล่าช้ากว่าเดิม 1 เดือน จากเดิมที่กำหนดให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน เลื่อนไปเป็นเดือนตุลาคม แต่กสทช.ยืนยันพร้อมออกอากาศให้ได้ชมในวันที่ 5 ธันวาคมนี้แน่นอน นั้น
สุภิญญา กลางณรงค์สุภิญญา กลางณรงค์ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ยอมรับว่า แม้กำหนดเดือนตุลาคมเองนั้น ก็อาจไม่ทัน ต้องเลื่อนออกไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีผู้ประกอบการด้านโครงข่ายรายใด นำเสนอแผนพร้อมกำหนดราคาโครงข่ายเข้ามา ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดต้นทุนของการยื่นประมูลทีวีดิจิตอล คาดจะส่งผลให้ผู้บริโภคไม่สามารถรับชมทีวีดิจิตอล ได้ในวันที่ 5 ธันวาคมตามแผนเดิมที่กำหนดไว้
" ขณะนี้ยังไม่มีผู้ประกอบการด้านโครงข่ายรายได้เสนอราคาค่าใช้จ่ายโครงข่ายกับกสทช.เลย อีกทั้งพบว่าความพร้อมด้านเทคนิคของโครงข่ายยังไม่เสถียร และไม่แน่ใจว่าหากเปิดให้ประชาชนรับชมทีวีดิจิตอลได้ภายในวันที่ 5 ธันวาคมนี้แล้ว ประชาชนจะสามารถรับชมได้ครอบคลุมตามพื้นที่ที่กำหนดหรือไม่" นางสาวสุภิญญา กล่าวและว่า
แม้จะสามารถออกอากาศได้ทันภายในวันที่ 5 ธันวาคม แต่การรับชมทีวีดิจิตอล ก็อาจจะรับสัญญาณได้เพียงไม่กี่ช่องเท่านั้น ไม่เต็มรูปแบบ เบื้องต้นอาจจะออกได้ 6 ช่องฟรีทีวีเดิมก่อน ที่เป็นในรูปแบบดิจิตอลเดิมคู่ขนานกับระบบอะนาล็อก
สาเหตุสำคัญคือ ผู้ประกอบการไม่สามารถคำนวณต้นทุนราคาโครงข่ายได้ทัน และอาจจะส่งผลให้ช่องที่ประมูลมา ยังไม่สามารถออกอากาศให้บริการประชาชนได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้น ราคาโครงข่ายจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับผู้ประกอบกิจการ หากไม่ชัดเจนก็อาจจะส่งผลให้ผู้ประกอบกิจการทั้งรายเล็ก รายกลางและรายใหญ่ ประท้วงได้ในอนาคต
ทั้งนี้ในแง่ของหลักเกณฑ์การประมูลทีวีดิจิตอลที่ออกมานั้น นางสาวสุภิญญา กล่าวว่า ในความคิดส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับหลายเรื่อง เช่น การแข่งขันที่ไม่เสรีและเป็นธรรมสำหรับผู้ประกอบกิจการรายเล็ก ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ออกมาดูเหมือนจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ได้เข้าร่วมแสดงความเห็นฝ่ายเดียว รวมทั้งเรื่องการจ่ายเงินโดยระบุให้ผู้ประกอบการที่เข้าประมูลจะต้องจ่ายเป็นเงินสด หรือเช็คเงินสดเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ใช้แบงก์การันตี และการแข่งขันครั้งนี้เป็นการแข่งขันแบบเสมอภาค ให้ผู้ประกอบการรายเล็กแข่งขันกับรายใหญ่ ซึ่งดูแล้วผู้ประกอบการรายเล็กยังเสียเปรียบรายใหญ่อยู่มาก ซึ่งหากกสทช.ปล่อยให้ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์เฉพาะรายใหญ่ชนะการประมูล ก็จะขัดเจตนารมณ์ของกสทช.ที่เคยตั้งไว้ คือต้องการให้ผู้ชมได้รับคอนเทนต์ที่หลากหลายและมีคุณภาพ
"การแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม จะต้องมีเกณฑ์การแข่งขันที่เสมอภาค ไม่นำเงินมาเป็นเกณฑ์วัดตัวตั้ง เพราะการใช้เงินมาเป็นเกณฑ์การตัดสิน เหมือนเป็นการสร้างกำแพงกั้นผู้ประกอบกิจการรายเล็ก แต่ทั้งนี้กติกาการประมูลต่าง ๆ ก็ออกไปแล้ว ขณะเดียวกันในปัจจุบันกสทช.เองก็พยายามจะให้ทุกอย่างดำเนินการไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่อยากให้กสทช.ค่อย ๆ ทบทวนร่างประกาศ หรือหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ให้พร้อมและสมบูรณ์ก่อน เพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหาในภายหลัง ทำให้เหมือนกับสุภาษิตไทย ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม"
ขณะนี้กสทช.ก็กำลังเร่งกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ ให้เดินตามกรอบที่กำหนดไว้ แต่ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก็คือ เรื่องของราคาโครงข่ายที่ยังไม่สมบูรณ์ เรื่องนี้จัดเป็นคอขวดที่สำคัญ รวมถึงทางฝั่งช่องสาธารณะด้วย ซึ่งหากปัจจัยต่าง ๆ ยังไม่ครบถ้วนก็ควรจะทำให้เสร็จเรียบร้อยก่อน ขณะเดียวกันหากรายเล็กมีข้อเรียกร้องก็ควรรีบชี้แจง เพราะหากปล่อยให้เกณฑ์ต่าง ๆ ผ่านประกาศในราชกิจจาฯแล้ว จะไม่สามารถแก้ไขได้อีก
ด้านนายสมพร ธีระโรจนพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีเอสไอ โฮลดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายกล่องรับสัญญาณและจานทีวีดาวเทียม "พีเอสไอ" กล่าวว่า การเปิดทีวีดิจิตอลให้ทันภายในวันที่ 5 ธันวาคมนี้ บริษัทมองว่าอาจเป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กสทช.กำหนดไว้ แต่สัญญาณพื้นที่การส่งอาจจะไม่ครอบคลุมตามเป้าหมายที่กสทช.คาดการณ์ไว้ ซึ่งในอนาคตกสทช.ก็ต้องเตรียมแผนสำรองไว้ เพื่อกันประชาชนเรียกร้องด้วย ในกรณีที่สัญญาณเข้าไปไม่ถึงบางครัวเรือน และเรื่องของการแจกคูปองที่จะแจกให้กับประชาชน ที่ยังขาดความชัดเจน และหากแจกจ่ายไม่ทั่วถึง หรือประชาชนรับสัญญาณรับชมทีวีดิจิตอลไม่ได้ ก็จะเกิดปัญหาตามมาภายหลัง
"ส่วนข่าวพีเอสไอยังไม่ไปขอใบอนุญาตประกอบกิจการนั้น บริษัทขอชี้แจงว่าพีเอสไอเข้าไปขอรับใบอนุญาตนานแล้ว แต่ยื่นขอในนามบริษัท โพลี บรอดแคสติ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้นนี้อยากให้กสทช.ตรวจสอบให้ชัดเจนอีกครั้ง"
ด้านนายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบในหลักการ ให้บมจ.อสมท ประมูลทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจ ในช่องข่าว ช่องรายการทั่วไป (เอสดี) และช่องรายการทั่วไป (เอชดี) ตลอดจนการให้บริการโครงข่าย เพื่อรับบริการออกอากาศให้กับช่องรายการต่าง ๆ โดยอสมทได้เตรียมวงเงินทั้งหมดไว้ 5 พันล้านบาท ซึ่งเป็นกระแสเงินสดของอสมท เอง และหากไม่เพียงพอ ก็สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้อีกกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ดี อสมท ได้เตรียมเสนอกำหนดราคาค่าโครงข่ายในระบบเอสดีไว้ที่ปีละ 60 ล้านบาท และระบบเอชดีปีละ 180 ล้านบาท ให้กสทช.พิจารณาในเร็ว ๆ นี้ เพื่อให้ราคาสอดคล้องกับผู้ให้บริการรายอื่นทั้งช่อง 5 , กรมประชาสัมพันธ์ และไทยพีบีเอส
อนึ่ง กสทช. ได้จัดทำแผนทีวีดิจิตอลจำนวน 36 ช่อง แบ่งเป็นช่องทีวีสาธารณะ 12 ช่อง ประกอบไปด้วย ช่องหมายเลข 1 ททบ.5 , ช่อง 2 NBT หรือช่อง 11 , ช่อง 3 และ 4 ไทยพีบีเอส ,ช่อง 5 ช่องการศึกษา ความรู้ , ช่อง 6 ช่องศิลปะ ศาสนาและวัฒนธรรม , ช่อง 7 ช่องสุขภาพ กีฬา คุณภาพชีวิต , ช่อง 8 ช่องความมั่นคงของรัฐ ,ช่อง 9 ช่องของความปลอดภัยสาธารณะ , ช่อง 10 ช่องความเข้าใจระหว่างรัฐบาล รัฐสภากับประชาชน , ช่อง11 ช่องส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย และช่อง 12 เป็นช่องเด็ก และคนด้อยโอกาส
ช่องธุรกิจ 24 ช่อง ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการประมูล ได้แก่ ช่องเด็กเยาวชนและครอบครัว จำนวน 3 ช่อง ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 140 ล้านบาท , ช่องข่าวและสาระ จำนวน 7 ช่อง ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 220 ล้านบาท ช่องรายการทั่วไป (SD) จำนวน 7 ช่อง ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 380 ล้านบาท และช่องรายการทั่วไป (HD) จำนวน 7 ช่อง ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 1.51 พันล้านบาท เบื้องต้นราคาเริ่มต้นประมูลคิดเป็นเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งกสทช. จะนำเงินดังกล่าวมาจัดทำเป็นคูปองเงินสดแจกจ่ายให้กับประชาชนจำนวน 22 ล้านครัว เพื่อนำไปซื้อกล่องรับสัญญาณ (SET TOP BOX) ในการรับชมทีวีดิจิตอลต่อไป
ทั้งนี้กสทช. ได้มอบใบอนุญาตเพื่อให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์แก่ 4 หน่วยงาน ได้แก่ กองทัพบก (ช่อง 5) , บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (ช่อง9) , กรมประชาสัมพันธ์ (ช่อง11) และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) ซึ่งทั้งหมดจะต้องนำเสนอราคาค่าบริการโครงข่ายให้กับกสทช. และผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอล เพราะค่าบริการโครงข่ายถือเป็นต้นทุนที่สำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องนำไปร่วมประกอบในการนำเสนอราคาประมูลในครั้งนี้
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=194061:2013-08-07-03-51-42&catid=85:2009-02-08-11-22-45&Itemid=417
ตามที่มีการเสนอร่างประกาศกสทช. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลทีวีดิจิตอล ประเภทช่องรายการธุรกิจทั้ง 24 ช่อง เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ ได้ล่าช้ากว่าเดิม 1 เดือน จากเดิมที่กำหนดให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน เลื่อนไปเป็นเดือนตุลาคม แต่กสทช.ยืนยันพร้อมออกอากาศให้ได้ชมในวันที่ 5 ธันวาคมนี้แน่นอน นั้น
สุภิญญา กลางณรงค์สุภิญญา กลางณรงค์ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ยอมรับว่า แม้กำหนดเดือนตุลาคมเองนั้น ก็อาจไม่ทัน ต้องเลื่อนออกไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีผู้ประกอบการด้านโครงข่ายรายใด นำเสนอแผนพร้อมกำหนดราคาโครงข่ายเข้ามา ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดต้นทุนของการยื่นประมูลทีวีดิจิตอล คาดจะส่งผลให้ผู้บริโภคไม่สามารถรับชมทีวีดิจิตอล ได้ในวันที่ 5 ธันวาคมตามแผนเดิมที่กำหนดไว้
" ขณะนี้ยังไม่มีผู้ประกอบการด้านโครงข่ายรายได้เสนอราคาค่าใช้จ่ายโครงข่ายกับกสทช.เลย อีกทั้งพบว่าความพร้อมด้านเทคนิคของโครงข่ายยังไม่เสถียร และไม่แน่ใจว่าหากเปิดให้ประชาชนรับชมทีวีดิจิตอลได้ภายในวันที่ 5 ธันวาคมนี้แล้ว ประชาชนจะสามารถรับชมได้ครอบคลุมตามพื้นที่ที่กำหนดหรือไม่" นางสาวสุภิญญา กล่าวและว่า
แม้จะสามารถออกอากาศได้ทันภายในวันที่ 5 ธันวาคม แต่การรับชมทีวีดิจิตอล ก็อาจจะรับสัญญาณได้เพียงไม่กี่ช่องเท่านั้น ไม่เต็มรูปแบบ เบื้องต้นอาจจะออกได้ 6 ช่องฟรีทีวีเดิมก่อน ที่เป็นในรูปแบบดิจิตอลเดิมคู่ขนานกับระบบอะนาล็อก
ด้านนายสมพร ธีระโรจนพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีเอสไอ โฮลดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายกล่องรับสัญญาณและจานทีวีดาวเทียม "พีเอสไอ" กล่าวว่า การเปิดทีวีดิจิตอลให้ทันภายในวันที่ 5 ธันวาคมนี้ บริษัทมองว่าอาจเป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กสทช.กำหนดไว้ แต่สัญญาณพื้นที่การส่งอาจจะไม่ครอบคลุมตามเป้าหมายที่กสทช.คาดการณ์ไว้ ซึ่งในอนาคตกสทช.ก็ต้องเตรียมแผนสำรองไว้ เพื่อกันประชาชนเรียกร้องด้วย ในกรณีที่สัญญาณเข้าไปไม่ถึงบางครัวเรือน และเรื่องของการแจกคูปองที่จะแจกให้กับประชาชน ที่ยังขาดความชัดเจน และหากแจกจ่ายไม่ทั่วถึง หรือประชาชนรับสัญญาณรับชมทีวีดิจิตอลไม่ได้ ก็จะเกิดปัญหาตามมาภายหลัง
ทั้งนี้กสทช. ได้มอบใบอนุญาตเพื่อให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์แก่ 4 หน่วยงาน ได้แก่ กองทัพบก (ช่อง 5) , บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (ช่อง9) , กรมประชาสัมพันธ์ (ช่อง11) และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) ซึ่งทั้งหมดจะต้องนำเสนอราคาค่าบริการโครงข่ายให้กับกสทช. และผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอล เพราะค่าบริการโครงข่ายถือเป็นต้นทุนที่สำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องนำไปร่วมประกอบในการนำเสนอราคาประมูลในครั้งนี้
______________________________________
ปัญหารุมทีวีดิจิตอลส่อเลื่อนยาว
"ทีวีดิจิตอล"เมืองไทยส่อเค้าเลื่อนยาว ชี้ 3 โจทย์ใหญ่ค้ำคอกสทช. ทั้ง ระบบโครงข่ายขาดความพร้อมทำให้กำหนดราคาไม่ได้ ขณะเงื่อนไขการประมูลก็ไม่เป็นธรรมสำหรับรายเล็ก ซ้ำด้วยความไม่ชัดเจนของการแจกคูปอง "สุภิญญา"รับหวั่นส่งผล 5 ธ.ค. ดูได้แค่บางจุด
ด้านพีเอสไอโต้กสทช. ยื่นขอรับใบอนุญาตแล้ว ขณะที่ "อสมท" เตรียมเสนอค่าบริการโครงข่าย 60 ล้านบาทต่อปีในระบบ SD และ 180 ล้านบาทในระบบ HD
ตามที่มีการเสนอร่างประกาศกสทช. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลทีวีดิจิตอล ประเภทช่องรายการธุรกิจทั้ง 24 ช่อง เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ ได้ล่าช้ากว่าเดิม 1 เดือน จากเดิมที่กำหนดให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน เลื่อนไปเป็นเดือนตุลาคม แต่กสทช.ยืนยันพร้อมออกอากาศให้ได้ชมในวันที่ 5 ธันวาคมนี้แน่นอน นั้น
สุภิญญา กลางณรงค์สุภิญญา กลางณรงค์ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ยอมรับว่า แม้กำหนดเดือนตุลาคมเองนั้น ก็อาจไม่ทัน ต้องเลื่อนออกไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีผู้ประกอบการด้านโครงข่ายรายใด นำเสนอแผนพร้อมกำหนดราคาโครงข่ายเข้ามา ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดต้นทุนของการยื่นประมูลทีวีดิจิตอล คาดจะส่งผลให้ผู้บริโภคไม่สามารถรับชมทีวีดิจิตอล ได้ในวันที่ 5 ธันวาคมตามแผนเดิมที่กำหนดไว้
" ขณะนี้ยังไม่มีผู้ประกอบการด้านโครงข่ายรายได้เสนอราคาค่าใช้จ่ายโครงข่ายกับกสทช.เลย อีกทั้งพบว่าความพร้อมด้านเทคนิคของโครงข่ายยังไม่เสถียร และไม่แน่ใจว่าหากเปิดให้ประชาชนรับชมทีวีดิจิตอลได้ภายในวันที่ 5 ธันวาคมนี้แล้ว ประชาชนจะสามารถรับชมได้ครอบคลุมตามพื้นที่ที่กำหนดหรือไม่" นางสาวสุภิญญา กล่าวและว่า
แม้จะสามารถออกอากาศได้ทันภายในวันที่ 5 ธันวาคม แต่การรับชมทีวีดิจิตอล ก็อาจจะรับสัญญาณได้เพียงไม่กี่ช่องเท่านั้น ไม่เต็มรูปแบบ เบื้องต้นอาจจะออกได้ 6 ช่องฟรีทีวีเดิมก่อน ที่เป็นในรูปแบบดิจิตอลเดิมคู่ขนานกับระบบอะนาล็อก
สาเหตุสำคัญคือ ผู้ประกอบการไม่สามารถคำนวณต้นทุนราคาโครงข่ายได้ทัน และอาจจะส่งผลให้ช่องที่ประมูลมา ยังไม่สามารถออกอากาศให้บริการประชาชนได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้น ราคาโครงข่ายจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับผู้ประกอบกิจการ หากไม่ชัดเจนก็อาจจะส่งผลให้ผู้ประกอบกิจการทั้งรายเล็ก รายกลางและรายใหญ่ ประท้วงได้ในอนาคต
ทั้งนี้ในแง่ของหลักเกณฑ์การประมูลทีวีดิจิตอลที่ออกมานั้น นางสาวสุภิญญา กล่าวว่า ในความคิดส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับหลายเรื่อง เช่น การแข่งขันที่ไม่เสรีและเป็นธรรมสำหรับผู้ประกอบกิจการรายเล็ก ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ออกมาดูเหมือนจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ได้เข้าร่วมแสดงความเห็นฝ่ายเดียว รวมทั้งเรื่องการจ่ายเงินโดยระบุให้ผู้ประกอบการที่เข้าประมูลจะต้องจ่ายเป็นเงินสด หรือเช็คเงินสดเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ใช้แบงก์การันตี และการแข่งขันครั้งนี้เป็นการแข่งขันแบบเสมอภาค ให้ผู้ประกอบการรายเล็กแข่งขันกับรายใหญ่ ซึ่งดูแล้วผู้ประกอบการรายเล็กยังเสียเปรียบรายใหญ่อยู่มาก ซึ่งหากกสทช.ปล่อยให้ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์เฉพาะรายใหญ่ชนะการประมูล ก็จะขัดเจตนารมณ์ของกสทช.ที่เคยตั้งไว้ คือต้องการให้ผู้ชมได้รับคอนเทนต์ที่หลากหลายและมีคุณภาพ
"การแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม จะต้องมีเกณฑ์การแข่งขันที่เสมอภาค ไม่นำเงินมาเป็นเกณฑ์วัดตัวตั้ง เพราะการใช้เงินมาเป็นเกณฑ์การตัดสิน เหมือนเป็นการสร้างกำแพงกั้นผู้ประกอบกิจการรายเล็ก แต่ทั้งนี้กติกาการประมูลต่าง ๆ ก็ออกไปแล้ว ขณะเดียวกันในปัจจุบันกสทช.เองก็พยายามจะให้ทุกอย่างดำเนินการไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่อยากให้กสทช.ค่อย ๆ ทบทวนร่างประกาศ หรือหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ให้พร้อมและสมบูรณ์ก่อน เพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหาในภายหลัง ทำให้เหมือนกับสุภาษิตไทย ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม"
ขณะนี้กสทช.ก็กำลังเร่งกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ ให้เดินตามกรอบที่กำหนดไว้ แต่ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก็คือ เรื่องของราคาโครงข่ายที่ยังไม่สมบูรณ์ เรื่องนี้จัดเป็นคอขวดที่สำคัญ รวมถึงทางฝั่งช่องสาธารณะด้วย ซึ่งหากปัจจัยต่าง ๆ ยังไม่ครบถ้วนก็ควรจะทำให้เสร็จเรียบร้อยก่อน ขณะเดียวกันหากรายเล็กมีข้อเรียกร้องก็ควรรีบชี้แจง เพราะหากปล่อยให้เกณฑ์ต่าง ๆ ผ่านประกาศในราชกิจจาฯแล้ว จะไม่สามารถแก้ไขได้อีก
ด้านนายสมพร ธีระโรจนพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีเอสไอ โฮลดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายกล่องรับสัญญาณและจานทีวีดาวเทียม "พีเอสไอ" กล่าวว่า การเปิดทีวีดิจิตอลให้ทันภายในวันที่ 5 ธันวาคมนี้ บริษัทมองว่าอาจเป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กสทช.กำหนดไว้ แต่สัญญาณพื้นที่การส่งอาจจะไม่ครอบคลุมตามเป้าหมายที่กสทช.คาดการณ์ไว้ ซึ่งในอนาคตกสทช.ก็ต้องเตรียมแผนสำรองไว้ เพื่อกันประชาชนเรียกร้องด้วย ในกรณีที่สัญญาณเข้าไปไม่ถึงบางครัวเรือน และเรื่องของการแจกคูปองที่จะแจกให้กับประชาชน ที่ยังขาดความชัดเจน และหากแจกจ่ายไม่ทั่วถึง หรือประชาชนรับสัญญาณรับชมทีวีดิจิตอลไม่ได้ ก็จะเกิดปัญหาตามมาภายหลัง
"ส่วนข่าวพีเอสไอยังไม่ไปขอใบอนุญาตประกอบกิจการนั้น บริษัทขอชี้แจงว่าพีเอสไอเข้าไปขอรับใบอนุญาตนานแล้ว แต่ยื่นขอในนามบริษัท โพลี บรอดแคสติ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้นนี้อยากให้กสทช.ตรวจสอบให้ชัดเจนอีกครั้ง"
ด้านนายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบในหลักการ ให้บมจ.อสมท ประมูลทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจ ในช่องข่าว ช่องรายการทั่วไป (เอสดี) และช่องรายการทั่วไป (เอชดี) ตลอดจนการให้บริการโครงข่าย เพื่อรับบริการออกอากาศให้กับช่องรายการต่าง ๆ โดยอสมทได้เตรียมวงเงินทั้งหมดไว้ 5 พันล้านบาท ซึ่งเป็นกระแสเงินสดของอสมท เอง และหากไม่เพียงพอ ก็สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้อีกกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ดี อสมท ได้เตรียมเสนอกำหนดราคาค่าโครงข่ายในระบบเอสดีไว้ที่ปีละ 60 ล้านบาท และระบบเอชดีปีละ 180 ล้านบาท ให้กสทช.พิจารณาในเร็ว ๆ นี้ เพื่อให้ราคาสอดคล้องกับผู้ให้บริการรายอื่นทั้งช่อง 5 , กรมประชาสัมพันธ์ และไทยพีบีเอส
อนึ่ง กสทช. ได้จัดทำแผนทีวีดิจิตอลจำนวน 36 ช่อง แบ่งเป็นช่องทีวีสาธารณะ 12 ช่อง ประกอบไปด้วย ช่องหมายเลข 1 ททบ.5 , ช่อง 2 NBT หรือช่อง 11 , ช่อง 3 และ 4 ไทยพีบีเอส ,ช่อง 5 ช่องการศึกษา ความรู้ , ช่อง 6 ช่องศิลปะ ศาสนาและวัฒนธรรม , ช่อง 7 ช่องสุขภาพ กีฬา คุณภาพชีวิต , ช่อง 8 ช่องความมั่นคงของรัฐ ,ช่อง 9 ช่องของความปลอดภัยสาธารณะ , ช่อง 10 ช่องความเข้าใจระหว่างรัฐบาล รัฐสภากับประชาชน , ช่อง11 ช่องส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย และช่อง 12 เป็นช่องเด็ก และคนด้อยโอกาส
ช่องธุรกิจ 24 ช่อง ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการประมูล ได้แก่ ช่องเด็กเยาวชนและครอบครัว จำนวน 3 ช่อง ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 140 ล้านบาท , ช่องข่าวและสาระ จำนวน 7 ช่อง ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 220 ล้านบาท ช่องรายการทั่วไป (SD) จำนวน 7 ช่อง ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 380 ล้านบาท และช่องรายการทั่วไป (HD) จำนวน 7 ช่อง ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 1.51 พันล้านบาท เบื้องต้นราคาเริ่มต้นประมูลคิดเป็นเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งกสทช. จะนำเงินดังกล่าวมาจัดทำเป็นคูปองเงินสดแจกจ่ายให้กับประชาชนจำนวน 22 ล้านครัว เพื่อนำไปซื้อกล่องรับสัญญาณ (SET TOP BOX) ในการรับชมทีวีดิจิตอลต่อไป
ทั้งนี้กสทช. ได้มอบใบอนุญาตเพื่อให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์แก่ 4 หน่วยงาน ได้แก่ กองทัพบก (ช่อง 5) , บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (ช่อง9) , กรมประชาสัมพันธ์ (ช่อง11) และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) ซึ่งทั้งหมดจะต้องนำเสนอราคาค่าบริการโครงข่ายให้กับกสทช. และผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอล เพราะค่าบริการโครงข่ายถือเป็นต้นทุนที่สำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องนำไปร่วมประกอบในการนำเสนอราคาประมูลในครั้งนี้
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=194061:2013-08-07-03-51-42&catid=85:2009-02-08-11-22-45&Itemid=417
ไม่มีความคิดเห็น: