Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 กุมภาพันธ์ 2557 (บทความ) "โนเกีย-เอชทีซี" แฝดคนละฝา ลุยฟื้นมาร์เก็ตแชร์สมาร์ทโฟนโลก // Android ของ NOKIA ไม่ได้ใช้กูเกิลเพลย์เป็นช่องทางในการเข้าถึงแอปพลิเคชั่น มีการตัดฟีเจอร์บางอย่างของกูเกิลออกไปด้วย


ประเด็นหลัก



แหล่งข่าววงในออกมาให้ข้อมูลว่า แอนดรอยด์โฟนของ "โนเกีย" จะแตกต่างไปจากสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ทั่วไป และไม่ได้ใช้กูเกิลเพลย์เป็นช่องทางในการเข้าถึงแอปพลิเคชั่น มีการตัดฟีเจอร์บางอย่างของกูเกิลออกไปด้วย

โทรศัพท์รุ่นดังกล่าวจะใช้เซอร์วิสที่พัฒนาขึ้นจาก "โนเกียและไมโครซอฟท์" ได้แก่ บริการแผนที่ "เฮียร์", บริการฟังเพลงออนไลน์ "มิกซ์เรดิโอ" เป็นต้น กลยุทธ์นี้คล้ายคลึงกับกลยุทธ์ของ "อเมซอน" ซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์แบบพิเศษสำหรับแท็บเลตคินเดิล และไม่ได้ใช้แอปพลิเคชั่นของแอนดรอยด์อีกด้วย

สาเหตุที่ "ไมโครซอฟท์" ซื้อธุรกิจโนเกียคือเพิ่มโอกาสชิงลูกค้าจากตลาดประเทศเกิดใหม่ ก่อนหน้านี้ผู้บริหารไมโครซอฟท์เคยให้สัมภาษณ์ว่า ต้องการจับผู้บริโภคที่ซื้อสมาร์ทโฟนราคาสูง โดย "สตีฟ บัลเมอร์"อดีตซีอีโอไมโครซอฟท์ กล่าวไว้ว่า โทรศัพท์ราคาถูกเป็นด่านแรกที่เชื่อมต่อผู้คนให้เข้าถึงเทคโนโลยีได้ในหลายที่ทั่วโลก

ปีก่อน "ไมโครซอฟท์" เคยให้ข้อมูลว่า ต้องจำหน่ายสมาร์ทโฟนให้ได้ถึง 50 ล้านเครื่อง จึงจะถึงจุดคุ้มทุน ขณะที่เมื่อ ม.ค.ที่ผ่านมา โนเกียเปิดเผยว่า ขาย "ลูเมีย" ไปได้ 30 ล้านเครื่อง ในปี 2556 เท่านั้น

เรื่องที่ "โนเกีย" จะหันมาทำสมาร์ทโฟน

"แอนดรอยด์" มีเค้าลางตั้งแต่ปลายปี 2556 โดยหลายฝ่ายคาดว่า "โนเกีย นอมังดี" หรือ "โนเกีย เอ็กซ์" มีหน้าจอ 4 นิ้ว ใช้หน่วยประมวลผลดูอัลคอร์ พร้อมกล้องหลัง ความละเอียด 5 ล้านพิกเซล ราคาค่าตัว 100-120 เหรียญสหรัฐ

นอกจาก "โนเกีย" ผู้ผลิตชื่อสัญชาติไต้หวัน "เอชทีซี" ก็กำลังปรับกลยุทธ์เช่นกัน โดย "ชาง เชียหลิน" หัวหน้าฝ่ายการเงิน (ซีเอฟโอ) "เอชทีซี" ประกาศว่า จะรุกตลาดโทรศัพท์มือถือระดับล่างแบบไม่เคยทำมาก่อน โดยออกสายผลิตภัณฑ์ที่มีระดับราคา 150-200 เหรียญสหรัฐ (โทรศัพท์ของเอชทีซีราคาถูกที่สุดตรงนี้ อยู่ที่ 230 เหรียญสหรัฐ) เปลี่ยนไปลิบลับจากเมื่อ 2 ปีก่อน

"ปีเตอร์ ชู" ซีอีโอ "เอชทีซี" เคยพูดว่า เน้นจับแต่ตลาดบน เนื่องจากไม่อยากทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ต้องเสียหาย

ยอดขายที่ถดถอยอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้บริษัทต้องเปลี่ยนท่าที ซึ่งช่วงหลัง "ชาง เชียหลิน" มีบทบาทกับทิศทางบริษัทมากขึ้น และเห็นว่าตัวเลขยอดขายมีความสำคัญกับเอชทีซีมาก และสมาร์ทโฟนราคา 150-200 เหรียญสหรัฐ จะไม่ได้วางจำหน่ายแค่ในจีนเท่านั้น แต่รวมไปถึงตลาดประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกาและแถบยุโรปด้วย โดยอาจในร้านค้าปลีก หรือมาในรูปแบบพ่วงไปพร้อมแพ็กเกจของโอเปอเรเตอร์แต่ยังเชื่อว่าจุดแข็งของบริษัทมาจากสินค้าไฮเอนด์

"เดอะ วอลล์สตรีต เจอร์นัล" มองว่า การเปลี่ยนแปลงของ "เอชทีซี" เป็นการปรับตัวรับสภาพการแข่งขันที่เปลี่ยนไป เนื่องจากผู้ผลิตสมาร์ทโฟนราคาถูกในประเทศจีนเข้ามามีบทบาทในตลาดมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลจาก "ไอดีซี" ระบุว่า เมื่อปี 2556 หัวเว่ยมีส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลก 4% เป็น 4.9% ส่วน

เลอโนโวก็มีส่วนแบ่งเพิ่มจาก 3.3% เป็น 4.5% ขณะที่ "เอชทีซี" หลุดจาก 1 ใน 10 จน "การ์ทเนอร์และไอดีซี" ไม่นำตัวเลขของบริษัทมาเผยแพร่อีกต่อไป

ถึงขั้นนี้ "เอชทีซี" จะมัวแต่นิ่งเฉยเห็นทีจะไม่ได้ เพราะมีเปอร์เซ็นต์สูงว่าชื่ออาจหลงเหลืออยู่แต่ในหัวของแฟนขาประจำเท่านั้น











______________________________________







"โนเกีย-เอชทีซี" แฝดคนละฝา ลุยฟื้นมาร์เก็ตแชร์สมาร์ทโฟนโลก


คอลัมน์ CLICK World



ปี 2557 เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงในตลาดโทรศัพท์มือถือ เพราะเปิดมาเดือนเดียว ยักษ์พีซี "เลอโนโว" ออกมาประกาศข่าวใหญ่ว่าด้วยการซื้อ "โมโตโรล่า" จาก "กูเกิล" และถัดมาอีกไม่กี่วัน ยักษ์ไอทีผู้กำลังหาที่ยืนในตลาดอย่าง "ไมโครซอฟท์" ก็เผยโฉมหน้าซีอีโอคนใหม่

ล่าสุดแว่วมาว่าอดีตยักษ์ "โนเกีย" กำลังจะเข้ามาแข่งขันในตลาด "แอนดรอยด์โฟน" บ้างแล้ว เช่นกันกับ "เอชทีซี" ที่ลงมาตลาดสมาร์ทโฟนราคาไม่แพง

"เดอะ วอลล์สตรีต เจอร์นัล" รายงานว่า ไมโครซอฟท์อาจหันไปร่วมมือกับคู่แข่งอย่าง "กูเกิล" เมื่อมีข่าวหลุดจากแหล่งข่าววงในออกมาว่า "โนเกีย" ที่กำลังจะตกเป็นของไมโครซอฟท์ในราคากว่า 7,400 ล้านเหรียญสหรัฐ วางแผนเปิดตัว "สมาร์ทโฟน" ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ของกูเกิล

ก่อนหน้าที่ "ไมโครซอฟท์" จะเข้ามาทำสัญญาซื้อขายธุรกิจโทรศัพท์มือถือ และสิทธิบัตรของ "โนเกีย" เมื่อ ก.ย.ปีที่แล้ว ทีมวิศวกรของ "โนเกีย" อยู่ระหว่างการพัฒนาโทรศัพท์ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์มาระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะบุกตลาดแอนดรอยด์หรือไม่ แต่ในเวลานี้แหล่งข่าวบางคนคาดว่าอาจเห็นโฉมหน้าสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ "โนเกีย" เป็นครั้งแรกในงาน "โมบาย เวิลด์ คองเกรส" ระหว่างวันที่ 24-27 ก.พ.นี้

หากเป็นความจริง เท่ากับเป็นสัญญาณชี้ให้เห็นว่าทั้งไมโครซอฟท์และโนเกียคาดคะเนตลาดโทรศัพท์มือถือผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง มองในแง่เทคนิคจะพบว่าระบบปฏิบัติการ "วินโดวส์" ของไมโครซอฟท์ไม่สามารถนำไปใช้กับสมาร์ทโฟนราคาย่อมเยาได้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันการเติบโตของตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลก โดยเฉพาะในตลาดประเทศเกิดใหม่ทั้งหลายไม่ต้องบอกก็พอจะทราบกันได้ว่า เมื่อก่อน "โนเกีย" เคยเป็นราชันย์ในตลาดโทรศัพท์มือถือในกลุ่มประเทศเกิดใหม่

อดีตยักษ์รายนี้ต้องเสียที่ยืนในตลาด จากการปรับตัวรับมือกระแสนิยมในระบบปฏิบัติการ "แอนดรอยด์" ช้าเกินไปในหลายประเทศ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือตลาดในอินเดีย ซึ่งโทรศัพท์ระบบปฏิบัติการ

"ซิมเบียน" ของ "โนเกีย" เคยได้รับความนิยมล้นหลามเมื่อ 2-3 ปีก่อน แต่ข้อมูลจากบริษัทวิจัยไอดีซีปี 2556 ชี้ว่า ระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์น่าจะมีสัดส่วนในตลาดสมาร์ทโฟนในอินเดียมากถึง 93% จากทั้งหมด

"เนล มอว์สตัน" นักวิเคราะห์ บริษัท สตราติจี้ อะนาไลติกส์ เห็นว่า แอนดรอยด์รวบตลาดสมาร์ทโฟนระดับล่างมาไว้ในมือแทบทั้งหมด การที่ไมโครซอฟท์ก้าวผิดพลาดในตลาดล่าง เป็นเหตุให้ทั้งไมโครซอฟท์และโนเกียสูญเสียยอดขายไปมาก แต่อย่างน้อยตอนนี้ "ไมโครซอฟท์"

ก็ดูเต็มใจเปิดสายผลิตภัณฑ์ส่วนหนึ่งให้ระบบปฏิบัติการ "แอนดรอยด์" ด้วยความหวังที่จะให้เข้ามาช่วยเพิ่มยอดขาย เพราะยอดขายที่เพิ่มขึ้นจะช่วยให้มีต้นทุนเข้ามา

กลบงบประมาณส่วนที่ต้องนำไปแข่งกับผู้เล่นรายอื่น ตั้งแต่กูเกิล, แอปเปิล และซัมซุง แต่ไม่ได้หมายความว่าไมโครซอฟท์จะทิ้งสายผลิตภัณฑ์ของตัวเอง

ตรงกันข้าม บริษัทยังเน้นหนักใน "วินโดวส์โฟน" เพื่อให้พอฟัดพอเหวี่ยงกับ "ไอโฟน" ของ "แอปเปิล" และสมาร์ทโฟนตระกูล "กาแล็คซี่" ของซัมซุง

แหล่งข่าววงในออกมาให้ข้อมูลว่า แอนดรอยด์โฟนของ "โนเกีย" จะแตกต่างไปจากสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ทั่วไป และไม่ได้ใช้กูเกิลเพลย์เป็นช่องทางในการเข้าถึงแอปพลิเคชั่น มีการตัดฟีเจอร์บางอย่างของกูเกิลออกไปด้วย

โทรศัพท์รุ่นดังกล่าวจะใช้เซอร์วิสที่พัฒนาขึ้นจาก "โนเกียและไมโครซอฟท์" ได้แก่ บริการแผนที่ "เฮียร์", บริการฟังเพลงออนไลน์ "มิกซ์เรดิโอ" เป็นต้น กลยุทธ์นี้คล้ายคลึงกับกลยุทธ์ของ "อเมซอน" ซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์แบบพิเศษสำหรับแท็บเลตคินเดิล และไม่ได้ใช้แอปพลิเคชั่นของแอนดรอยด์อีกด้วย

สาเหตุที่ "ไมโครซอฟท์" ซื้อธุรกิจโนเกียคือเพิ่มโอกาสชิงลูกค้าจากตลาดประเทศเกิดใหม่ ก่อนหน้านี้ผู้บริหารไมโครซอฟท์เคยให้สัมภาษณ์ว่า ต้องการจับผู้บริโภคที่ซื้อสมาร์ทโฟนราคาสูง โดย "สตีฟ บัลเมอร์"อดีตซีอีโอไมโครซอฟท์ กล่าวไว้ว่า โทรศัพท์ราคาถูกเป็นด่านแรกที่เชื่อมต่อผู้คนให้เข้าถึงเทคโนโลยีได้ในหลายที่ทั่วโลก

ปีก่อน "ไมโครซอฟท์" เคยให้ข้อมูลว่า ต้องจำหน่ายสมาร์ทโฟนให้ได้ถึง 50 ล้านเครื่อง จึงจะถึงจุดคุ้มทุน ขณะที่เมื่อ ม.ค.ที่ผ่านมา โนเกียเปิดเผยว่า ขาย "ลูเมีย" ไปได้ 30 ล้านเครื่อง ในปี 2556 เท่านั้น

เรื่องที่ "โนเกีย" จะหันมาทำสมาร์ทโฟน

"แอนดรอยด์" มีเค้าลางตั้งแต่ปลายปี 2556 โดยหลายฝ่ายคาดว่า "โนเกีย นอมังดี" หรือ "โนเกีย เอ็กซ์" มีหน้าจอ 4 นิ้ว ใช้หน่วยประมวลผลดูอัลคอร์ พร้อมกล้องหลัง ความละเอียด 5 ล้านพิกเซล ราคาค่าตัว 100-120 เหรียญสหรัฐ

นอกจาก "โนเกีย" ผู้ผลิตชื่อสัญชาติไต้หวัน "เอชทีซี" ก็กำลังปรับกลยุทธ์เช่นกัน โดย "ชาง เชียหลิน" หัวหน้าฝ่ายการเงิน (ซีเอฟโอ) "เอชทีซี" ประกาศว่า จะรุกตลาดโทรศัพท์มือถือระดับล่างแบบไม่เคยทำมาก่อน โดยออกสายผลิตภัณฑ์ที่มีระดับราคา 150-200 เหรียญสหรัฐ (โทรศัพท์ของเอชทีซีราคาถูกที่สุดตรงนี้ อยู่ที่ 230 เหรียญสหรัฐ) เปลี่ยนไปลิบลับจากเมื่อ 2 ปีก่อน

"ปีเตอร์ ชู" ซีอีโอ "เอชทีซี" เคยพูดว่า เน้นจับแต่ตลาดบน เนื่องจากไม่อยากทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ต้องเสียหาย

ยอดขายที่ถดถอยอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้บริษัทต้องเปลี่ยนท่าที ซึ่งช่วงหลัง "ชาง เชียหลิน" มีบทบาทกับทิศทางบริษัทมากขึ้น และเห็นว่าตัวเลขยอดขายมีความสำคัญกับเอชทีซีมาก และสมาร์ทโฟนราคา 150-200 เหรียญสหรัฐ จะไม่ได้วางจำหน่ายแค่ในจีนเท่านั้น แต่รวมไปถึงตลาดประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกาและแถบยุโรปด้วย โดยอาจในร้านค้าปลีก หรือมาในรูปแบบพ่วงไปพร้อมแพ็กเกจของโอเปอเรเตอร์แต่ยังเชื่อว่าจุดแข็งของบริษัทมาจากสินค้าไฮเอนด์

"เดอะ วอลล์สตรีต เจอร์นัล" มองว่า การเปลี่ยนแปลงของ "เอชทีซี" เป็นการปรับตัวรับสภาพการแข่งขันที่เปลี่ยนไป เนื่องจากผู้ผลิตสมาร์ทโฟนราคาถูกในประเทศจีนเข้ามามีบทบาทในตลาดมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลจาก "ไอดีซี" ระบุว่า เมื่อปี 2556 หัวเว่ยมีส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลก 4% เป็น 4.9% ส่วน

เลอโนโวก็มีส่วนแบ่งเพิ่มจาก 3.3% เป็น 4.5% ขณะที่ "เอชทีซี" หลุดจาก 1 ใน 10 จน "การ์ทเนอร์และไอดีซี" ไม่นำตัวเลขของบริษัทมาเผยแพร่อีกต่อไป

ถึงขั้นนี้ "เอชทีซี" จะมัวแต่นิ่งเฉยเห็นทีจะไม่ได้ เพราะมีเปอร์เซ็นต์สูงว่าชื่ออาจหลงเหลืออยู่แต่ในหัวของแฟนขาประจำเท่านั้น


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1392792277

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.