Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 พฤษภาคม 2557 (บทความ) Surface ยิ่งขายยิ่งขาดทุน // ระบุ ย้อนไปดูรายได้จาก Surface ย้อนหลัง 3 ไตรมาสจนถึงสิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา รายได้อยู่ที่ 1,800 ล้านเหรียญ ขณะที่ต้นทุนขายอยู่ที่ 2,100 ล้านเหรียญ


ประเด็นหลัก

เป็นความย้อนแย้งอย่างหนึ่งที่ไมโครซอฟท์รายงานกับคณะกรรมการกำกับหลัก ทรัพย์ว่า "ต้นทุนการขายที่สูงขึ้นมาจากจำนวนหน่วยที่ขายสูงขึ้น" หรือพูดง่าย ๆ ถ้ายิ่งขายได้มากการขาดทุนก็จะยิ่งมากตามไปด้วย

หาก ย้อนไปดูรายได้จาก Surface ย้อนหลัง 3 ไตรมาสจนถึงสิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา รายได้อยู่ที่ 1,800 ล้านเหรียญ ขณะที่ต้นทุนขายอยู่ที่ 2,100 ล้านเหรียญ เฉลี่ยแล้วทุก 100 เหรียญของรายได้จาก Surface ต้นทุนขายจะเป็น 116 เหรียญ

การ ขายขาดทุนนี้เป็นสภาวะจำยอมเพราะการแข่งขันในตลาดสูง ไมโครซอฟท์เองก็ยอมรับว่าไม่สามารถจะขายในราคาที่คาดหวังได้ ที่สำคัญคู่แข่งรายใหญ่ที่ครองตลาดนั้นเพียบพร้อมเชื่อมร้อยกันทั้ง ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการ ซึ่งทุกอย่างเป็นที่มาของรายได้ ขณะที่ไมโครซอฟต์ยังก้าวไปไม่ถึงจุดนั้น และจะไปถึงได้หรือเปล่าเป็นเรื่องที่ต้องดูกัน


______________________________________



Surface ยิ่งขายยิ่งขาดทุน


ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คอลัมน์ IT. Talentz โดย siripong@kidtalentza.com

แท็บเลตเป็นอุปกรณ์ที่จะว่าไปแล้วอายุของมันไม่นานนัก แต่ก็เติบโตขยายตัวอย่างรวดเร็ว และคงจะแซงหน้าพีซีในเวลาอีกไม่นานนัก แท็บเลตในตลาดหากแยกตามระบบบปฏิบัติการแล้ว เกือบจะเรียกว่ามีเพียง 2 ระบบเท่านั้น คือ iOS ของแอปเปิล กับแอนดรอยด์ ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ครองตลาดมากกว่าเพราะผู้ผลิตมีมากมาย ส่วนระบบปฏิบัติการอื่น ๆ เป็นติ่ง ๆ ในตลาดโลก

เมื่อแยกตามผู้ผลิต จากข้อมูลของไอดีซีช่วงไตรมาส 1 ของปีนี้ บริษัทที่ครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุด คือ แอปเปิล ซึ่งเป็นเจ้าเดียวที่ผลิตไอแพด มีส่วนแบ่งอยู่ร้อยละ 32 จากยอดรวมของตลาดทั้งหมด 50.4 ล้านเครื่อง รองลงมาคือซัมซุงร้อยละ 22.3 ตามมาห่างค่อนข้างมากคือ เอซุสร้อยละ 5.0 เลอโนโว 4.1 และอเมซอน 1.9



สังเกตว่าอันดับ 1-5 ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดในไตรมาส 1 ปีนี้รวมกันประมาณร้อยละ 65 ไม่มียักษ์ใหญ่ไมโครซอฟท์ติดอยู่ด้วย

แน่นอนว่าไมโครซอฟท์อาจจะถือเป็นน้องใหม่ในตลาดแท็บเลตที่ส่งSurface เข้าสู่ตลาดเพื่อแข่งขันกับเขาบ้างเมื่อเดือนตุลาคม 2012 โดยที่ตัวมันเองก็สร้างความสับสนอยู่พอสมควรเพราะมีอยู่ 2 รุ่น คือ Surface RT ซึ่งรุ่นล่าสุดตัด RT ออกไป และกับ Surface Pro

ความแตกต่างอยู่ตรงที่ Surface ซึ่งราคาค่อนข้างถูกนั้นคือแท็บเลตแท้ ๆ ที่ใช้หน่วยประมวลผล ARM เหมือนแท็บเลตอื่น ๆ ในท้องตลาด เพียงแต่ระบบปฏิบัติการเป็นวินโดวส์ที่พัฒนาสำหรับแท็บเลตโดยเฉพาะ สามารถติดตั้งได้เฉพาะแอปพลิเคชั่นสำหรับแท็บเลตเท่านั้น ส่วน Surface Pro เป็นลูกผสมระหว่างแท็บเลตกับโน้ตบุ๊ก ติดตั้งซอฟต์แวร์ได้เหมือนโน้ตบุ๊กหรือพีซีทั่วไป ใช้งานได้ทั้งสองลักษณะ

ระยะเวลาประมาณปีครึ่งหลังจากเริ่มส่ง Surface ออกสู่ตลาด แม้ถือว่าไม่นานแต่ผลลัพธ์จากตลาดก็พอบอกได้แล้วว่าไมโครซอฟท์ไม่ประสบความสำเร็จ และที่จริงผลลัพธ์นั้นสะท้อนออกจากเสียงตอบรับด้านยอดขายจริงตั้งแต่แรกที่ออกมาแล้ว เพราะมันไม่เป็นไปตามที่คาดไว้จนต้องลดออร์เดอร์ที่สั่งผลิตที่ทำให้ดูจะแย่ไปกว่าการที่มันขายไม่ดีหรือไม่ได้อย่างที่คาดหวังก็คือในการขาย Surface แต่ละเครื่องยังขาดทุนอีกด้วย เพราะราคาขายต่ำกว่าต้นทุนขาย

จากข้อมูลที่ไมโครซอฟท์รายงานให้กับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาไตรมาส 1 ของปี 2014 รายได้จากการขาย Surface และอุปกรณ์เสริมคือ 494 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ต้นทุนการขายอยู่ที่ 539 ล้านเหรียญ

เป็นความย้อนแย้งอย่างหนึ่งที่ไมโครซอฟท์รายงานกับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ว่า "ต้นทุนการขายที่สูงขึ้นมาจากจำนวนหน่วยที่ขายสูงขึ้น" หรือพูดง่าย ๆ ถ้ายิ่งขายได้มากการขาดทุนก็จะยิ่งมากตามไปด้วย

หากย้อนไปดูรายได้จาก Surface ย้อนหลัง 3 ไตรมาสจนถึงสิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา รายได้อยู่ที่ 1,800 ล้านเหรียญ ขณะที่ต้นทุนขายอยู่ที่ 2,100 ล้านเหรียญ เฉลี่ยแล้วทุก 100 เหรียญของรายได้จาก Surface ต้นทุนขายจะเป็น 116 เหรียญ

การขายขาดทุนนี้เป็นสภาวะจำยอมเพราะการแข่งขันในตลาดสูง ไมโครซอฟท์เองก็ยอมรับว่าไม่สามารถจะขายในราคาที่คาดหวังได้ ที่สำคัญคู่แข่งรายใหญ่ที่ครองตลาดนั้นเพียบพร้อมเชื่อมร้อยกันทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการ ซึ่งทุกอย่างเป็นที่มาของรายได้ ขณะที่ไมโครซอฟต์ยังก้าวไปไม่ถึงจุดนั้น และจะไปถึงได้หรือเปล่าเป็นเรื่องที่ต้องดูกัน

การขายแท็บเลตในราคาขาดทุนหรือเท่าทุนไม่ใช่เรื่องแปลกนัก แต่บริษัทที่ทำได้หวังแรงกระเพื่อมที่จะเกิดรายได้จากทางอื่น ๆ ที่มีให้ลูกค้าควักกระเป๋าด้วย โมเดลที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับรายที่ไม่ได้ครองตลาดใหญ่แต่เบียดเข้ามาด้วยก็อย่างเช่น อเมซอน เป็นต้น

แต่ทุกวันนี้คนใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเลตทั่ว ๆ ไป ไม่มีใครไม่รู้จักไอจูนส์, กูเกิล เพลย์สโตร์ แต่เมื่อพูดถึงวินโดวส์สโตร์แทบไม่มีใครนึกภาพออก


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1399957991

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.