Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 พฤษภาคม 2557 (เกาะติดประมูล4G) DTAC ระบุ คลื่นที่ดีที่สุดเพื่อให้บริการ 4G LTE คือ 900 MHz ปัจจุบัน ดีแทคมีลูกค้า 28 ล้านเลขหมาย เป็นดีแทค 12.4 ล้านเลขหมาย หรือ 44% และ "ดีแทค ไตรเน็ต" 15.9 ล้าน


ประเด็นหลัก

"ซีอีโอดีแทค" พูดชัดว่า คลื่นที่ดีที่สุดเพื่อให้บริการ 4G LTE คือ 900 MHz ที่ กสทช.จะประมูลปลายปี จึงให้ความสำคัญกับการประมูลมากกว่า 1800 MHz ที่จะประมูล ส.ค.นี้ เพราะ 900 MHz ส่งสัญญาณได้ไกลกว่า แม้แบ่งสองใบอนุญาต (ความจุ 10 MHz x2 กับ 7.5 MHz x2) แต่บริษัทเดียวกันชนะทั้งสองใบได้

"ซีอีโอดีแทค" มองว่า การประมูลคลื่น 1800 MHz จำนวน 25 MHz x2 แบ่งเป็นใบอนุญาตละ 12.5 MHz x2 ใน ส.ค.นี้ มีราคาตั้งต้นค่อนข้างสูง (464 ล้านบาทต่อ MHz) เมื่อเทียบกับราคาประเทศอื่น ดังนั้นการเคาะเสนอราคาแต่ละครั้งจึงสำคัญ ส่วนราคาที่เหมาะสมคิดว่าไม่น่าห่างจากราคาตั้งต้นมากนัก

ปัจจุบัน ดีแทคมีลูกค้า 28 ล้านเลขหมาย เป็นดีแทค 12.4 ล้านเลขหมาย หรือ 44% และ "ดีแทค ไตรเน็ต" 15.9 ล้าน หรือ 56% มีสมาร์ทโฟน 9.6 ล้านเครื่อง หรือ 34% จากลูกค้าทั้งหมด มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 9.1 ล้านเลขหมาย หรือ 32% และในสิ้นปีตั้งเป้าขยับลูกค้าเพิ่มเป็น 30 ล้านเลขหมาย มีเครื่องที่รองรับการใช้อินเทอร์เน็ต 15 ล้านเครื่อง

ไม่ ต่างจากเอไอเอส "ปรัธนา ลีลพนัง" รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานการตลาด เอไอเอส กล่าวว่า จะเข้าประมูลคลื่นความถี่ใหม่แน่นอน จากปริมาณการใช้ดาต้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ความถี่มีความสำคัญ หากไม่มีความถี่เพิ่มจะมีปัญหา จึงอยากให้ กสทช.เร่งจัดประมูลความถี่ 1800 MHz โดยเร็ว บริษัทต้องการนำมาทำ 4G เพราะมีคลื่นเยอะ ย่อมดีกว่ามีคลื่นน้อย และมีคลื่นบนความถี่เดียวกัน จะดีกว่ามีคลื่นกระจัดกระจายหลายความถี่

"การที่เราเป็น เบอร์ 1 ในแง่ฐานลูกค้า แต่ยังไม่มีคลื่นทำ 4G ก็อาจเสียเปรียบคู่แข่งบ้าง แต่ทำแล้วลูกค้าใช้งานได้มากน้อยแค่ไหนสำคัญกว่า เรายังโฟกัสที่การพัฒนา 3G 2100 ให้ดีที่สุด บนความท้าทายปีที่ 2 คือการขยายคาพาซิตี้ บริการบนคลื่น 900 เดิมก็ยังสำคัญ มีการปรับปรุงคุณภาพบริการต่อเนื่องโดยเฉพาะในเมือง ช่วงที่แบ่งคลื่นมาทำ 3G คุณภาพแย่ลง ตอนนี้นำกลับคืนและปรับให้ดีขึ้นแล้ว ทุกค่ายพยายามขยายคาพาซิตี้วิ่งหนีการใช้งานลูกค้า ตามเทรนด์ดาต้าโตทั่วโลก"

ก่อนถึงศึกชิงคลื่นใหม่อีกรอบ "เอไอเอส"ประกาศความพร้อมเครือข่าย 3G คลื่น 2.1 GHz ในโอกาสครบรอบปี บริการ "เอไอเอส 3G 2100" (7 พ.ค. 2557)

นอกจากจะควัก กระเป๋าให้สิทธิพิเศษกับลูกค้าทั้งฐาน 43 ล้านราย (หากใช้สิทธิทัน เป็นเงิน 350 ล้านบาท) ยังประกาศด้วยว่า เครือข่าย 3G ของตนเองครอบคลุมที่สุด คิดเป็น 95% ของพื้นที่ที่มีประชากรอาศัย ขณะที่ กสทช.กำหนดให้ครอบคลุม 80% ใน 4 ปี (มีสถานีฐาน 3G คลื่น 2.1 GHz 14,000 แห่ง ในสิ้นปีเป็น 17,000 แห่ง ไม่รวมสถานีฐานขนาดเล็ก หรือ Small Cell อีกหลายพัน) เรียกว่าทุกที่ที่มี 2G จะมี 3G และในบางพื้นที่แม้ไม่มี 2G ก็มี 3G ให้ใช้ เช่น ทีลอซู เป็นต้น












______________________________________



"มือถือ" ฝ่าวิกฤตกำลังซื้อ ไม่ถอยลงทุน-เล่นเกม "ราคา" ดึงลูกค้า

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คล้ายกับว่าธุรกิจโทรศัพท์มือถือจะได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองในปัจจุบันไม่มากนัก เพราะความต้องการใช้สมาร์ทโฟนกับบริการ 3G ยังคงไปได้เรื่อย ๆ แม้มู้ดจับจ่ายของผู้บริโภคจะไม่ดีนัก บ้างก็หันมารัดเข็มขัด

ในภาวะเช่นนี้ "ราคา" ทั้งราคา "เครื่อง" และแพ็กเกจบริการจึงมีความสำคัญ ชัดเจนเป็นอย่างยิ่งในงาน "ไทยแลนด์ โมบาย เอ็กซ์โป 2014" ที่เพิ่งจบไปหมาด ๆ

คนใช้ "มือถือ"Ž เน้นคุ้มค่าเงิน

"โอภาส เฉิดพันธุ์" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็ม วิชั่น จำกัด ผู้จัดงานระบุว่า พฤติกรรมในการเลือกซื้อสมาร์ทโฟนเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่เพียงมีความรู้ ความเข้าใจในการเลือกซื้อสมาร์ทโฟน และแท็บเลตเพิ่มขึ้นเท่านั้นยังนำเรื่องประสิทธิภาพและความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับราคามาเป็นเหตุผลหลักในการซื้อสินค้าจากที่เคยเลือกซื้อจากชื่อเสียงของแบรนด์เป็นอันดับแรก



"พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลต่อเนื่องไปยังจำนวนของผู้ที่เปลี่ยนไปซื้อสินค้าจากแบรนด์ใหม่ๆแทนการเลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์เก่าเพิ่มขึ้นถึง50%และกว่า 80% ของผู้เข้าชมงานเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาต่ำกว่างบประมาณที่ตั้งไว้ แค่ดีไซน์โดนใจ ประสิทธิภาพคุ้มราคา แม้เป็นแบรนด์ที่ไม่ได้ตั้งใจมาซื้อก็ตาม"

อีกสิ่งที่น่าจับตาคือแบรนด์คอมพิวเตอร์หันมาลุยตลาดโทรศัพท์มือถือและมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในงานครั้งนี้เป็นการส่งสัญญาณให้เห็นถึงการแข่งขันในตลาดที่ทวีความรุนแรงขึ้นและเป็นผลดีต่อผู้บริโภคที่จะได้เห็นสมาร์ทโฟนและแท็บเลตประสิทธิภาพสูงในราคาถูกลงทยอยออกสู่ตลาดในไตรมาส 3 และ 4

"จอน เอ็ดดี้ อับดุลลาร์" ซีอีโอดีแทค กล่าวว่า ปัญหาการเมืองที่ส่อว่าจะยืดเยื้อไม่มีผลกระทบต่อการขยายโครงข่าย

แต่ในฝั่งของรายได้ชะลอลงชัดเจน สังเกตจากผลประกอบการในไตรมาสแรกที่ผ่านมา ยอดขายเครื่องลดลงกว่า 38% เมื่อเทียบไตรมาสก่อนหน้านี้ คิดเป็นเม็ดเงิน 3.4 พันล้านบาท ขณะที่การใช้ดาต้าแทบไม่เติบโต ปัจจุบันมีสัดส่วน 34% ของรายได้ 1.74 หมื่นล้านบาท ขณะที่ไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้ว มีสัดส่วน 32% ของรายได้ 1.77 หมื่นล้านบาท

พร้อมชิงดำคลื่นใหม่ทำ 4G

"ซีอีโอดีแทค" พูดชัดว่า คลื่นที่ดีที่สุดเพื่อให้บริการ 4G LTE คือ 900 MHz ที่ กสทช.จะประมูลปลายปี จึงให้ความสำคัญกับการประมูลมากกว่า 1800 MHz ที่จะประมูล ส.ค.นี้ เพราะ 900 MHz ส่งสัญญาณได้ไกลกว่า แม้แบ่งสองใบอนุญาต (ความจุ 10 MHz x2 กับ 7.5 MHz x2) แต่บริษัทเดียวกันชนะทั้งสองใบได้

"ซีอีโอดีแทค" มองว่า การประมูลคลื่น 1800 MHz จำนวน 25 MHz x2 แบ่งเป็นใบอนุญาตละ 12.5 MHz x2 ใน ส.ค.นี้ มีราคาตั้งต้นค่อนข้างสูง (464 ล้านบาทต่อ MHz) เมื่อเทียบกับราคาประเทศอื่น ดังนั้นการเคาะเสนอราคาแต่ละครั้งจึงสำคัญ ส่วนราคาที่เหมาะสมคิดว่าไม่น่าห่างจากราคาตั้งต้นมากนัก

ปัจจุบันดีแทคมีลูกค้า 28 ล้านเลขหมาย เป็นดีแทค 12.4 ล้านเลขหมาย หรือ 44% และ "ดีแทค ไตรเน็ต" 15.9 ล้าน หรือ 56% มีสมาร์ทโฟน 9.6 ล้านเครื่อง หรือ 34% จากลูกค้าทั้งหมด มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 9.1 ล้านเลขหมาย หรือ 32% และในสิ้นปีตั้งเป้าขยับลูกค้าเพิ่มเป็น 30 ล้านเลขหมาย มีเครื่องที่รองรับการใช้อินเทอร์เน็ต 15 ล้านเครื่อง

ไม่ต่างจากเอไอเอส "ปรัธนา ลีลพนัง" รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานการตลาด เอไอเอส กล่าวว่า จะเข้าประมูลคลื่นความถี่ใหม่แน่นอน จากปริมาณการใช้ดาต้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ความถี่มีความสำคัญ หากไม่มีความถี่เพิ่มจะมีปัญหา จึงอยากให้ กสทช.เร่งจัดประมูลความถี่ 1800 MHz โดยเร็ว บริษัทต้องการนำมาทำ 4G เพราะมีคลื่นเยอะ ย่อมดีกว่ามีคลื่นน้อย และมีคลื่นบนความถี่เดียวกัน จะดีกว่ามีคลื่นกระจัดกระจายหลายความถี่

"การที่เราเป็นเบอร์ 1 ในแง่ฐานลูกค้า แต่ยังไม่มีคลื่นทำ 4G ก็อาจเสียเปรียบคู่แข่งบ้าง แต่ทำแล้วลูกค้าใช้งานได้มากน้อยแค่ไหนสำคัญกว่า เรายังโฟกัสที่การพัฒนา 3G 2100 ให้ดีที่สุด บนความท้าทายปีที่ 2 คือการขยายคาพาซิตี้ บริการบนคลื่น 900 เดิมก็ยังสำคัญ มีการปรับปรุงคุณภาพบริการต่อเนื่องโดยเฉพาะในเมือง ช่วงที่แบ่งคลื่นมาทำ 3G คุณภาพแย่ลง ตอนนี้นำกลับคืนและปรับให้ดีขึ้นแล้ว ทุกค่ายพยายามขยายคาพาซิตี้วิ่งหนีการใช้งานลูกค้า ตามเทรนด์ดาต้าโตทั่วโลก"

ก่อนถึงศึกชิงคลื่นใหม่อีกรอบ "เอไอเอส"ประกาศความพร้อมเครือข่าย 3G คลื่น 2.1 GHz ในโอกาสครบรอบปี บริการ "เอไอเอส 3G 2100" (7 พ.ค. 2557)

นอกจากจะควักกระเป๋าให้สิทธิพิเศษกับลูกค้าทั้งฐาน 43 ล้านราย (หากใช้สิทธิทัน เป็นเงิน 350 ล้านบาท) ยังประกาศด้วยว่า เครือข่าย 3G ของตนเองครอบคลุมที่สุด คิดเป็น 95% ของพื้นที่ที่มีประชากรอาศัย ขณะที่ กสทช.กำหนดให้ครอบคลุม 80% ใน 4 ปี (มีสถานีฐาน 3G คลื่น 2.1 GHz 14,000 แห่ง ในสิ้นปีเป็น 17,000 แห่ง ไม่รวมสถานีฐานขนาดเล็ก หรือ Small Cell อีกหลายพัน) เรียกว่าทุกที่ที่มี 2G จะมี 3G และในบางพื้นที่แม้ไม่มี 2G ก็มี 3G ให้ใช้ เช่น ทีลอซู เป็นต้น

แข่งโชว์ความพร้อมเครือข่าย

โดย "เอไอเอส" ปรับแผนการบริหารจัดการโครงข่ายใหม่ นำคลื่น 2100 MHz มาให้บริการ 3G เพียงความถี่เดียว โดยใช้วิธียืดระยะส่งสัญญาณ ทำให้ส่งสัญญาณได้ไกลเท่าคลื่น 900 MHz ทำโดยใช้สายอากาศแบบพิเศษทั้งภาคส่งภาครับ

"ศรัณย์ ผโลประการ" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานวางแผนระบบเครือข่าย "เอไอเอส" อธิบายว่า เปรียบได้กับเครื่องบินที่มี 2 เครื่องยนต์ ต้นทุนย่อมสูงขึ้นเป็นเท่าตัว แต่เทียบกับสิ่งที่ได้กลับมา "คุ้มค่า" ทำให้การติดตั้งและขยายเครือข่ายทำได้รวดเร็ว และครอบคลุมมากขึ้น

"นอกจากใช้ความถี่อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยแล้ว เรายังตัดสินใจใช้ 2.1 ทำ 3G ความถี่เดียวให้ทำงานได้ทั้งในเมืองและนอกเมือง มีข้อดีคือไม่ต้องสลับความถี่ไปมา การมีความถี่จำกัดชดเชยโดยตั้งสถานีฐานให้แน่นในเมือง ระบบ 3G เวลาเคลื่อนที่ข้ามพื้นที่จะมีการแฮนด์ออฟ ถ้าแฮนด์ออฟบ่อย ๆ ทำให้มีโอกาสสายหลุดบ่อย แต่ 3G ทำซอฟต์แฮนด์ออฟได้ คือก่อนจับสัญญาณเสาต้นถัดไปจะจับพร้อมกัน 2 ต้น พอแรงพอแล้วค่อยปล่อยอีกต้นไป แต่การทำซอฟต์แฮนด์ออฟจะทำได้บนความถี่เดียวกันเท่านั้น เราจึงตัดสินใจทำเน็ตเวิร์กบนความถี่เดียว"

เป็นที่มาของแคมเปญ "คลื่นเดียวแรงชัวร์ทั่วไทย" เพื่อย้ำจุดขายและความแตกต่าง

เพิ่มคาพาซิตี้รับการใช้งานพุ่ง

"การที่เราใช้คลื่นเดียว และเลือกที่จะลงสถานีฐานถี่ ทำให้ลูกค้าที่ใช้งานระบบเราประหยัดแบตเตอรี่มือถือมากกว่าระบบอื่น นี่คือข้อดีที่ลูกค้าสัมผัสได้เอง"

อย่างไรก็ตาม "ศรัณย์" ยอมรับว่า ความท้าทายถัดไปหลังปูพรมขยายเครือข่าย 3G จนกล้าพูดว่า ครอบคลุมที่สุดภายใน 1 ปีนับจากเปิดให้บริการมา คือการพัฒนาขีดความสามารถ (Capacity) ของระบบให้สามารถรองรับปริมาณการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วให้ได้

"เรากำลังลงสมอลเซลล์เพื่อให้คาพาซิตี้พอเพียงต่อการใช้งานในพื้นที่ที่มีการใช้หนาแน่นเช่นย่านเยาวราช,ซีดีซี,เอเชียทีค เป็นต้น ซึ่งจะต้องลงอีกหายพันตัวเพราะรัศมีการใช้งานจะไม่กว้างแค่ 200-300 เมตร"

ด้าน "ปกรณ์ พรรณเชษฐ์" ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาด "ดีแทค" กล่าวว่าการขยายโครงข่ายจะเน้นไปที่ 3G คลื่น 2100 MHz ภายในงบประมาณ 3 ปีที่วางไว้ 2.5 หมื่นล้านบาท เพื่อตอบโจทย์การใช้ดาต้าที่โตเป็นเท่าตัว ด้วยการนำอุปกรณ์ส่งสัญญาณไปติดตั้งบนไซต์เดิม และสร้างใหม่ 10% ส่วน 850 MHz และ 1800 MHz จะชะลอการลงทุนขยายโครงข่ายใหม่ เหลือเพียงรักษาคุณภาพบริการให้ใช้ได้ปกติ

ปัจจุบัน "ดีแทค" มีสถานีฐาน 25,000 แห่ง เป็นคลื่น 850 MHz จำนวน 5,000 ไซต์, 1800 MHz จำนวน 10,000 ไซต์ และ 2100 MHz 10,000 แห่ง จะครบ 10,800 สถานี เดือน มิ.ย. ครอบคลุม 85% ของประชากร และอาจติดตั้งเพิ่มในกรุงเทพฯ เป็นการแขวนตามเสาไฟฟ้าเกือบทั้งหมด ไม่ใช้สมอลเซลล์ เพราะอาจมีสัญญาณรบกวนทำให้คุณภาพบริการลดลง

ขนเครื่องราคาถูกลงตลาด

"ปรัธนา" กล่าวว่า แม้ปัจจุบันจะมีความต้องการในการใช้ 3G อยู่แล้ว แต่การแข่งขันในตลาดก็ยังคงดุเดือดมาก โดยแต่ละค่ายพยายามผลักดันจุดเด่นของตนเองขึ้นมา เช่น ดีแทค มี 3 เครือข่าย, ทรูมูฟ เอช มี 4G เช่นกันกับบริษัทที่มุ่งตอบโจทย์ลูกค้าครบทุกด้าน เช่น มีสมาร์ทโฟนในราคาที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เข้าถึงได้ง่าย เช่น เอไอเอส 3G ซูเปอร์คอมโบ มีสมาร์ทโฟนราคา 1,600 บาท ได้โทร.ฟรี 1,600 บาท เน็ตฟรี 500 MB เป็นต้น หรือแคมเปญซูเปอร์ดีล ให้ลูกค้าเดิมที่ต้องการเปิดเบอร์เพิ่มหรือย้ายค่าย ลดราคาเครื่องแบรนด์ดังถึง 50% เช่น ไอโฟน, ซัมซุง เป็นต้น

ปัจจุบันเอไอเอสมีฐานลูกค้ารวม 43 ล้านราย เป็นกลุ่มที่ใช้ 3G 2.1 GHz จำนวน 26 ล้านราย แต่ในจำนวนนี้มีเพียง 60% ที่มีเครื่องที่รองรับการใช้ 3G จึงมีเป้าหมายที่จะดึงลูกค้าที่ใช้แพ็กเกจ 3G แต่ยังไม่มีเครื่องที่ซัพพอร์ตบริการได้เปลี่ยนเครื่องเป็น 3G โดยตั้งใจว่าภายในสิ้นปีนี้จะทำให้ลูกค้าเอไอเอสไม่น้อยกว่า 75% ใช้เครื่อง 3G

ฟากดีแทคก็ไม่ต่างกันนัก "ปกรณ์" ระบุชัดเจนว่า แผนการตลาดในปีนี้จะมุ่งเน้นการใช้กลยุทธ์ "สมาร์ทโฟน" ราคาถูก เพื่อดึงดูดลูกค้าให้หันมาใช้งาน "โมบาย อินเทอร์เน็ต" เพิ่มขึ้น รวมถึงเร่งพัฒนาศูนย์บริการดีแทคทุกแห่งให้เป็นมากกว่าการรับชำระค่าบริการ เช่น หันมาจำหน่ายโทรศัพท์มือถือให้มากขึ้น พร้อมกับผลักดันให้ลูกค้าหันไปใช้บริการออนไลน์เพื่อทำธุรกรรมต่าง ๆ

ก่อนหน้านี้ ดีแทค เปิดตัวสมาร์ทโฟนเฮาส์แบรนด์ 2 รุ่น ได้แก่ "โจอี้ จัมพ์" หน้าจอสัมผัส ขนาด 4.0 นิ้ว ราคา 2,990 บาท และขนาด 3.5 นิ้ว ราคา 1,990 บาท เป็นต้น เพื่อดึงให้ลูกค้าที่ใช้โทรศัพท์แบบกดปุ่ม (Feature Phone) ในระบบดีแทคที่มี 16 ล้านเครื่อง เปลี่ยนมาใช้สมาร์ทโฟนได้ง่ายขึ้น นอกเหนือจากปัจจัยที่ผู้ใช้บริการหันมาใช้สมาร์ทโฟนจากเครือข่าย 3G ที่ครอบคลุมมากขึ้น และการเติบโตของการใช้ Social Media ทั้ง Facebook, Line, Instagram

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1400123769

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.