Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 พฤษภาคม 2557 สุรชัย.ปลัดICT ระบุ หากพบผู้กระทำความผิดมีเจตนาเผยแพร่เนื้อหาปลุกปั่นทำให้เกิดความแตกแยกบนสื่อสังคมออนไลน์มีโทษจำคุก 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


ประเด็นหลัก

    ทั้งนี้ หากพบผู้กระทำความผิดมีเจตนาเผยแพร่เนื้อหาปลุกปั่นทำให้เกิดความแตกแยกบนสื่อสังคมออนไลน์มีโทษจำคุก 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยผู้ที่พบเห็นเว็บไซต์ไม่เหมาะสมสามารถแจ้งเบาะแสได้ที่หมายเลข 0-2505-8898 และ 1212@mict.mail.go.th


______________________________________


ไอซีทีตั้งทีมมอนิเตอร์สื่อออนไลน์ตามประกาศ คสช.



นายสุรชัย ศรีสารคาม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที)
       ไอซีทีเผยตั้งแต่วันที่ 20-26 พ.ค.ปิดเว็บไซต์เนื้อหาปลุกปั่นแล้วกว่า 200 เว็บไซต์ พร้อมตั้งคณะทำงานมอนิเตอร์สื่อออนไลน์โดยเฉพาะ “สุรชัย” ระบุเตรียมทำ “เนชันแนล อินเทอร์เน็ต เกตเวย์” เพิ่มศักยภาพในการปิดกั้นเว็บไซต์ภายใน 1-2 เดือนนี้
     
       นายสุรชัย ศรีสารคาม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ภายหลังจากได้รับมอบหมายตามประกาศฉบับที่ 26 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในการดูแลและสอดส่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะการปิดเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาปลุกปั่นทำให้เกิดความแตกแยกตามประกาศฉบับที่ 17 ของ คสช. เรื่อง
       การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางช่องทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งตั้งแต่วันที่ 20-26 พ.ค. 57 ไอซีทีได้ดำเนินการปิดเว็บไซต์ประเภทดังกล่าวไปแล้ว 219 เว็บไซต์
     
       ทั้งนี้ยังได้ดำเนินการจัดตั้งคณะทำงานกำกับดูแลการใช้อินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ โดยมีปลัดกระทรวงไอซีทีเป็นหัวหน้าคณะทำงานชุดดังกล่าว และมีกรรมการประกอบด้วยตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกองทัพบก เป็นต้น ซึ่งคณะทำงานชุดดังกล่าวยังแบ่งเป็นคณะทำงานย่อยด้านต่างๆ อีก 3 คณะ ประกอบด้วย 1. คณะทำงานด้านอำนวยการ มีหน้าที่รับผิดชอบด้านงานธุรการ และงานบริหารทั่วไป
     
       2. คณะทำงานด้านการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล มีหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ การใช้เว็บไซต์ สื่อสังคมออนไลน์ เมื่อพบการฝ่าฝืนสามารถระงับการเผยแพร่ข้อมูลนั้นๆ ได้ทันที โดยมีหัวหน้าคณะทำงาน คือ พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ และมีคณะทำงานที่มาจากภาคส่วนต่างๆ เช่น ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักข่าวกรอง สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ กองบังคับการปราบปรามกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
     
       และ 3. คณะทำงานด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปราม มีอำนาจสอบสวน สืบสวน และจับกุม ผู้ที่กระทำผิดในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ผิดกฎหมาย โดยมีผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเป็นหัวหน้าคณะทำงาน และมีผู้แทนจากกองทัพบกร่วมทำงาน
     
       ทั้งนี้ หากพบผู้กระทำความผิดมีเจตนาเผยแพร่เนื้อหาปลุกปั่นทำให้เกิดความแตกแยกบนสื่อสังคมออนไลน์มีโทษจำคุก 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยผู้ที่พบเห็นเว็บไซต์ไม่เหมาะสมสามารถแจ้งเบาะแสได้ที่หมายเลข 0-2505-8898 และ 1212@mict.mail.go.th
     
       นอกจากนี้ กระทรวงไอซีทีได้เร่งหารือในแนวทางการจัดทำ เนชันแนล อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ (National internet gateway) หรือช่องทางสำหรับเชื่อมต่อโครงข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่ต่างชนิดกันให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ เพื่อเพิ่มความสามารถในการตรวจสอบ และปิดกั้นเนื้อหาบนเว็บไซต์ที่ผิดกฎหมายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยจะให้บริษัท กสท โทรคมนาคม เป็นตัวหลักในการดำเนินงานร่วมกับบริษัท ทีโอที และจะเรียกผู้ให้บริการที่มีเกตเวย์จากต่างประเทศเข้าร่วมหารือ ซึ่งอาจเห็นเป็นรูปธรรมได้ภายใน 1-2 เดือนนี้

http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000059212

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.