30 พฤษภาคม 2557 (เกาะติดประมูล4G) AIS.วิเชียร ระบุ ส่วนเป้าหมายคลื่นความถี่จะต้องให้ได้คลื่นทั้งหมด 20 เมกะเฮิรตซ์ (หมายถึง 1800 จำนวน 10 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 อีกจำนวน 10 เมกะเฮิรตซ์)
ประเด็นหลัก
บิ๊ก "เอไอเอส" ลั่น ประมูลคลื่น 1800-900 เมกะเฮิรตซ์ ต้องได้ทั้งหมด 20 เมกะเฮิรตซ์เท่านั้น เพื่อต่อยอดเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4จี คาดมูลค่าประมูลสูงถึง 6 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศขยายตัว เตรียมปรับลดเป้าหมายหลังเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว
วิเชียร เมฆตระการวิเชียร เมฆตระการ นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เปิดเผยว่า นโยบายของ เอไอเอส ในการประมูลคลื่นความถี่ 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่ง กสทช.(คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่ง ชาติ) จะเปิดประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าวภายในเดือนสิงหาคมและกันยายนนี้ เอไอเอส เข้าร่วมประมูลอย่างแน่นอน ส่วนเป้าหมายคลื่นความถี่จะต้องให้ได้คลื่นทั้งหมด 20 เมกะเฮิรตซ์ (หมายถึง 1800 จำนวน 10 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 อีกจำนวน 10 เมกะเฮิรตซ์) เนื่องจากหากประมูลคลื่นความถี่ในประมาณ 7.5 เมะกะเฮิรตซ์ และ กสทช.ต้องกำหนดแผนคลื่นความถี่เพื่อนำมาจัดสรรใหม่ (รี-ฟาร์มมิ่ง) ใช้เวลาประมาณ 1 ปี
______________________________________
AISหวังได้20MHz ต่อยอด4จี
บิ๊ก "เอไอเอส" ลั่น ประมูลคลื่น 1800-900 เมกะเฮิรตซ์ ต้องได้ทั้งหมด 20 เมกะเฮิรตซ์เท่านั้น เพื่อต่อยอดเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4จี คาดมูลค่าประมูลสูงถึง 6 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศขยายตัว เตรียมปรับลดเป้าหมายหลังเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว
วิเชียร เมฆตระการวิเชียร เมฆตระการ นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เปิดเผยว่า นโยบายของ เอไอเอส ในการประมูลคลื่นความถี่ 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่ง กสทช.(คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) จะเปิดประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าวภายในเดือนสิงหาคมและกันยายนนี้ เอไอเอส เข้าร่วมประมูลอย่างแน่นอน ส่วนเป้าหมายคลื่นความถี่จะต้องให้ได้คลื่นทั้งหมด 20 เมกะเฮิรตซ์ (หมายถึง 1800 จำนวน 10 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 อีกจำนวน 10 เมกะเฮิรตซ์) เนื่องจากหากประมูลคลื่นความถี่ในประมาณ 7.5 เมะกะเฮิรตซ์ และ กสทช.ต้องกำหนดแผนคลื่นความถี่เพื่อนำมาจัดสรรใหม่ (รี-ฟาร์มมิ่ง) ใช้เวลาประมาณ 1 ปี
"คลื่นไหนก็ได้ทั้ง 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ เพราะ เอไอเอส ต้องการทั้งหมด 20 เมกะเฮิรตซ์เพื่อต่อยอดธุรกิจ"
สำหรับการประมูลคลื่นความถี่ กสทช. ได้กำหนดประมูลคลื่นความถี่ออกเป็น 2 ช่วง โดยคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ออกใบอนุญาตจำนวน 2 ใบอนุญาต โดยมีราคาตั้งต้น 464 ล้านบาทต่อ 1 เมกะเฮิรตซ์ หรือ ราคา 11,600 ล้านบาทต่อ 1 ใบอนุญาตซึ่งต่อหนึ่งใบอนุญาตมีจำนวนคลื่นความถี่ 12.5x 2 MHz (แบนด์บน-แบนด์ล่าง) โดยการประมูล 4จี ครั้งนี้จะมีการประมูล 2 ใบอนุญาตๆละ 12.5 เมกะเฮิรตซ์รวมเป็นความถี่ทั้งหมด 25 MHz ดังนั้นจะมีมูลค่ารวมราคาตั้งต้นประมูลทั้งหมด 23,200 ล้านบาท และการเสนอราคาในแต่ละครั้งราคาจะเพิ่มขึ้นครั้งละ 580 ล้านบาท ระยะเวลาให้ใบอนุญาต 19 ปี เป้าหมายจะออกให้เสร็จทันภายใน 1 กันยายน 2557
ส่วนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ อยู่ภายใต้สัมปทานของ เอไอเอส จะสิ้นสุดสัมปทานวันที่ 30 กันยายน 2558 จะมีการจัดประมูลในเดือนพฤศจิกายนนี้ แบ่งเป็น 2 ช่วงคลื่นความถี่ จำนวน 2 ใบอนุญาต ประกอบด้วยปริมาณคลื่นความถี่ 7.5x2 MHz (แบนด์บน-แบนด์ล่าง) 1 ใบอนุญาตในราคาเริ่มต้นการประมูล 8,445 ล้านบาท และปริมาณคลื่นความถี่ 10x2 MHz จำนวน 1 ใบอนุญาต ในราคาเริ่มต้นการประมูล 11,260 ล้านบาท ดังนั้นรวม 2 ใบอนุญาตที่จะนำมาประมูลจะมีมูลค่าเริ่มต้นการประมูลที่ 19,705 ล้านบาท โดยมีอายุใบอนุญาต 15 ปีนับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาต
อย่างไรก็ตามนายวิเชียร ยังกล่าวแสดงความคิดเห็นว่า เกี่ยวกับการควบคุมอำนาจของฝ่ายทหารครั้งนี้ ไม่ได้จำกัดบทบาทองค์กรอิสระ นั้นหมายความว่า กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ซึ่งมีนโยบายประมูลคลื่นความถี่ 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ภายในเดือนกันยายนนี้ ยังคงดำเนินการต่อไปเมื่อมีการเปิดประมูลคลื่นความถี่ทั้งสองย่านเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และ เชื่อว่ามีมูลค่าสูงถึง 5-6 หมื่นล้านบาท
นอกจากนี้ นายวิเชียร ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า จากปัญหาเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว ส่งผลให้ต้องปรับเป้าหมายภายในช่วงครึ่งปีหลังแต่จะปรับเป้าเท่าไหร่นั้นต้องรอสถานการณ์ในช่วงปีแรก หากจะมีการปรับแผนคงต้องเป็นเรื่องในระดับนโยบาย แต่การทำตลาดยังดำเนินงานได้ตามปกติ ตามแคมเปญและโปรโมชั่นที่จะออกไปยังลูกค้า
ขณะที่การเติบโตรายได้ หรือการขยายตัวของผลประกอบการ ต้องดูตามแนวโน้มการขยายตัวของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของประเทศว่า จะมีปรับเพิ่ม-ลดอย่างไร ซึ่งเดิมเอไอเอส ประมาณการปีนี้ว่าธุรกิจจะเติบโต 6-8% ซึ่งเป็นการคาดการณ์ตั้งแต่ต้นปี แต่หากสถานการณ์ยังเป็นลักษณะนี้ ก็เป็นไปได้ที่ต้องพิจารณาปรับเป้าหมายการเติบโต
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=232570:ais20mhz-4&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.U4iJA3aqlk4
ไม่มีความคิดเห็น: