06 มิถุนายน 2557 กสทช.นที ระบุ จัดระเบียบสถานีวิทยุ 4,700 สถานีก่อนออนแอร์ปกติโดยใช้กฏ 1 สถานี ต่อ 1 นิติบุคล ต่อ 1 จังหวัด ซึ่งคาดว่าจะเหลือวิทยุชุมชนเพียง 3,500 สถานี
ประเด็นหลัก
วันนี้ (6มิ.ย.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ พ.อ.ดร. นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช.และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กสท.เห็นชอบแนวทางกำหนดเงื่อนไขการออกอากาศวิทยุชุมชนที่ถูกระงับตามคำสั่ง ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งหากมีประกาศให้นำกลับมาออกอากาศได้ วิทยุชุมชนต้องรับอนุญาตทดลองออกอากาศ ซึ่งมีจำนวน 4,700 สถานี โดยวิทยุประเภทบริการธุรกิจสามารถออกได้1 สถานี ต่อ 1นิติบุคคล ส่วนวิทยุชุมชนประเภทบริการสาธารณะและชุมชนก็เช่นเดียวกันสามารถออกได้ 1 สถานี ต่อ 1 นิติบุคล ต่อ 1 จังหวัด ซึ่งคาดว่าจะเหลือวิทยุชุมชนเพียง 3,500 สถานี
______________________________________
กสทช.วางแนวทางจัดระเบียบสถานีวิทยุ 4,700 สถานีก่อนออนแอร์ปกติ
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ วันนี้ เห็นชอบแนวทางการออกอากาศของสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับใบอนุญาตทดลองการประกอบกิจการจาก กสทช.รวมกว่า 4,700 สถานี ซึ่งถูกปิดตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ภายใต้เงื่อนไข 1 นิติบุคคล ต่อ 1 สถานี ต่อ 1 จังหวัด หากนิติบุคคลใดเป็นเจ้าของหลายสถานีใน 1 จังหวัดให้เลือกเพียงสถานีเดียวเพื่อออกอากาศ โดยต้องผ่านการตรวจมาตรฐานเครื่องส่งและอุปกรณ์กิจการวิทยุ และการออกอากาศต้องมีเนื้อหาเป็นไปตามประกาศ คสช.ที่ห้ามยุยง ปลุกปลั่น หรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องการเมือง หากฝ่าฝืนด้านเนื้อหา หรือใช้เครื่องที่ไม่ได้รับอนุญาตออกอากาศ หรือปรับดัดแปลงกำลังส่ง จนเกิดปัญหาจะถูกระงับการออกอากาศจนถึงยึดใบอนุญาตได้
ส่วนสถานีวิทยุชุมชนเถื่อนที่ไม่ได้รับใบอนุญาตทดลองออกอากาศจาก กสทช.อีกประมาณ 3,000 สถานี จะไม่สามารถออกอากาศได้อีก เนื่องจากสิ้นสุดการเปิดรับขึ้นทะเบียนขอรับใบอนุญาตของสำนักงาน กสทช. จึงผิดต่อกฏหมาย กสทช.และไม่สามารถออกอากาศได้ตามประกาศ คสช.
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9570000063543&Keyword=%a1%ca%b7
_______________________________________________________________________________
?กสทช.กำหนดเกณฑ์วิทยุชุมชุนรองรับกรณีคสช.ให้กลับมาออกอากาศ?
กสทช.กำหนดเกณฑ์วิทยุชุมชุนรองรับกรณีคสช.ให้กลับมาออกอากาศ
กสทช. กางตำรากำหนดเกณฑ์ออกอากาศวิทยุชุมชน หากคสช. มีคำสั่งเรียกคืนชีพ ด้านบอลโลกเลื่อนแถลงออกไป ลั่นรอฟังคำพิจารณาศาล 10 มิ.ย.นี้
วันนี้ (6มิ.ย.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.อ.ดร. นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช.และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กสท.เห็นชอบแนวทางกำหนดเงื่อนไขการออกอากาศวิทยุชุมชนที่ถูกระงับตามคำสั่งประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งหากมีประกาศให้นำกลับมาออกอากาศได้ วิทยุชุมชนต้องรับอนุญาตทดลองออกอากาศ ซึ่งมีจำนวน 4,700 สถานี โดยวิทยุประเภทบริการธุรกิจสามารถออกได้1 สถานี ต่อ 1นิติบุคคล ส่วนวิทยุชุมชนประเภทบริการสาธารณะและชุมชนก็เช่นเดียวกันสามารถออกได้ 1 สถานี ต่อ 1 นิติบุคล ต่อ 1 จังหวัด ซึ่งคาดว่าจะเหลือวิทยุชุมชนเพียง 3,500 สถานี
นอกจากนี้ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าอุปกรณ์โทรคมนาคม กำลังส่ง 500 วัตต์ เสาส่งสัญญาณจากภาคพื้นดินสูงไม่เกิน 60 เมตร รัศมี 20 กิโลเมตร ผ่านการรับรองจัดตั้งสถานีและที่สำคัญห้ามฝ่าฝืนตามประกาศของ คสช. ส่วนวิทยุชุมชนอีกจำนวน 3,000 สถานี ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ทดลองก็จะไม่สามารถออกอากาศได้เลยนอกจากนี้ กสท.ยังอนุญาตให้ช่องรายการแบบบอกรับสมาชิก(เพย์ทีวี) จำนวน 10 ช่องรายการ และโครงข่ายแบบบอกรับสมาชิก 3 โครงข่าย สามารถออกอากาศได้รวมแล้วในปัจจุบันมีช่องรายการเพย์ทีวีที่ออกอากาศได้แล้วจำนวน 360 ช่อง
“เมื่อใดที่ทาง คสช.ออกประกาศให้สถานีวิทยุชุมชนกลับมาออกอากาศได้จากนั้นทางสำนักงานเขต 14 เขตทั่วประเทศเรียกวิทยุชุมชนเข้ามาดำเนินการรับฟังคำชี้แจ้งให้ปฎิบัติตามเงื่อนไข ส่วนวิทยุรายใดที่ยังไม่ได้ผ่านการรับรองให้เข้ามาตรวจที่ห้องทดลอง ซึ่งมีทั่วประเทศจำนวน 25 แห่ง แต่ละแห่งมีเครื่องตรวจประมาณ 10 -15 เครื่อง ซึ่งปัจจุบันมีวิทยุที่ผ่านมารับรองแล้วจำนวน 600 สถานี ” พ.อ.ดร. นที กล่าว
http://www.dailynews.co.th/Content/IT/243046/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A.%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%AA%E0%B8%8A.%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8
__________________________________________________________
คสช. ไฟเขียววิทยุชุมชนที่มีใบอนุญาต ออกอากาศได้
คสช.เตรียมอนุญาตให้วิทยุชุมชนทั่วประเทศออกอากาศได้ตามปกติ เริ่มจากคลื่นวิทยุกว่า 500 สถานี พร้อมปิดถาวรสถานีที่ไม่เข้าสู่กระบวนการขอรับใบอนุญาตจาก กสทช. กว่า 3,000 แห่ง เพราะถือเป็นสถานีเถื่อน...
เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 57 พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า การประชุมกำหนดแนวทางเกี่ยวกับสถานีวิทยุกระจายเสียงระหว่าง กสทช. และคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ได้รับการยืนยันจาก คสช. ว่าจะอนุญาตให้สถานีวิทยุชุมชนที่ได้รับใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการจาก กสทช. ออกอากาศได้ตามปกติ โดยจะเริ่มจากสถานีคลื่นวิทยุหลักกว่า 500 สถานี ถัดมาเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับใบอนุญาต ที่มีกว่า 5,000 สถานี แต่ภายใต้เงื่อนไข 1 นิติบุคคล ต่อ 1 สถานี ต่อ 1 จังหวัด คือ หากนิติบุคคลใดเป็นเจ้าของหลายสถานี ให้เลือกเพียงสถานีเดียวเพื่อออกอากาศภายใต้ประกาศ คสช.
รองประธาน กสทช. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กองทัพภาคและสำนักงาน กสทช.เขต จะจัดการประชุมชี้แจงกับผู้ทดลองประกอบกิจการ ให้เข้าใจในการดำเนินงานขั้นตอนต่างๆ อย่างถูกต้อง และสถานีวิทยุที่สามารถออกอากาศได้ จะเกิดขึ้นภายหลังลงนามบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) กับทาง กสทช. ก่อน และเป็นสถานีที่จะถูกประกาศชื่อให้ออกอากาศได้ในเว็บไซต์สำนักงาน กสทช. เพียงช่องทางเดียวเท่านั้น ซึ่งเนื้อหาที่ออกอากาศต้องเป็นไปตามประกาศ คสช. คือ ห้ามยุยง ปลุกปั่น วิพากษ์วิจารณ์การเมือง และผู้ประกอบการต้องมาดำเนินการด้วยตนเอง หรือเป็นผู้รับมอบอำนาจจากกลุ่มคน กรณีวิทยุชุมชน เท่านั้น
พ.อ.นที กล่าวด้วยว่า ขณะที่สถานีวิทยุชุมชนเถื่อนกว่า 3,000 สถานี จะไม่สามารถกลับมาเข้าสู่กระบวนการออกอากาศได้อีก เนื่องจากพ้นช่วงที่ กสทช. เปิดให้ขอใบอนุญาตเพื่อทดลองประกอบกิจการ จึงถือเป็นสถานีเถื่อนตั้งแต่แรกอยู่แล้ว และ คสช.มีคำสั่งให้ปิดถาวร และหากตรวจสอบพบว่าใช้เครื่องที่ไม่ได้รับอนุญาตออกอากาศ หรือปรับดัดแปลงกำลังส่ง หรือใช้งานไม่ถูกต้องจนเกิดปัญหาคลื่นรบกวน จะถูกสั่งระงับการออกอากาศ จนถึงยึดใบอนุญาตด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในส่วนของมติที่ประชุมคณะกรรมการ กทค.วันนี้ ได้มีการอนุมัติช่องรายการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกเพิ่มเติมอีก 10 ช่อง และโครงข่ายอีก 3 ราย ประกอบด้วย ไลฟ์อิน คอร์ปอเรชั่น, วีไซน์ และ ทีซี บรอดคาสติ้ง รวมเป็น 360 ช่อง และ 14 โครงข่าย ที่สามารถออกอากาศได้ในขณะนี้.
http://www.thairath.co.th/content/427782
________________________________________________
ลุ้นสัปดาห์หน้า "กสท." ชง "คสช."เคาะเงื่อนไขพิจารณา"วิทยุธุรกิจ-ชุมชน"หวนคืนหน้าปัด
พันเอกนที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า กสท. ได้กำหนดเงื่อนไขในการพิจาณาให้สถานีวิทยุที่ได้รับอนุญาตให้ทดลองประกอบกิจการ ทั้งประเภทบริการสาธารณะ บริการธุรกิจ และบริการชุมชน จำนวนกว่า 4,700 สถานี ได้กลับมาออกอากาศได้อีกครั้ง หลังจากทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ออกประกาศ ฉบับที่ 23 อนุญาตให้สถานีวิทยุหลัก 524 แห่งเท่านั้นที่ออกอากาศได้
โดยจะเสนอ คสช.พิจารณา ก่อนเริ่มกระบวนการตรวจสอบตามขั้นตอนภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งการจะกลับมาออกอากาศใหม่ได้ต้องมีคำสั่งจาก คสช. ประกาศออกมาตามลำดับ แต่สถานีวิทยุที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการจาก กสทช. มาก่อนราว 2 – 3 พันสถานีจะไม่สามารถกลับมาออกอากาศได้อีกต่อไป เพราะถือเป็นสถานีวิทยุที่ผิดกฎหมาย
สำหรับเงื่อนไขสำคัญในการพิจารณาให้กลับมาออกอากาศที่ กสท. กำหนดไว้คือ 1. ต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงจาก กสทช. 2.ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าใช้เครื่องส่งวิทยุและจัดตั้งสถานีวิทยุถูกต้องตามกฎหมาย และ 3.ต้องไม่เป็นผู้ฝ่าฝืนคำสั่งของ คสช.ที่เกี่ยวกับการออกอากาศสถานีวิทยุกระจายเสียง
โดย กสทช. จะร่วมกับ คสช. ตรวจสอบทุกสถานีก่อนพิจารณาให้กลับมาออกอากาศ เริ่มจากการแต่ละสถานีต้องนำเครื่องส่งวิทยุไปให้สำนักงานเขต ของ กสทช. ที่กระจายอยู่ในแต่ละภูมิภาค ตรวจสอบว่าถูกต้องตามมาตรฐานทางเทคนิคที่ กสทช. กำหนดไว้ อาทิ กำลังส่งในการออกอากาศต้องไม่เกิน 500 วัตต์ เสาส่งต้องมีความสูงจากพื้นดินไม่เกิน 60 เมตร มีรัศมีการกระจายเสียงไม่เกิน 20 กิโลเมตร
นอกจากนี้ จะตรวจสอบความเป็นเจ้าของของสถานีวิทยุแต่ละแห่ง โดยสถานีวิทยุประเภทบริการสาธารณะจะอนุญาตให้ 1 นิติบุคคลเป็นเจ้าของสถานีวิทยุได้จังหวัดละไม่เกิน 1 แห่ง ส่วนสถานีวิทยุประเภทบริการธุรกิจจะอนุญาตให้ 1 นิติบุคคลเป็นเจ้าของได้แค่ 1 สถานีเท่านั้น เพื่อไม่ให้มีรายใดรายหนึ่งเป็นเจ้าของสถานีวิทยุมากเกินไป ซึ่งมาตรการนี้จะทำให้สถานีวิทยุที่ได้รับใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการจะเหลือราว 3,500 แห่งเท่านั้น
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1402051208
ไม่มีความคิดเห็น: