Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 มิถุนายน 2557 สมาคมสื่อดิจิตอลเพื่อผู้บริโภค.วิศรุต ค้านใช้คูปองแลกซื้อกล่องดาวเทียม ( ไม่มีที่ใดในโลกเขาทำกัน ) ภาระกับประชาชน ต้องติดจานดาวเทียมแทนที่จะรับการคลื่นภาคพื้นดิน


ประเด็นหลัก



นายวิศรุต ปิยกุละวัฒน์ อุปนายกสมาคม สมาคมสื่อดิจิตอลเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า การแจกคูปองสนับสนุนการรับชมทีวีดิจิตอลมูลค่า 1,000 บาท ให้แลกกล่องดาวเทียม และเคเบิลได้ด้วยนั้น จะขัดกับหลักการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิตอลภาคพื้นดิน เพราะไม่มีประเทศใดในโลกดำเนินการเช่นนี้ และการติดตั้งกล่องดาวเทียมจะต้องจ่ายเงินค่าติดตั้งเพิ่มอีกหลายพันบาท ซึ่งเป็นภาระกับประชาชน และยังไม่จูงใจประชาชนจากที่รับชมทีวีในระบบอะนาล็อกเดิมด้วย





______________________________________


สื่อดิจิตอล ค้าน! ใช้คูปองแลกซื้อกล่องดาวเทียม-เคเบิล



อุปนายกสมาคม สมาคมสื่อดิจิตอลเพื่อผู้บริโภค คัดค้านการใช้คูปองสนับสนุนการรับชมทีวีดิจิตอลแลกซื้อกล่องดาวเทียม และเคเบิลได้ด้วย ชี้เพิ่มภาระค่าติดตั้งให้ผู้บริโภค และเป็นคุมกำเนิดทีวีดิจิตอล...


นายวิศรุต ปิยกุละวัฒน์ อุปนายกสมาคม สมาคมสื่อดิจิตอลเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า การแจกคูปองสนับสนุนการรับชมทีวีดิจิตอลมูลค่า 1,000 บาท ให้แลกกล่องดาวเทียม และเคเบิลได้ด้วยนั้น จะขัดกับหลักการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิตอลภาคพื้นดิน เพราะไม่มีประเทศใดในโลกดำเนินการเช่นนี้ และการติดตั้งกล่องดาวเทียมจะต้องจ่ายเงินค่าติดตั้งเพิ่มอีกหลายพันบาท ซึ่งเป็นภาระกับประชาชน และยังไม่จูงใจประชาชนจากที่รับชมทีวีในระบบอะนาล็อกเดิมด้วย


อุปนายกสมาคม สมาคมสื่อดิจิตอลเพื่อผู้บริโภค กล่าวต่อว่า การแลกกล่องระบบดาวเทียม และเคเบิล ยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้ผู้ที่ติดตั้งระบบดังกล่าวเอาคูปองไปแลกกล่องใหม่ เท่ากับว่าไม่ได้สนับสนุนการเพิ่มจำนวนคนดูในระบบดิจิตอลให้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบกับทีวีดิจิตอล 24 ช่อง ที่ประมูลไป เพราะไม่ได้คนดูเพิ่ม เนื่องจากเป็นคนดูกลุ่มเดิม นอกจากนี้ ทีวีชุมชนออกอากาศได้ในระบบดิจิตอลเท่านั้น ไม่ได้ออกอากาศในระบบดาวเทียม ทำให้คนที่่ติดตั้งไม่สามารถรับชมได้ จึงเท่ากับว่าเป็นการคุมกำเนิดทีวีชุมชน และเป็นการคุมกำเนิดทีวีดิจิตอล เพราะไม่ได้สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิตอลอย่างแท้จริง


ด้าน นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ช่องข่าว หมายเลข 22 โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว @adisaklive ระบุว่า หากยังดึงดันแจกคูปองกล่องทุกประเภท จะทำให้กลุ่มผู้บริโภคยื่นฟ้องศาลปกครองในประเด็นผิดเจตนารมณ์ให้ดูได้ 48 ช่อง รวมทีวีชุมชนได้ด้วยจะยิ่งช้า และการนำคูปองไปแลกกล่องดาวเทียมจะทำให้ผู้ผลิตกล่องดาวเทียมได้ประโยชน์ โดยมีลูกค้าแน่นอน ไม่ต้องลงทุนแพลตฟอร์มและทีวีดาวเทียมขายโฆษณาได้เพิ่ม


นอกจากนี้ บริษัทที่ประมูลทีวีดิจิตอลแพง 5 หมื่นล้าน แล้วคูปองแลกกล่องดาวเทียมได้จะเสียเปรียบมากๆ กับทีวีดาวเทียมแบบเพย์ทีวีที่ไม่ได้ประมูลมีกล่องรับเพิ่มขึ้น ซึ่งมีทีวีดิิจิตอลอีกหลายช่องที่ไม่เห็นด้วย นอกจากนี้ ส่วนตัวไม่ขัดข้องหากจะใช้คูปองแลกกล่องดาวเทียมถ้ามีการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมจากแค่เรียง 1-36 และกล่องเป็นของผู้บริโภค เช่น จำกัดจำนวนช่อง และห้ามใส่โปรแกรม.



http://www.thairath.co.th/content/428137

___________________________________________



ลุ้นสัปดาห์หน้า "กสท." ชง "คสช."เคาะเงื่อนไขพิจารณา"วิทยุธุรกิจ-ชุมชน"หวนคืนหน้าปัด

Prev1 of 1Next
คลิกภาพเพื่อขยาย
updated: 06 มิ.ย. 2557 เวลา 17:37:21 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

พันเอกนที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า กสท. ได้กำหนดเงื่อนไขในการพิจาณาให้สถานีวิทยุที่ได้รับอนุญาตให้ทดลองประกอบกิจการ ทั้งประเภทบริการสาธารณะ บริการธุรกิจ และบริการชุมชน จำนวนกว่า 4,700 สถานี ได้กลับมาออกอากาศได้อีกครั้ง หลังจากทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ออกประกาศ ฉบับที่ 23 อนุญาตให้สถานีวิทยุหลัก 524 แห่งเท่านั้นที่ออกอากาศได้

โดยจะเสนอ คสช.พิจารณา ก่อนเริ่มกระบวนการตรวจสอบตามขั้นตอนภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งการจะกลับมาออกอากาศใหม่ได้ต้องมีคำสั่งจาก คสช. ประกาศออกมาตามลำดับ แต่สถานีวิทยุที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการจาก กสทช. มาก่อนราว 2 – 3 พันสถานีจะไม่สามารถกลับมาออกอากาศได้อีกต่อไป เพราะถือเป็นสถานีวิทยุที่ผิดกฎหมาย

สำหรับเงื่อนไขสำคัญในการพิจารณาให้กลับมาออกอากาศที่ กสท. กำหนดไว้คือ 1. ต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงจาก กสทช.  2.ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าใช้เครื่องส่งวิทยุและจัดตั้งสถานีวิทยุถูกต้องตามกฎหมาย และ 3.ต้องไม่เป็นผู้ฝ่าฝืนคำสั่งของ คสช.ที่เกี่ยวกับการออกอากาศสถานีวิทยุกระจายเสียง

โดย กสทช. จะร่วมกับ คสช. ตรวจสอบทุกสถานีก่อนพิจารณาให้กลับมาออกอากาศ เริ่มจากการแต่ละสถานีต้องนำเครื่องส่งวิทยุไปให้สำนักงานเขต ของ กสทช. ที่กระจายอยู่ในแต่ละภูมิภาค ตรวจสอบว่าถูกต้องตามมาตรฐานทางเทคนิคที่ กสทช. กำหนดไว้ อาทิ กำลังส่งในการออกอากาศต้องไม่เกิน 500 วัตต์ เสาส่งต้องมีความสูงจากพื้นดินไม่เกิน 60 เมตร มีรัศมีการกระจายเสียงไม่เกิน 20 กิโลเมตร

นอกจากนี้ จะตรวจสอบความเป็นเจ้าของของสถานีวิทยุแต่ละแห่ง โดยสถานีวิทยุประเภทบริการสาธารณะจะอนุญาตให้ 1 นิติบุคคลเป็นเจ้าของสถานีวิทยุได้จังหวัดละไม่เกิน 1 แห่ง ส่วนสถานีวิทยุประเภทบริการธุรกิจจะอนุญาตให้ 1 นิติบุคคลเป็นเจ้าของได้แค่ 1 สถานีเท่านั้น  เพื่อไม่ให้มีรายใดรายหนึ่งเป็นเจ้าของสถานีวิทยุมากเกินไป ซึ่งมาตรการนี้จะทำให้สถานีวิทยุที่ได้รับใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการจะเหลือราว 3,500 แห่งเท่านั้น



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1402051208

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.