Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 มิถุนายน 2557 แหล่งข่าว TOT และ CAT ระบุตรงกันเป็นไปได้ยากในการรวมกิจการเพราะพนักงานส่วนเกินต้องออก และ ผลักดันให้เกิดการสร้างเกตเวย์ของชาติ ต้องมีการชดเชยให้เอกชน


ประเด็นหลัก


แหล่งข่าวจาก บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า การควบรวมทั้งสององค์กรไม่ใช่เรื่องง่าย เฉพาะทีโอทีมีพนักงานกว่า 20,000 คน หากรวม กสทฯราว 7,000 คน ยิ่งใหญ่จนอุ้ยอ้าย มีคนมากกว่างานแน่ ปัญหาคือจะทำอย่างไรกับพนักงานส่วนเกิน โครงการเออร์ลี่รีไทร์ที่ผ่านมาเจอปัญหามีแต่พนักงานที่มีศักยภาพไปทำงานที่อื่นได้ที่เข้าร่วมโครงการ

แหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ.กสท โทรคมนาคม เปิดเผยว่า เกิดจากความพยายามของกระทรวงไอซีทีที่จะรวมโครงข่ายอินเทอร์เน็ตที่อยู่ในมือของทีโอทีและ กสทฯเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ โดยหวังให้ง่ายต่อการบริหารจัดการ และผลักดันให้เกิดการสร้างเกตเวย์ของชาติ ซึ่งในทางเทคนิคทำได้ แต่มีปัญหาข้อกฎหมาย อาทิ กฎ กสทช.ที่ก่อนหน้านี้เปิดเสรีการลงทุนอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ไปแล้ว หากจะดึงรวมกลับมาเป็นเกตเวย์ของชาติ ต้องมีการชดเชยให้เอกชน และทำให้เกิดปัญหาในการบริหารทรัพย์สิน สัญญา หรือสัมปทานด้วย

______________________________________


รวม "ทีโอที-กสทฯ" ขุดกรุ "ไอเดีย" เก่า พูดง่ายทำยาก



จุดประกายขึ้นอีกครั้งสำหรับแนวคิดการควบรวม 2 รัฐวิสาหกิจโทรคมนาคม บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม นับตั้งแต่ กสทฯแปรรูปเป็นบริษัทตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา ก็มีแนวคิดนี้ออกมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่สมัย คมช. (คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ) ปี 2549 จนถึง คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) 2557 ในปัจจุบัน โดยครั้งนี้ "สุรชัย ศรีสารคาม" (อดีต)ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดประเด็นและเสนอเป็นแผนงานระยะยาวให้ "คสช." พิจารณาด้วย โดยระบุว่า ต้องควบรวมเพื่อลดการทำงานซ้ำซ้อน และเพื่อความอยู่รอดขององค์กร

ยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า แนวคิดนี้มีการพูดถึงมาหลายครั้งแล้ว เพราะหวังว่าจะช่วยลดความซ้ำซ้อนของทั้ง 2 องค์กร โดยตั้งใจให้เป็นหน่วยงานที่เข้ามารับงานด้านไอทีและโทรคมนาคมของภาครัฐ และผลักดันให้เกิดโครงข่ายของชาติ แต่ไม่เคยมีความคืบหน้าอะไร และในเวลานี้ยังไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการควบรวมทีโอทีกับ กสทฯ ซึ่งถ้าจะทำจริง ๆ ก็มีแนวทางที่จะเป็นได้หลายโมเดล อาทิ การจับมือเป็นพาร์ตเนอร์กัน การตั้งบริษัทลูกร่วมกัน หรือเป็นโฮลดิ้งคอมปะนี

"ถ้าจะให้บอกว่าควบรวมแล้วจะดีหรือร้ายกับทีโอทีอย่างไรก็ต้องดูรายละเอียด ต้องได้เห็นโมเดลที่ชัดเจนก่อน ไม่ใช่แค่แนวคิดกว้าง ๆ แต่ยอมรับว่าตอนนี้ทีโอทีมีปัญหาเรื่องการหารายได้มาทดแทนสัมปทาน ซึ่งฝ่ายบริหารก็กำลังพยายามอยู่ แต่ที่ผ่านมามีปัญหาอุปสรรคเยอะ ซึ่งเราก็ได้เสนอให้ คสช.เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาให้หลายเรื่อง อย่างเรื่องการทบทวนสิทธิ์ในการใช้คลื่นความถี่ตามสัมปทานที่ทีโอทีถือครองอยู่ รวมถึงคลื่น 900 MHz สัมปทานของเอไอเอสด้วย ซึ่งเราได้มอบหมายให้สายงานที่เกี่ยวข้องทำรายละเอียดเสนอเพิ่มไป"

ฟาก กิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม เปิดเผยว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายควบรวม จึงยังไม่สามารถบอกได้ว่าแนวทางนี้จะช่วยแก้ปัญหาขององค์กรได้แค่ไหน

"ที่ผ่านมาความไม่ชัดเจนด้านกฎหมายในหลายประเด็น อาทิ สิทธิ์ในการถือครองคลื่นความถี่มาเป็นอุปสรรค ซึ่งเราหวังว่า คสช.จะช่วยเข้ามาแก้ไขปัญหาให้ได้ แต่ก็ต้องยอมรับด้วยว่า กสทฯเองมีปัญหาด้านการบริหารจัดการเชิงโครงสร้าง และการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่ทำให้องค์กรเดินหน้าไปได้ไม่เต็มที่ เนื่องจาก กสทฯอยู่ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่มีการแข่งขันกันรุนแรง และเทคโนโลยีมีการปรับเปลี่ยนรวดเร็วมาก จึงเห็นผลสะท้อนของปัญหานี้ได้เร็วและชัดเจนกว่ารัฐวิสาหกิจอื่น เป็นเรื่องที่เราต้องปรับปรุงตัวเองด้วย ที่ผ่านมาพยายามปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรและพัฒนาบุคลากรมาตลอด"

แหล่งข่าวจาก บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า การควบรวมทั้งสององค์กรไม่ใช่เรื่องง่าย เฉพาะทีโอทีมีพนักงานกว่า 20,000 คน หากรวม กสทฯราว 7,000 คน ยิ่งใหญ่จนอุ้ยอ้าย มีคนมากกว่างานแน่ ปัญหาคือจะทำอย่างไรกับพนักงานส่วนเกิน โครงการเออร์ลี่รีไทร์ที่ผ่านมาเจอปัญหามีแต่พนักงานที่มีศักยภาพไปทำงานที่อื่นได้ที่เข้าร่วมโครงการ

แหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ.กสท โทรคมนาคม เปิดเผยว่า เกิดจากความพยายามของกระทรวงไอซีทีที่จะรวมโครงข่ายอินเทอร์เน็ตที่อยู่ในมือของทีโอทีและ กสทฯเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ โดยหวังให้ง่ายต่อการบริหารจัดการ และผลักดันให้เกิดการสร้างเกตเวย์ของชาติ ซึ่งในทางเทคนิคทำได้ แต่มีปัญหาข้อกฎหมาย อาทิ กฎ กสทช.ที่ก่อนหน้านี้เปิดเสรีการลงทุนอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ไปแล้ว หากจะดึงรวมกลับมาเป็นเกตเวย์ของชาติ ต้องมีการชดเชยให้เอกชน และทำให้เกิดปัญหาในการบริหารทรัพย์สิน สัญญา หรือสัมปทานด้วย

"พูดง่ายแต่ทำยาก แต่ละแห่งมีกฎหมายของตัวเอง ถ้าทำต้องแก้กฎหมาย มีการบริหารทรัพย์สินอีก ใครจะโอนให้ใคร ใครบริหารต่อ จะกลายเป็นว่าเกลี่ยให้ทั้ง 2 แห่งแย่เท่ากันหรือเปล่า ไอเดียนี้น่าจะสายไปแล้วที่จะทำ" แหล่งข่าวกล่าว

แต่ที่แน่ ๆ ผู้ที่จุดประเด็นขึ้นมาใหม่กลายเป็นอดีตปลัดกระทรวงไอซีทีไปแล้ว


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1403068621

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.