Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

31 กรกฎาคม 2557 CTH.วิชัย ระบุ ได้ข้อสรุปบทเรียนคือ โลกของเคเบิลมันแคบเกินไป มันต้องใหญ่กว่านี้ในการขยับขึ้นมาเป็น Media & Entertainment ทุกบ้านต้องเข้าถึงคอนเทนต์ คือนำบริษัท GMM B เข้าตลาดหุ้น

ประเด็นหลัก


- หลักคณิตศาสตร์ธุรกิจติดลบมารวมกันไม่มีทางจะเป็นบวกได้

เรื่องของธุรกิจจะเอาหลักการทางคณิตศาสตร์มาคิดไม่ได้เพราะธุรกิจไม่ได้คิด1+1 เท่ากับ 2 ผมไม่ใช่คนเก่ง แต่ผมทำเรื่องควบรวมกิจการมาเยอะ ดังนั้นผมจึงรู้ว่าเมื่อเกิด Synergy แล้วจะเกิดอะไรต่อ ผมมั่นใจแต่ไม่อวดอ้างความสำเร็จ ทั้งหมดที่เราทำจะทำให้เราจูงกันเดินไป ไม่มีใครอุ้มใคร หรือไม่ใช่เตี้ยอุ้มค่อม

และสเต็ปถัดไปคือร่วมมือกับ PSI อย่างแน่นแฟ้น จากเมื่อก่อน GMM B กับ PSI เป็นคู่แข่งกัน วันนี้ซีทีเอชสร้างมิติใหม่ของการทำธุรกิจโดยไม่ต้องสู้รบกัน เรารวมแพลตฟอร์มกับ GMM B และเชื่อมแพลตฟอร์มกับ PSI เป็นการเปลี่ยน Landscape ของธุรกิจ หรือเรียกได้ว่าเปลี่ยนทั้งอุตสาหกรรมเลยก็ได้

นับจากนี้ไป CTH จะไม่ใช่เคเบิล แซทเทลไลท์ จะเปลี่ยนเป็น "มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์" เรื่องนี้ไม่ได้หมายความว่าต้อง "ล้มช้าง" หรือต้องเป็นเบอร์ 1 เราขอเป็นเบอร์ 2 เบอร์ 3 ดีกว่า เราจะทำสิ่งที่มีอยู่ให้ดี ไม่เอาชนะใคร สไตล์ของผมไม่แข่งใคร ผมจะแบ่งปัน ไม่โค่นล้มใคร

- นี่คือการแก้เกมของ CTH หลังทุ่มเงินมหาศาลแต่ยังไม่สำเร็จ

จะใช้คำว่า "แก้เกม" ก็ได้ หรือจะใช้คำว่า "สร้างยุทธศาสตร์ใหม่" ก็ได้ ทั้งหมดนี้เพราะเราต้องการ Eyeball เราต้องตรึงผู้ชมให้อยู่กับเรา สิ่งที่เราทำคือ สร้างแพลตฟอร์มให้ใหญ่เพื่อให้เข้าถึงผู้ใช้บริการให้ได้มากที่สุด มีแพ็กเกจหลากหลาย รองรับลูกค้าได้ทุกกลุ่ม เราก็รู้ว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะถ้าง่าย ๆ ใคร ๆ ก็ทำได้หมด และตัวผมเองก็ไม่เคยทำเรื่องง่าย ๆ อยู่แล้ว

- CTH ได้ข้อสรุปบทเรียนอย่างไร ก่อนจะมาถึงการปรับยุทธศาสตร์

บทเรียนก็คือ โลกของเคเบิลมันแคบเกินไป มันต้องใหญ่กว่านี้ในการขยับขึ้นมาเป็น Media & Entertainment ทุกบ้านต้องเข้าถึงคอนเทนต์ของเรา และชัดเจนว่าเป้าหมายหลังจากนี้ คือนำบริษัท GMM B เข้าตลาดหุ้น ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับผม คำตอบสุดท้ายต้องเข้าตลาดหุ้น



______________________________








คำต่อคำจากใจ "วิชัย ทองแตง" ยันดีลแกรมมี่ "ไม่มีใครอุ้มใคร"



สัมภาษณ์

ในแวดวงการลงทุน ไม่มีใครไม่รู้จัก "วิชัย ทองแตง" อดีตทนายมือทอง ที่ได้ผันตัวเองมาเป็นนักลงทุนและนักธุรกิจ และโด่งดังจากการทำดีลควบรวมโรงพยาบาลพญาไทและโรงพยาบาลกรุงเทพ และขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 ขณะที่ยังทำดีลซื้อกิจการโรงพยาบาลต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และล่าสุดเขาได้เปิดใจกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงการกลับมาสร้างความฮือฮาด้วยการทำดีลประวัติศาสตร์ ร่วมเป็นพันธมิตรกับ บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ โดยสวอปหุ้น บมจ.ซีทีเอช (CTH) แลกกับบริษัทจีเอ็มเอ็ม บี (GMM B) ผู้ประกอบธุรกิจเพย์ทีวี

ขณะที่เกิดคำถามมากมายในแวดวงธุรกิจ เพราะทั้ง 2 บริษัทยังอยู่ในสถานะติดลบ ขณะที่โอกาสของธุรกิจเพย์ทีวีที่ยากมากขึ้นในช่วงการแจ้งเกิดทีวีดิจิทัล



- การซื้อขายหุ้นครั้งนี้จะนำไปสู่โอกาสได้อย่างไร

คนที่เข้าใจตลาดทุนจะเข้าใจเรื่องนี้ไม่ยากเอาแค่ส่วนของ"เปลือก" ก่อนก็ได้ คือในธุรกิจ Media & Entertainment นั้นต้องลงทุนมหาศาล ทั้งเรื่องแพลตฟอร์มและคอนเทนต์ การที่ 2 บริษัทคู่แข่งมาร่วมมือกัน ก็จะทำให้ประหยัดต้นทุนได้มหาศาล

และถ้ามองลึกกว่านี้ เราจะเห็นถึง "Synergy" แกรมมี่คือยักษ์ใหญ่ด้านคอนเทนต์ มีประสบการณ์กว่า 20 ปี ขณะที่ CTH คือน้องใหม่ แต่มีแหล่งเงินที่หาได้ ฉะนั้น Synergy แรก ก็คือการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจ และการขับเคลื่อนธุรกิจ

Synergy ที่ 2 คือ ทั้งสองบริษัทมีแพลตฟอร์มของตัวเอง ทั้งการลงทุนและสร้างโครงข่ายเน็ตเวิร์ก ในตลาดตอนนี้ทรูวิชั่นส์เป็นอันดับ 1 แกรมมี่ อันดับ 2 และ CTH อันดับ 3 ส่วน PSI อันดับ 4 เมื่อแพลตฟอร์มของเจ้าตลาดอันดับที่ 2 กับ 3 บวกกันก็จะกลายเป็นความยิ่งใหญ่ทันที คือ แกรมมี่วางกล่อง GMM Z ไปแล้วกว่า 2.7 ล้านกล่อง ส่วน CTH ก็มีฐานของกลุ่มสมาชิกเคเบิลท้องถิ่น 2.5 ล้านราย ในจำนวนนี้เป็นลูกค้าซีทีเอช 5 แสนราย ทำให้เราไม่ต้องรีบร้อนขายกล่องเพิ่ม กลยุทธ์จากนี้จะต้องพยายามปลุกครัวเรือนที่มีกล่อง GMM Z ที่ไม่ได้ใช้งานกว่า 2 ล้านกล่องให้มาใช้บริการเรา

ต่อมาคือ GMM B มีคอนเทนต์ที่เป็นแม็กเนต คือ ฟุตบอลยูโร ในปี 2016 เมื่อหมดฤดูกาลบอลพรีเมียร์ลีก ก็มีของรอแล้ว ที่สำคัญบอลยูโรถูกปลุกชีพขึ้นมาด้วยการชนะเลิศของเยอรมันในฟุตบอลโลก และสุดท้ายที่สำคัญมาก คือ นับจากนี้คอนเทนต์ของแกรมมี่ นอกจากที่ยิงสู่ฟรีทีวีจะไม่ขายให้ใครเลยนอกจากผ่าน GMM B เท่ากับซีทีเอชเป็นคนบริหารจัดการคอนเทนต์ให้ด้วย

- จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของความร่วมมือเมื่อไหร่

นับจากวันนี้เป็นต้นไปจะเริ่มเห็นไปเรื่อยๆเฟสแรกคือก่อนเปิดซีซั่นใหม่ของพรีเมียร์ลีกในเดือนสิงหาคม เพราะเมื่อเกิดการรวมกันของ 2 ธุรกิจแล้วเรียกว่า "กินยาว" เพราะเพย์ทีวีหากได้สมาชิกก็คืออยู่ยาว และที่สำคัญเราจะต้องอยู่ให้ได้ก่อนชาวบ้าน เพราะฉะนั้นจะมีการดีไซน์แพ็กเกจหลากหลายรูปแบบ โดยจัดแบ่งตามความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มอย่างชัดเจน

- จะพลิกสถานการณ์จากขาดทุนสะสมได้เมื่อไร

ทั้งเคเบิลทีวี แซทเทลไลท์ ถามว่ามีใครทำกำไรได้ภายใน 2 ปีไหม นี่คือการลงทุนที่ใช้เงินมหาศาล ต้องอย่าหวังว่าจะได้กำไรในทันที ถ้าวางแผนว่าจะกำไรใน 1-2 ปี นั่นคือคุณคิดผิดแล้ว แต่คุณต้องทำใจไว้ล่วงหน้าเลยว่าต้องขาดทุนขั้นต่ำ 3 ปีนับจากที่ลงทุน การทำธุรกิจต้องรู้ธรรมชาติของมัน

- แต่ทิศทางธุรกิจเพย์ทีวีก็ไม่สดใส โดยเฉพาะเมื่อทีวีดิจิทัลเข้ามา

ต้องบอกว่าในอเมริกา ญี่ปุ่น อังกฤษ ไต้หวัน ธุรกิจเพย์ทีวีโตกว่าฟรีทีวีมหาศาล คนที่มีข้อสงสัยก็ควรจะต้องศึกษาที่ประเทศอื่น ๆ ด้วย อย่ามองแค่นี้ คุณจะรู้ว่ามีโมเดลที่ทำให้เกิดขึ้นได้ เพียงแต่ธุรกิจนี้อาจจะค่อนข้างใหม่สำหรับประเทศไทย เราจึงต้องให้เวลากับมัน และยอมรับการขาดทุนในปีแรก ๆ

- หลักคณิตศาสตร์ธุรกิจติดลบมารวมกันไม่มีทางจะเป็นบวกได้

เรื่องของธุรกิจจะเอาหลักการทางคณิตศาสตร์มาคิดไม่ได้เพราะธุรกิจไม่ได้คิด1+1 เท่ากับ 2 ผมไม่ใช่คนเก่ง แต่ผมทำเรื่องควบรวมกิจการมาเยอะ ดังนั้นผมจึงรู้ว่าเมื่อเกิด Synergy แล้วจะเกิดอะไรต่อ ผมมั่นใจแต่ไม่อวดอ้างความสำเร็จ ทั้งหมดที่เราทำจะทำให้เราจูงกันเดินไป ไม่มีใครอุ้มใคร หรือไม่ใช่เตี้ยอุ้มค่อม

และสเต็ปถัดไปคือร่วมมือกับ PSI อย่างแน่นแฟ้น จากเมื่อก่อน GMM B กับ PSI เป็นคู่แข่งกัน วันนี้ซีทีเอชสร้างมิติใหม่ของการทำธุรกิจโดยไม่ต้องสู้รบกัน เรารวมแพลตฟอร์มกับ GMM B และเชื่อมแพลตฟอร์มกับ PSI เป็นการเปลี่ยน Landscape ของธุรกิจ หรือเรียกได้ว่าเปลี่ยนทั้งอุตสาหกรรมเลยก็ได้

นับจากนี้ไป CTH จะไม่ใช่เคเบิล แซทเทลไลท์ จะเปลี่ยนเป็น "มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์" เรื่องนี้ไม่ได้หมายความว่าต้อง "ล้มช้าง" หรือต้องเป็นเบอร์ 1 เราขอเป็นเบอร์ 2 เบอร์ 3 ดีกว่า เราจะทำสิ่งที่มีอยู่ให้ดี ไม่เอาชนะใคร สไตล์ของผมไม่แข่งใคร ผมจะแบ่งปัน ไม่โค่นล้มใคร

- นี่คือการแก้เกมของ CTH หลังทุ่มเงินมหาศาลแต่ยังไม่สำเร็จ

จะใช้คำว่า "แก้เกม" ก็ได้ หรือจะใช้คำว่า "สร้างยุทธศาสตร์ใหม่" ก็ได้ ทั้งหมดนี้เพราะเราต้องการ Eyeball เราต้องตรึงผู้ชมให้อยู่กับเรา สิ่งที่เราทำคือ สร้างแพลตฟอร์มให้ใหญ่เพื่อให้เข้าถึงผู้ใช้บริการให้ได้มากที่สุด มีแพ็กเกจหลากหลาย รองรับลูกค้าได้ทุกกลุ่ม เราก็รู้ว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะถ้าง่าย ๆ ใคร ๆ ก็ทำได้หมด และตัวผมเองก็ไม่เคยทำเรื่องง่าย ๆ อยู่แล้ว

- CTH ได้ข้อสรุปบทเรียนอย่างไร ก่อนจะมาถึงการปรับยุทธศาสตร์

บทเรียนก็คือ โลกของเคเบิลมันแคบเกินไป มันต้องใหญ่กว่านี้ในการขยับขึ้นมาเป็น Media & Entertainment ทุกบ้านต้องเข้าถึงคอนเทนต์ของเรา และชัดเจนว่าเป้าหมายหลังจากนี้ คือนำบริษัท GMM B เข้าตลาดหุ้น ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับผม คำตอบสุดท้ายต้องเข้าตลาดหุ้น

- มุมมองการลงทุนในตลาดหุ้นช่วงครึ่งปีหลัง

ตอนนี้บรรยากาศการเมืองเริ่มนิ่ง และเริ่มมีความชัดเจนในเรื่องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ขณะที่ภาคเอกชนก็พยายามรวมกลุ่มเพื่อนำเสนอประเด็นที่อยากให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผลักดัน ซึ่งก็มีโอกาสสนับสนุนให้หุ้นไปต่อได้ ส่วนตัวมองว่ากลุ่มที่น่าสนใจคือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ที่มีแนวโน้มดีขึ้นในปี 2558 รับอานิสงส์โครงการลงทุนต่าง ๆ ของรัฐที่จะเกิดขึ้น

ส่วนกลุ่มพลังงานและพลังงานทดแทน เป็นหุ้นที่ชอบ เพียงแต่จังหวะนี้ยังไม่ค่อยดีนัก แม้ผมจะมั่นใจว่าตลาดจะไปต่อ แต่ยังไม่เข้าลงทุน เหตุการณ์หลายอย่างยังคลุมเครือ รอให้ดัชนีผงกหัวแล้วค่อยซื้อก็ได้

นี่คือความรู้สึกทั้งหมดของ "วิชัย ทองแตง" ที่มั่นใจว่า การลงทุนในครั้งนี้ "ไม่มีใครอุ้มใคร" อย่างแน่นอน และที่สำคัญ "หลักการคณิตศาสตร์" ที่วัดผลการกำไรขาดทุนของกิจการนั้น ก็ไม่สามารถวัดคุณค่าของ "Synergy" ที่เกิดขึ้นได้ในระยะยาว


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1406776907

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.