Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 สิงหาคม 2557 AIS.สมชัย ยอมรับ หากไม่มี AIS 4G ระยะ 12-18 เดือนข้างหน้า เราจะยังไม่มีปัญหา หลังจากนี้ เราจะมีปัญหาแน่ ด้วยจำนวนคลื่นที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ใช้งาน

ประเด็นหลัก



นายสมชัยกล่าวว่า ความท้าทายในยุคของเขา คือการขับเคลื่อนเอไอเอส ให้ดำเนินธุรกิจไปได้อย่างราบรื่นและเติบโตในฐานะผู้ให้บริการมือถือเบอร์ 1 ท่ามกลางสถานการณ์ที่ล่อแหลม ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดด้านความถี่ที่มีไม่เพียงพอและการเลื่อนการประมูล 4 จี ออกไป เนื่องจากขณะนี้ เอไอเอสเป็นผู้ให้บริการรายเดียวที่ยังไม่ได้เปิดให้บริการ 4 จี เพราะคลื่นที่มีจำกัด

“เราประเมินแล้วว่าในระยะ 12-18 เดือนข้างหน้า เราจะยังไม่มีปัญหา แต่หากการเปิดประมูล 4 จียืดเยื้อไปหลังจากนี้ เราจะมีปัญหาแน่ ด้วยจำนวนคลื่นที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ใช้งาน ส่วนตัวผมเห็นว่าการที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศเลื่อนการประมูลออกไป 1 ปี เพื่อจัดระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ถือเป็นเรื่องดี เพราะเท่าที่ประเมินการดำเนินงานของ คสช.ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา เห็นว่ามีความตั้งใจดี เมื่อมีการเก็บข้อมูลได้ครบถ้วน ก็สามารถตัดสินใจเรื่องต่างๆได้ถูกต้อง ซึ่งถือว่ามีแนวโน้มที่ดี”

ส่วนการที่เอไอเอส กลายเป็นผู้ให้บริการรายเดียวที่ยังไม่ได้เปิดให้บริการ 4 จีนั้น ส่วนตัวไม่คิดว่ากระทบต่อธุรกิจหรือรายได้เท่าใดนัก แต่ผลกระทบด้านภาพลักษณ์คงต้องมีบ้าง อย่างไรก็ตามยังมีความเชื่อในทางบวกว่า ที่สุดแล้วการประมูลจะเกิดขึ้น เพราะเป็นเทคโนโลยีที่คนไทยได้ประโยชน์ ที่สำคัญเป็นการกระตุ้นการสร้างงาน กระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรายได้เข้าประเทศ


______________________________




เอไอเอสพร้อมรับความท้าทาย ซีอีโอใหม่เผย4จียื้อ12-18เดือนพอไหว

ซีอีโอใหม่เอไอเอสรับ 2 ความท้าทายสำคัญ คือการดำรงสถานะผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือเบอร์ 1 ของประเทศไทย ในภาวะที่โอกาส ในการแข่งขันของเอไอเอสลดน้อยลง และการขับเคลื่อนองค์กรสู่ยุคอนาคตด้วยธุรกิจใหม่ เพื่อดันรายได้ก้าวกระโดดภายใน 5 ปี เผยประมูล 4 จียื้อ 12–18 เดือนยังพอรับได้

นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เปิดเผยว่า แผนธุรกิจของเอไอเอส ภายใต้การขับเคลื่อนของตน ในฐานะซีอีโอใหม่คือการผลักดันให้เอไอเอสปรับภาพจากการเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคม (Network Provider) เป็นผู้ให้บริการด้านดิจิตอล (Digital Life Service Provider) ภายใน 5 ปี ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นแนวทางที่ทำให้เอไอเอสสามารถทำรายได้เติบโตได้ก้าวกระโดดนับจากนี้



ทั้งนี้ นายสมชัย ขึ้นดำรงตำแหน่งซีอีโอเมื่อวันที่ 1 ส.ค.ที่ผ่านมา และมีเวลา 90 วันในการตระเตรียมแผนธุรกิจภายใต้การขับเคลื่อนของซีอีโอใหม่ เพื่อเสนอต่อพนักงาน ทีมผู้บริหาร และบอร์ดตามลำดับ หลังจากนั้นจึงจะแถลงเป็นวิสัยทัศน์ของบริษัทต่อสื่อมวลชนในเดือน ต.ค.

นายสมชัยกล่าวว่า ความท้าทายในยุคของเขา คือการขับเคลื่อนเอไอเอส ให้ดำเนินธุรกิจไปได้อย่างราบรื่นและเติบโตในฐานะผู้ให้บริการมือถือเบอร์ 1 ท่ามกลางสถานการณ์ที่ล่อแหลม ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดด้านความถี่ที่มีไม่เพียงพอและการเลื่อนการประมูล 4 จี ออกไป เนื่องจากขณะนี้ เอไอเอสเป็นผู้ให้บริการรายเดียวที่ยังไม่ได้เปิดให้บริการ 4 จี เพราะคลื่นที่มีจำกัด

“เราประเมินแล้วว่าในระยะ 12-18 เดือนข้างหน้า เราจะยังไม่มีปัญหา แต่หากการเปิดประมูล 4 จียืดเยื้อไปหลังจากนี้ เราจะมีปัญหาแน่ ด้วยจำนวนคลื่นที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ใช้งาน ส่วนตัวผมเห็นว่าการที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศเลื่อนการประมูลออกไป 1 ปี เพื่อจัดระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ถือเป็นเรื่องดี เพราะเท่าที่ประเมินการดำเนินงานของ คสช.ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา เห็นว่ามีความตั้งใจดี เมื่อมีการเก็บข้อมูลได้ครบถ้วน ก็สามารถตัดสินใจเรื่องต่างๆได้ถูกต้อง ซึ่งถือว่ามีแนวโน้มที่ดี”

ส่วนการที่เอไอเอส กลายเป็นผู้ให้บริการรายเดียวที่ยังไม่ได้เปิดให้บริการ 4 จีนั้น ส่วนตัวไม่คิดว่ากระทบต่อธุรกิจหรือรายได้เท่าใดนัก แต่ผลกระทบด้านภาพลักษณ์คงต้องมีบ้าง อย่างไรก็ตามยังมีความเชื่อในทางบวกว่า ที่สุดแล้วการประมูลจะเกิดขึ้น เพราะเป็นเทคโนโลยีที่คนไทยได้ประโยชน์ ที่สำคัญเป็นการกระตุ้นการสร้างงาน กระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรายได้เข้าประเทศ

ส่วนความท้าทายอีกประการ คือการผลักดันให้เอไอเอสเติบโต ทั้งในด้านรายได้และองค์กรในภาพรวม จากเมื่อปีที่ผ่านมา เอไอเอสมีรายได้ราว 120,000 ล้านบาท แต่มีอัตราเติบโตของรายได้ต่อปีเป็นสัดส่วนเลขตัวเดียวมาโดยตลอด ดังนั้นการจะดันให้ยอดรายได้เติบโตในอัตราเลข 2 หลัก ก็จำเป็นต้องคิดหาธุรกิจใหม่ๆทำ ในแผนธุรกิจของปีนี้ จึงจะมีการเปิดตัว 2 ธุรกิจใหม่ ที่เอไอเอสจะดึงเข้ามาเสริมเต็มกำลัง ได้แก่ ธุรกิจอินเตอร์เน็ตบรอด-แบนด์ (Fixed Broadband) และธุรกิจดิจิตอลคอนเทนต์ โดยจะมีการลงทุนอย่างจริงจังและมีเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้นจากนี้



“ในส่วนของธุรกิจดิจิตอลคอนเทนต์ เรามีแผนเบื้องต้นรุกครอบคลุม 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ วีดิโอ, เกม, คลาวด์คอมพิวติ้ง, เอ็ม-คอมเมิร์ซ และเอ็มทูเอ็ม (โมบายล์ ทู โมบายล์) เป็นการดึงเงินจากอุตสาหกรรมอื่นๆ เข้ามายังธุรกิจมือถือ หารายได้ในรูปแบบใหม่ๆ แม้เอไอเอสจะเริ่มทำธุรกิจเหล่านี้ไปแล้วบ้าง แต่จะทำจริงจังมากขึ้น”

เขายังบอกด้วยว่า จากรายได้ทั้งปีที่ 120,000 ล้านบาท เขาจะต้องหาเงินให้ได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท นับเป็นงานที่หนัก อย่างไรก็ตามจากผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา พบว่ารายได้มีแนวโน้มดีขึ้น

ทั้งนี้จากการแจ้งผลประกอบการไตรมาสที่ 2 เอไอเอสมีฐานลูกค้า รวม 42.9 ล้านเลขหมาย เป็นลูกค้า 3 จีทั้งสิ้น 34.4 ล้านเลขหมาย คิดเป็น 80% ของฐานลูกค้าทั้งหมด ขณะที่ลูกค้า 2 จีบนคลื่น 900 MHz และ 1800 MHz เหลือ 8.5 ล้านเลขหมาย โดยครึ่งปีแรกมีรายได้ 58,571 ล้านบาท กำไร 17,956 ล้านบาท และได้ปรับเป้าการเติบโตของรายได้ลงเหลือ 1-2% จาก6-8% ในปีนี้ จากภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนตัวลง แต่เชื่อว่าสิ้นปีหลัง สถานการณ์จะดีขึ้น.

http://www.thairath.co.th/content/443588

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.