Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 สิงหาคม 2557 TOT ชี้การลงทุนเคเบิลใต้น้ำ!! สำหรับเส้นทางเอเชีย-ยุโรป วงเงิน 1,408 ล้านบาทนั้น เส้นทางเซ้าท์อีสต์เอเชีย-มิดเดิลอีสต์ เวสต์เทิร์น ยุโรป 5 (SEA-ME-WE 5) วงเงิน 1,376ล้านบาท และเส้นทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้-ญี่ปุ่น (SJC) วงเงิน 2,278 ล้าน

ประเด็นหลัก


สำหรับเส้นทางเอเชีย-ยุโรป วงเงิน 1,408 ล้านบาทนั้น เป็นเส้นทางการวางสายเคเบิลผ่านจากฝรั่งเศล อิตาลี อียิปต์ศรีลังกา อินเดีย และเชื่อมต่อกับเครือข่ายในประเทศที่ จ.สตูล และสงขลาเป็นหนึ่งในแผนธุรกิจที่จะช่วยสร้างรายได้ให้กับทีโอทีในระยะยาวและสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการโทรคมนาคมในอาเซียน เช่น สิงคโปร์ มาเลเซียรวมทั้งช่วยยกระดับการให้บริการอินเทอร์เน็ตของไทยด้วย

ขณะที่อีก 2 เส้นทางเคเบิลใต้น้ำ คือ เส้นทางเซ้าท์อีสต์เอเชีย-มิดเดิลอีสต์ เวสต์เทิร์น ยุโรป 5 (SEA-ME-WE 5) วงเงิน 1,376ล้านบาท และเส้นทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้-ญี่ปุ่น (SJC) วงเงิน 2,278 ล้านบาทได้ให้ไปศึกษารายละเอียดอีกครั้ง และบอร์ดจะประชุมอีกครั้งวันที่ 25 ส.ค.


______________________________




?บอร์ด ทีโอที ผ่านแผนลงทุนเคเบิลใต้น้ำ?
บอร์ดใหม่ทีโอทีไฟเขียวแผนฟื้นฟูเร่งด่วน ลงทุนเคเบิลใต้น้ำ 1,408 ล้านบาท เร่งเดินหน้า 6 กลุ่มธุรกิจหลักปั้นรายได้ พร้อมสั่งลดการลงทุนในโครงการที่ซ้ำซ้อนกับ กสท


วันนี้(19 ส.ค.) ที่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) พล.อ.สุรพงษ์สุวรรณอัตถ์ รองเสนาธิการทหารบก ในฐานะประธานกรรมการ (บอร์ด) ทีโอที เปิดเผยหลังการประชุมบอร์ดนัดแรกว่าบอร์ดได้อนุมัติแผนฟื้นฟูองค์กรเร่งด่วนให้ลงทุนโครงการระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศเส้นทางเอเชีย-ยุโรป (AAE1) วงเงิน 1,408 ล้านบาท และจะเซ็นสัญญาในวันที่ 25 ส.ค.นี้

ทั้งนี้โครงการดังกล่าวเป็น 1 ใน 6 กลุ่มธุรกิจที่จะเป็นตัวสร้างรายได้ในอนาคต และเป็นหนึ่งในเส้นทางของแผนลงทุนระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศของทีโอทีระยะเวลา 3 ปี (2557-2559) มูลค่า 5,979 ล้านบาทตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้อนุมัติ แต่สาเหตุที่ต้องเร่งเส้นทางดังกล่าวก่อนนั้นเพราะล่าช้ามานานมากแล้ว และหากไม่เซ็นสัญญาในวันที่ 25 ส.ค.นี้ จะเสียโครงการให้กับเอกชนรายอื่น

สำหรับเส้นทางเอเชีย-ยุโรป วงเงิน 1,408 ล้านบาทนั้น เป็นเส้นทางการวางสายเคเบิลผ่านจากฝรั่งเศล อิตาลี อียิปต์ศรีลังกา อินเดีย และเชื่อมต่อกับเครือข่ายในประเทศที่ จ.สตูล และสงขลาเป็นหนึ่งในแผนธุรกิจที่จะช่วยสร้างรายได้ให้กับทีโอทีในระยะยาวและสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการโทรคมนาคมในอาเซียน เช่น สิงคโปร์ มาเลเซียรวมทั้งช่วยยกระดับการให้บริการอินเทอร์เน็ตของไทยด้วย

ขณะที่อีก 2 เส้นทางเคเบิลใต้น้ำ คือ เส้นทางเซ้าท์อีสต์เอเชีย-มิดเดิลอีสต์ เวสต์เทิร์น ยุโรป 5 (SEA-ME-WE 5) วงเงิน 1,376ล้านบาท และเส้นทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้-ญี่ปุ่น (SJC) วงเงิน 2,278 ล้านบาทได้ให้ไปศึกษารายละเอียดอีกครั้ง และบอร์ดจะประชุมอีกครั้งวันที่ 25 ส.ค.

ด้านนายยงยุทธวัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที กล่าวว่า นอกจากกลุ่มธุรกิจเคเบิลใต้น้ำและวงจรเชื่อมต่อต่างประเทศ(อินเทอร์เน็ต เกตเวย์) แล้ว ยังมีอีก 5 กลุ่มธุรกิจที่ฝ่ายบริหารจะต้องต่อยอด สร้างรายได้ในอนาคต ประกอบด้วยกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม กลุ่มเสาโทรคมนาคม กลุ่มโทรศัพท์เคลื่อนที่กลุ่มโทรศัพท์ประจำที่และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์)และกลุ่มบริการด้านไอที ศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต (ไอดีซี) และคลาวด์ คอมพิวติ้ง

“บอร์ดยังมีนโยบายให้ลดการลงทุนซ้ำซ้อนกับบริษัท กสท โทรคมนาคม ยกเลิกกลุ่มธุรกิจที่ไม่มีกำไรลดค่าใช้จ่ายในทุกกลุ่มธุรกิจอย่างเร่งด่วน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ทีโอทีกลับมามีกำไรอีกครั้งแม้ว่าจะไม่มีรายได้จากสัญญาสัมปทานก็ตาม” นายยงยุทธ กล่าว




http://www.dailynews.co.th/Content/IT/260597/บอร์ด+ทีโอที+ผ่านแผนลงทุนเคเบิลใต้น้ำ

___________________________________


บอร์ดทีโอทีอนุมัติแผนด่วนฟื้นฟู เล็งทำเคเบิลใต้น้ำเชื่อมยุโรป
โดย ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ 19 ส.ค. 2557 20:31
 607 ครั้ง



บอร์ดทีโอทีไฟเขียวแผนฟื้นฟูเร่งด่วน ลงทุนเคเบิลใต้น้ำเส้นทางเอเชีย-ยุโรป 1,408 ล้านบาท เพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับบิ๊กโทรคมนาคมในอาเซียน พร้อมทั้งแตก 6 กลุ่มธุรกิจปั้นรายได้ โดยลดการลงทุนที่ซ้พำซ้อนกับ กสท โทรคมนาคม...

พล.อ.สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ รองเสนาธิการทหารบก ในฐานะประธานกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ทีโอที เปิดเผยว่า การประชุมบอร์ดครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 ส.ค. อนุมัติแผนฟื้นฟูองค์กรเร่งด่วนให้ลงทุนโครงการระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ เส้นทางเอเชีย-ยุโรป (AAE1) วงเงิน 1,408 ล้านบาท และจะเซ็นสัญญาในวันที่ 25 ส.ค.นี้

โครงการดังกล่าวเป็น 1 ใน 6 กลุ่มธุรกิจที่จะเป็นตัวสร้างรายได้ในอนาคต และเป็นหนึ่งในเส้นทางของแผนลงทุนระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศของทีโอที ระยะเวลา 3 ปี (2557-2559) มูลค่า 5,979 ล้านบาท ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้อนุมัติ แต่สาเหตุที่ต้องเร่งเส้นทางดังกล่าวก่อนนั้น เพราะล่าช้ามานานมากแล้ว และหากไม่เซ็นสัญญาในวันที่ 25 ส.ค.นี้ จะเสียโครงการให้กับเอกชนรายอื่น

สำหรับเส้นทางเอเชีย-ยุโรป วงเงิน 1,408 ล้านบาทนั้น เป็นเส้นทางการวางสายเคเบิลผ่านจากฝรั่งเศส อิตาลี อียิปต์ ศรีลังกา อินเดีย และเชื่อมต่อกับเครือข่ายในประเทศที่ จ.สตูล และสงขลา เป็นหนึ่งในแผนธุรกิจที่จะช่วยสร้างรายได้ให้กับทีโอทีในระยะยาว และสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการโทรคมนาคมในอาเซียน เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย รวมทั้งช่วยยกระดับการให้บริการอินเทอร์เน็ตของไทยด้วย

นอกจากกลุ่มธุรกิจเคเบิลใต้น้ำและวงจรเชื่อมต่อต่างประเทศ (อินเทอร์เน็ต เกตเวย์) แล้ว ยังมีอีก 5 กลุ่มธุรกิจที่ฝ่ายบริหารจะต้องต่อยอด สร้างรายได้ในอนาคต ประกอบด้วย กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม กลุ่มเสาโทรคมนาคม กลุ่มโทรศัพท์เคลื่อนที่ กลุ่มโทรศัพท์ประจำที่และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) และกลุ่มบริการด้านไอที ศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต (ไอดีซี) และคลาวด์ คอมพิวติ้ง

อย่างไรก็ตาม บอร์ดยังมีนโยบายให้ลดการลงทุนซ้ำซ้อนกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม ยกเลิกกลุ่มธุรกิจที่ไม่มีกำไร ลดค่าใช้จ่ายในทุกกลุ่มธุรกิจอย่างเร่งด่วน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ทีโอทีกลับมามีกำไรอีกครั้ง แม้ว่าจะไม่มีรายได้จากสัญญาสัมปทานก็ตาม

ขณะที่อีก 2 เส้นทางเคเบิลใต้น้ำ คือ เส้นทางเซาท์อีสต์เอเชีย-มิดเดิล อีสต์ เวสต์เทิร์น ยุโรป 5 (SEA-ME-WE 5) วงเงิน 1,376 ล้านบาท และเส้นทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้-ญี่ปุ่น (SJC) วงเงิน 2,278 ล้านบาท ได้ให้ไปศึกษารายละเอียดอีกครั้ง และบอร์ดจะประชุมอีกครั้งวันที่ 25 ส.ค. 2557 นี้.


http://www.thairath.co.th/content/444376

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.