Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

26 สิงหาคม 2557 ปฎิรูป ICT!! ปลัดICT.เมธินี จี้ TOT ให้เสนอแผนกลับมาให้เร็วที่สุด ทำอย่างไรให้แผนฟื้นฟูโดนใจซูเปอร์บอร์ด!! เอากรมประชาสัมพันธ์(TVจอใหญ่มาร่วมICT)

ประเด็นหลัก



++"กิ๊ก" เนคเทค กรมประชา ร่วมชายคา
    นโยบายของ คสช. ขณะนี้คือ การปฏิรูปโครงสร้างกระทรวง ดังนั้น กระทรวงไอซีที อยากได้เนคเทค (ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค)  เข้ามาอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงไอซีที เพราะ เนคเทค  มีฐานข้อมูลทางด้านวิจัย  หน้าจะเข้ามารวมอยู่ด้วยกันได้ เพราะทั้ง 2 หน่วยงานก็ทำงานร่วมกันมาตลอด และ เชื่อว่าวันนี้น่าจะคุยกันรู้เรื่อง ดังนั้นเมื่อมาอยู่ด้วยกันมีรัฐมนตรีคนเดียวกันน่าจะขับเคลื่อนองค์กรได้มากขึ้น เพราะ เนคเทค ทำงานวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ และ นวัตกรรม
    "ไปจีบมา 100 หนแล้วรอรัฐมนตรีใหม่ พิจารณาเรื่องนี้"
    อย่างไรก็ตามได้เสนอเรื่องนี้ไปยัง  คสช.  เสนอในหลักการเพราะรัฐบาลต้องการปฏิรูประบบราชการ ดังนั้น กระทรวงไอซีที ได้นำเสนอเรื่อง และ หนึ่งในนั้นอยากขอให้ เนคเทค มาอยู่ภายใต้กระทรวงไอซีที  สิ่งที่กระทรวงเสนอมองเป็นบวกของประเทศ สถานการณ์ขณะนี้รอไม่ได้ เพราะการขับเคลื่อนงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และ การสื่อสาร เกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วมาก
    นอกจากนี้แล้ว อยากจะให้รวมกิจการกระจายเสียง (บอร์ดแคสต์) ของกรมประชาสัมพันธ์ เข้ามารวมอยู่ด้วย เนื่องจากกระทรวงไอซีที รับผิดชอบจอเล็ก (หมายถึง; มือถือ) ขณะที่ กรมประชาสัมพันธ์ รับผิดชอบจอใหญ่ (จอทีวี)  ทั้ง2ส่วนเป็นดิจิตอลคอนเทนต์ เหมือนกัน
    สำหรับงานหลักของกระทรวงไอซีที คือ โครงข่าย งานต่อมาพัฒนาคน เป้าหมายที่ 1 ผ่านไปแล้ว เหลือเป้าหมายที่ 2 คือ คำจำกัดความของ อินเตอร์เน็ต  ใช้อะไรในอินเตอร์เน็ต และ ใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์  เพราะในอดีตเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหลายมาจากโลกออนไลน์ ดังนั้นต้องปลูกฝังในเรื่องคุณธรรม และ จริยธรรม ของคนใช้งานด้วยเช่นกันระบบสื่อสารจะถูกตัดขาดไม่ได้เพราะโลกนี้ คือ โลกติดต่อสื่อสาร ทำธุรกรรมผ่านออนไลน์แทบทั้งสิ้น

++ แนะแก้กติกา  "ทีโอที-แคท"
    สำหรับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ขณะนี้ซูเปอร์บอร์ดมีนโยบายพลิกฟื้นรัฐวิสาหกิจที่ประสบปัญหาขาดทุน แต่ด้วยความที่เป็นรัฐวิสาหกิจมายาวนาน มีพนักงานกว่า 3-4 หมื่นคน ที่สำคัญในอดีตที่ผ่านมา องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นองค์กรที่ยิ่งใหญ่มาก ต้องต่อสู้ฟาดฟัน ให้มีโครงสร้างโทรคมนาคมให้กับประเทศ ถือว่าเป็นรัฐวิสาหกิจที่สร้างประเทศขึ้นมา และ วันนี้เขายากลำบาก ด้วยเหตุผลต่างกำต่างวาระ และนโยบายให้ 2 หน่วยงานแข่งเป็นจุดอ่อนมากจุดหนึ่ง ที่สำคัญ กลไก การแข่งขันสู่เสรี ยังมีข้อจำกัดมากมาย เช่น การรักษาความลับ คู่แข่งควรจะรู้ข้อมูลหรือไม่
    ดังนั้น 2 หน่วยงานรัฐวิสาหกิจต้องการพลิกฟื้นองค์กร ต้องรื้อความคิดใหม่  และ รัฐบาลหากต้องการให้ 2 หน่วยงานนี้กลับมาใหม่จะให้อยู่อย่างไร ถ้าให้แข่งขันต้องแก้อะไร ถ้าไม่อยากให้แข่งดูแลอย่างไร และ ทั้ง 2 หน่วยงานเป็นอะไรในประเทศนี้
    อย่างไรก็ตามในช่วงเปลี่ยนผ่าน บมจ. ทีโอที ต้องคิดด้วยตัวเอง และ เสนอแผนเข้ามายังกระทรวงไอซีที เพื่อนำเสนอต่อไปยังรัฐมนตรี  ซึ่ง ไอซีที ได้เร่งรัดให้เสนอแผนกลับมาให้เร็วที่สุด เพราะฉะนั้นต้องพึ่งบอร์ดใหม่ ของ ทีโอที และ แคท ในการขับเคลื่อนองค์กร ทำอย่างไรให้แผนฟื้นฟูโดนใจซูเปอร์บอร์ด
    "ตอนนี้ปลัดรักษาการรัฐมนตรีไอซีที แต่ระหว่างนี้ทำหน้าที่รักษาการอย่างเต็มที่ และ ประสานให้ และ มอบหมายให้เร่งรัด ทางที่ดีเสนอโปรเจ็กต์และรูปแบบ ทั้ง2หน่วยงานอยากได้อย่างไร เชื่อว่าน่าจะมีโอกาสเจรจาร่วมกัน"







______________________________




ยุคปฏิรูป'ไอซีที' ลั่น! แชร์ โครงข่ายร่วม



  นับเป็นปลัดกระทรวงหญิงอีกคนที่ถูกจับตาและกล่าวขานถึงไม่น้อย สำหรับ นางเมธินี เทพมณี วันนี้ "เธอ" ได้ถูกแต่งตั้งเข้ามารับตำแหน่ง ปลัดกระทรวงไอซีที (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) ในยุคของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และ ว่าที่ นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
    เมธินี เทพมณีเมธินี เทพมณีอย่างไรก็ตามช่วงเช้าของวันที่ 20 สิงหาคม 2557  "ฐานเศรษฐกิจ" ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ นางเมธินี เทพมณี  บนชั้น 8 ศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ  เกี่ยวกับภารกิจและบทบาทของ ไอซีที นับจากนี้ไปอนาคตใหม่กำหนดเป็นทิศทางไว้อย่างไร

++งบไอที 9 กระทรวง 2 หมื่นล้าน
    งบประมาณในปี 2558 คสช.(คณะรักษาความสงบแห่งชาติ)  ได้รับการจัดสรรจำนวน 2 หมื่นล้านบาท งบทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็น 9 กระทรวง โดยกระทรวงไอซีที ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 1.8 พันล้านบาท เป็นงบในการลงทุนติดตั้งโครงข่ายไอซีที
++รับบทตัวกลางประสานโครงข่ายลดต้นทุน
    อย่างไรก็ตามรัฐบาล ได้กำหนดลการลงทุนซ้ำซ้อน เนื่องจากปีนี้ คสช. ตั้งเป็นทีมบูรณาการ งบประมาณทั้ง 9 กระทรวง ได้เสนอต่อรัฐบาลเป็นจำนวน 8 หมื่นล้านบาท แต่ต้องถูกปรับลดลงเหลือเพียง 2 หมื่นล้านบาท แม้จะถูกปรับลดลง กระทรวงไอซีที  มองวิกฤติเป็นโอกาสเสมอ
    ดังนั้นโครงข่ายทางด้าน ไอซีที ที่ทุกกระทรวงลงทุนทั้งหมด ต้องใช้รูปแบบในการพูลร่วมกัน โดยการแชร์โครงข่ายร่วมกันเพราะวันนี้กระทรวงไอซีที รับผิดชอบโครงข่าย บางอย่างลงทุนเอง วันนี้เกิดปัญหาต่างกำต่างวาระ  สรรพากร ลงทุนโครงข่าย กระทรวงมหาดไทย มีโครงการ Uninet  และ โอเน็ต ของ สพฐ. (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ทั้งหมดมีที่มาต่างกรรมต่างวาระ เมื่อ คสช. จัดตั้งให้ ไอซีที เป็นคนกลาง ต้องเจอปัญหาทุกสภาพ ต้องทำหน้าที่เป็นโปรเจ็กต์แมเนเจอร์ตัวจริง (จากเคยฝึกงานกับหม่อมเต่า หรือม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล )  นโยบายของ คสช. ยึดหลัก เศรษฐกิจพอเพียง และ เรื่องของจริยธรรม เมื่อโดนตัดงบประมาณก็ต้องหาทางแก้ไข ซึ่งทางเดียวที่จะลดต้นทุนการลงทุน คือ การแชร์โครงข่ายไอซีทีใช้งานร่วมกัน
++เล็ง "สมาร์ทคลาสรูม"
    โครงการสมาร์ท คลาส รูม หรือ ห้องเรียนอัจฉริยะ  ในอดีตคือ โครงการแท็บเลตพีซี เพื่อการศึกษาไทย  โปรเจ็กต์นี้ทางกระทรวงไอซีที ได้พัฒนาร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ  แต่บทบาทของ ไอซีที คือ วางโครงข่าย  ติดตั้งโครงข่ายจำนวน 4 หมื่นโรงเรียน กระทรวงไอซีที ก็มีส่วนร่วม ดังนั้นเรื่องของการลงทุนเพื่อลดต้นทุนซับซ้อน ต้องมีการเจรจาร่วมกัน หรือ ในอนาคตอาจมีการแก้กฎหมาย และ ปรับคุณภาพคนบางส่วน
    นอกจากนี้  กระทรวงไอซีที  ได้ติดตั้งโครงการอินเตอร์เน็ตชุมชนจำนวน 2 พันแห่ง ขณะนี้อาจจะมีการทบทวนในบางจุดที่ให้บริการที่ไม่เหมาะสม ที่สำคัญการลงทุนของหน่วยงานรัฐไม่ควรแข่งกับเอกชน แต่ต้องถ่วงน้ำหนักก็เพื่อไม่ให้เอกชนล้ำเส้น เช่นการเอาโครงข่ายในพื้นที่ห่างไกล รัฐในฐานะลงทุนความเร็วไม่ต้องกล่าวถึงเพราะบริการประชาชนให้ฟรี ขณะที่ เอกชนการให้บริการอินเตอร์เน็ตสัญญาณแรงต่อเนื่อง เพราะมีการเก็บค่าใช้บริการ
    ขณะที่นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ กระทรวงไอซีที ได้ตั้งเป้าหมายต้องเชื่อมต่อให้เสร็จภายในปี  2563 หมายถึง โครงข่ายต้องเข้าถึง  แต่การเข้าถึงการใช้งานมีกลไกในส่วนอื่น ๆ มาเกี่ยวข้องด้วยเช่น กลไกส่วนท้องถิ่น ในเมื่อรัฐบาลเป็นผู้ลงทุนโครงข่าย หน้าที่กระทรวงไอซีที  ต้องดำเนินขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นจริง และ โครงการนี้ได้ลงทุนมาแล้ว 3 ปี ต้องมีการประเมินผลงาน  ตามแผนแม่บทพัฒนาฉบับที่ 3 คือ 2020
++"กิ๊ก" เนคเทค กรมประชา ร่วมชายคา
    นโยบายของ คสช. ขณะนี้คือ การปฏิรูปโครงสร้างกระทรวง ดังนั้น กระทรวงไอซีที อยากได้เนคเทค (ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค)  เข้ามาอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงไอซีที เพราะ เนคเทค  มีฐานข้อมูลทางด้านวิจัย  หน้าจะเข้ามารวมอยู่ด้วยกันได้ เพราะทั้ง 2 หน่วยงานก็ทำงานร่วมกันมาตลอด และ เชื่อว่าวันนี้น่าจะคุยกันรู้เรื่อง ดังนั้นเมื่อมาอยู่ด้วยกันมีรัฐมนตรีคนเดียวกันน่าจะขับเคลื่อนองค์กรได้มากขึ้น เพราะ เนคเทค ทำงานวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ และ นวัตกรรม
    "ไปจีบมา 100 หนแล้วรอรัฐมนตรีใหม่ พิจารณาเรื่องนี้"
    อย่างไรก็ตามได้เสนอเรื่องนี้ไปยัง  คสช.  เสนอในหลักการเพราะรัฐบาลต้องการปฏิรูประบบราชการ ดังนั้น กระทรวงไอซีที ได้นำเสนอเรื่อง และ หนึ่งในนั้นอยากขอให้ เนคเทค มาอยู่ภายใต้กระทรวงไอซีที  สิ่งที่กระทรวงเสนอมองเป็นบวกของประเทศ สถานการณ์ขณะนี้รอไม่ได้ เพราะการขับเคลื่อนงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และ การสื่อสาร เกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วมาก
    นอกจากนี้แล้ว อยากจะให้รวมกิจการกระจายเสียง (บอร์ดแคสต์) ของกรมประชาสัมพันธ์ เข้ามารวมอยู่ด้วย เนื่องจากกระทรวงไอซีที รับผิดชอบจอเล็ก (หมายถึง; มือถือ) ขณะที่ กรมประชาสัมพันธ์ รับผิดชอบจอใหญ่ (จอทีวี)  ทั้ง2ส่วนเป็นดิจิตอลคอนเทนต์ เหมือนกัน
    สำหรับงานหลักของกระทรวงไอซีที คือ โครงข่าย งานต่อมาพัฒนาคน เป้าหมายที่ 1 ผ่านไปแล้ว เหลือเป้าหมายที่ 2 คือ คำจำกัดความของ อินเตอร์เน็ต  ใช้อะไรในอินเตอร์เน็ต และ ใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์  เพราะในอดีตเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหลายมาจากโลกออนไลน์ ดังนั้นต้องปลูกฝังในเรื่องคุณธรรม และ จริยธรรม ของคนใช้งานด้วยเช่นกันระบบสื่อสารจะถูกตัดขาดไม่ได้เพราะโลกนี้ คือ โลกติดต่อสื่อสาร ทำธุรกรรมผ่านออนไลน์แทบทั้งสิ้น
++"อุตุ" ควรแยกออก
    นอกจากนี้แล้วการปฏิรูประบบราชการของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็น กระทรวง ทบวง กรม หากมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโอกาสนี้เป็นโอกาสเดียวเท่านั้นที่รัฐบาลทำได้  เพราะฉะนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทุกหน่วยงานก็ต้องยอมรับ อย่างกรณี กรมอุตุนิยมวิทยา ภายใต้สังกัดกระทรวงไอซีที มีหลายคนเปรียบเทียบว่า  กรมอุตุนิยมวิทยา เป็นน้ำบนฟ้า เมื่อก้อนเมฆลอยมากรมอุตุนิยมวิทยารับรู้ทั้งหมด  ดังนั้นเมื่อน้ำบนฟ้าหล่นลงมางานเกี่ยวข้องเยอะแยะ กรมชลประทาน, การประปา ฯลฯ  ดังนั้นอะไรที่เกี่ยวกับน้ำ ควรจะอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงไอซีที หรือ ไม่
 ++โลกยุคดิจิตอลจับต้องได้
    สังคมในโลกดิจิตอล คือ สังคมที่จับต้องได้มีทั้งคอนเทนต์และมนุษย์ โครงข่าย คือ เรื่องหลัก ดังนั้นหน้าที่ของกระทรวงไอซีจะต้องสร้างโครงข่ายให้เกิดเสถียรภาพ  มนุษย์อยู่ตรงนั้นต้องมีจริยธรรม  เช่น การขับรถบนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์  ต้องมีใบอนุญาตใช่หรือไม่  เช่นเดียวกับการให้บริการอินเตอร์เน็ต ต้องมีหรือไม่ ก่อนหน้านี้มีหน่วยงานระดับชาติมาเสนอคำว่า "ไลน์เส้น หรือ ใบอนุญาต" ควรจะมีหรือเปล่า  หรือ มีใบรับประกันกับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต  ถ้ามีสิ่งเหล่านี้เพิ่มมูลค่าเพิ่มเข้าสู่ในโลกออนไลน์จะพัฒนาขึ้น
++ทำโครงการแห่งรัฐ
    นอกจากนี้แล้วการลงทุนของรัฐ อยากจะยกตัวอย่างกรณีการรถไฟแห่งประเทศไทย  กระทรวงคมนาคม มีแผนในการดูแลเรื่องราง การลงทุนตัวราง แม้จะไม่ได้กำไร แต่เป็นโครงสร้างพื้นฐานใช่หรือไม่  รัฐทำหน้าที่ขายบริการแบบขายส่ง นี้คือ สิ่งหนึ่งที่ แคท และ ทีโอที ทำให้กับกระทรวงไอซีที แต่อาจเปิดโอกาสให้เอกชนร่วมลงทุน แต่ไม่ได้แข่งกับใคร ในช่วงเปลี่ยนผ่านต้องมีการเจรจา  มีคนบอกว่าทำไมไม่เปิดเสรี และ ทุกวันนี้เปิดเสรีจริงไหม คำถามว่ามีการเปิดเสรีภาครัฐสู้ได้กับมหาอำนาจของโลก บางอย่างไม่ให้อนุญาต เหตุผลหนึ่ง ก็คือ ปกป้องผลประโยชน์ประเทศชาติก็ต้องทำ เรื่องการเปิดเสรีโทรคมนาคมเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก
++ แนะแก้กติกา  "ทีโอที-แคท"
    สำหรับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ขณะนี้ซูเปอร์บอร์ดมีนโยบายพลิกฟื้นรัฐวิสาหกิจที่ประสบปัญหาขาดทุน แต่ด้วยความที่เป็นรัฐวิสาหกิจมายาวนาน มีพนักงานกว่า 3-4 หมื่นคน ที่สำคัญในอดีตที่ผ่านมา องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นองค์กรที่ยิ่งใหญ่มาก ต้องต่อสู้ฟาดฟัน ให้มีโครงสร้างโทรคมนาคมให้กับประเทศ ถือว่าเป็นรัฐวิสาหกิจที่สร้างประเทศขึ้นมา และ วันนี้เขายากลำบาก ด้วยเหตุผลต่างกำต่างวาระ และนโยบายให้ 2 หน่วยงานแข่งเป็นจุดอ่อนมากจุดหนึ่ง ที่สำคัญ กลไก การแข่งขันสู่เสรี ยังมีข้อจำกัดมากมาย เช่น การรักษาความลับ คู่แข่งควรจะรู้ข้อมูลหรือไม่
    ดังนั้น 2 หน่วยงานรัฐวิสาหกิจต้องการพลิกฟื้นองค์กร ต้องรื้อความคิดใหม่  และ รัฐบาลหากต้องการให้ 2 หน่วยงานนี้กลับมาใหม่จะให้อยู่อย่างไร ถ้าให้แข่งขันต้องแก้อะไร ถ้าไม่อยากให้แข่งดูแลอย่างไร และ ทั้ง 2 หน่วยงานเป็นอะไรในประเทศนี้
    อย่างไรก็ตามในช่วงเปลี่ยนผ่าน บมจ. ทีโอที ต้องคิดด้วยตัวเอง และ เสนอแผนเข้ามายังกระทรวงไอซีที เพื่อนำเสนอต่อไปยังรัฐมนตรี  ซึ่ง ไอซีที ได้เร่งรัดให้เสนอแผนกลับมาให้เร็วที่สุด เพราะฉะนั้นต้องพึ่งบอร์ดใหม่ ของ ทีโอที และ แคท ในการขับเคลื่อนองค์กร ทำอย่างไรให้แผนฟื้นฟูโดนใจซูเปอร์บอร์ด
    "ตอนนี้ปลัดรักษาการรัฐมนตรีไอซีที แต่ระหว่างนี้ทำหน้าที่รักษาการอย่างเต็มที่ และ ประสานให้ และ มอบหมายให้เร่งรัด ทางที่ดีเสนอโปรเจ็กต์และรูปแบบ ทั้ง2หน่วยงานอยากได้อย่างไร เชื่อว่าน่าจะมีโอกาสเจรจาร่วมกัน"
++ถึงยุคปฏิรูป
    คำจำกัดความของ ไอซีที ในยุคนี้ คือ ยุคปฏิรูปต้องเปลี่ยนทุกอย่างแม้แต่ตัวกระทรวงไอซีที รวมไปถึงพนักงานต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง  ถ้าพรุ่งนี้มีอะไรเกิดขึ้นทุกคนต้องยอมรับไม่ว่าจะเปลี่ยนชื่อ หรือ ย้ายกระทรวง มีภารกิจมากมาย  เพราะกระทรวงไอซีที ทำงานบนโลกไซเบอร์
    ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น คนที่จะต้องชูธงวิ่ง คือ รัฐมนตรีไอซีที ต้องยอมรับว่าการโอนย้ายไม่สามารถโอนได้เพียงชั่วข้ามคืน แต่มีช่วงการเปลี่ยนผ่านต้องมีการแก้กฎหมาย เช่น เนคเทค ที่ถูกตั้งขึ้นมานั้นตั้งตามกฎหมายพิเศษ ถ้าจะมีการปรับเปลี่ยนต้องแก้กฎหมายให้เร็วที่สุด เพราะโอกาสนี้เป็นโอกาสเดียวเท่านั้น  ดังนั้นช่วงปฏิรูปต้องแก้กฎหมายทั้งหมด และ ข้าราชการต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง โลกไอซีที เป็นโลกการเปลี่ยนแปลงทุกวัน และ ทุกนาที ต้องรับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา...
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=243646:2014-08-22-08-25-34&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.U_wnxktAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.