Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

11 กันยายน 2557 กสทช. กลับลำ แจกคูปองทีวีดิจิทัลแค่ 14.1 ล้านครัวเรือน (เฉพาะบ้านที่มีเจ้าบ้าน) และ จ้างวิธีพิเศษ แต่ต้องไม่แพงกว่าที่จ้างกองสลาก (ฉบับละ 2.85 บาท)

ประเด็นหลัก

"ถึงจ้างวิธีพิเศษ แต่ต้องไม่แพงกว่าที่จ้างกองสลาก (ฉบับละ 2.85 บาท) โดยจะเร่งให้แจกได้ก่อน 10 ต.ค.นี้ ส่วนการส่งคูปองถึงบ้านจะใช้ไปรษณีย์ธรรมดา เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย (จากฉบับละ 10 บาท เหลือ 3 บาท) จ่าหน้าซองถึงเจ้าบ้าน"

จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร ณ 8 ก.ย. 2557 มี 23.8 ล้านครัวเรือน แต่ กสทช.แจกให้เฉพาะบ้านที่มีเจ้าบ้านซึ่งมี 14.1 ล้านครัวเรือน ส่วนบ้านที่ไม่มีเจ้าบ้าน มีแต่ผู้อาศัย มี 2.4 ล้านครัวเรือน รวมถึงบ้านที่มีแต่ทะเบียนบ้านเปล่า อีก 7.3 ล้านครัวเรือน จะไม่ได้รับแจก




______________________________




กสทช. กลับลำ แจกคูปองทีวีดิจิทัลแค่ 14.1 ล้านครัวเรือน เริ่มต.ค.นี้



"กสทช." กลับลำแจกคูปองส่วนลดทีวีดิจิทัลแค่ 14.1 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ ยึดตามทะเบียนที่มีเจ้าบ้าน ดีเดย์ต้น ต.ค.ทั้งเตรียมจัดซื้อวิธีพิเศษจ้าง "จันวานิช-ทีเคเอส" พิมพ์คูปอง ฟากผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลหวั่นมูลค่าคูปองไม่จูงใจ แถมเปิดช่องสวมรอยขึ้นเงิน


นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ได้เปลี่ยนรูปแบบคูปองส่วนลดเพื่อซื้ออุปกรณ์สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล โดยคูปองรูปแบบใหม่จะระบุเลขประจำบ้าน 11 หลัก พร้อมบ้านเลขที่ แทนชื่อเจ้าบ้านและเลขบัตรประจำตัวประชาชน รวมถึงใส่รหัสคูปองเพื่อยันกับข้อมูลทะเบียนราษฎรได้

ส่วนการพิมพ์คูปอง ได้รับแจ้งจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลว่าไม่สามารถพิมพ์ทัน จึงจะจ้างเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญ อย่างบริษัท จันวาณิชย์ ซีเคียวริตี้ พริ้นติ้ง จำกัด ผู้พิมพ์หนังสือเดินทาง หรือ บมจ.ที.เค.เอส.เทคโนโลยี ผู้รับพิมพ์เช็คให้ธนาคารต่าง ๆ

"ถึงจ้างวิธีพิเศษ แต่ต้องไม่แพงกว่าที่จ้างกองสลาก (ฉบับละ 2.85 บาท) โดยจะเร่งให้แจกได้ก่อน 10 ต.ค.นี้ ส่วนการส่งคูปองถึงบ้านจะใช้ไปรษณีย์ธรรมดา เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย (จากฉบับละ 10 บาท เหลือ 3 บาท) จ่าหน้าซองถึงเจ้าบ้าน"

จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร ณ 8 ก.ย. 2557 มี 23.8 ล้านครัวเรือน แต่ กสทช.แจกให้เฉพาะบ้านที่มีเจ้าบ้านซึ่งมี 14.1 ล้านครัวเรือน ส่วนบ้านที่ไม่มีเจ้าบ้าน มีแต่ผู้อาศัย มี 2.4 ล้านครัวเรือน รวมถึงบ้านที่มีแต่ทะเบียนบ้านเปล่า อีก 7.3 ล้านครัวเรือน จะไม่ได้รับแจก

"เมื่อแจก 14.1 ล้านครัวเรือนเสร็จจะหารือ กสทช.ภายหลังว่าจะดำเนินการกับอีก 2 กลุ่มที่เหลืออย่างไร รวมถึงกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่อับสัญญาณว่าต้องให้แลกเป็นกล่องดาวเทียมแทน หรือไม่คงน่าจะเป็นปีหน้า"

คูปองลอตแรกจะแจกใน 23 จังหวัดที่โครงข่ายหลักครอบคลุมแล้ว ก่อนแจกอีก 22 จังหวัด เฟส 2 ไม่เกินกลางเดือน พ.ย.

เมื่อประชาชนได้รับคูปองแล้วต้องนำไปใช้ภายใน 6 เดือน ที่จุดแลกซื้อตามบริษัทที่เข้าร่วมโครงการมาลงทะเบียน โดยนำคูปองพร้อมบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านที่แสดงว่าเป็นเจ้าบ้าน ถ้าไม่ไปด้วยตัวเอง ต้องทำหนังสือมอบอำนาจ พร้อมบัตรประชาชนเจ้าบ้าน สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ และคูปอง โดยนำคูปองดิจิทัลไปแลกซื้อเครื่องรับโทรทัศน์แบบรับสัญญาณดิจิทัลในตัว (iDTV) หรือกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิทัลภาคพื้นดิน (Set-Top-Box T2)

"เชื่อว่าจะมีคนเปิดตัวกล่องราคา 690 บาทแน่ เพราะคนจะแห่ไปใช้สิทธิกับรายนั้น"

ส่วนการป้องกันการทุจริต บริษัทที่เข้าร่วมโครงการต้องนำสติ๊กเกอร์ที่ติดอยู่บนกล่องอุปกรณ์มาแปะบนคูปอง แล้วจึงนำไปขึ้นเงินกับธนาคารได้ ซึ่งสติ๊กเกอร์นี้ใช้แสดงถึงการรับประกันอายุการใช้งาน 2 ปีด้วย หากชำรุดภายใน 30 วัน ต้องเปลี่ยนกล่องใหม่ หากเลย 30 วัน ต้องซ่อมให้ และมีกล่องสำรองให้ใช้

ขณะที่ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลรายหนึ่งเปิด เผยว่า การแจกคูปองของ กสทช.อาจไม่สามารถผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลได้ เพราะผู้บริโภคต้องจ่ายเงินเพิ่ม ขณะที่การตรวจสอบยังเปิดช่องให้ทุจริตได้โดยง่าย

"ราคาตลาดผู้บริโภคต้องจ่ายอีก 4-500 บาท ถึงได้กล่อง แรงจูงใจคนจะใช้สิทธิน้อย แถมเปิดช่องให้มีคนกว้านซื้อคูปอง โดยให้เงินสด 200-300 บาทแทน แล้วเอาสติ๊กเกอร์บนกล่องไปแปะ เพื่อนำไปขึ้นเงิน แค่นี้ก็กำไรจากส่วนต่าง 690 บาทแล้ว"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1410406477

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.