Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 ธันวาคม 2557 กสทช.สุภิญญา โต้ช่อง 7 ร้อง ป.ป.ช. ชี้ ชื่อนิติบุคคลไม่สำคัญเท่าการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของหรือผู้มีอำนาจจริงตามกฏหมายด้วย เพราะถ้าตีความแบบศรีธนญชัยคือจะเปิดโอกาสให้เกิดนอมินี



ประเด็นหลัก



ส่วนกรณีที่ช่อง 7 ยื่นฟ้องว่า การอนุญาตให้ช่อง 3ออกอากาศคู่ขนานได้ผิดกฎหมายเพราะช่องแอนะล็อกกับช่องดิจิทัลมีผู้ถือใบอนุญาตเป็นคนละนิติบุคคลกันนั้น  นางสาวสุภิญญา ชี้แจงว่า กรณี “คนละนิติบุคคล”(แต่คือเจ้าของเดียวกัน) ก็คล้ายๆตอนกรณี กสทช.จะตัดสิทธิ์เครือช่อง7เข้าประมูล ถ้่ามีบริษัทของคุณสุรางค์เปรมปรีดิ์ เข้ามาประมูลด้วย เช่นเดียวกัน ถ้า บ. บางกอกฯ เข้าแข่งประมูลกับ BECMultimedia ก็จะโดนตัดสิทธิ์ทั้งคู่เพราะถือว่าเป็นเจ้าของเดียวกัน (แม้คนละนิติบุคคล)


“ชื่อนิติบุคคลไม่สำคัญเท่าการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของหรือผู้มีอำนาจจริงตามกฏหมายด้วย เพราะถ้าตีความแบบศรีธนญชัยคือจะเปิดโอกาสให้เกิดนอมินี”

______________________________







ไม่จบ! ช่อง 7 ยื่น ป.ป.ช. สอบ 3 กสท. อนุมัติให้ช่อง 3 ออกคู่ขนานดิจิทัล


ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่าปัญหาการออกอากาศของช่อง 3 ระบบแอนะล็อก ในระบบทีวีดิจิทัล หรือ “ช่อง 3 จอดำ”ยังไม่จบ  แม้ว่าก่อนหน้านี้ศาลปกครองจะไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์จำกัด (ช่อง 3 ) ที่ยื่นฟ้อง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)  และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.)


จนทำให้ในที่สุดบอร์ด กสท. เสียงข้างมาก ได้แก่ พลโทพีระพงษ์ มานะกิจ  นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ และ นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์  อนุมัติให้ บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัดผู้รับใบอนุญาตให้บริการช่องดิจิทัล HD 33 นำรายการของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 มาออกอากาศคู่ขนานในช่องของตัวเองได้โดยไม่ถือว่าเข้าข่ายไม่ได้ประกอบกิจการด้วยตัวเอง


แต่ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  (ป.ป.ช.)มีมติรับคำร้อง ของบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด(สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7) ที่ร้องทุกข์กล่าวโทษ3 กสท. ที่ลงมติดังกล่าว


ในกรณีนี้ นางสาวสุภิญญา  กลางณรงค์ชี้แจงผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว ว่า  เพิ่งเห็นข่าวช่อง7 ฟ้อง แต่ทีวีดิจิทัลมีปัญหาเยอะ  มีการฟ้องร้องกันไปมา ในอุตสาหกรรมไม่มีเอกภาพองค์กรกำกับก็เสียงคานกันตลอด มองมุมบวกคือมันมี ′การแข่งขัน′ตามทฤษฎีแล้ว  ย่อมดีกว่ากิจการที่มีการผูกขาดหน้าที่ขององค์กรกำกับดูแลคือกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรม อาจจะมีต้องมีปัญหาอีกระยะหนึ่ง


ส่วนกรณีที่ช่อง 7 ยื่นฟ้องว่า การอนุญาตให้ช่อง 3ออกอากาศคู่ขนานได้ผิดกฎหมายเพราะช่องแอนะล็อกกับช่องดิจิทัลมีผู้ถือใบอนุญาตเป็นคนละนิติบุคคลกันนั้น  นางสาวสุภิญญา ชี้แจงว่า กรณี “คนละนิติบุคคล”(แต่คือเจ้าของเดียวกัน) ก็คล้ายๆตอนกรณี กสทช.จะตัดสิทธิ์เครือช่อง7เข้าประมูล ถ้่ามีบริษัทของคุณสุรางค์เปรมปรีดิ์ เข้ามาประมูลด้วย เช่นเดียวกัน ถ้า บ. บางกอกฯ เข้าแข่งประมูลกับ BECMultimedia ก็จะโดนตัดสิทธิ์ทั้งคู่เพราะถือว่าเป็นเจ้าของเดียวกัน (แม้คนละนิติบุคคล)


“ชื่อนิติบุคคลไม่สำคัญเท่าการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของหรือผู้มีอำนาจจริงตามกฏหมายด้วย เพราะถ้าตีความแบบศรีธนญชัยคือจะเปิดโอกาสให้เกิดนอมินี”


สำหรับการฟ้องต่อ ป.ป.ช. ผลที่อาจเกิด คือ ถ้า กสท.ถูกชี้มูลก็อาจต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ และ มีผลต่อการออกคู่ขนานอาจเป็นโมฆะไป  ภาคแรกต้องสู้เพื่อทำให้ทุกช่องอนาล็อกออกคู่ขนานเหมือนกันภาคสองต้องสู้ต่อเพื่อทำให้การออกคู่ขนานนั้นไม่เป็นโมฆะไป


สาระสำคัญในคำร้องของช่อง 7 ระบุว่า ยื่นฟ้อง 3 กสท. เนื่องจากผู้ร้องเห็นว่าการกระทำของกรรมการ กสท.ทั้งสามคน จงใจฝ่าฝืนต่อกฎหมาย อาทิ พ.ร.บ. กสทช.  และพ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ระบุให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการต้องประกอบกิจการด้วยตัวเอง  และเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐทำให้รัฐขาดรายได้ จากค่าธรรมเนียมการประมูลมากกว่า 3,000ล้านบาท และยังเป็นการกระทำ ให้ผู้ประกอบการกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลรายอื่น ๆ ได้รับความเสียหายด้วย


โดยช่อง 7 ระบุในคำร้องว่า การจะอนุญาตให้ช่อง 3แอนะล็อกมาออกอากาศคู่ขนานในระบบดิจิทัลได้ต้องมีนิติบุคคลเดียวกันเป็นผู้ถือใบอนุญาต เช่นในกรณีของ ช่อง 7 และ ช่อง 9อสมทแต่กรณีช่อง 3 อนาล็อก และช่อง 33 HD ผู้รับอนุญาตเป็นคนละนิติบุคคลกัน  เท่ากับว่ากสท. อนุญาตให้บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด (ช่อง 3 แอนะล็อก) เข้ามาประกอบกิจการในระบบดิจิทัลได้โดยไม่ต้องเข้าประมูลและไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมกว่า 3,000 ล้านบาทให้รัฐ  ซึ่ง กสท. ไม่มีอำนาจและขัดต่อกฎหมาย ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม และผูกขาดในการแข่งขันในกิจการทีวีดิจิทัล


สำหรับขั้นตอนจากนี้ จะเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริง  เพื่อส่งให้ที่ประชุม ป.ป.ช. ชุดใหญ่พิจารณาว่าคำร้องนี้มีมูลสมควรรับไว้ไต่สวนหรือไม่  หากไม่มีมูลคำร้องนี้ถือว่าตกไป  แต่ถ้าเห็นว่ามีมูลจึงจะเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณา  และตั้งอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไป


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1417682036

๘๘____________________________________


กสท.เต้นช่อง7ฟ้องป.ป.ช. สุภิญญาขู่เลิกลดหย่อนค่าธรรมเนียมคู่ขนาน
  ป.ป.ช.รับคำร้อง ช่อง 7 ฟ้อง กสท. 3 คน สุภิญญา-ธวัชชัย-พีระพงษ์ กรณีจงใจฝ่าฝืนกฎหมาย เหตุอนุญาตให้ช่อง 3 ออกอากาศคู่ขนาน คนละนิติบุคคล
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติรับคำร้องของบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด หรือสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ผู้เสียหายโดยตรง ที่ร้องทุกข์กล่าวโทษ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) 3 คน ประกอบด้วย นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์, นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ และ พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ กรณีจงใจฝ่าฝืนต่อกฎหมายและเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ไว้พิจารณาแล้ว
    ด้านนางสาวสุภิญญาได้แสดงความคิดเห็นผ่าข้อความลงบนทวิตเตอร์ (@supinya) ระบุว่า กสท.ไม่เคยยินยอมให้ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ เป็นคนยื่นขอออกคู่ขนาน แต่ให้สิทธิ์บริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย ที่ชนะประมูลที่มีอำนาจบริหารผังรายการเหมือนช่องอื่นๆ ส่วนกรณีคนละนิติบุคคล ให้ยึดการเป็นเจ้าของเดียวกัน แม้จะคนละนิติบุคคล ขณะที่ช่อง 3 และช่อง 7 ต่างถือ 2 ใบอนุญาต สรุปคือ ใบอนุญาตดิจิตอลต้องจ่ายค่าธรรมเนียมไม่ลดหย่อน ก็ต้องจ่ายทั้งคู่ โดยไม่เกี่ยวกับชื่อบริษัท และถ้าการลดหย่อนค่าธรรมเนียมให้ช่องที่ออกคู่ขนานทั้งหมดมีปัญหาข้อกฎหมายมาก ส่วนตัวก็มองว่าคงลดหย่อนได้ยาก และอาจเก็บตามเดิม ถ้ามีช่องไหนค้านให้ไปฟ้องศาล
    นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการ กสท. เปิดเผยว่า การดำเนินการของกรรมการ กสท.ถูกต้องตามกฎหมาย และยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก โดยอยู่ระหว่างเตรียมประชุมร่วมกับฝ่ายกฎหมายเพื่อชี้แจงต่อ ป.ป.ช. และคาดว่าถ้า ป.ป.ช.ชี้มูล จะมีผลกระทบรุนแรงต่อภาพรวมอุตสาหกรรมทีวีดิจิตอล
    กรณีนี้สืบเนื่องจากกรรมการ กสท. 3 คน มีมติให้บริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด หรือช่อง 33 เอชดี (ช่องดิจิตอล) นำผังรายการของบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด หรือช่อง 3 เดิม ไปออกอากาศบนช่องดิจิตองแบบคู่ขนาน โดยมีเนื้อหาเช่นเดิม 100% เช่นเดียวกับช่อง 7 และช่อง 9 โดยให้เหตุผลว่า เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านระบบอนาล็อกไปสู่ดิจิตอลทีวี
    ทั้งนี้ ตามมาตรา 9 ของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 2551 ระบุว่า ใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ได้รับอนุญาต จะโอนให้แก่กันมิได้ ผู้รับใบอนุญาตจะต้องประกอบกิจการด้วยตัวเอง การแบ่งเวลาให้ผู้อื่นดำเนินรายการ กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้กำหนด
    และตามมาตรา 43 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ 2553 ระบุว่า ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ได้รับอนุญาตจะโอนแก่กันมิได้ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องประกอบกิจการด้วยตัวเอง จะมอบการบริหารจัดการทั้งหมด หรือบางส่วน หรือยินยอมให้บุคคลอื่น เป็นผู้มีอำนาจประกอบกิจการแทนมิได้ แต่การให้บุคคลอื่นเช่าเวลาดำเนินรายการบางช่วงเวลา อาจกระทำได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ กสทช.กำหนด.

http://www.thaipost.net/news/061214/99995

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.