Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 ธันวาคม 2557

กสทช.สุภิญญา ระบุ ต้องมีมาตรการในการกำกับดูแลผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิตอลที่ได้ใบอนุญาตอย่างจริงจัง ด้วยมาตรการปรับทางปกครอง และ การต้องเยียวยาผลกระทบต่อช่อง โดยเฉพาะ MCOT - กรมประชา

ประเด็นหลัก


นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ในวันจันทร์ที่ 8 ธ.ค. นี้ ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.)ครั้งที่ 53/2557 มีวาระน่าจับตา ได้แก่ การดำเนินการติดตั้งโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลของ บริษัท อสมท จำกัด(มหาชน) และของกรมประชาสัมพันธ์ หลังจากที่การดำเนินการไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดตามเงื่อนไขใบอนุญาต พร้อมทั้งกำหนดมาตรการเยียวยาเสียหายต่อผู้บริโภค และผู้รับใบอนุญาตดิจิตอลทีวีของ อสมท ต่อไป

“ในที่สุด กสทช. ก็ต้องมีมาตรการในการกำกับดูแลผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิตอลที่ได้ใบอนุญาตอย่างจริงจัง ด้วยมาตรการปรับทางปกครอง และ การต้องเยียวยาผลกระทบต่อช่อง เพราะสิทธิในคลื่นความถี่เป็นของช่องที่เขาประมูลมาได้ ไม่ใช่ของโครงข่ายฯ ดังนั้นถ้าโครงข่ายฯ ไม่สามารถจัดการให้คลื่นส่งสัญญาณออกอากาศได้ ก็ต้องรับผิดชอบทั้งต่อช่องและคนดู ซึ่งความพร้อมของโครงข่ายทีวี เป็นหัวใจสำคัญมากต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิตอล” นางสาวสุภิญญา กล่าว


______________________________







บอร์ดกสท.ขู่ฟัน‘อสมท-กรมประชา’ โทษฐานติดตั้งโครงข่ายทีวีดิจิตอลช้า

ยันทั้งสองรายต้องรับผิดชอบต่อคนดู





นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ในวันจันทร์ที่ 8 ธ.ค. นี้ ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.)ครั้งที่ 53/2557 มีวาระน่าจับตา ได้แก่ การดำเนินการติดตั้งโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลของ บริษัท อสมท จำกัด(มหาชน) และของกรมประชาสัมพันธ์ หลังจากที่การดำเนินการไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดตามเงื่อนไขใบอนุญาต พร้อมทั้งกำหนดมาตรการเยียวยาเสียหายต่อผู้บริโภค และผู้รับใบอนุญาตดิจิตอลทีวีของ อสมท ต่อไป

“ในที่สุด กสทช. ก็ต้องมีมาตรการในการกำกับดูแลผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิตอลที่ได้ใบอนุญาตอย่างจริงจัง ด้วยมาตรการปรับทางปกครอง และ การต้องเยียวยาผลกระทบต่อช่อง เพราะสิทธิในคลื่นความถี่เป็นของช่องที่เขาประมูลมาได้ ไม่ใช่ของโครงข่ายฯ ดังนั้นถ้าโครงข่ายฯ ไม่สามารถจัดการให้คลื่นส่งสัญญาณออกอากาศได้ ก็ต้องรับผิดชอบทั้งต่อช่องและคนดู ซึ่งความพร้อมของโครงข่ายทีวี เป็นหัวใจสำคัญมากต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิตอล” นางสาวสุภิญญา กล่าว

พร้อมกันนี้อยากฝากหน่วยงานรัฐทั้ง 4 ราย ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตโครงข่ายฯ ช่วยกันหาทางออกเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน ราวกลางเดือนธ.ค.นี้ ทางคณะทำงานร่วมของ กสทช. จะลงพื้นที่สุ่มตรวจคุณภาพสัญญาณด้วย ฝาก ประชาชนช่วยแจ้งผลและร้องเรียนมาได้ที่ 1200

นอกจากนี้ ที่ประชุมจะมีการพิจารณาวาระขั้นตอนการยื่นขอปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้เป็นปัจจุบัน (System Software Update) สำหรับผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต กรณีการปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้เป็นปัจจุบันจะสามารถดำเนินการได้รวดเร็วที่น่าจะช่วยแก้ไขปัญหาทางเทคนิคของเครื่องรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

และวาระการกำหนดนิยามประเภทรายการ ตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2556 (ภาคผนวก ค) แนบท้ายประกาศฯ อาทิ รายการข่าวสาร รายการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย รายการส่งเสริมการศึกษา จริยธรรม ศิลปวัฒนธรรม รายการท้องถิ่น รายการเด็กและเยาวชน รายการละคร รายการข่าวสารและบันเทิง เป็นต้น

ส่วนวาระอื่นๆ น่าสนใจและติดตามได้แก่ วาระกรอบหลักการ (Conceptual Framework) ประกอบการพิจารณาจัดทำหลักเกณฑ์การคืนคลื่นเพื่อนำไปจัดสรรใหม่ หรือปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่

มีรายงานข่าวจาก กสทช. แจ้งว่า เมื่อปลายเดือนพ.ย.2557 ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษายกฟ้องคดีที่ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ฟ้อง คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ในกรณีที่มีการออกคำสั่งเรื่อง ห้ามเรียกเก็บค่าบริการในกิจการโทรคมนาคมจากผู้ใช้บริการในอัตราที่แตกต่างกันสำหรับบริการโทรคมนาคมลักษณะหรือประเภทเดียวกัน โดยอ้างเหตุว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการจำกัดเสรีภาพในการประกอบกิจการและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย และผู้บริโภคเดือดร้อน ถูกจำกัดทางเลือก

ทั้งนี้ สาระหลักของคำสั่งดังกล่าวที่มีการออกในยุคของ กทช. ตั้งแต่เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 คือ ห้ามผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมดำเนินการจัดทำรายการส่งเสริมการขายในลักษณะที่มีการเรียกเก็บค่าใช้บริการโทรคมนาคมจากผู้ใช้บริการของตนในอัตราที่แตกต่างกันสำหรับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในโครงข่าย (On-net) และการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระหว่างโครงข่าย (Off-net) โดยหากพบว่าผู้ประกอบกิจการรายใดฝ่าฝืน ให้สำนักงาน กสทช. กำหนดมาตรการบังคับทางปกครอง เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดโดยเคร่งครัดต่อไป สำหรับคำพิพากษาของศาลนั้น ได้ชี้ว่า คำสั่งดังกล่าวของ กทช. ชอบด้วยกฎหมายแล้ว



http://www.naewna.com/business/134313

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.