Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 ธันวาคม 2557 ICT.พรชัย ได้มีมติเซ็นคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างไอซีทีกับอีก 7 หน่วยงาน ได้แก่ บมจ.ทีโอที บมจ.กสท โทรคมนาคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการรวมโครงข่ายในการให้บริการ



ประเด็นหลัก



นายพรชัย รุจิประภา รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ไอซีที ได้มีมติเซ็นคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างไอซีทีกับอีก 7 หน่วยงาน ได้แก่ บมจ.ทีโอที บมจ.กสท โทรคมนาคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ เกี่ยวกับการจัดระบบแบบบูรณาการโครงสร้างพื้นฐาน (อินฟราสตรัคเจอร์)

โดยปัจจุบัน ทีโอที กสท และการไฟฟ้าฯทั้ง 3 หน่วยงาน มีสายไฟเบอร์ออพติกรวมกันประมาณ 2 แสนกิโลเมตร โดยวัตถุประสงค์ก็เพื่อแยกทรัพย์สินในโครงข่ายของแต่ละหน่วยงานที่ถือครองว่า พื้นที่ส่วนใดมีข่ายสาย ที่สามารถลากเข้าไปถึงครัวเรือนแล้วหรือยัง และพื้นที่ส่วนใดที่ยังขาดแคลนอยู่ เพื่อมาจัดทำแมปปิ้งพื้นที่ของประเทศให้มีความเข้าใจ และยึดเป็นแบบเดียวกัน ซึ่งหากพื้นที่ใดที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ก็จะให้ดำเนินการ หรือในพื้นที่ใดที่ไม่สามารถให้ใช้โครงข่ายร่วมกันได้ก็จะแบ่งหน้าที่ให้เจ้าของโครงข่ายนั้นไปรับผิดชอบ ซึ่งหลังจากรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเสร็จแล้วก็จะมีการนำเสนอ คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอลในช่วงต้นปี 2558


______________________________







นายพรชัย รุจิประภา รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ไอซีที ได้มีมติเซ็นคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างไอซีทีกับอีก 7 หน่วยงาน ได้แก่ บมจ.ทีโอที บมจ.กสท โทรคมนาคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ เกี่ยวกับการจัดระบบแบบบูรณาการโครงสร้างพื้นฐาน (อินฟราสตรัคเจอร์)

โดยปัจจุบัน ทีโอที กสท และการไฟฟ้าฯทั้ง 3 หน่วยงาน มีสายไฟเบอร์ออพติกรวมกันประมาณ 2 แสนกิโลเมตร โดยวัตถุประสงค์ก็เพื่อแยกทรัพย์สินในโครงข่ายของแต่ละหน่วยงานที่ถือครองว่า พื้นที่ส่วนใดมีข่ายสาย ที่สามารถลากเข้าไปถึงครัวเรือนแล้วหรือยัง และพื้นที่ส่วนใดที่ยังขาดแคลนอยู่ เพื่อมาจัดทำแมปปิ้งพื้นที่ของประเทศให้มีความเข้าใจ และยึดเป็นแบบเดียวกัน ซึ่งหากพื้นที่ใดที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ก็จะให้ดำเนินการ หรือในพื้นที่ใดที่ไม่สามารถให้ใช้โครงข่ายร่วมกันได้ก็จะแบ่งหน้าที่ให้เจ้าของโครงข่ายนั้นไปรับผิดชอบ ซึ่งหลังจากรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเสร็จแล้วก็จะมีการนำเสนอ คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอลในช่วงต้นปี 2558

รมว.ไอซีที กล่าวว่า ส่วนการใช้ไอซีที หรือดิจิตอล คอนเทนต์ มาช่วยขับเคลื่อนการทำงานของรัฐบาลนั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพียงแต่การประกาศนโยบายดิจิตอล อีโคโนมี ของรัฐบาลครั้งนี้ เป็นการเสนอตัวเข้ามาเป็นเจ้าภาพในการเปลี่ยนระบบการบริหารประเทศแบบเปลี่ยนแปลงพร้อมกันทั้งหมด โดยระหว่างนี้ไอซีทีจะดำเนินการแก้ไขกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับดิจิตอล แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

1.ร่างกฎหมายที่คาดว่าจะนำเข้าสู่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้ผ่านความเห็นชอบ ประกอบด้วย ร่างพ.ร.บ.คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอล พ.ศ. ... และ พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ... คาดว่าจะเข้าสู่สนช.ได้เดือนม.ค. 2558

นอกจากนี้ ยังมีการร่างกฎหมายที่รออยู่ระหว่างดำเนินการ 7 ฉบับ คือ 1.พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ... 2.พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ... 3.ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ... 4.ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 5.ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการส่งเสริมอุตสาหกรรม และกิจการด้านเศรษฐกิจดิจิตอล พ.ศ. ... 6.ร่างพ.ร.บ.สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ... และ 7.กฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ซึ่งตามกรอบเวลา คาดว่าหลังจากมี คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอล แล้วจะใช้เวลาราว 1-1 ปีครึ่ง จะดำเนินการแล้วเสร็จ



http://www.naewna.com/business/133973

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.