Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 ธันวาคม 2557 DTAC.ซิคเว่ ระบุ ปัจจุบันดีแทคมีฐานลูกค้า 28 ล้านเลขหมาย มีการใช้อินเทอร์เน็ตทุกเดือน เป็นสัดส่วน 40% ของลูกค้าทั้งหมด โดยเฉลี่ยที่ 400 Mb/เดือน



ประเด็นหลัก



ปัจจุบันดีแทคมีฐานลูกค้า 28 ล้านเลขหมาย มีการใช้อินเทอร์เน็ตทุกเดือน เป็นสัดส่วน 40% ของลูกค้าทั้งหมด โดยเฉลี่ยที่ 400 Mb/เดือน

______________________________







"ดีแทค" ชงแผนหนุนศก.ดิจิทัล แนะเร่งประมูล 4G กลางปีหน้า



"ดีแทค" จัดให้ เสนอไวท์เปเปอร์ สนองนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล ระบุทุกภาคส่วนควรผลักดันร่วมกัน หากทำได้จริงมีแต่ผลดี เพิ่ม "จีดีพี-ส่งเสริมการจ้างงาน และลดความเหลื่อมล้ำ" แนะเร่งเปิดประมูลคลื่น 900-1800 MHz ทำ 4G

นายซิคเว่ เบรกเก้ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า ดีแทคได้จัดทำสมุดปกขาว (ไวท์เปเปอร์) ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงาน และผลลัพธ์ที่ชัดเจนต่อนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (ดิจิทัลอีโคโนมี) เสนอ ม.ร.ว.

ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี หลังจากมีโอกาสเข้าพบและพูดคุยเมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น เพราะประเทศไทยเป็นพื้นที่สำคัญตั้งอยู่จุดศูนย์กลาง และมีสภาพแวดล้อม ทั้งการใช้ชีวิต และเศรษฐกิจไม่แพ้ชาติใด หากเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นนโยบายแห่งชาติ จึงควรกำหนดเป้าหมายให้บริการดิจิทัลเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคนี้ให้ได้ เช่น เข้าถึงอินเทอร์เน็ตให้ได้ 80% ของประชากรภายในปี 2560 จากปัจจุบัน 35% เป็นรองมาเลเซียที่มี 60-65% รวมฟิกซ์บรอดแบนด์ และโมบายอินเทอร์เน็ต

การเข้าถึงและมีการใช้อินเทอร์เน็ตมีผลดีต่อความเจริญของประเทศในภาพรวม ทั้งการเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) การสร้างงาน และลดความยากจน จากงานวิจัยของบริษัทที่ปรึกษาบอสตัส คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (บีซีจี) ที่ระบุว่า การเพิ่มขึ้นของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตร้อยละ 10 ส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของธุรกิจใหม่ร้อยละ 1 ต่อปี

การผลักดันนโยบายนี้เกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน ทั้งรัฐบาล, หน่วยงานกำกับดูแล, เอกชน และผู้บริโภคทั่วไป โดยเริ่มต้นที่การสร้างสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนโดยภาครัฐควรสร้างสภาพแวดล้อมที่โปร่งใสภายใต้กรอบกฎหมาย ภาษี และกฎระเบียบการกำกับดูแลที่เป็นมิตร และส่งเสริมการลงทุน

"ช่วงเริ่มต้นภาครัฐควรนำโดยกระทรวงไอซีที หรือกระทรวงเศรษฐกิจดิจิทัลร่วมกับซิป้า, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค รวมโครงสร้างพื้นฐานของรัฐวิสาหกิจโทรคมนาคม สร้างโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงแห่งชาติที่ครอบคลุมทั่วประเทศ ส่งเสริมเอสเอ็มอี, นำระบบดิจิทัลมาให้บริการสาธารณะ, สนับสนุนธุรกรรมการเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์, สนับสนุนการศึกษาด้านไอซีที และให้ความเชื่อมั่นด้านปลอดภัยในการใช้บริการบนอินเทอร์เน็ต"

"ในปี 2563 GDP ไทยจะแตะ 18.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีธุรกิจใหม่กว่า 3 หมื่นราย จ้างงาน 5.8 หมื่นคน ทำให้แข่งขันกับประเทศอื่นในอาเซียนได้ อาจขึ้นเป็นระบบเศรษฐกิจดิจิทัลอันดับ 1 ในภูมิภาค"

ถ้าภาครัฐเป็นหัวเรืออย่างเดียวโอกาสสำเร็จคงยากหรือต้องใช้เวลานาน ดังนั้น หน่วยงานกำกับ และเอกชนต้องร่วมกันผลักดัน อย่างแรกคือให้แชร์ใช้โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ไฟเบอร์ออปติกระดับคอร์เน็ตเวิร์ก และเสามือถือ ถ้าทำได้ ค่าบริการจะถูกลงอัตโนมัติ ทำได้ 2 รูปแบบ คือให้ภาครัฐสั่งรัฐวิสาหกิจที่มีเสา และไฟเบอร์ออปติกปลายทาง (Last Mile) ขายคืนให้เอกชน และเก็บโครงสร้าง

พื้นฐานต้นทาง (Back Bone) ไว้ให้บริการต่อ ส่วนเอกชนตั้งบริษัทกลางดูแล Last Mile หรือให้ทีโอที และกสทฯทำสัญญาร่วมกัน (Joint Venture) ดูแลโครงสร้างพื้นฐาน และ Last Mile

การประมูลคลื่น 900 MHz และ 1800 MHz เพื่อให้บริการ 4G เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะแบ่งเบาความถี่ที่กำลังเต็มถ้าไม่มีการประมูล มีโอกาสที่ค่าบริการจะสูงขึ้น เพื่อบังคับให้ผู้บริโภคลดการใช้อินเทอร์เน็ต สวนทางการไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลจึงควรทำในครึ่งปีแรกปีหน้า

นายซิคเว่กล่าวต่อว่า ภาคเอกชนทั้งผู้ให้บริการมือถือ และบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตมีการลงทุนโครงข่ายต่อเนื่อง พัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการอยู่แล้ว

"อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ทุกคนอยากใช้ แต่ติดอยู่แค่ไม่เข้าใจ และปัญหาเรื่องราคา เรามีนโยบายอินเทอร์เน็ตฟอร์ออล ส่งเสริมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทั่วถึงจึงช่วยให้ประชากรในไทยมีความเข้าใจ ในการใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้นและกล้าใช้งาน"

ปัจจุบันดีแทคมีฐานลูกค้า 28 ล้านเลขหมาย มีการใช้อินเทอร์เน็ตทุกเดือน เป็นสัดส่วน 40% ของลูกค้าทั้งหมด โดยเฉลี่ยที่ 400 Mb/เดือน


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1417762827

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.