Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 ธันวาคม 2557 TRUEIF มีกรรมสิทธิ์ในเสาโทรคมนาคมจำนวน 9,000 ต้น แบ่งเป็นเสาของ CAT เช่าเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ HSPA ย่านความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์จำนวน 3,000 ต้น

ประเด็นหลัก


    สำหรับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทรูโกรท (TRUEGIF) ได้บรรลุข้อตกลงกับ ดีแทค หรือบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ลงนามเช่าใช้เสาโทรคมนาคมแล้ว โดยในเฟสแรกดีแทคจะเช่าใช้เสาโทรคมนาคม 100-115 ต้น เพื่อนำไปให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จีบนย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ และ 4 จี บนคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์  โดยทำสัญญาเช่าทั้งหมด 3 ปีมูลค่าของสัญญาประมาณ 2 ล้านบาท
    ทั้งนี้ ทรูโกรท มีกรรมสิทธิ์ในเสาโทรคมนาคมจำนวน 9,000 ต้น แบ่งเป็นเสาของ แคท หรือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เช่าเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ HSPA ย่านความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์จำนวน 3,000 ต้น
    โดยภายในสิ้นปี 2557 กองทุนทรูโกรท จะติดตั้งเสาจำนวน 3,000 ต้นแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2557 และ ในปี 2558 จะติดตั้งเสาเพิ่มอีก 3,000 ต้น โดยทรัพย์สิ้นทั้งหมด 9,000 ต้นอยู่ที่ 2.7- 3 หมื่นล้านบาท


______________________________







กลุ่มทุนสื่อสาร สร้างเงินสดยึดโอกาส



 ถึงตอนนี้ต้องบอกว่ากระแสเรื่องการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม  (Infrastructure Fund หรือ IFF) กำลังได้รับกระแสการตอบรับเพิ่มขึ้น หลังจากกลุ่มทรู จัดตั้ง ทรูโกรท หรือ ทรูจีไอเอฟ (TRUEGIF) เป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมกองแรกมูลค่า 7 หมื่นล้านบาทขึ้นในประเทศไทย
++ระดมทุนขยายกิจการ
    ทรูจีไอเอฟ (TRUEGIF) จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมทุนจากนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ และนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปลงทุนในทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม โดยพิจารณาเลือกลงทุนในทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่ครอบคลุมทั่ว ประเทศ เช่น เสาโทรคมนาคม ระบบใยแก้วนำแสง และอุปกรณ์สื่อสัญญาณ ระบบบรอดแบนด์ และ/หรือรายได้ที่เกิดจากทรัพย์สินดังกล่าว
  alt  หน่วยลงทุนของทรูจีไอเอฟ (TRUEGIF) ได้จดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนและเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2556
    โดยทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่กองทุนสามารถลงทุนได้ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ  ทรัพย์สินประเภท Passive ได้แก่ เสาโทรคมนาคม สายใยแก้วนำแสง เป็นต้น และ ทรัพย์สินประเภท Active ได้แก่ อุปกรณ์สื่อสัญญาณและอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณที่แขวนบนเสาโทรคมนาคม ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้จำเป็นสำหรับการใช้อุปกรณ์โทรคมนาคมทั่วไป เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ แท็บเลต เป็นต้น
    ทั้งนี้โครงสร้างพื้นฐานสามารถรองรับการใช้งานโทรคมนาคมโดยทั่วไป เช่น การรับและส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่ว่าจะเป็นทางเสียงหรือข้อมูลผ่านอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่และแท็บเลต เป็นต้น ทั้งนี้ ในปัจจุบันผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมซึ่งให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ ในประเทศจะมีการวางโครงข่ายโทรคมนาคมของตัวเอง ทั้งเสา สายไฟเบอร์ออพติก อุปกรณ์รับและส่งสัญญาณ  ผู้ประกอบการสามารถใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเหล่านี้ร่วมกันได้ อาทิ เสา 1 ต้นสามารถรองรับผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมได้ถึง 4-8 ราย
++"ดีแทค"ลงนามเช่าใช้เสาโทรคมนาคม
    สำหรับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทรูโกรท (TRUEGIF) ได้บรรลุข้อตกลงกับ ดีแทค หรือบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ลงนามเช่าใช้เสาโทรคมนาคมแล้ว โดยในเฟสแรกดีแทคจะเช่าใช้เสาโทรคมนาคม 100-115 ต้น เพื่อนำไปให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จีบนย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ และ 4 จี บนคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์  โดยทำสัญญาเช่าทั้งหมด 3 ปีมูลค่าของสัญญาประมาณ 2 ล้านบาท
    ทั้งนี้ ทรูโกรท มีกรรมสิทธิ์ในเสาโทรคมนาคมจำนวน 9,000 ต้น แบ่งเป็นเสาของ แคท หรือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เช่าเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ HSPA ย่านความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์จำนวน 3,000 ต้น
    โดยภายในสิ้นปี 2557 กองทุนทรูโกรท จะติดตั้งเสาจำนวน 3,000 ต้นแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2557 และ ในปี 2558 จะติดตั้งเสาเพิ่มอีก 3,000 ต้น โดยทรัพย์สิ้นทั้งหมด 9,000 ต้นอยู่ที่ 2.7- 3 หมื่นล้านบาท
++จัสมินแจ้งเกิด "JASIF"
    หลังจาก ทรูโกรท จัดตั้งกองทุนแล้วเสร็จ ล่าสุด บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ได้จัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต จัสมิน (JASIF) เป็นรายแรกที่เน้นลงทุนในทรัพย์สินบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตเป็นหลัก
    โดยนายพิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า ทรัพย์สินที่กองทุนจะเข้าลงทุนครั้งแรกได้แก่ กรรมสิทธิ์ในเส้นใยแก้วนำแสง 980,000 คอร์กิโลเมตร ประกอบด้วย 1. เส้นใยแก้วนำแสง จำนวนรวมประมาณไม่น้อยกว่า 800,000 คอร์กิโลเมตร ที่บริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) (TTTBB) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ JAS จะส่งมอบให้ JASIF ณ วันซื้อขายเส้นใยแก้วนำแสงเสร็จสิ้น และ 2.  เส้นใยแก้วนำแสง จำนวนรวมประมาณ 180,000 คอร์กิโลเมตร ที่ TTTBB จะทยอยส่งมอบให้ JASIF ภายใน 2 ปี นับจากวันซื้อขายเส้นใยแก้วนำแสงเสร็จสิ้น
    โดย บมจ. จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล   ร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด ประกาศข้อมูลหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต จัสมิน (JASIF) ต่อประชาชนทั่วไป  คาดว่า เงินที่นักลงทุนจะได้รับในปีแรก (ปี 2558) อยู่ที่ประมาณ 8.59-9.02% โดยแบ่งเป็นเงินปันผล 7.80-8.19% และการจ่ายลดทุน 0.80-0.84% อันเนื่องจากสภาพคล่องส่วนเกินที่เกิดจากค่าเช่ารับล่วงหน้า  มีมูลค่ากองทุนประมาณ 55,000-57,750 ล้านบาท จำนวนหน่วยลงทุน 5,500 ล้านหน่วย โดยคาดว่าจะมีผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งเป็นผู้จองซื้อทั่วไป ประมาณ 806.85 ล้านหน่วย ซึ่งจำนวนหน่วยลงทุนขั้นต่ำของการจองซื้อ 2,000 หน่วย และเพิ่มเป็นจำนวนทวีคูณของ 100 หน่วย
++กสท เซ็นMOUปลดล็อกข้อพิพาท
    เช่นเดียวกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)  โดย แคท  ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Mou) กับ ดีแทค หรือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างกัน โดยข้อตกลงในเบื้องต้นจะมีการใช้ทรัพย์สินโทรคมนาคมร่วมกัน
ซึ่งตามสัญญาสัมปทานที่ ดีแทค ในฐานะคู่สัญญากับ กสท จะสิ้นสุดลงในปี 2561 และ ดีแทค ต้องส่งมอบเสาโทรคมนาคมให้ตามข้อตกลงในสัญญาสัมปทานจำนวน 13,500 สถานี
    อย่างไรก็ตามการทำข้อตกลงในเบื้องต้นครั้งนี้บริษัทลูกของ ดีแทค คือ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ทำหน้าที่ในการเช่าใช้เสาต่อไปหลังจาก ดีแทค หมดสัมปทาน เพื่อเป็นการลดการลงทุนซ้ำซ้อนและสร้างรายได้จากค่าเช่าให้ กสทในระยะยาว
    พ.อ.ผศ.ดร.สรรพชัย หุวุนันท์ กรรมการ และรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า การทำ เอ็มโอยู ร่วมกันกับ ดีแทค ในครั้งนี้ แคท จะมีการเจรจากับ ดีแทค เพื่อยุติข้อพิพาทที่มีอยู่ในศาลปกครอง และ ในชั้นต้นของอนุญาโตตุลาการออกจากสารบบ กว่า 15-20 คดี เพราะส่วนใหญ่เป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับการใช้เสา และ สถานีฐานทั้งหมด
++ตั้งท่าออกกองทุนเพื่อระดมเงิน
    การหารายได้ร่วมกับพันธมิตร และ การเซ็นเอ็มโอยูกับ ดีแทค ในเบื้องต้นได้วางรูปแบบธุรกิจไว้ 3 แนวทาง คือ 1.การร่วมทุนระหว่างกัน 2.การแปลงสินทรัพย์ที่ ดีแทค ส่งมอบให้เป็นทุน หรือ เป็นหุ้นให้แคทเข้าไปถือใน ดีแทค และ 3.นำเอาเสาโทรคมนาคม และ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องภายหลังจากหมดสัมปทานแล้วตั้งกองทุนเพื่อระดมเงิน คล้ายกับกองทุน ทรูจีไอเอฟ ของกลุ่มทรู
    ทั้งหมด คือ บริบทใหม่ในโครงสร้างธุรกิจของกลุ่มทุนสื่อสาร ตั้งกองทุนเพื่อระดมทุนขยายกิจการ
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ


http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=256916:2014-12-05-02-59-29&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.VIbCp4tAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.