Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 ธันวาคม 2557 นายพิภัช ดวงคำสวัสดิ์ รองประธานสมาคมทีเอฟไอทีฝ่ายแรงงาน กล่าวว่า จากผลการสำรวจพบว่าแต่ละปีคนไทยจบด้านไอซีทีราว 4 หมื่นคนขณะที่ตลาดอุตสาหกรรมไอซีทีมีความต้องการแรงงานประมาณ 1 แสน

ประเด็นหลัก


นายพิภัช ดวงคำสวัสดิ์ รองประธานสมาคมทีเอฟไอทีฝ่ายแรงงาน กล่าวว่า จากผลการสำรวจพบว่าแต่ละปีคนไทยจบด้านไอซีทีราว 4 หมื่นคนขณะที่ตลาดอุตสาหกรรมไอซีทีมีความต้องการแรงงานประมาณ 1 แสนคนและเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ความต้องการแรงงานในตลาดอุตสาหกรรมไอซีทีจะเพิ่มเป็น2แสนคนต่อปีขณะที่แรงงานในอุตสาหกรรมไอซีทีไทยคิดเป็นร้อยละ 56 เรียนจบด้านไอซีทีในระดับ ปวส.ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ส่วนร้อยละ 44 มาจากสายอาชีพอื่น ๆ ดังนั้นจึงเสนอให้ตั้งกองทุนเพื่อสร้างมาตรฐานวิชาชีพ นักไอทีและพัฒนาบุคลากรภาครัฐเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างมีระบบ


______________________________







?เปิดข้อเสนอพัฒนานโยบาย ‘เศรษฐกิจดิจิทัล’?
ตัวชี้วัดที่สมาคมทีเอฟไอทีเสนอคือภายใน 5 ปีจะต้องสามารถให้บริการเชื่อมต่อการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ 100 Mbps. ครอบคลุมพื้นที่ 95% ภายในปี 2563


หลังรัฐบาลมีนโยบายเปลี่ยนชื่อจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เป็นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือที่เรียกกันว่า “ดิจิทัลอีโคโนมี” (Digitaleconomy) ซึ่งมีความหมายว่าระบบเศรษฐกิจใหม่เน้นเทคโนโลยีกับความรู้ของบุคคล

ก่อนรัฐบาลจะขับเคลื่อน“ดิจิทัล อีโคโนมี” อย่างจริงจังเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 57 สมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย (ทีเอฟไอที) ในนามกลุ่มสมาคมในอุตสาหกรรมไอซีทีด้านต่าง ๆ ได้ทำจดหมายเรื่อง “ข้อเสนอเพื่อการพัฒนานโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล” เสนอไปยังรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีโดยมีข้อเสนอ 4 ด้านประกอบด้วย 1.ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2.ด้านธุรกิจและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 3.ด้านการพัฒนาบุคลากรและ 4.ภาครัฐบาล

ทั้ง 4 ด้านที่สมาคมทีเอฟไอทีเสนอเมื่อเจาะประเด็นเร่งด่วนที่ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนเป็นเรื่องแรก ๆ นายวิชัย เบญจรงคกุล ประธานสมาคมทีเอฟไอที ระบุว่าการรวมโครงสร้างพื้นฐานเป็นเรื่องสำคัญที่สุดทั้งส่วนของการใช้โครงข่ายร่วมกัน(เน็ตเวิร์คแชร์ริ่ง) ซึ่งส่งเสริมให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพโดยได้เสนอให้มีการเชิญภาคเอกชนเข้ามาร่วมทำงานกับภาครัฐเพราะเมื่อโครงสร้างพื้นฐานมีความสมบูรณ์จะมีผลต่อเนื่องให้การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐรวมถึงบริการต่าง ๆ ของประชาชนมีมากขึ้นขณะที่การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างภาครัฐและเอกชนก็จะมีความสมบูรณ์ตามไปด้วย

“ตัวชี้วัดที่สมาคมทีเอฟไอทีเสนอคือภายใน 5 ปีจะต้องสามารถให้บริการเชื่อมต่อการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ 100 Mbps. ครอบคลุมพื้นที่ 95% ภายในปี 2563 รวมทั้งให้รัฐบาลสนับสนุนการสร้างเกตเวย์หรือเครือข่ายใยแก้วสำหรับเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปต่างประเทศได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านเกตเวย์ของประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และฮ่องกง ซึ่งการสร้างเกตเวย์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตออกต่างประเทศโดยตรงจะส่งผลให้ราคาบริการอินเทอร์เน็ตถูกลง”นายวิชัย กล่าว

เรื่องเร่งด่วนที่สองคือ การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบของทางราชการเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานให้มากขึ้นขณะที่การตั้งกระทรวงดิจิทัลอีโคโนมีถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี และสุดท้ายคือ การพัฒนาบุคลากรทั้งคนที่ทำงานอยู่แล้วและคนที่กำลังจะเข้าสู่การทำงานเพราะประเทศไทยกำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลแต่บุคลากรยังทำงานด้วยอนาล็อก

นายพิภัชดวงคำสวัสดิ์ รองประธานสมาคมทีเอฟไอทีฝ่ายแรงงาน กล่าวว่า จากผลการสำรวจพบว่าแต่ละปีคนไทยจบด้านไอซีทีราว 4 หมื่นคนขณะที่ตลาดอุตสาหกรรมไอซีทีมีความต้องการแรงงานประมาณ 1 แสนคนและเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ความต้องการแรงงานในตลาดอุตสาหกรรมไอซีทีจะเพิ่มเป็น2แสนคนต่อปีขณะที่แรงงานในอุตสาหกรรมไอซีทีไทยคิดเป็นร้อยละ 56 เรียนจบด้านไอซีทีในระดับ ปวส.ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ส่วนร้อยละ 44 มาจากสายอาชีพอื่น ๆ ดังนั้นจึงเสนอให้ตั้งกองทุนเพื่อสร้างมาตรฐานวิชาชีพ นักไอทีและพัฒนาบุคลากรภาครัฐเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างมีระบบ

นายดนุพล สยามวาลา อุปนายกสมาคมสมาพันธ์โอเพ่นซอร์สประเทศไทย กล่าวว่า หนึ่งในข้อเสนอเกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาบุคลากร คือ การเสนอจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้วยงบประมาณไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาทโดยสร้างมาตรฐานวิชาชีพไอทีและผลักดันอย่างจริงจังพร้อมกับสร้างมาตรฐานกลางระดับประเทศโดยไม่ได้มุ่งแข่งขันกับการสอบวัดมาตรฐานของเอกชนแต่สามารถใช้เทียบเคียงในการวัดมาตรฐานระดับเดียวกันได้

ปัจจุบันสมาคมทีเอฟไอที มีสมาชิกรวม 15 สมาคมเกือบ 2,000 ผู้ประกอบการก่อตั้งมา 18 ปี มีบทบาทเป็นผู้ผลักดันและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาของอุตสาหกรรมไอซีทีในทุกรัฐบาลเนื่องจากอุตสาหกรรมไอซีทีเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่ 1 ใน 5 ของอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนประเทศไทย.

น้ำเพชร จันทา
@phetchan


http://www.dailynews.co.th/Content/IT/286750/เปิดข้อเสนอพัฒนานโยบาย+‘เศรษฐกิจดิจิทัล’

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.