Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 ธันวาคม 2557 ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) เตือนภัยกับชาวบ้านในเขตพื้นที่เสี่ยงภัยต่างๆผ่านทางข้อความมือถือ (เอสเอ็มเอส), ทีวี, โซเชียลมีเดียเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้ทราบ

ประเด็นหลัก


 ที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) นายเกรียงไกร กอวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติกล่าวว่า ขณะนี้สถาณการณ์ภาคใต้ตอนล่างที่มีฝนกระจายและมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ ส่งผลให้คลื่นลมบริเวณทะเลอ่าวไทยตั้งแต่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ลงไป มีคลื่นสูงระดับ 3-4 เมตร อาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และ น้ำท่วมขัง บริเวณ จ.พัทลุง จ.สงขลา จ.ปัตตานี จ.ยะลา และจ.นราธิวาส และคลื่นลมบริเวณทะเลอ่าวไทยตั้งแต่ จ.ชุมพรลงไปได้คลี่คลายลงแล้ว



______________________________







ศูนย์เตือนภัยฯ ชี้ ต้นสัปดาห์หน้าภาคใต้ฝนตกหนักอีกครั้ง แม้ช่วงนี้สถานการณ์คลี่คลาย แนะ ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยระมัดระวังเป็นพิเศษ ย้ำ ติดตามการแจ้งเตือนภัยได้ทุกช่องทาง ทั้ง SMS จากมือถือและโซเชียลมีเดีย


 วันนี้ (19 ธ.ค.) ที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) นายเกรียงไกร กอวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติกล่าวว่า ขณะนี้สถาณการณ์ภาคใต้ตอนล่างที่มีฝนกระจายและมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ ส่งผลให้คลื่นลมบริเวณทะเลอ่าวไทยตั้งแต่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ลงไป มีคลื่นสูงระดับ 3-4 เมตร อาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และ น้ำท่วมขัง บริเวณ จ.พัทลุง จ.สงขลา จ.ปัตตานี จ.ยะลา และจ.นราธิวาส และคลื่นลมบริเวณทะเลอ่าวไทยตั้งแต่ จ.ชุมพรลงไปได้คลี่คลายลงแล้ว

             

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสถานการณ์ภาพรวมขณะนี้มีความคลี่คลายลง แต่ในช่วงต้นสัปดาห์หน้าฝนลมหนาวพัดผ่านส่วนทางภาคใต้จะเกิดลมฝนอีกครั้ง เนื่องจากภาคใต้ยังถือเป็นฤดูฝน จึงอยากให้ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อเพิ่มความปลอดภัยโดยหากมีการเตรียมตัวที่ดีก็จะลดความเสี่ยงในด้านความสูญเสียของชีวิตลงได้ และช่วงนี้การเดินเรือก็ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กดาดฟ้าเปิดควรงดออกจากฝั่งด้วย

             

“ในส่วนของการอพยพนั้นจะมีเจ้าหน้าที่ของทหารเข้าไปดูแล ทาง ศภช.มีหน้าที่สร้างองค์ความรู้และเตือนภัยกับชาวบ้านในเขตพื้นที่เสี่ยงภัยต่างๆผ่านทางข้อความมือถือ (เอสเอ็มเอส), ทีวี, โซเชียลมีเดียเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้ทราบและป้องกันตัวเองจากภัยพิบัติต่างๆได้ทัน” นายเกรียงไกร กล่าว


http://www.dailynews.co.th/Content/IT/288487/ศูนย์เตือนภัยฯ+ชี้ต้นสัปดาห์หน้าภาคใต้ฝนตกหนักอีกครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.