Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 ธันวาคม 2557 กสทช. ศึกษาแนวทาง SK telecom พบขอต่างจากเกาหลีที่เป็นรูปแบบใบอนุญาตประกอบกิจการ ซึ่งมีความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจกว่า

ประเด็นหลัก


ดังนั้น กสทช. จะนำแนวทางไปปรับใช้กับการพัฒนาบริการและกำกับดูแลกิจการให้สอดคล้องกับประเทศไทย และศึกษาแนวทางที่เกาหลีใช้การพัฒนาอุตสาหกรรม บริการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นส่วนช่วยในการพัฒนาประเทศและก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ

นายฐากร กล่าวว่า สำหรับรูปแบบการให้บริการโทรคมนาคมนั้นประเทศไทยมีความแตกต่างจากเกาหลีที่เป็นรูปแบบใบอนุญาตประกอบกิจการ ซึ่งมีความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ ในขณะที่ประเทศไทยยังอยู่ระหว่างการกำกับดูแลทั้งในรูปแบบบริการโทรคมนา คมภายใต้สัญญาสัมปทานและระบบใบอนุญาต ที่ยังมีความทับซ้อนในการกำกับดูแลของ กสทช. และการแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น ผู้ได้รับใบอนุญาตและผู้ได้รับสัมปทานเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายเดียวกัน เป็นต้น



______________________________







กสทช. ศึกษาแนวทาง เอสเคที ผู้ให้บริการโทรคมนาคมเกาหลี หวังดึงปรับใช้กิจการของไทย เพื่อพัฒนาระบบโทรคมนาคมไทย


กสทช. ศึกษาแนวทาง เอสเคที ผู้ให้บริการโทรคมนาคมเกาหลี หวังดึงปรับใช้กิจการของไทย เพื่อพัฒนาระบบโทรคมนาคมไทย

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า สำหรับการเยี่ยมชมเอสเคที ผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของสาธารณรัฐเกาหลีนั้น เนื่องจากพบว่ารายงานจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) เกาหลีเป็นประเทศที่ให้บริการโทรคมนาคมดีที่สุดของโลก สามารถให้ประชาชนได้เข้าถึงอินเทอร์ เน็ตความเร็วสูง เช่น 4จี 5จี และ แอลทีอี (LTE) ได้มากที่สุด รวมถึงสามารถครอบคลุมทั่วประเทศ

ดังนั้น กสทช. จะนำแนวทางไปปรับใช้กับการพัฒนาบริการและกำกับดูแลกิจการให้สอดคล้องกับประเทศไทย และศึกษาแนวทางที่เกาหลีใช้การพัฒนาอุตสาหกรรม บริการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นส่วนช่วยในการพัฒนาประเทศและก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ

นายฐากร กล่าวว่า สำหรับรูปแบบการให้บริการโทรคมนาคมนั้นประเทศไทยมีความแตกต่างจากเกาหลีที่เป็นรูปแบบใบอนุญาตประกอบกิจการ ซึ่งมีความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ ในขณะที่ประเทศไทยยังอยู่ระหว่างการกำกับดูแลทั้งในรูปแบบบริการโทรคมนา คมภายใต้สัญญาสัมปทานและระบบใบอนุญาต ที่ยังมีความทับซ้อนในการกำกับดูแลของ กสทช. และการแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น ผู้ได้รับใบอนุญาตและผู้ได้รับสัมปทานเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายเดียวกัน เป็นต้น

อย่างไรก็ตามประเทศไทยอยู่ระหว่างการพัฒนาและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ที่มาจากปัจจัยการผลักดัน อาทิ ราคาบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ และอัตราการเข้าถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชาชนที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยพบว่า มีผู้ใช้เฟซบุ๊กมากเป็นอันดับสามของโลก การใช้ไลน์มากเป็นอันดับสองรองจากประเทศญี่ปุ่น หรือการดูยูทูบ มากเป็นอันดับสองของเอเชีย รวมทั้งการใช้งาน ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรมเติบโตอย่างก้าวกระโดด.


http://www.dailynews.co.th/Content/IT/288267/กสทช.ศึกษาแนวทาง+โทรคมนาคมเกาหลี

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.