Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 ธันวาคม 2557 Starcom Thailand.อติพล ระบุ ทิศทางแนวโน้มสื่อที่จะมาแรงและมีอัตราการเติบโตสูงในปีหน้า ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ (โดยเฉพาะออนไลน์ เพราะอินเตอร์เน็ตครอบคลุ่มพื้นที่เพิ่มมากขึ้น​)

ประเด็นหลัก


    นายอติพล  อิทธิวัฒนะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สตาร์คอม ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ทิศทางแนวโน้มสื่อที่จะมาแรงและมีอัตราการเติบโตสูงในปีหน้า ได้แก่ สื่อโทรทัศน์  และสื่อออนไลน์  เนื่องจากมีอัตราการเติบโตที่ดีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีนี้   ประกอบกับเริ่มมีสินค้าแบรนด์ใหญ่จำนวนมากเริ่มแบ่งงบประมาณมาใช้สื่อประเภทนี้มากยิ่งขึ้น   โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ที่ในปัจจุบันไม่ได้เป็นเพียงแค่สื่อเฉพาะกลุ่มแล้วเท่านั้น   แต่เป็นสื่อสามารถเข้าถึงกลุ่มคนจำนวนมากได้
    แม้ว่าในปัจจุบันสื่อออนไลน์  ผู้ใช้บริการเป็นกลุ่มคนในเมืองมากกว่า 70%   แต่หลังจากต้นปีหน้าเป็นต้นไปจะเริ่มเห็นสัดส่วนจำนวนผู้ใช้ที่อยู่ในต่างจังหวัดเพิ่มมากขึ้นเริ่ม  โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตเนื่องจาก ผู้ให้บริการด้านโครงข่ายโทรคมนาคมจะเริ่มกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตไปยังพื้นที่ต่างๆให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น  ประกอบกับเทรนด์ของผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการศึกษาข้อมูลผ่านออนไลน์  ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสินค้า  เนื่องจากให้ความสำคัญในเรื่องของการซื้อสินค้าด้วยคุณภาพและเปรียบเทียบราคาก่อนการตัดสินใจ  ซึ่งสินค้าที่ได้รับความนิยมจากการรีวิวข้อมูล ได้แก่ โทรศัพท์  และรถยนต์ เป็นต้น


______________________________







ทีวีดิจิตอล-ออนไลน์ดาวรุ่ง เอเยนซีฟันธงอุตฯโฆษณาปีหน้าโต7%



 เม็ดเงินสื่อโฆษณา 11 เดือน วูบ9.82%  "นีลเส็น" เผย 7 สื่อหลักติดลบทั้งแผง มี 2 สื่อเป็นพระเอก "ทรานสิต-อินเตอร์เน็ต"  ยังเติบโตสวนกระแสตลาดได้  2 เอเยนซียักษ์ใหญ่ ฟันธงปีหน้าทีวีดิจิตอล-ออนไลน์  2 สื่อมาแรง  คาดการณ์ปี 2558  ทิศทางอุตสาหกรรมโฆษณาเติบโตไม่น้อยกว่า 4-7% altข้อมูลล่าสุดจากบริษัท เอจีบี นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช (ประเทศไทย) จำกัด ได้เปิดเผยถึงเม็ดเงินสื่อโฆษณาในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา  ว่ามีอัตราการเติบโตติดลบ 9.82%  หรือมีมูลค่า 9.38 หมื่นล้านบาท  จากปีที่ผ่านมามีมูลค่า  1.04 แสนล้านบาท   โดยพบว่า 7 สื่อมีอัตราการเติบโตที่ลดลง  ได้แก่  สื่อโทรทัศน์มีการใช้งบประมาณลดลง 7.97%   สื่อวิทยุใช้งบประมาณลดลง 11.32%   หนังสือพิมพ์ใช้งบประมาณลดลง 14.15% นิตยสารใช้งบประมาณลดลง 17.33%   โรงภาพยนตร์ใช้งบประมาณลดลง    20.32%  สื่อนอกบ้าน ใช้งบประมาณลดลง   4.14%  และสื่ออินสโตร์ใช้งบประมาณลดลง 28.50%  ซึ่งปีนี้มีเพียงสื่อ 2 ประเภทเท่านั้นที่มีอัตราการเติบโต  คือสื่อทรานสิต  เติบโต  6.15% และสื่ออินเตอร์เน็ตมีการเติบโต  6.79%
    นายอติพล  อิทธิวัฒนะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สตาร์คอม ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ทิศทางแนวโน้มสื่อที่จะมาแรงและมีอัตราการเติบโตสูงในปีหน้า ได้แก่ สื่อโทรทัศน์  และสื่อออนไลน์  เนื่องจากมีอัตราการเติบโตที่ดีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีนี้   ประกอบกับเริ่มมีสินค้าแบรนด์ใหญ่จำนวนมากเริ่มแบ่งงบประมาณมาใช้สื่อประเภทนี้มากยิ่งขึ้น   โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ที่ในปัจจุบันไม่ได้เป็นเพียงแค่สื่อเฉพาะกลุ่มแล้วเท่านั้น   แต่เป็นสื่อสามารถเข้าถึงกลุ่มคนจำนวนมากได้
    แม้ว่าในปัจจุบันสื่อออนไลน์  ผู้ใช้บริการเป็นกลุ่มคนในเมืองมากกว่า 70%   แต่หลังจากต้นปีหน้าเป็นต้นไปจะเริ่มเห็นสัดส่วนจำนวนผู้ใช้ที่อยู่ในต่างจังหวัดเพิ่มมากขึ้นเริ่ม  โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตเนื่องจาก ผู้ให้บริการด้านโครงข่ายโทรคมนาคมจะเริ่มกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตไปยังพื้นที่ต่างๆให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น  ประกอบกับเทรนด์ของผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการศึกษาข้อมูลผ่านออนไลน์  ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสินค้า  เนื่องจากให้ความสำคัญในเรื่องของการซื้อสินค้าด้วยคุณภาพและเปรียบเทียบราคาก่อนการตัดสินใจ  ซึ่งสินค้าที่ได้รับความนิยมจากการรีวิวข้อมูล ได้แก่ โทรศัพท์  และรถยนต์ เป็นต้น
    นอกจากนี้  แผนธุรกิจปีหน้าบริษัทจะเน้นให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษาข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคกับการใช้สื่อแต่ละช่วงเวลาให้ละเอียดและชัดเจนมากขึ้น   ซึ่งหากผลสำรวจออกมาในรูปแบบที่ชัดเจนก็จะช่วยส่งผลให้บริษัทสามารถวางแผนการใช้สื่อแต่ละประเภทกับแบรนด์สินค้าต่างๆไปยังผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น   ขณะเดียวกันการทำผลสำรวจครั้งนี้บริษัทได้วางงบเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ประมาณ 10 ล้านบาท  ขณะที่ด้านรายได้ปีนี้มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ประมาณ 15% โดยส่วนใหญ่มาจากรายได้ออนไลน์ และการสร้างแบรนดิ้ง   ขณะที่ปีหน้าบริษัทได้ตั้งเป้าหมายรายได้อยู่ที่ประมาณ 20%
    ปัจจุบันสัดส่วนรายได้ทั้งกลุ่มของบริษัท แบ่งเป็น ธุรกิจเมนสตรีม (สื่อหลัก) สัดส่วน 60%  ออนไลน์ สัดส่วน 30%  และที่เหลืออีก 10%  มาจากธุรกิจการสร้างแบรนด์  ซึ่งในปีหน้าบริษัทจะให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์เพิ่มมากขึ้น  เนื่องจากมีปัจจัยบวกหลายด้าน อาทิ ทีวีดิจิตอล  เออีซี  เสริมเข้ามา
    "ภาพรวมสื่อโฆษณาในปีนี้มีอัตราการเติบโตติดลบอยู่ที่ประมาณ 8-9% เนื่องจากปัญหาด้านการเมืองและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมาในช่วงครึ่งปีแรก   แต่หลังจากนี้เป็นต้นไปบริษัทคาดว่าสถานการณ์ต่างๆในประเทศไทยน่าจะกลับเข้าสู่สภาวะดีขึ้น  ทั้งในเรื่องการเมือง  และเศรษฐกิจ  อีกทั้งในด้านของตัวเลขจีดีพีปีหน้าก็มีการคาดการณ์ว่าจะเติบโตอยู่ที่ประมาณ 2-4%  ซึ่งหากตัวเลขเป็นไปตามที่คาดการณ์จริงก็จะช่วยส่งผลให้อุตสาหกรรมสื่อโฆษณาเป็นไปในทิศทางที่ดีและมีมูลค่าเม็ดเงินเพิ่มขึ้นจากปีนี้"
    ด้านนางสาวปัทมวรรณ สถาพร กรรมการผู้จัดการบริษัท มายด์แชร์ ประเทศไทย จำกัด มีเดียเอเยนซีในเครือ WPP กล่าวว่า ทิศทางแนวโน้มของภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาในปีหน้าจะเติบโตอยู่ที่ประมาณ 4-7% ซึ่งแพลตฟอร์มที่มีบทบาทเด่นชัดยังคงเป็นมือถือสมาร์ทโฟน และทีวี (ฟรีทีวี เคเบิล แซตเทลไลต์และทีวีดิจิตอล)  ส่วนแพลตฟอร์มทีวีดิจิตอลบริษัทคาดว่าจะสามารถโตได้ถึง 20% จากสัดส่วนการรับชมทีวีทั้งหมด โดยไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคจะทำให้เข้าสู่ยุคของมัลติสกรีนที่ชัดเจนขึ้น แบรนด์ต้องพัฒนา แคมเปญ ผ่านทุกช่องทางโดยที่ไม่ยึดติดกับโทรทัศน์เป็นช่องทางหลัก และแบรนด์ยังต้องใส่ใจกับความต้องการรับชม และการดึงความสนใจเมื่อความต้องการรับชมถูกแย่งไปสู่ช่องทางอื่น
    ทั้งนี้ความสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพื่อเปลี่ยนข้อมูลให้สามารถทราบถึง พฤติกรรมของผู้บริโภค กลุ่มเป้าหมายเป็นสิ่งที่สำคัญ และการใช้ข้อมูลที่ชาญฉลาดรวมถึงเครื่องมือที่มีศักยภาพในการคาดการณ์ ผลลัพธ์ทางการตลาดและเพิ่มสัดส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุนให้สูงมากขึ้นกลายเป็นวัตถุประสงค์ที่สำคัญ
    นอกจากนี้ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อเทรนด์พฤติกรรมของผู้บริโภคในปีหน้า ยังคงเกิดขึ้นจากเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเร็ว ความหลากหลาย และความซับซ้อนขึ้น เราจะได้เห็นทั้งความต้องการแบบเดี๋ยวนี้เป็นเรื่องปกติ และในทางกลับกันสำหรับผู้บริโภคกลุ่มนี้จะตั้งใจเลือกในการเสพสื่อและข้อมูล
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=258110:--7&catid=106:-marketing&Itemid=456#.VJY4WCBAc

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.