Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 ธันวาคม 2557 (บทความ) ไขปม 2 เหตุผลทำ Line เปลี่ยนตัวซีอีโอ // ไลน์ ไม่สามารถเจาะตลาดสหรัฐฯ และยุโรปได้ โดยผู้ใช้งานประจำของไลน์มากกว่าครึ่งเป็นประชากรอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ไทย และไต้หวัน ล้มเหลวในภารกิจบุกตลาดโลก

ประเด็นหลัก


    แม้ไลน์จะสามารถครองแชมป์ตลาดดิจิตอลสติกเกอร์โลกได้ด้วยสถิติรายรับมากกว่า 192 ล้านเหรียญ ในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา แต่ไลน์กลับถูกมองว่าเป็นบริการที่มีรูปแบบธุรกิจไม่มั่นคงเนื่องจากไม่สามารถเจาะตลาดสหรัฐฯ และยุโรปได้ โดยผู้ใช้งานประจำของไลน์มากกว่าครึ่งเป็นประชากรอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ไทย และไต้หวัน ทั้งหมดนี้อาจทำให้ซีอีโอคนปัจจุบันถูกมองว่าล้มเหลวในภารกิจบุกตลาดโลก และต้องส่งต่อหน้าที่ให้ซีอีโอคนใหม่ผลักดันไลน์ให้เติบโตบนเวทีนานาชาติต่อไป

ไขปม 2 เหตุผลทำ Line เปลี่ยนตัวซีอีโอ

        สาเหตุที่ 2 คือ การเลื่อนเปิดจำหน่ายหุ้นของไลน์ ก่อนหน้านี้ ไลน์ถูกคาดหวังว่าจะสามารถขายหุ้นครั้งแรก หรือ IPO ได้ในช่วงต้นปี 2014 บนมูลค่าตลาดที่ถูกประเมินว่าจะสูงถึง 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ แต่แผนทั้งหมดถูกยกเลิกเนื่องจากผู้บริหารต้นสังกัดไลน์ตัดสินใจว่าไลน์ยังไม่พร้อม และต้องการสร้างความเป็นปึกแผ่นในตลาดโลกให้ดีกว่าเดิม


_____________________________________________________



















ไขปม 2 เหตุผลทำ Line เปลี่ยนตัวซีอีโอ




        ไลน์ (Line) แอปพลิเคชันแชตยอดฮิตประกาศว่า ซีอีโอคนปัจจุบันจะลาตำแหน่งอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม 2015 โดยประธานฝ่ายปฏิบัติการ หรือซีโอโอจะขึ้นนั่งเก้าอี้กุมบังเหียนบริษัทแทน ล่าสุด สื่ออเมริกันตั้งข้อสงสัยว่าการเปลี่ยนตัวซีอีโอครั้งนี้อาจเกิดจาก 2 เหตุผล นั่นคือ ตัวเลขผู้ใช้งานประจำที่ไม่เติบโตเท่าที่ควร รวมถึงการดำเนินงานที่พลาดเป้าจนทำให้ไลน์ถูกเลื่อนแผนเข้าตลาดหุ้นไปแบบไม่มีกำหนด
     
       ในแถลงการณ์ ไลน์ระบุว่า ซีอีโอ “อากิระ โมริคาวา (Akira Morikawa)” จะส่งต่อหน้าที่ซีอีโอให้กับ “ทาเคชิ ไอเดซาวา (Takeshi Idezawa)” หนึ่งในผู้บริหารที่โดดเด่นในงานประชุม Line Conference Tokyo 2014 ซึ่งไลน์จัดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยครั้งนั้นไอเดซาวา เป็นผู้กล่าวเปิดตัว 2 บริการใหม่อย่างไลน์เพย์ (Line Pay) และไลน์แท็กซี่ (Line Taxi) ที่จะทำให้ไลน์เป็นมากกว่าบริการแอปพลิเคชันแชตทั่วไป
     
       การเปลี่ยนตัวซีอีโอนี้เกิดขึ้นหลังจากซีอีโออากิระ รับตำแหน่งในช่วงต้นปี 2013 ซึ่งเป็นช่วงที่ไลน์เติบโตสุดขีด อย่างไรก็ตาม ปีดังกล่าวเป็นปีที่โลกให้ความสนใจบริการแอปพลิเคชันมากเป็นพิเศษเนื่องจากเฟซบุ๊ก (Facebook) ลงทุนเทเงินมากกว่า 2.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐซื้อกิจการแอปพลิเคชันแชตอย่าง “ว็อตสแอป (WhatsApp)” ทำให้นักลงทุนให้ความสนใจไลน์อย่างต่อเนื่อง ส่งให้ไลน์พัฒนาตัวเองสู่การเป็นแพลตฟอร์มบริการเกม บริการชอปปิ้ง และบริการจ่ายเงินผ่านมือถือ
     
       เบื้องต้น สำนักข่าวโฟร์บส์ วิเคราะห์ว่า มีความเป็นไปได้ 2 สาเหตุที่ทำให้ซีอีโอโมริคาวา ตัดสินใจลาตำแหน่ง สาเหตุแรกคือ ไลน์ไม่สามารถเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานประจำ หรือแอ็กทีฟ ยูสเซอร์ได้มากพอ เนื่องจากไลน์มีสถิติผู้ลงทะเบียนใช้งานมากกว่า 500 ล้านคน แต่กลับเป็นแอ็กทีฟ ยูสเซอร์เพียง 170 ล้านคน
     
       ส่วนต่างผู้ลงทะเบียนใช้งาน และผู้ใช้งานจริงของไลน์นั้นถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่างว็อตสแอป ทั้งหมดนี้ทำให้ไลน์ต้องใช้งบประมาณทำการตลาดเพื่อเพิ่มยอดผู้ใช้ให้ได้ แต่กลับล้มเหลวเพราะไม่สามารถดึงผู้ใช้ได้มากเท่าที่ควร
     
       แม้ไลน์จะสามารถครองแชมป์ตลาดดิจิตอลสติกเกอร์โลกได้ด้วยสถิติรายรับมากกว่า 192 ล้านเหรียญ ในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา แต่ไลน์กลับถูกมองว่าเป็นบริการที่มีรูปแบบธุรกิจไม่มั่นคงเนื่องจากไม่สามารถเจาะตลาดสหรัฐฯ และยุโรปได้ โดยผู้ใช้งานประจำของไลน์มากกว่าครึ่งเป็นประชากรอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ไทย และไต้หวัน ทั้งหมดนี้อาจทำให้ซีอีโอคนปัจจุบันถูกมองว่าล้มเหลวในภารกิจบุกตลาดโลก และต้องส่งต่อหน้าที่ให้ซีอีโอคนใหม่ผลักดันไลน์ให้เติบโตบนเวทีนานาชาติต่อไป

ไขปม 2 เหตุผลทำ Line เปลี่ยนตัวซีอีโอ

        สาเหตุที่ 2 คือ การเลื่อนเปิดจำหน่ายหุ้นของไลน์ ก่อนหน้านี้ ไลน์ถูกคาดหวังว่าจะสามารถขายหุ้นครั้งแรก หรือ IPO ได้ในช่วงต้นปี 2014 บนมูลค่าตลาดที่ถูกประเมินว่าจะสูงถึง 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ แต่แผนทั้งหมดถูกยกเลิกเนื่องจากผู้บริหารต้นสังกัดไลน์ตัดสินใจว่าไลน์ยังไม่พร้อม และต้องการสร้างความเป็นปึกแผ่นในตลาดโลกให้ดีกว่าเดิม
     
       เบื้องต้น ซีอีโอโมริคาวา เปิดเผยว่า การลาตำแหน่งครั้งนี้ไม่ใช่การลาจากบริษัท แต่จะยังคงเป็นที่ปรึกษาให้บริษัทต่อไปหลังจากที่ซีอีโอคนใหม่รับช่วงต่อในวันที่ 1 เมษายนปีหน้า



http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000147486

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.