Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 ธันวาคม 2557 BSA.บูน โพ ม็อก ระบุ กฎหมายจะต้องปรับเปลี่ยนให้ทันสมัย เพื่อให้เอื้อกับนโยบาย เช่น หากมีกฎระเบียบข้อกำหนดที่ไม่ให้เกิดการเคลื่อนย้ายข้อมูล หรือดาต้า (Data) ก็อาจจะทำให้ บริษัท หรือคู่ค้าในต่างประเทศ

ประเด็นหลัก


1. กฎหมายจะต้องปรับเปลี่ยนให้ทันสมัย เพื่อให้เอื้อกับนโยบาย เช่น หากมีกฎระเบียบข้อกำหนดที่ไม่ให้เกิดการเคลื่อนย้ายข้อมูล หรือดาต้า (Data) ก็อาจจะทำให้ บริษัท หรือคู่ค้าในต่างประเทศ ทำธุรกิจกับไทยลำบาก เมื่อทำธุรกิจไม่ได้เศรษฐกิจก็ไม่สามารถเติบโตได้เช่นกัน หรือหากมีการกำหนดไม่ให้ตั้งเซิร์ฟ เวอร์ในต่างประเทศ เพราะกลัวเรื่องข้อมูลรั่วไหล ก็จะทำให้บริษัทต่าง ๆ มีต้นทุนเพิ่มมากขึ้นทันที ซึ่งผู้กำหนดนโยบายจำเป็นต้องกำหนดให้เอื้อต่อการลงทุนเพื่อให้มีผลกลับมายังเศรษฐกิจ รวมถึงนโยบายหรือข้อกำหนดกฎระเบียบต่าง ๆที่ออกมาจะต้องผลักดันให้ประชากรใช้ไอทีได้สะดวกมากขึ้น และภาครัฐต้องสร้างความเชื่อมั่นต่อสาธารณชน เช่น เรื่องข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องปลอดภัยไม่สามารถถูกแฮก หรือลวงข้อมูลได้ เมื่อประชาชนมีความเชื่อมั่นก็จะหันมาใช้ไอทีเพิ่มขึ้นเอง

2. ข้อตกลงทางการค้า หรือการทำการค้ากับคู่ค้า ต้องไม่กำหนดหรือชี้แนะว่าจะต้องใช้เทคโนโลยีใด หรือมาจากประเทศไหน ควรเปิดกว้างให้เป็นทางเลือก เพื่อให้ภาคเอก ชนมีการแข่งขันอย่างเสรีและยุติ ธรรม ไม่มีสองมาตรฐาน รัฐออกกฎควบคุมดูแลให้เอกชนแข่งขันกันในกฎระเบียบและกฎระเบียบเหล่านั้นต้องไม่เข้มงวดเกินไปจนเป็นอุปสรรคฉุดรั้งการเติบ โต

3. เรื่องคุ้มครองทรัพย์ สินทางปัญญา ภาครัฐต้องสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้พัฒนาและเจ้าของนวัต กรรม ซึ่งรวมไปถึงเรื่อง สิทธิบัตร และเครื่องหมายทางการค้า เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ เพราะนวัตกรรมสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐ กิจให้เพิ่มขึ้นได้



_____________________________________________________

















?‘บีเอสเอ’กับมุมมองเศรษฐกิจดิจิตอลของไทย?
การใช้นโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลของไทย ถือว่าเป็นเรื่องดีที่จะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโตได้ในอนาคต เห็นได้จากการใช้จ่าย หรือลงทุนด้านไอทีของประเทศต่าง ๆ



หลังจากรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy) เพื่อใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย โดยได้เปลี่ยนโฉมกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที เป็น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมปรับโครงสร้างและแนวทางการทำงานของหน่วยงานในสังกัดใหม่ เพื่อเดินหน้านโยบายให้เห็นเป็นรูปธรรม

อย่างไรก็ตาม กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์ แวร์ หรือ บีเอสเอ (BSA | The Software Alliance) ซึ่งเป็นสมาคมเพื่อการค้าที่ไม่หวังผลกำไร จัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของอุตสาห กรรมซอฟต์แวร์และพันธมิตรด้านฮาร์ดแวร์ โดยทำหน้าที่ส่งเสริมโลกดิจิตอลที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย ก็ได้มีมุมมองและข้อเสนอแนะที่น่าสนใจเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายนี้ของประเทศไทย

นายบูน โพ ม็อก ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบาย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า การใช้นโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลของไทย ถือว่าเป็นเรื่องดีที่จะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโตได้ในอนาคต เห็นได้จากการใช้จ่าย หรือลงทุนด้านไอทีของประเทศต่าง ๆ ช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจประเทศนั้นเติบโตได้มากขึ้น และส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโลกด้วย ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกมีประชากรเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจำนวน 3,000 ล้านคนและกว่าครึ่งเป็นประชากรในทวีปเอเชีย สำหรับประเทศไทยก็มีประชากรเข้าถึงอินเทอร์ เน็ตกว่า 26 ล้านคน จึงถือเป็นโอกาสที่ดีในการนำนโยบายนี้มาขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

และด้วยบทบาทของบีเอสเอที่มีโอกาสประสานงานกับภาครัฐของประเทศต่าง ๆ ที่นำนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พบว่าการจะสามารถดำเนินนโยบายให้ประสบความสำเร็จได้นั้นมี 3 ปัจจัยสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญ ประกอบด้วย

1. กฎหมายจะต้องปรับเปลี่ยนให้ทันสมัย เพื่อให้เอื้อกับนโยบาย เช่น หากมีกฎระเบียบข้อกำหนดที่ไม่ให้เกิดการเคลื่อนย้ายข้อมูล หรือดาต้า (Data) ก็อาจจะทำให้ บริษัท หรือคู่ค้าในต่างประเทศ ทำธุรกิจกับไทยลำบาก เมื่อทำธุรกิจไม่ได้เศรษฐกิจก็ไม่สามารถเติบโตได้เช่นกัน หรือหากมีการกำหนดไม่ให้ตั้งเซิร์ฟ เวอร์ในต่างประเทศ เพราะกลัวเรื่องข้อมูลรั่วไหล ก็จะทำให้บริษัทต่าง ๆ มีต้นทุนเพิ่มมากขึ้นทันที ซึ่งผู้กำหนดนโยบายจำเป็นต้องกำหนดให้เอื้อต่อการลงทุนเพื่อให้มีผลกลับมายังเศรษฐกิจ รวมถึงนโยบายหรือข้อกำหนดกฎระเบียบต่าง ๆที่ออกมาจะต้องผลักดันให้ประชากรใช้ไอทีได้สะดวกมากขึ้น และภาครัฐต้องสร้างความเชื่อมั่นต่อสาธารณชน เช่น เรื่องข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องปลอดภัยไม่สามารถถูกแฮก หรือลวงข้อมูลได้ เมื่อประชาชนมีความเชื่อมั่นก็จะหันมาใช้ไอทีเพิ่มขึ้นเอง

2. ข้อตกลงทางการค้า หรือการทำการค้ากับคู่ค้า ต้องไม่กำหนดหรือชี้แนะว่าจะต้องใช้เทคโนโลยีใด หรือมาจากประเทศไหน ควรเปิดกว้างให้เป็นทางเลือก เพื่อให้ภาคเอก ชนมีการแข่งขันอย่างเสรีและยุติ ธรรม ไม่มีสองมาตรฐาน รัฐออกกฎควบคุมดูแลให้เอกชนแข่งขันกันในกฎระเบียบและกฎระเบียบเหล่านั้นต้องไม่เข้มงวดเกินไปจนเป็นอุปสรรคฉุดรั้งการเติบ โต

3. เรื่องคุ้มครองทรัพย์ สินทางปัญญา ภาครัฐต้องสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้พัฒนาและเจ้าของนวัต กรรม ซึ่งรวมไปถึงเรื่อง สิทธิบัตร และเครื่องหมายทางการค้า เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ เพราะนวัตกรรมสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐ กิจให้เพิ่มขึ้นได้

ขณะนี้รัฐบาลไทยได้กำลังปรับเปลี่ยนกฎหมายหลาย ๆ อย่าง เพื่อให้เอื้อกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล ซึ่งมองว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะประเทศไทยเป็นตลาดใหญ่ และมีบริษัทด้านไอทีจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนจำนวนมากอยู่แล้ว ถ้านโยบายภาครัฐใหม่ ๆ ที่ออกมาทำให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม บริษัทจากต่างประเทศจะเข้ามาลงทุนและทำธุรกิจในไทยเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งจะทำให้บริษัทท้องถิ่นของไทยสามารถทำธุรกิจได้เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของไทยŽ

นายบูน โพ ม็อก กล่าวต่อว่า บีเอสเอ สนับสนุนรัฐบาลไทยและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิตอล เพื่อให้นโยบายนี้ประสบความสำเร็จ และพร้อมที่จะแบ่งปันความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องนี้กับภาครัฐ แต่จะไม่ก้าวล่วงไปถึงการออกกฎระเบียบต่าง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับทางการไทย โดยที่ผ่านมาก็มีโอกาสแลกเปลี่ยนมุมมองและแบ่งปันประสบการณ์กับทางสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สพธอ. หรือ ETDA ซึ่งก็รับฟังเป็นอย่างดี จึงอยากเห็นรัฐบาลไทยรับหลักการนี้ไปพิจารณา

อย่างไรก็ตาม จากที่ได้ร่วมทำงานและแบ่งปันประสบการณ์กับหลาย ๆ ประเทศ การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลนั้นไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวว่าจะสามารถประสบความสำเร็จได้ในระยะเวลากี่ปี หรือจะมีผลตอบแทนกลับมายังเศรษฐกิจจำนวนเท่าไร

เนื่องจากมีปัจจัยและตัวแปรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาวะเศรษฐกิจของโลก และการนำนโยบายไปใช้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพหรือไม่?

จิราวัฒน์ จารุพันธ์
JirawatJ@dailynews.co.th


http://www.dailynews.co.th/Content/IT/289075/‘บีเอสเอ’กับมุมมองเศรษฐกิจดิจิตอลของไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.