Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 ธันวาคม 2557 ICT เตรียมเสนอคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอล!! ขอคลื่นโทรคมนาคมที่หมดสัญญาสัมปทานกับบริษัทเอกชน(อ้างความมั่นคง)แล้วแบ่งให้ CAT TOT ดำเนินการ

ประเด็นหลัก


       นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า จากกรณีที่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) มีความประสงค์ขอคลื่นโทรคมนาคมที่หมดสัญญาสัมปทานกับบริษัทเอกชนมาทำธุรกิจเองนั้น เรื่องนี้จะนำเสนอให้คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอล ซึ่งกำลังจะตั้งขึ้นภายในต้นปีหน้าพิจารณาดูว่าจะสามารถแบ่งมาให้ทั้ง 2 หน่วยงานได้หรือไม่
     
       แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องเป็นการนำคลื่นมาใช้ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความมั่นคง ไม่ใช่การนำมาทำเชิงพาณิชย์ เพราะหากทั้ง 2 หน่วยงานต้องการนำมาทำในเชิงพาณิชย์ ต้องไปประมูลแข่งกับเอกชนซึ่งจะมีการประมูล 4G ประมาณเดือน ก.ค.ปีหน้าเอง ซึ่งตนเชื่อว่าทั้ง 2 หน่วยงานคงไม่มีกำลังในการร่วมประมูลกับเอกชนแน่นอน ส่วนธุรกิจโทรศัพท์มือถือที่ทั้ง 2 รายทำอยู่ ก็ควรหาผู้ร่วมลงทุนในการทำธุรกิจถึงจะอยู่รอดได้


_____________________________________________________



















เปิดไอเดีย ‘พรชัย’ ขอคลื่นมือถือให้ ทีโอที - กสท โทรคมนาคม ทำเพื่อความมั่นคง



‘พรชัย’ ปิ๊งไอเดีย เสนอขอคลื่นโทรคมนาคมให้ ทีโอที - กสท โทรคมนาคม ใช้เพื่อความมั่นคงเท่านั้น ชี้หากต้องการทำเชิงพาณิชย์ต้องไปประมูลแข่งกับเอกชนเอง พร้อมแนะธุรกิจโทรศัพท์มือถือที่มีอยู่ต้องหาผู้ร่วมทุนทำธุรกิจถึงจะอยู่รอด
     
       นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า จากกรณีที่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) มีความประสงค์ขอคลื่นโทรคมนาคมที่หมดสัญญาสัมปทานกับบริษัทเอกชนมาทำธุรกิจเองนั้น เรื่องนี้จะนำเสนอให้คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอล ซึ่งกำลังจะตั้งขึ้นภายในต้นปีหน้าพิจารณาดูว่าจะสามารถแบ่งมาให้ทั้ง 2 หน่วยงานได้หรือไม่
     
       แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องเป็นการนำคลื่นมาใช้ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความมั่นคง ไม่ใช่การนำมาทำเชิงพาณิชย์ เพราะหากทั้ง 2 หน่วยงานต้องการนำมาทำในเชิงพาณิชย์ ต้องไปประมูลแข่งกับเอกชนซึ่งจะมีการประมูล 4G ประมาณเดือน ก.ค.ปีหน้าเอง ซึ่งตนเชื่อว่าทั้ง 2 หน่วยงานคงไม่มีกำลังในการร่วมประมูลกับเอกชนแน่นอน ส่วนธุรกิจโทรศัพท์มือถือที่ทั้ง 2 รายทำอยู่ ก็ควรหาผู้ร่วมลงทุนในการทำธุรกิจถึงจะอยู่รอดได้
     
       "ต้องบอกว่านี่คือไอเดีย ที่เราต้องให้คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอลพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ไม่ได้เป็นแนวคิดที่จะไปขัดขวางการเปิดประมูล 4G แต่อย่างใด การประมูลก็ยังคงเกิดขึ้น เพียงแต่เราก็ต้องมาดูว่าจะแบ่งคลื่นตรงส่วนใหญ่ให้ทีโอที และ กสท โทรคมนาคม นำมาใช้เพื่อความมั่นคงได้บ้าง แต่หากทำเพื่อความมั่นคงหรือเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะไม่ได้ เพราะต้องการทำเชิงพาณิชย์ ทั้ง 2 หน่วยงานก็ต้องไปประมูลแข่งกับเอกชนเอาเอง"
     
       อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ทีโอทีได้ขอให้ รมว.ไอซีทีช่วยนำคลื่นความถี่ 900 MHz ที่กำลังจะหมดสัญญาสัมปทานกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ในเดือน ก.ย.ปี 58 นั้นกลับมาให้ทีโอทีเป็นผู้บริหารแทนที่จะคืนให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นำไปประมูล
     
       เพราะจะทำให้ทีโอทีอยู่รอดได้ โดยรมว.ไอทีซี ได้รับปากว่าจะนำเรื่องนี้เข้าหารือกับคณะทำงานที่ตั้งขึ้นระหว่างไอซีทีกับ กสทช.ตั้งแต่วันที่ 10 ต.ค.ที่ผ่านมา พร้อมกับการเจรจาเรื่องคลื่นความถี่อื่นๆ ที่ทีโอทีครอบครองอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นคลื่น 900, 1900, 2300 และ 2700 MHz ว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้า ขณะที่ กสท โทรคมนาคม ก็ต้องการคลื่นคืนเช่นกัน
     


http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000149929

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.