Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 มกราคม 2558 (เกาะติดประมูล4G) TRUE.ศุภชัย ระบุ อยากให้ทางหน่วยงานกำกับดูแล หรือภาครัฐให้ความสำคัญต่อการนำทรัพยากรคลื่นไปใช้ประโยชน์มากกว่าเอาเงินมากองแข่งกัน

ประเด็นหลัก


++ "ทรู" แจงอย่าเห็นแก่เงินนำเข้ารัฐ
    สอดคล้องกับนายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ทรู กล่าวในทำนองเดียวกันว่า ต้องการให้ภาครัฐนำคลื่นความถี่ที่มีอยู่มาเปิดประมูลทั้งหมด เช่นคลื่นความถี่ 2300 และ 2600 เมกะเฮิรตซ์ นอกเหนือจาก 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ เข้ามา พร้อมกำหนดราคาใบอนุญาตไม่สูง จะทำให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ
    "อยากให้ทางหน่วยงานกำกับดูแล หรือภาครัฐให้ความสำคัญต่อการนำทรัพยากรคลื่นไปใช้ประโยชน์มากกว่าเอาเงินมา กองแข่งกัน ด้วยการบีบให้มีการประมูลคลื่นน้อยๆ แต่ราคาสูง และ การประมูลไม่ควรเน้นหาเงินเข้ารัฐมากจนเกินไป แต่ควรเน้นไปที่การให้เอกชนนำคลื่นไปให้บริการให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ ประชาชน ให้มองว่าเป็นการนำคลื่นไปให้ผู้บริโภคใช้งาน ไม่ใช่การเอาคลื่นความถี่ไปให้เอกชน หรือรัฐวิสาหกิจนำไปใช้"
    ไม่เพียงเท่านี้ค่ายมือถือทั้ง 3 ราย ต่างยืนยันชัดเจนประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จี ที่สำคัญไฟเขียวให้ผู้ประกอบการรายอื่นเข้าร่วมประมูลด้วย เพื่อให้เกิดการแข่งขัน และพัฒนาอุตสาหกรรม โดยเปิดให้มีการประมูลเป็นช่วง 2 x 5 หรือ 2 x 10 MHz ที่เป็นช่วงที่เหมาะสมในเชิงเทคนิค



_____________________________________________________















3พี่บิ๊กค่ายมือถือ AIS-DTAC-TRUE ผนึกพลังหนุนประมูล 4จีปี58



 เป็นครั้งแรกที่พี่บิ๊ก3ค่ายมือถือระดับ ซีอีโอ หรือ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไล่เลียงตั้งแต่  นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของบมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส  หรือเอไอเอส รวมถึงนายซิคเว่ เบรคเก้ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารบมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นหรือดีแทค  altและนายศุภชัย เจียรวนนท์  กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร ของ บมจ.ทรู ร่วมแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ เพื่อแสดงเจตนารมณ์และความพร้อมในการเข้าร่วมประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4 จี ย่านความถี่ 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อสนองนโยบายและแนวคิดของรัฐบาลที่ก้าวสู่เศรษฐกิจ ดิจิตอล
++พร้อมใจขานรับประมูล4จี
    เหตุผลที่ 3 ค่ายมือถือ เปิดโต๊ะแถลงข่าวอย่างเป็นทางการสนับสนุนประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จี เนื่องจากว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ออกมาให้สัมภาษณ์    การเปิดประมูลคลื่นความถี่ 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์  ในปี  2558 ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการตั้งคณะกรรมการขึ้นตามกฎหมายเพื่อดำเนินการดังกล่าว ควบคู่กับการปรับโครงสร้างจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาเป็น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมนั้นจึงเป็นที่มาที่บรรดาผู้ประกอบการค่ายมือถือทั้ง 3 ราย  แถลงข่าวร่วมกันอย่างเป็นทางการ ถือว่าเป็นครั้งแรกหลังจากมีองค์กรอิสระอย่าง กสทช.(คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) เข้ามาทำหน้าที่กำกับดูแล



++"เอไอเอส" ยอมรับกติกา
    แม้ค่ายมือถือเบอร์ 1 เอไอเอส  ต้องการให้ กสทช. ออกกฎเกณฑ์การประมูลในลักษณะ  Beauty Contest (วิธีเปรียบเทียบ) ซึ่งทั่วโลกใช้วิธีประมูลในรูปแบบดังกล่าว ให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ปกป้องผู้ใช้บริการ เพื่อต่อยอดบริการทางด้านซอฟต์แวร์ เช่น ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง ซึ่ง เอไอเอส  มีฐานลูกค้าจำนวน 44 ล้านคน
    แม้ เอไอเอส ต้องการให้ กสทช. เปิดประมูลในรูปแบบ  Beauty Contest  แต่ สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ เอไอเอส ประกาศชัดเจนวันแถลงข่าวในวันนั้นว่า เอไอเอส ยอมรับบทบาทที่เกิดขึ้นถ้า กสทช.มีความประสงค์จัดประมูลแบบ อี-ออกชัน เอไอเอส ก็ยอมรับในเงื่อนไขและกฎกติกาที่ภาครัฐกำหนด
    "เอไอเอส พร้อมที่จะประมูลคลื่นความถี่ 4จี  ทั้งคลื่นความถี่  850-900-1800 เมกะเฮิรตซ์ คลื่นความถี่มีความสำคัญมาก  ไม่ว่าจะเป็นคลื่นอะไรก็ตามรัฐสามารถจัดสรรเพื่อนำมาให้บริการได้ต่อยอดสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประเทศ  แต่ที่สำคัญคือ เรื่องของเวลา ถ้าเกิดการประมูลล่าช้าออกไป โอกาสของประเทศก็จะล่าช้าออกไปด้วย เพราะหลังการประมูลต้องใช้ระยะเวลาในการติดตั้งเพื่อให้บริการ และจะส่งผลให้ Digital Economy ล่าช้าตามไปด้วย"





++ดีแทค พร้อมคืนคลื่น 1800
    เช่นเดียวกับ ดีแทค ที่ต้องการให้ กสทช.เปิดประมูลในลักษณะ Beauty Contest  ในเมื่อ กสทช.ออกกฎกติกามาแล้วยอมรับเงื่อนไขเช่นเดียวกันไม่แตกต่างจากค่ายมือถือเบอร์ 1
    ในประเด็นนี้ นายซิคเว่ เบรคเก้ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ ดีแทค กล่าวว่า ดีแทค พร้อมประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จีเช่นเดียวกัน และ พร้อมนำคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์จำนวน 25 เมกะเฮิตรซ์ที่ยังไม่ได้ใช้งานนำมาเปิดประมูลในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน โดย ดีแทค ต้องการให้ กสทช.เปิดประมูลย่านความถี่ 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ และ ความถี่ที่สูงอีก 15 เมกะเฮิรตซ์ รวมทั้งสิ้นประมาณ 25-30 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อรองรับประสิทธิภาพการใช้งานดาต้า
    ปัจจุบันปริมาณการใช้งานดาต้าในประเทศไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราการใช้งานสมาร์ทโฟน คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจาก 35% ในปี 2557 เป็น 61% ในปี 2560 ดังนั้นการใช้งานโมบายดาต้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 2 เท่าในทุกๆปี ในช่วง 2-3 ปี เพื่อตอบสนองความต้องการการใช้งานดาต้าที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นรัฐบาลควรจะให้ความสำคัญมากขึ้นกับการปลดล็อกคลื่นความถี่
    "ทางออกที่เราขอเสนอในวันนี้จะช่วยให้เกิดประโยชน์ ดังนั้นการเปิดประมูลคลื่นความถี่ในปี  2558 สำหรับการนำคลื่นความถี่ที่ว่างและไม่ได้ใช้งาน ตลอดจนการนำคลื่นความถี่ต่ำ ได้แก่ 850 -900 เมกะเฮิรตซ์ มาใช้ให้บริการงานด้านโทรคมนาคมจะก่อให้เกิดผลประโยชน์กับภาครัฐในการนำอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงมาให้บริการ"
    นอกจากนี้แล้วการส่งเสริมความสามารถในการเข้าถึง (Access) ที่เชื่อมต่อ (Connectivity) ทำให้บริการหรือข้อมูลเป็นระบบดิจิตอล (Digitization) กระตุ้นให้ระบบนิเวศด้านนวัตกรรม จะนำไปสู่เป้าหมายให้คนไทย 80% ใช้อินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน (Active Internet Users) ภายในปี 2560
++ "ทรู" แจงอย่าเห็นแก่เงินนำเข้ารัฐ
    สอดคล้องกับนายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ทรู กล่าวในทำนองเดียวกันว่า ต้องการให้ภาครัฐนำคลื่นความถี่ที่มีอยู่มาเปิดประมูลทั้งหมด เช่นคลื่นความถี่ 2300 และ 2600 เมกะเฮิรตซ์ นอกเหนือจาก 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ เข้ามา พร้อมกำหนดราคาใบอนุญาตไม่สูง จะทำให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ
    "อยากให้ทางหน่วยงานกำกับดูแล หรือภาครัฐให้ความสำคัญต่อการนำทรัพยากรคลื่นไปใช้ประโยชน์มากกว่าเอาเงินมา กองแข่งกัน ด้วยการบีบให้มีการประมูลคลื่นน้อยๆ แต่ราคาสูง และ การประมูลไม่ควรเน้นหาเงินเข้ารัฐมากจนเกินไป แต่ควรเน้นไปที่การให้เอกชนนำคลื่นไปให้บริการให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ ประชาชน ให้มองว่าเป็นการนำคลื่นไปให้ผู้บริโภคใช้งาน ไม่ใช่การเอาคลื่นความถี่ไปให้เอกชน หรือรัฐวิสาหกิจนำไปใช้"
    ไม่เพียงเท่านี้ค่ายมือถือทั้ง 3 ราย ต่างยืนยันชัดเจนประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จี ที่สำคัญไฟเขียวให้ผู้ประกอบการรายอื่นเข้าร่วมประมูลด้วย เพื่อให้เกิดการแข่งขัน และพัฒนาอุตสาหกรรม โดยเปิดให้มีการประมูลเป็นช่วง 2 x 5 หรือ 2 x 10 MHz ที่เป็นช่วงที่เหมาะสมในเชิงเทคนิค
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=259873:3-ais-dtac-true--458&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.VKp-esZAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.