Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 มกราคม 2558 Ericsson ระบุ อินเทอร์เน็ตช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตในเมืองอย่างชาญฉลาด โดยผู้ใช้สมาร์ทโฟนกำลังผลักดันความต้องการให้มีระบบเซ็นเซอร์ในพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ตรวจสอบได้ว่า พื้นที่บริเวณใดมีความหนาแน่นหรือควรหลีกเลี่ยงมากที่สุด

ประเด็นหลัก



การวิจัยในครั้งนี้เป็นการสำรวจผ่านทางออนไลน์ในเดือนกันยายน 2014 จากผู้ใช้งานไอโฟน และแอนดรอยด์ อายุระหว่าง 15-69 ปี ทั้งหมด 9,030 คน ซึ่งถือเป็นตัวแทนกลุ่มประชากรทั้งหมด 61 ล้านคนโดยผลการศึกษาที่น่าสนใจจากงานวิจัยนี้มีดังนี้

ผู้ใช้สมาร์ทโฟนต่างๆทั่วโลกกำลังผลักดันความต้องการและเรียกร้องให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่น ต้องการให้มีระบบเซ็นเซอร์ในพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ตรวจสอบได้ว่า พื้นที่บริเวณใดมีความหนาแน่นหรือควรหลีกเลี่ยงมากที่สุด

ต้องการระบบที่ช่วยเปรียบเทียบการใช้พลังงานกับเพื่อนบ้านต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงพฤติกรรมการใช้พลังงานของตัวเอง

ต้องการระบบตรวจสอบและควบคุมคุณภาพน้ำดื่มแบบเรียลไทม์

ต้องการระบบเซ็นเซอร์เพื่อช่วยแนะนำการใช้ชีวิตในแต่ละวัน

ต้องการใช้เทคโนโลยีไบโอเมตริกไอดี (Biometric ID) เพื่อควบคุมการเข้าถึงบริการสาธารณะในทุก ๆ วัน

ต้องการระบบสัญญาณจราจรบนท้องถนนในรูปแบบอินเทอร์แอคทีฟ และส่งเสริมการแชร์รถจักรยานและรถยนต์มากขึ้น.








_____________________________________________________















?ชีวิตสุดไฮเทคที่ประชากรในเมืองอัจฉริยะอยากได้?



?ชีวิตสุดไฮเทคที่ประชากรในเมืองอัจฉริยะอยากได้??ชีวิตสุดไฮเทคที่ประชากรในเมืองอัจฉริยะอยากได้?
รายงานอีริคสันซูเมอร์แล็บฉบับล่าสุด ในหัวข้อ "สมาร์ท ซิติเซ่น : อินเทอร์เน็ตช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตในเมืองอย่างชาญฉลาด”


รายงานอีริคสันซูเมอร์แล็บฉบับล่าสุด ในหัวข้อ “Smart citizens : How theinternet facilitates smart choices in citylife-สมาร์ท ซิติเซ่น : อินเทอร์เน็ตช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตในเมืองอย่างชาญฉลาด” โดยรายงานฉบับนี้ได้ทำการสำรวจจากเมืองใหญ่ทั้ง 9 เมือง ได้แก่ ปักกิ่ง เดลี ลอนดอน นิวยอร์ก ปารีส โรม เซาเปาโลสตอกโฮล์ม และโตเกียว

พบว่าเมื่อพลเมืองเลือกใช้ชีวิตที่สมาร์ทขึ้น ส่งผลให้เมืองนั้นฉลาดขึ้นตาม ทั้งนี้ ในรายงานได้เปิดเผยให้เห็นถึงหลากหลายมุมมองที่เปิดทางให้เห็นว่า พลเมืองสามารถจัดการและเข้ามามีส่วนร่วมกับชีวิตในเมืองมากขึ้น ตั้งแต่ระบบติดตามผลตรวจสุขภาพในรูปแบบดิจิตอล ระบบนำทางบนถนนในรูปแบบอิน
เทอร์แอคทีฟ ไปจนถึงระบบแชร์รถจักรยานหรือรถยนต์ผ่านโซเชียล

นายบัญญัติ เกิดนิยม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์ กล่าวว่า ผู้คนต่างต้องการให้ผู้ให้บริการสาธารณูปโภคและภาครัฐเชื่อมต่อบริการ
ต่าง ๆ เข้ากับอินเทอร์เน็ต รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ แบบออนไลน์และเรียลไทม์ เช่น ข้อมูลการจราจร ข้อมูลสภาวะคุณภาพของน้ำและอากาศ การใช้บริการสาธารณะต่าง ๆ เป็นต้น

“จากผลการศึกษาพบว่า ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองนั้นมีความสนใจในเรื่องการเข้าถึงบริการต่าง ๆ แบบออนไลน์และเรียลไทม์เหล่านี้มากกว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ตามชานเมือง และที่น่าสนใจก็คือกลุ่มคนทำงานที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นหนุ่มสาวนั้นเป็นกลุ่มที่จะต้องการเข้าถึงบริการต่าง ๆเหล่านี้ในแต่ละวันมากที่สุด และพวกเขาเหล่านี้เองก็จะเป็นกลุ่มที่จะผลักดันให้เมืองต่าง ๆ มีพัฒนาตัวเองที่สมาร์ทและชาญฉลาดมากขึ้นอีกด้วย”

เมื่อพิจารณาตามข้อมูลของแต่ละเมือง เราจะพบว่า ในเดลี ปักกิ่ง และเซาเปาโล ให้คะแนนความสนใจในเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้เป็นอย่างมาก แต่ในขณะที่ในปารีส ลอนดอน และสตอกโฮล์ม ให้คะแนนความสนใจในเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ค่อนข้างน้อย ยกตัวอย่างในสตอกโฮล์มนั้นมีเพียง 41 เปอร์เซ็นต์ของผู้คนทั้งหมดที่รู้จักการตรวจสอบและวัดคุณภาพน้ำ เมื่อเทียบกับในเดลีผู้คนที่รู้จักในเรื่องนี้มีมากถึง 92 เปอร์เซ็นต์

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการสำรวจผ่านทางออนไลน์ในเดือนกันยายน 2014 จากผู้ใช้งานไอโฟน และแอนดรอยด์ อายุระหว่าง 15-69 ปี ทั้งหมด 9,030 คน ซึ่งถือเป็นตัวแทนกลุ่มประชากรทั้งหมด 61 ล้านคนโดยผลการศึกษาที่น่าสนใจจากงานวิจัยนี้มีดังนี้

ผู้ใช้สมาร์ทโฟนต่างๆทั่วโลกกำลังผลักดันความต้องการและเรียกร้องให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่น ต้องการให้มีระบบเซ็นเซอร์ในพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ตรวจสอบได้ว่า พื้นที่บริเวณใดมีความหนาแน่นหรือควรหลีกเลี่ยงมากที่สุด

ต้องการระบบที่ช่วยเปรียบเทียบการใช้พลังงานกับเพื่อนบ้านต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงพฤติกรรมการใช้พลังงานของตัวเอง

ต้องการระบบตรวจสอบและควบคุมคุณภาพน้ำดื่มแบบเรียลไทม์

ต้องการระบบเซ็นเซอร์เพื่อช่วยแนะนำการใช้ชีวิตในแต่ละวัน

ต้องการใช้เทคโนโลยีไบโอเมตริกไอดี (Biometric ID) เพื่อควบคุมการเข้าถึงบริการสาธารณะในทุก ๆ วัน

ต้องการระบบสัญญาณจราจรบนท้องถนนในรูปแบบอินเทอร์แอคทีฟ และส่งเสริมการแชร์รถจักรยานและรถยนต์มากขึ้น.


http://www.dailynews.co.th/Content/IT/291549/ชีวิตสุดไฮเทคที่ประชากรในเมืองอัจฉริยะอยากได้

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.