Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 มกราคม 2558 (บทความ) ?ดิจิตอลเทรนด์ ปี 2015 ของไทย? // ระบุ การบริหารองค์กรในยุคเก่าอาจจะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจไอที เเต่ตอนนี้ ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนไป

ประเด็นหลัก


อ.อรภัค สุวรรณภักดี นักวิชาการอิสระด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และที่ปรึกษาโซเชียลมีเดีย เล่าว่า การเดินหน้าของเศรษฐกิจดิจิตอล จะทำให้ประเทศไทยมีการเปลี่ยนเเปลงในเรื่องของโครงสร้างกฎหมายหลาย ๆ เรื่อง เช่น Intellectual Property law, consumers’ digital rights, ecommerce law, telecommunication law

“เรื่องของกฎหมายการจัดเก็บภาษีของธุรกิจ ดิจิตอลต่าง ๆ จะมีความลงตัวเเละชัดเจนมากขึ้น”

องค์กรต่าง ๆ จะออกมาขานรับ นโยบายดิจิตอลของรัฐบาล จะมีฝ่ายคล้าย ๆ กับ ไอซีที เกิดขึ้นมาในเเต่ละองค์กร โดยเฉพาะองค์กรใหญ่

ส่วนการทำธุรกิจ ควรมีธุรกิจที่รัฐต้องการเน้นให้เกิดในตลาดต่างประเทศ เช่น ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งเพื่อการแข่งขันแบบมีทิศทางมีรูปเเบบอีคอมเมิร์ซ คล้าย อาลีบาบาเกิดขึ้น อาจเรียกว่า ห้างค้าปลีกและห้างค้าส่งออนไลน์ ซึ่งตอนนี้ยังไม่เด่นชัดว่ารัฐบาลจะมีรูปเเบบอย่างไร

นอกจากนี้ บทบาทของผู้นำในองค์กรจะมีลักษณะที่เป็น Digital Leader มากขึ้น คือ ผู้นำไฮเทค ในการบริหารองค์กรในยุคเก่าอาจจะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจไอที เเต่ตอนนี้ ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนไป

ในส่วนของโรงเรียน และสถาบันการศึกษา จะนำเอารูปเเบบการศึกษา อาทิ elearning, online blended learning, open courseware มาใช้เเพร่หลายมากขึ้น และบทบาทของครูและนักเรียนจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน ครูจะต้องรู้เทคโนโลยีมากขึ้น เเละนักเรียนจะเข้าเรียนน้อยลง เเต่จะมาทางออนไลน์ หากโครงสร้างไอซีทีสำเร็จจะส่งผลให้นักเรียนนักศึกษาต่างจังหวัดมีโอกาสพัฒนามากขึ้น


_____________________________________________________















?ดิจิตอลเทรนด์ ปี 2015 ของไทย?
ส่วนการทำธุรกิจ ควรมีธุรกิจที่รัฐต้องการเน้นให้เกิดในตลาดต่างประเทศ เช่น ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งเพื่อการแข่งขันแบบมีทิศทางมีรูปเเบบอีคอมเมิร์ซ คล้าย อาลีบาบาเกิดขึ้น อาจเรียกว่า ห้างค้าปลีกและห้างค้าส่งออนไลน์


ถือเป็นปีที่รัฐบาลไทยพยายามขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่ยุคดิจิตอล ทั้งแก้กฎหมาย ปรับเปลี่ยนชื่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ให้มีคำว่าดิจิตอลเป็นตัวชูโรง

อ.อรภัค สุวรรณภักดี นักวิชาการอิสระด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และที่ปรึกษาโซเชียลมีเดีย เล่าว่า การเดินหน้าของเศรษฐกิจดิจิตอล จะทำให้ประเทศไทยมีการเปลี่ยนเเปลงในเรื่องของโครงสร้างกฎหมายหลาย ๆ เรื่อง เช่น Intellectual Property law, consumers’ digital rights, ecommerce law, telecommunication law

“เรื่องของกฎหมายการจัดเก็บภาษีของธุรกิจ ดิจิตอลต่าง ๆ จะมีความลงตัวเเละชัดเจนมากขึ้น”

องค์กรต่าง ๆ จะออกมาขานรับ นโยบายดิจิตอลของรัฐบาล จะมีฝ่ายคล้าย ๆ กับ ไอซีที เกิดขึ้นมาในเเต่ละองค์กร โดยเฉพาะองค์กรใหญ่

ส่วนการทำธุรกิจ ควรมีธุรกิจที่รัฐต้องการเน้นให้เกิดในตลาดต่างประเทศ เช่น ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งเพื่อการแข่งขันแบบมีทิศทางมีรูปเเบบอีคอมเมิร์ซ คล้าย อาลีบาบาเกิดขึ้น อาจเรียกว่า ห้างค้าปลีกและห้างค้าส่งออนไลน์ ซึ่งตอนนี้ยังไม่เด่นชัดว่ารัฐบาลจะมีรูปเเบบอย่างไร

นอกจากนี้ บทบาทของผู้นำในองค์กรจะมีลักษณะที่เป็น Digital Leader มากขึ้น คือ ผู้นำไฮเทค ในการบริหารองค์กรในยุคเก่าอาจจะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจไอที เเต่ตอนนี้ ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนไป

ในส่วนของโรงเรียน และสถาบันการศึกษา จะนำเอารูปเเบบการศึกษา อาทิ elearning, online blended learning, open courseware มาใช้เเพร่หลายมากขึ้น และบทบาทของครูและนักเรียนจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน ครูจะต้องรู้เทคโนโลยีมากขึ้น เเละนักเรียนจะเข้าเรียนน้อยลง เเต่จะมาทางออนไลน์ หากโครงสร้างไอซีทีสำเร็จจะส่งผลให้นักเรียนนักศึกษาต่างจังหวัดมีโอกาสพัฒนามากขึ้น

นอกจากนี้ โม เดลธุรกิจบางอันอาจจะอยู่ได้ดีมากขึ้น บางอันอาจจะอยู่ไม่ได้เลย และสินค้าที่เคยขายได้ ก็อาจจะขายไม่ได้ เพราะธุรกิจไม่ปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์ ส่วนการขายของเลียนแบบผ่านออนไลน์ จะโดนจับมากขึ้น ซึ่งยังไม่เเน่ใจว่ารัฐบาลจะมีทิศทางอย่างไร เพราะส่วนมากมาจากจีน ซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญของไทย

ในปี 2558 จะมีการเปิดตลาดนัดออนไลน์มากขึ้นกว่าเดิม คล้าย ๆ จตุจักรเเต่จะเป็นจตุจักรดอทคอม จะมีการเเปลงองค์กรบางองค์กรให้กลายเป็นดิจิตอลมากขึ้น ไม่ว่าจะใช้ระบบคลาวด์ อุปกรณ์ที่ทำให้เกิดการทำงานร่วมกัน

ส่งผลให้การขายสินค้า-บริการออนไลน์เพิ่มขึ้น มีการเเข่งขันด้านราคา ทั้งขายส่ง-ขายปลีก บางรายอยู่ได้ และบางรายอยู่ไม่ได้เพราะเกิดจากผลกระทบของดิจิตอล อีโคโนมี จะต้องเน้นเรื่องของบริการมากขึ้น ราคาไม่ได้เป็นปัจจัยกำหนดอย่างเดียว ผู้ที่สร้างความเเตกต่างทางด้านสินค้าบริการถึงจะอยู่ได้จริง

นอกจากนี้ จะมีบริษัทสตาร์ตอัพเกิดมากขึ้น รัฐบาลจะเข้ามามีส่วนผลักดันผู้ประกอบการมากกว่าที่เคยเป็นในประวัติศาสตร์ โดยรัฐอาจจะต้องมีการเปลี่ยนเเปลงกฎหมายการลงทุนในสตาร์ตอัพ หรือ กฎหมายที่จะผลักดันกลุ่มอุตสาหกรรมไฮเทคเพื่อดึงทุนจากต่างประเทศเพื่อเพิ่มจีดีพีประเทศ

“ถือเป็นยุคเริ่มต้นของดิจิตอลที่จะนำการเปลี่ยนเเปลงความโปร่งใสในเรื่องของการตั้งราคา เเละเรื่องของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่ต้องตามมากำกับ หรือเเม้เเต่การจ่ายภาษี ซึ่งหากจ่ายภาษีถูกก็อยู่ได้ หากเเพงมากไปก็ต้องมีการปรับฐานเพื่อสนับสนุนสินค้าออนไลน์ให้มากขึ้น”

อ.อรภัค เล่าว่า ในเเง่ของดิจิตอล เทรนด์ อย่างเฟซบุ๊ก เเละไลน์จะมีการปรับตัว โดยเฟซบุ๊ก จะกลายเป็นสมุดหน้าเหลือง เเละฐานข้อมูลที่ใหญ่ที่สุด บังคับทางอ้อมให้ทุกคนในโลกควรจะต้องมีเเบบอีเมล การใช้อีเมลจะลดลง หันมาใช้เฟซบุ๊ก เเทนอีเมลของ Sezrch Engine

ทั้งนี้ เฟซบุ๊กจะทำหน้าที่หลักของการขับเคลื่อนโดยโซเชียลเน็ตเวิร์กจะเเปลงสมาชิกบนโลกให้เป็นพลเมืองดิจิตอล และมีฟีเจอร์เเปลก ๆ ทำให้ผู้เล่นต้องเข้ามาใช้ และในอนาคตอาจปรับฟีเจอร์โดยการรวมฮิตฟีเจอร์สำคัญในโซเชียลเน็ตเวิร์กอื่น ๆ เข้ามา เพื่อพัฒนาให้ตนเองถือครองอันดับ 1 ตลอดไป

ในขณะที่ไลน์ จะเข้ามาปรับฟีเจอร์กลายเป็นเฟซบุ๊ก เเละ โซเชียล คอมเมิร์ซ เเต่จะออกมาในรูปเเบบใดนั้นยังเดาไม่ได้ การพัฒนาของ facebook จะทำให้เกิด Social Search Engine เเละ Social Tools ต่าง ๆ จะถูกนำมาเเปลงให้เป็นชีวิตดิจิตอลอย่างเเท้จริง

ในความน่ากลัว หรือ ภัยมืดของฐานข้อมูลของเฟซบุ๊กคือ อาชญากรรมข้อมูลออนไลน์ ซึ่งต้องเทรนตำรวจไซเบอร์มากขึ้น อีกทั้งยังรวมไปถึงการค้าบริการทางเพศที่จะมากขึ้นในเเต่ละพื้นที่ในโลก ซึ่งในประเทศไทยควรมีกฎหมาย อาทิ โซเชียลเน็ตเวิร์กหรือกฎหมายอื่น ๆ

ในปี 2558 นี้ น่าจะมีการปรับตัวของทิศทางดิจิตอล อีโคโนมีของทั่วโลก เพราะหลายประเทศเริ่มเเถลงเรื่องดิจิตอล อีโคโนมี ซึ่งความน่ากลัวต่อไปคือเรื่องการเเปล อนาคตโลกทั้งใบจะเป็นโลกาภิวัตน์ ที่ทุกคนสามารถรู้เรื่องประเทศอื่น ๆ ได้ จะมีการเปลี่ยนเเปลงทางวัฒนธรรมของโลกโดยมีเฟซบุ๊กเป็นตัวขับเคลื่อน

“การล่าอาณานิคมทางดิจิตอลจะชัดเจนมากขึ้นต่อไป ประเทศไทยควรวางมาตรการเร่งด่วนทั้งกฎหมาย เเละเเนวทางป้องกัน เรื่องของดิจิตอลในทุกสาขาอาชีพ”

เเม่บทดิจิตอล อีโคโนมีควรเร่งศึกษาเเนวทาง กำหนดบทบาทย่อยของเเต่ละจังหวัด เเต่ละภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เเละ ภาคการศึกษา.

กัญณัฏฐ์ บุตรดี
Kanyanat25@gmail.com


http://www.dailynews.co.th/Content/IT/291791/ดิจิตอลเทรนด์+ปี+2015+ของไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.