Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 มกราคม 2558 TRUE DTAC ออกฤทธิ์เปลื่ยนโทรเป็นวินาที!! DTAC เตรียมปรับคิดนาทีละ 25 สตางค์อาจเพิ่มเป็น 50 สตางค์ TRUEชี้หากมีการคิดราคาเหมือนกันหมดทุกราย

ประเด็นหลัก



    ขณะที่นายนพปฏล เดชอุดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า  ทรูมูฟเป็นผู้ประกอบการรายแรกที่คิดบริการตามจริงแบบวินาที แต่ถ้ามีการปรับเปลี่ยนวิธีคิดค่าบริการตามจริงเป็นวินาทีในบทของหน่วยงานกำกับดูแล จะต้องพิจารณากลไกทางการตลาดเช่นเดียวกัน หากมีการคิดราคาเหมือนกันหมดทุกรายจะเป็นการแข่งขันอย่างเสรีหรือไม่
    "ผมคิดว่าควรจะปล่อยเป็นไปตามกลไกทางด้านการตลาด เพราะในต่างประเทศมีการคิดค่าโทร.ทั้งเป็นรายนาที และวินาที เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างแท้จริง"
    แหล่งข่าวจาก บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เปิดเผยว่า หากมีการพิจารณาปรับลดค่าโทรศัพท์ตามจริงเป็นวินาที ผู้ประกอบการต้องหาวิธีปรับแพ็กเกจเพิ่มขึ้น จากคิดนาทีละ 25 สตางค์อาจเพิ่มเป็น 50 สตางค์ เนื่องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่มีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยลงทุนติดตั้งเครือข่ายปีละ 1 หมื่นล้านบาท

_____________________________________________________















โทร.นาที-วินาทีให้แข่งกันเองค่ายมือถือชี้เลี่ยงออกแพ็กเกจ



ให้แข่งกันเองค่าโทร.นาที-วินาที ค่ายมือถือชี้เลี่ยงออกแพ็กเกจใหม่

   alt ลุ้นสปช.พิจารณาวาระปรับลดอัตราค่าโทรศัพท์ 5 ม.ค.นี้ หลัง "สารี" ยื่นข้อเสนอให้คิดตามจริงเป็นวินาที ขณะที่ "กสทช." ตั้งคณะทำงานพิจารณาในเรื่องนี้แล้ว ค่ายมือถือชี้ปล่อยตามกลไกตลาด เผยราคาต่ำสุดแล้ว หากมีการปรับลดผู้ประกอบการต้องหากลยุทธ์ในการเพิ่มรายได้ ด้านนักวิชาการอิสระขยายประเด็น เรื่องพรีเพดหมดอายุก็ต้องแก้
    ฐากร ตัณฑสิทธิ์ฐากร ตัณฑสิทธิ์นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า  ตามที่สปช.บรรจุวาระพิจารณาเรื่องการคิดค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามจริงเป็นวินาที ในวันที่ 5 มกราคม 2558 ทางกสทช.ได้แต่งตั้งนายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช.สายงานกิจการโทรคมนาคม เป็นประธานคณะทำงานศึกษาแนวทางและการกำหนดอัตราการคิดค่าบริการโทรศัพท์ตามจริงเป็นวินาที ทั้งประเด็นทางด้านเทคนิค ประเด็นด้านกฎหมาย รวมถึงแนวทางการบังคับใช้ และแนวทางการกำกับดูแล
    "เหตุผลที่จัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อจะได้สอดประสาน กับการที่ สปช.บรรจุเป็นวาระการประชุมสปช. ในวันจันทร์ที่ 5 มกราคม 2558 โดยจะดำเนินการเพื่อได้ข้อสรุปในเบื้องต้นโดยเร็ว กสทช. จะทำหน้าที่ในเรื่องนี้เพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่"
    ด้านนายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า  ขณะนี้ กสทช.อยู่ระหว่างการดำเนินการรวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริง จากข้อมูลการใช้งานทั้งในประเทศและต่างประเทศ  เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งฝ่ายผู้บริโภคและผู้ประกอบการ
    อย่างไรก็ตาม อัตราค่าโทร.ในขณะนี้ต่ำสุดอยู่ที่ 84 สตางค์ต่อวินาที ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ไม่สูงมาก หากเปรียบเทียบอัตราค่าบริการก่อนหน้านี้ คือ 12-9-6-3 บาทต่อนาที ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้มีการปรับลดราคาลงมาแล้ว และทำให้อุตสาหกรรมเกิดการแข่งขันอย่างแท้จริง
    ขณะที่นายนพปฏล เดชอุดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า  ทรูมูฟเป็นผู้ประกอบการรายแรกที่คิดบริการตามจริงแบบวินาที แต่ถ้ามีการปรับเปลี่ยนวิธีคิดค่าบริการตามจริงเป็นวินาทีในบทของหน่วยงานกำกับดูแล จะต้องพิจารณากลไกทางการตลาดเช่นเดียวกัน หากมีการคิดราคาเหมือนกันหมดทุกรายจะเป็นการแข่งขันอย่างเสรีหรือไม่
    "ผมคิดว่าควรจะปล่อยเป็นไปตามกลไกทางด้านการตลาด เพราะในต่างประเทศมีการคิดค่าโทร.ทั้งเป็นรายนาที และวินาที เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างแท้จริง"
    แหล่งข่าวจาก บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เปิดเผยว่า หากมีการพิจารณาปรับลดค่าโทรศัพท์ตามจริงเป็นวินาที ผู้ประกอบการต้องหาวิธีปรับแพ็กเกจเพิ่มขึ้น จากคิดนาทีละ 25 สตางค์อาจเพิ่มเป็น 50 สตางค์ เนื่องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่มีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยลงทุนติดตั้งเครือข่ายปีละ 1 หมื่นล้านบาท
    ขณะที่นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา คณะกรรมการ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน กล่าวว่า มีมติเห็นชอบกับร่างประกาศ การกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม โดยจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมกำหนดหลักเกณฑ์ เรื่อง การบังคับให้ผู้ประกอบการกิจการต้องคิดค่าบริการตามจริงเป็นวินาทีเอาไว้ด้วย
    อย่างไรก็ตามการปรับปรุงร่างประการศมาจากการที่ คณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สปช. มีนโยบายให้ กสทช. สั่งผุ้ประกอบกิจการโทรคมนาคมคิดค่าใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็ฯวินาที และ นำเรื่องนี้เป็นวาระเร่งด่วนเข้าที่ประชุมใหญ่ สปช. ในวันที่ 5 มกราคม 2558
    ด้านนายอนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระทางด้านโทรคมนาคม แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่า การนำเสนอในเรื่องนี้มีประโยชน์ เพียงแต่ตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมผู้ที่ยื่นข้อเสนอในครั้งนี้เพิ่งมาดำเนินการ ซึ่งในกสทช.ยังมีอีกหลายเรื่อง ที่น่าจะนำมาพิจารณา เช่น กรณีบัตรเติมเงิน หรือพรีเพดการ์ด ไม่มีวันหมดอายุ เป็นต้น ส่วนเรื่องคิดค่าโทร.เป็นวินาทีเคยทำมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ กสทช.ก็เพิกเฉยไป ทำให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่กลับมาคิดค่าบริการเป็นนาทีจนถึงทุกวันนี้
    อนึ่งนางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เปิดเผยถึงเหตุผล ที่เสนอให้สปช. พิจารณาบรรจุวาระ เรื่องการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในแบบวินาที เนื่องจากกรณีที่มีการร้องเรียน ว่า ผู้ประกอบการคิดค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงเป็นนาที โดยปัดเศษวินาทีต่อการใช้งานโทรศัพท์แต่ละครั้ง เป็นเหตุให้ผู้บริโภคต้องจ่ายค่าบริการเพิ่มมากขึ้นถึง 3,000 ล้านบาทต่อเดือน
    แม้ปัจจุบันคณะกรรการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะยังไม่มีหลักเกณฑ์กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ต้องคิดค่าบริการตามระยะเวลาการใช้งานจริงเป็นวินาที แต่การกระทำดังกล่าวของผู้ประกอบการโทรคมนาคม เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในวงกว้าง ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียง ให้ได้รับความเป็นธรรม คณะกรรมาธิการจึงมีข้อเสนอที่สามารถดำเนินการได้โดยเร็ว ด้วยการแจ้งไปยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อให้แก้ไขปัญหาดังกล่าว
    นอกจากนี้ยังแจ้งไปยัง กสทช. ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 โดยขอให้ กสทช.ใช้อำนาจตามมาตรา 31 วรรคสอง มีคำสั่งห้ามผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคมโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียง คิดค่าบริการโดยปัดเศษวินาทีขึ้นเป็นหนึ่งนาที เนื่องจากเป็นการกระทำที่มีลักษณะเอาเปรียบผู้บริโภคและค้ากำไรเกินควร และเร่งดำเนินการออกประกาศหลักเกณฑ์ ว่าด้วยการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้ บริโภค โดยอาศัยการใช้เครือข่ายหรือการโฆษณา อันมีลักษณะเป็นการค้ากำไรเกินควร หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และขอให้ กสทช.ใช้อำนาจตามมาตรา 27 (9) กำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ คิดค่าบริการตามระยะเวลาที่ใช้งานจริงเป็นวินาที โดยไม่มีการปัดเศษเป็นนาที รวมทั้งให้ กสทช.ใช้อำนาจตามมาตรา 27 (13) ดำเนินการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกรณีดังกล่าว
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 3,015  วันที่  4 - 7 มกราคม  พ.ศ. 2558



http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=260152:2015-01-02-06-29-03&catid=85:2009-02-08-11-22-45&Itemid=417#.VKvPEcZAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.