Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 มกราคม 2558 (เกาะติดประมูล4G) ตัดหน้า กสทช. ชิงจัดประมูล 4G เอง (คณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่มีนายกฯ รับผิดชอบ)

ประเด็นหลัก


       นายวิษณุกล่าวต่อถึงกรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลหลายฉบับ รวมถึงร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) ซึ่งยกเลิกอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ว่า เนื่องจากมีคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมาคือ คณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำให้อำนาจหน้าที่ซ้ำซ้อนกันบางส่วนจึงต้องมีการจัดเสียใหม่ ผู้สื่อข่าวถามว่า เหมือนเป็นการลดอำนาจของ กสทช.หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า กสทช.เกิดจาก พ.ร.บ.กสทช.ส่วนที่เรากำลังจะทำกฎหมายออกมาใหม่เป็นกฎหมายที่มีฐานะเท่ากัน เป็นธรรมดาที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ต่อข้อถามว่า สามารถเปลี่ยนแปลงกรรมการกสทช.ให้หลากหลายได้ด้วยหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ได้ เขาก็เปลี่ยนเรื่ององค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ เรื่องความสัมพันธ์กับรัฐ
   
       เมื่อถามว่า เหตุใดจึงไม่แก้ไขกฎหมายของกสทช. แต่มาออกกฎหมายใหม่ นายวิษณุกล่าวว่า หากแก้ตรงนั้นจะเท่ากับว่ายังไม่ครอบคลุมสิ่งที่เขาต้องการ ซึ่งทำได้ 2 แบบคือ 1. แก้ไขกฎหมาย กสทช. และ 2. ออกกฎหมายใหม่ สุดท้ายเป็นเพียงเทคนิคทางกฎหมายเท่านั้นเอง บังเอิญว่าการออกกฎหมายใหม่ครั้งนี้มีความจำเป็นมากกว่า เพราะต้องสร้างอะไรขึ้นมาใหม่เยอะที่มันแปลกปลอมไปจาก กสทช. ดังนั้นจะไปใส่ในกฎหมาย กสทช.ไม่ได้


_____________________________________________________
















“วิษณุ” ชี้ถอดถอนมีคำตอบชัด ไม่ชัวร์ กม.ทันประมูล 4G แจงลดอำนาจ กทค.-กสท.





รองนายกฯ แจงซ้ำถอดถอนอำนาจ สนช. ชี้ต้องแน่ใจไม่งั้นคงไม่รับเรื่อง เชื่อ มีคำตอบชัดไร้ปัญหา เผย ยกเลิกอำนาจ กทค.-กสท. เหตุผุด คกก.ใหม่มีอำนาจทับซ้อนกัน ชี้สร้างอะไรใหม่แยะจึงต้องออก กม.ใหม่ ไม่แน่ใจ กม.ออกทันประมูล 4G
     
       วันนี้ (7 ม.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการพิจารณาคำร้องถอดถอนของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ทั้ง 2 คดีว่า อยู่ที่ สนช.เองแน่ใจมีอำนาจหรือไม่ ถ้าแน่ใจว่ามีอำนาจก็เลยไปขั้นตอนต่อไปจะถอดถอนหรือไม่ สนช.ต้องดูแลตรงนี้เอง เป็นอำนาจสนช.ประธานสนช.ก็จะคุมการใช้อำนาจตรงนี้ และประธาน สปช.ต้องแน่ใจแล้วที่จะพิจารณาถอดถอน ไม่อย่างนั้นคงไม่รับเรื่องเข้ามา กำหนดวัน กำหนดขั้นตอนไปแล้ว คนอื่นที่อาจไม่เชื่อไม่แน่ใจอาจจะมีได้ เพราะฉะนั้นจะต้องไปหาวิธีให้ได้คำตอบขึ้นมา คิดว่าสุดท้ายคงมีคำตอบชัดเจนได้ ไม่น่ามีปัญหา คงมีคำตอบที่ชัดเจนได้ และมั่นใจว่าเรื่องนี้ไม่ทำให้สังคมกลับมาวุ่นวายใหม่อีก
     
       นายวิษณุกล่าวต่อถึงกรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลหลายฉบับ รวมถึงร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) ซึ่งยกเลิกอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ว่า เนื่องจากมีคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมาคือ คณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำให้อำนาจหน้าที่ซ้ำซ้อนกันบางส่วนจึงต้องมีการจัดเสียใหม่ ผู้สื่อข่าวถามว่า เหมือนเป็นการลดอำนาจของ กสทช.หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า กสทช.เกิดจาก พ.ร.บ.กสทช.ส่วนที่เรากำลังจะทำกฎหมายออกมาใหม่เป็นกฎหมายที่มีฐานะเท่ากัน เป็นธรรมดาที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ต่อข้อถามว่า สามารถเปลี่ยนแปลงกรรมการกสทช.ให้หลากหลายได้ด้วยหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ได้ เขาก็เปลี่ยนเรื่ององค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ เรื่องความสัมพันธ์กับรัฐ
     
       เมื่อถามว่า เหตุใดจึงไม่แก้ไขกฎหมายของกสทช. แต่มาออกกฎหมายใหม่ นายวิษณุกล่าวว่า หากแก้ตรงนั้นจะเท่ากับว่ายังไม่ครอบคลุมสิ่งที่เขาต้องการ ซึ่งทำได้ 2 แบบคือ 1. แก้ไขกฎหมาย กสทช. และ 2. ออกกฎหมายใหม่ สุดท้ายเป็นเพียงเทคนิคทางกฎหมายเท่านั้นเอง บังเอิญว่าการออกกฎหมายใหม่ครั้งนี้มีความจำเป็นมากกว่า เพราะต้องสร้างอะไรขึ้นมาใหม่เยอะที่มันแปลกปลอมไปจาก กสทช. ดังนั้นจะไปใส่ในกฎหมาย กสทช.ไม่ได้
     
       เมื่อถามย้ำว่า คณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มีนายกฯ เป็นประธาน จะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องการประมูลคลื่น 4 จีที่กำลังจะเกิดขึ้นหรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า ตนไม่แน่ว่ากฎหมายจะออกมาทันหรือไม่ แต่หากทันก็เป็นคณะกรรมการชุดนี้
     

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000002096&Keyword=%A1%CA%B7

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.