Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 มกราคม 2558 ครม.ตัดสินใจลดบทบาท กสทช.ป็นผู้จัดสรรให้ใบอนุญาตเฉพาะคลื่นด้านพาณิชย์ โดยใช้การประมูลเท่านั้น // ส่วนคลื่นความมั่นคง บริการสาธารณะอยู่ในความดูแลคณะกรรมการดิจิทัลแห่งชาติ

ประเด็นหลัก


“สถานะของ กสทช. ยังเป็นองค์กรอิสระเหมือนเดิม แต่ต้องทำงานประสานกับคณะกรรมการดิจิทัลแห่งชาติ โดยบอร์ดดิจิทัลจะเป็นผู้กำหนดนโยบายการใช้คลื่นความถี่ของชาติ โดยแยกว่าคลื่นส่วนใดใช้เพื่อความมั่นคง บริการสาธารณะ และด้านพาณิชย์ แต่ให้กสทช. เป็นผู้จัดสรรให้ใบอนุญาตเฉพาะคลื่นด้านพาณิชย์ โดยใช้การประมูล และจะมีสิทธิบริหารเงินงบประมาณเฉพาะเท่าที่กฎหมายใหม่ระบุไว้ เงินที่เหลือต้องส่งเข้ากองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่ ครม. ผ่านร่าง พ.ร.บ. ในการประชุมครั้งนี้ด้วย รวมถึงโอนเงินกองทุน กสทช. เดิม ส่วนใหญ่เข้าไปด้วย”

สำหรับกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจะมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการบริหารกองทุน รวมถึงจะมีคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามประเมินผลการใช้เงิน เป็นหน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้สำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล  โดยมีรูปแบบเดียวกับกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน



_____________________________________________________
















ครม.ไฟเขียวยกเครื่อง “กสทช.”ยุบเหลือบอร์ดเดียว-ลดบทบาทคุมความถี่-ริบเงินเข้ากองทุน"ดิจิทัล"


นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผย“ประชาชาติธุรกิจ”ว่าร่าง
พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ....
ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพิ่งอนุมัติเมื่อวันที่ 6 ม.ค.2558 ที่ผ่านมา จะมีการเปลี่ยนโครงสร้างคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)จากเดิมที่มีคณะกรรมการชุดย่อย 2 ชุด ยกกำกับดูแลกิจการด้านกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์(กสท.) และดูแลกิจการด้านโทรคมนาคม (กทค.) จะเหลือเพียงบอร์ดเดียวในการกำกับกิจการ 2 ด้าน ส่วนจำนวนคณะกรรมการ กสทช. และที่มาของกรรมการยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

“สถานะของ กสทช. ยังเป็นองค์กรอิสระเหมือนเดิม แต่ต้องทำงานประสานกับคณะกรรมการดิจิทัลแห่งชาติ โดยบอร์ดดิจิทัลจะเป็นผู้กำหนดนโยบายการใช้คลื่นความถี่ของชาติ โดยแยกว่าคลื่นส่วนใดใช้เพื่อความมั่นคง บริการสาธารณะ และด้านพาณิชย์ แต่ให้กสทช. เป็นผู้จัดสรรให้ใบอนุญาตเฉพาะคลื่นด้านพาณิชย์ โดยใช้การประมูล และจะมีสิทธิบริหารเงินงบประมาณเฉพาะเท่าที่กฎหมายใหม่ระบุไว้ เงินที่เหลือต้องส่งเข้ากองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่ ครม. ผ่านร่าง พ.ร.บ. ในการประชุมครั้งนี้ด้วย รวมถึงโอนเงินกองทุน กสทช. เดิม ส่วนใหญ่เข้าไปด้วย”

สำหรับกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจะมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการบริหารกองทุน รวมถึงจะมีคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามประเมินผลการใช้เงิน เป็นหน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้สำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล  โดยมีรูปแบบเดียวกับกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)  กล่าวกับ“ประชาชาติธุรกิจ”ว่าจากร่าง พ.ร.บ. ที่ผ่าน ครม. แล้วมีส่วนเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ  การทำแผนแม่บทคลื่นความถี่แห่งชาติ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการดิจิทัลแห่งชาติ  ส่วนแผนแม่บทกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม  แผนการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม ต้องสอดคล้องกับนโยบายของคณะกรรมการดิจิทัลแห่งชาติพร้อมกับกำหนดอย่างชัดเจนว่า การประสานงานระหว่างประเทศไม่อยู่ในอำนาจของ กสทช.

สำหรับเงินกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ที่ กสทช. ดูแลอยู่ จะโอนไปอยู่ภายใต้กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

“จำนวนและที่มาของกรรมการยังเป็น 11 คนเหมือนเดิม แต่เหลือบอร์ดเดียว เรื่องที่กำหนดให้จัดสรรคลื่นด้วยการประมูลรวมถึงวิธีการงบประมาณของ กสทช. ที่มีผู้ท้วงติงมากก็ไม่ได้แก้ไข  เข้าใจว่ายังต้องมีขั้นตอนการพิจารณาของกฤษฎีกาและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่ต้องให้ กสทช. เข้าไปชี้แจง และจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาอีกมาก ในร่าง พ.ร.บ. ที่แก้นี้ไม่ได้มีส่วนไหนที่ทำให้กังวล แต่หลังจากนี้จะพยายามเข้าไปขอให้มีการจัดสรรงบประมาณประจำปีของกสทช. ต้องผ่านสภาฯ เพื่อให้กสทช.ทำงานได้อย่างสบายใจขึ้น”




http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1420548804

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.