Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 มกราคม 2558 (บทความ) สงคราม Digital Economy // สำคัญกว่าในเวลาต่อมา คือ "แปลง" จำนวนลูกค้า ให้กลายเป็น "รายได้" ของบริษัท

ประเด็นหลัก


นอกจากนั้นมีผู้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Digital Economy มากมาย เช่น Xiaomi โทรศัพท์มือถือที่ชิงส่วนแบ่งตลาดได้อย่างรวดเร็วด้วยการขายโทรศัพท์ผ่านออนไลน์ สร้างปรากฏการณ์ขายโทรศัพท์เป็นล้าน ๆ เครื่องหมดภายในไม่กี่ชั่วโมง

และถ้าใครติดตามข่าว ธุรกิจแท็กซี่ที่ไม่คาดคิดว่าจะถูกธุรกิจ e-commerce แย่งส่วนแบ่งตลาดได้อย่างไร ก็ถูก Uber สร้าง Platform การเรียกรถ แก้ปัญหาโลกแตก เช่น แท็กซี่ปฏิเสธผู้โดยสาร รวมถึงผนวกกับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ จนเติบโตอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะมีปัญหาจากข้อกฎหมายในหลาย ๆ ประเทศ แต่ Uber ก็กำลัง Filing เข้าตลาดหุ้นด้วยขนาดบริษัทที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะมากกว่า 40,000 ล้านเหรียญ (บริษัทที่แทบไม่มีสินทรัพย์อะไรเลย แต่มูลค่าใหญ่กว่า ปตท.เสียอีก)

สงครามธุรกิจ e-commerce แข่งขันกันรุนแรงไม่ต่างกับค้าปลีก และผู้เล่นจำเป็นต้องสร้าง eco-System ของตัวเองให้ได้มากที่สุด เช่น eBay ที่ซื้อ paypal เข้ามาจัดการเรื่องการจ่ายรับเงิน Alibaba หรือ Taobao มี Alipay หรือ Tencent มี Tenpay เป็นต้น นี่คงเป็นสาเหตุที่ Apple สร้าง Apple Pay ขึ้นมาเช่นเดียวกัน

นี่คือสงครามย่อยเรื่อง "ระบบการจ่ายเงิน" ซึ่งเป็นหัวใจหนึ่งของการค้าออนไลน์

ส่วนต่อมาคือทำการตลาด สร้างการ "เข้าถึง" ให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เกิด Network Effect การสร้างฐานตลาดถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญและใช้เวลามากที่สุด จำนวนลูกค้าคือปัจจัยแห่งชัยชนะของธุรกิจนี้ ธุรกิจอย่าง Amazon กว่าจะทำกำไรเหรียญแรกได้ ก็จนกระทั่งปี 2003 นั่นคือ 8 ปีที่บริษัทขาดทุนโดยตลอด โมเดลในการ "ดูด" ลูกค้ามีมากมาย ตัวอย่างคือ Affiliate Market เช่น การแบ่งปัน Banner และให้รางวัลกับเจ้าของเว็บที่สามารถส่งต่อลูกค้ามา รวมไปถึงการสร้างสังคมบนร้านออนไลน์ เช่น เว็บบอร์ด แฟนเพจ เป็นต้น

ที่สำคัญกว่าในเวลาต่อมา คือ "แปลง" จำนวนลูกค้า ให้กลายเป็น "รายได้" ของบริษัท ซึ่งบริษัทต่าง ๆ ก็มีกลยุทธ์มากมาย บางบริษัทขายโฆษณา บางบริษัทเพิ่ม SKU จำนวนสินค้าที่ขายให้มากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อลดความเสี่ยง เช่น Am-azon เริ่มจากการขาย "หนังสือ" เพียงอย่างเดียวและขยายมาที่สินค้าอื่น ๆ ด้วยการ "ซื้อ" ธุรกิจอื่น ๆ



_____________________________________________________














สงคราม Digital Economy


คอลัมน์ คิดวิเคราะห์แยกแยะโดย วีระพงษ์ ธัม www.facebook.com/10000Li


ในระหว่างที่ประเทศไทยกำลังตื่นตัวเรื่อง Digital Economy และเริ่มพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไปสู่ 4G ประเทศอื่น ๆ ในโลกก็ล่วงหน้าไปในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลไกลนับสิบ ๆ ปี ยกตัวอย่างเพียงแค่ขนาดของธุรกิจ "dot com" ในโลกอินเทอร์เน็ตอย่าง GOOGLE ก็มีขนาดกว่า 357,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 12 ล้านล้านบาท พอ ๆ กับขนาดบริษัทจดทะเบียนไทยทั้งหมดรวมกัน

Digital Economy เริ่มต้นจากธุรกิจ e-commerce ที่อาศัยวิวัฒนาการอันยาวนานของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่ที่ web browser อย่าง Netscape Navigator ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการในปี 1994 และในปีถัดมา Jeff Bezos ก็สร้างแพลตฟอร์ม Amazon.com ขึ้น และถือเป็น e-commerce แห่งแรกของโลกที่ให้บริการ 24 ชม. ออนไลน์ ในปีเดียวกันเว็บไซต์ประมูลออนไลน์ระดับโลกอย่าง eBay ก็ถือกำเนิดขึ้นโดยไม่ได้นัดหมาย

ในปี 1995 นี่เองที่คำว่า Digital Economy ซึ่งกำลังถูกพูดถึงในประเทศไทย ก็ถือกำเนิดขึ้นในรูปแบบหนังสือที่เป็น Best Seller ยาวนานมากเล่มหนึ่ง นำพามาซึ่งกระแส dotcom และ e-commerce ที่ร้อนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ในตลาดหุ้น Nasdaq และ 5 ปีต่อจากนั้น ด้วยความคิดลักษณะที่ว่า Zero Marginal Cost หรือแนวคิดว่าต้นทุน Digital Economy จะ "คงที่" ยอดขายส่วนเพิ่มคือ "กำไรล้วน ๆ" ทำให้นักลงทุนฝันถึงความหอมหวน และฟองสบู่ลูกแรกของหุ้น dot com ก็ถึงจุดสูงสุดในปี ค.ศ. 2000 และแตกออกอย่างรุนแรง หุ้น Amazon ราคาหล่นจาก 100 กว่าเหรียญจนเหลือ 6 เหรียญ พร้อม ๆ กับหุ้นจำนวนมากที่ล้มหายตายจากไป แต่อย่างไรก็ดีถ้าคุณเลือกหุ้นถูกตัวอย่าง Amazon หรือ Google ในเวลานั้น ผลตอบแทนทบต้นสิบสี่ปีจนถึงทุกวันนี้คือกว่า 30% ทีเดียว เรียกได้ว่าชนะ Peter Lynch หรือ Warren Buffett สบาย ๆ

แต่ระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเทศที่เป็นต้นกำเนิดอย่างสหรัฐอเมริกา คงเริ่มมองตาปริบ ๆ เมื่อเห็นยักษ์ตัวใหม่จากจีน เริ่มมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ ปี 2014 มีบริษัทอย่าง Alibaba.com เข้าตลาดหลักทรัพย์ และส่งให้ Jack Ma เป็นมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของประเทศจีน รวมไปถึงบริษัทอย่าง JD.com ที่สร้างความมั่งคั่งให้ Liu Qiangdong ขึ้นมาติดอันดับ Top10 อันที่จริงธุรกิจ e-commerce จีนถือกำเนิดมายาวนาน และโตอย่างรวดเร็ว แต่เราไม่ได้ยินบ่อยนัก เพราะตัวธุรกิจมีขอบเขตจำกัดพอสมควรในประเทศจีน โดยไม่ได้ทำธุรกิจระหว่างประเทศมากนัก

นอกจากนั้นมีผู้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Digital Economy มากมาย เช่น Xiaomi โทรศัพท์มือถือที่ชิงส่วนแบ่งตลาดได้อย่างรวดเร็วด้วยการขายโทรศัพท์ผ่านออนไลน์ สร้างปรากฏการณ์ขายโทรศัพท์เป็นล้าน ๆ เครื่องหมดภายในไม่กี่ชั่วโมง

และถ้าใครติดตามข่าว ธุรกิจแท็กซี่ที่ไม่คาดคิดว่าจะถูกธุรกิจ e-commerce แย่งส่วนแบ่งตลาดได้อย่างไร ก็ถูก Uber สร้าง Platform การเรียกรถ แก้ปัญหาโลกแตก เช่น แท็กซี่ปฏิเสธผู้โดยสาร รวมถึงผนวกกับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ จนเติบโตอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะมีปัญหาจากข้อกฎหมายในหลาย ๆ ประเทศ แต่ Uber ก็กำลัง Filing เข้าตลาดหุ้นด้วยขนาดบริษัทที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะมากกว่า 40,000 ล้านเหรียญ (บริษัทที่แทบไม่มีสินทรัพย์อะไรเลย แต่มูลค่าใหญ่กว่า ปตท.เสียอีก)

สงครามธุรกิจ e-commerce แข่งขันกันรุนแรงไม่ต่างกับค้าปลีก และผู้เล่นจำเป็นต้องสร้าง eco-System ของตัวเองให้ได้มากที่สุด เช่น eBay ที่ซื้อ paypal เข้ามาจัดการเรื่องการจ่ายรับเงิน Alibaba หรือ Taobao มี Alipay หรือ Tencent มี Tenpay เป็นต้น นี่คงเป็นสาเหตุที่ Apple สร้าง Apple Pay ขึ้นมาเช่นเดียวกัน

นี่คือสงครามย่อยเรื่อง "ระบบการจ่ายเงิน" ซึ่งเป็นหัวใจหนึ่งของการค้าออนไลน์

ส่วนต่อมาคือทำการตลาด สร้างการ "เข้าถึง" ให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เกิด Network Effect การสร้างฐานตลาดถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญและใช้เวลามากที่สุด จำนวนลูกค้าคือปัจจัยแห่งชัยชนะของธุรกิจนี้ ธุรกิจอย่าง Amazon กว่าจะทำกำไรเหรียญแรกได้ ก็จนกระทั่งปี 2003 นั่นคือ 8 ปีที่บริษัทขาดทุนโดยตลอด โมเดลในการ "ดูด" ลูกค้ามีมากมาย ตัวอย่างคือ Affiliate Market เช่น การแบ่งปัน Banner และให้รางวัลกับเจ้าของเว็บที่สามารถส่งต่อลูกค้ามา รวมไปถึงการสร้างสังคมบนร้านออนไลน์ เช่น เว็บบอร์ด แฟนเพจ เป็นต้น

ที่สำคัญกว่าในเวลาต่อมา คือ "แปลง" จำนวนลูกค้า ให้กลายเป็น "รายได้" ของบริษัท ซึ่งบริษัทต่าง ๆ ก็มีกลยุทธ์มากมาย บางบริษัทขายโฆษณา บางบริษัทเพิ่ม SKU จำนวนสินค้าที่ขายให้มากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อลดความเสี่ยง เช่น Am-azon เริ่มจากการขาย "หนังสือ" เพียงอย่างเดียวและขยายมาที่สินค้าอื่น ๆ ด้วยการ "ซื้อ" ธุรกิจอื่น ๆ

JD.com ถ้าดูผิวเผิน คือร้านค้าที่ขายทุกอย่าง แต่ปัจจุบันมียอดขายกระจุกในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์กว่า 80% และกำลังอยากจะเพิ่มการขายสินค้าอื่น ๆ เพื่อลดความเสี่ยง ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะสินค้าออนไลน์จะต้องมี Platform ที่ฉลาด ที่สามารถ "เลือก" สินค้าชิ้นเดียวจากนับล้าน ๆ อย่างให้ตรงใจคนซื้อขึ้นมาที่หน้าจอ

สุดท้ายคือโมเดลธุรกิจ ถ้ามองในแง่การขาย e-commerce อย่าง Alibaba หรือ eBay ก็ทำ Third Party อย่างเดียว นั่นคือเป็นคนกลางขายของคนอื่น ส่วน Amazon ก็ผสมการขายของเก็บสต๊อกเอง หรือเป็น First Party ด้วย ส่วนนี้คือ "ไอเดีย" และ "ยุทธศาสตร์" อย่างแท้จริงบน e-commerce ซึ่งไร้ขีดจำกัด ใครจะไปคิดว่า "ไอเดีย" มีมูลค่าสูงมากใน Digital Economy และนี่คือเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งกำลังจะกลายเป็นมหาสงครามทางธุรกิจในอนาคตครับ



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1421236743

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.