Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 มกราคม 2558 (บทความ) เทียบกรณี "ศก.สร้างสรรค์" แดนกิมจิ บทเรียน "ดิจิทัลอีโคโนมี" เมืองไทย // KASIT ระบุ หัวใจสำคัญที่จะปลูกฝังบรรดาสตาร์ตอัพในเกาหลีคือ "Catch up Technology" เพราะการแข่งขันปัจจุบัน สิ่งที่สำคัญคือ "ถึงคุณไม่ใช่คนแรกที่ทำมัน แต่จะหาวิธีที่จะทำอย่างไรให้วิ่งไล่ตามคนที่เป็นเบอร์หนึ่งทัน"

ประเด็นหลัก



ขณะเดียวกัน KASIT ยังเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการบ่มเพาะผู้ประกอบการหน้าใหม่หรือบรรดาสตาร์ตอัพให้เข้มแข็งเพราะถือเป็นฟันเฟืองสำคัญของ "ครีเอทีฟอีโคโนมี"

หัวใจสำคัญที่จะปลูกฝังบรรดาสตาร์ตอัพในเกาหลีคือ "Catch up Technology" เพราะการแข่งขันปัจจุบัน สิ่งที่สำคัญคือ "ถึงคุณไม่ใช่คนแรกที่ทำมัน แต่จะหาวิธีที่จะทำอย่างไรให้วิ่งไล่ตามคนที่เป็นเบอร์หนึ่งทัน" สิ่งที่เกาหลีต้องทำคือ เมื่อมีเทคโนโลยีล้ำสมัยออกมาอย่างไอโฟน มี 5S ซัมซุงต้องมีรุ่นใหม่ที่ไฮเทคเหมือนกันออกมาให้ได้ภายใน 1 อาทิตย์

นี่คือเทรนด์ปัจจุบันและต้องนำสินค้าออกสู่ตลาดต่างประเทศทันทีเพื่อสร้าง Economy of Scale ให้ได้มากที่สุด



_____________________________________________________














เทียบกรณี "ศก.สร้างสรรค์" แดนกิมจิ บทเรียน "ดิจิทัลอีโคโนมี" เมืองไทย



โหมโรงมาพักใหญ่กับนโยบาย "เศรษฐกิจดิจิทัล" ที่รัฐบาลนี้วาดหวังว่าจะใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโต เพื่อลดช่องว่างและเพิ่มโอกาสให้คนไทย และหนึ่งในประเทศต้นแบบของความสำเร็จนี้คือ ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ และกลุ่มบริษัทสามารถได้นำ 3 ทีมผู้ชนะในโครงการ "เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี" ไปศึกษาดูงานนวัตกรรมใหม่ ๆ ถึงต้นตำรับ

"Lak-Kyoung Song" ศาสตราจารย์ แห่ง Korea Advanced Institute of Science & Technology : KAIST และเป็นผู้อำนวยการ Daejeon Center for Creative Economy & In-novation กล่าวว่า รัฐบาลเกาหลีใต้เริ่มนำนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ตั้งแต่ปี 2493 ซึ่งขณะนั้นเกาหลีกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจ ผลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ตกต่ำมาก ขณะที่ทรัพยากรธรรมชาติก็ไม่ได้มีมาก

"ครีเอทีฟอีโคโนมี" จึงเป็นระบบเศรษฐกิจที่เหมาะที่จะสร้างอำนาจการเติบโตใหม่ ๆ ให้ประเทศด้วยการผสานระหว่างความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์และไอที ทำให้เกิดสิ่งใหม่ที่เพิ่มมูลค่าวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม

แม้ใช้เวลาไม่นานการขับเคลื่อนไปได้อย่างดี เริ่มตั้งแต่การจัดสรรทุนที่ภาครัฐสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ปัจจุบันอยู่ที่ 4.6% ของงบประมาณของรัฐบาล เช่น KASIT ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยติดอันดับ 56 ของโลก จะได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลปีละ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีทุนสนับสนุนจากภาคเอกชนอีก 30 ล้านเหรียญสหรัฐ/ปี ทำให้ย้อนหลังไป 3 ปี KASIT มีงานวิจัยซึ่งส่งผลต่ออุตสาหกรรมถึง 575 ชิ้น

"นวัตกรรมของเกาหลี คือ กลไกการส่งมอบงานวิจัยให้อุตสาหกรรมใช้ เพื่อช่วยตอบโจทย์อุตสาหกรรม"

ไล่ล่าเทคโนโลยี

ขณะเดียวกัน KASIT ยังเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการบ่มเพาะผู้ประกอบการหน้าใหม่หรือบรรดาสตาร์ตอัพให้เข้มแข็งเพราะถือเป็นฟันเฟืองสำคัญของ "ครีเอทีฟอีโคโนมี"

หัวใจสำคัญที่จะปลูกฝังบรรดาสตาร์ตอัพในเกาหลีคือ "Catch up Technology" เพราะการแข่งขันปัจจุบัน สิ่งที่สำคัญคือ "ถึงคุณไม่ใช่คนแรกที่ทำมัน แต่จะหาวิธีที่จะทำอย่างไรให้วิ่งไล่ตามคนที่เป็นเบอร์หนึ่งทัน" สิ่งที่เกาหลีต้องทำคือ เมื่อมีเทคโนโลยีล้ำสมัยออกมาอย่างไอโฟน มี 5S ซัมซุงต้องมีรุ่นใหม่ที่ไฮเทคเหมือนกันออกมาให้ได้ภายใน 1 อาทิตย์

นี่คือเทรนด์ปัจจุบันและต้องนำสินค้าออกสู่ตลาดต่างประเทศทันทีเพื่อสร้าง Economy of Scale ให้ได้มากที่สุด

ซิลิคอนวัลเลย์ไม่ใช่คำตอบ

ศาสตราจารย์ "Lak-Kyoung Song" บอกอีกว่าหลาย ๆ ประเทศ เมื่อประกาศนโยบายนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเศรษฐกิจก็มักเดินหน้าสร้าง "ซิลิคอนวัลเลย์" แต่แนวคิดสำคัญของซิลิคอนวัลเลย์ ไม่ใช่การสร้างอาคารสถานที่ แต่คือการเปิดพื้นที่ให้ได้มีการพูดคุยถกเถียงแลกเปลี่ยนไอเดียกัน ซึ่งขัดกับพื้นฐานวัฒนธรรมของคนเอเชียที่ไม่นิยมถกเถียงแลกเปลี่ยน หากมีไอเดียใหม่ก็มักเก็บไว้กับตนเอง แต่ที่เกาหลีมีแนวคิดตั้งซิลิคอนวัลเลย์ที่เมืองแทกู แต่ใช้คอนเซ็ปต์แค่ส่วนเดียวคือ ตั้งใจดึงบริษัทยักษ์ใหญ่เข้ามาอยู่ในวัลเลย์ โดยให้สิทธิพิเศษ และหวังว่าบรรดาบริษัทเหล่านั้นจะถ่ายโอนงานวิจัยมาให้นักพัฒนาของเกาหลี

ช่วยจริงจังให้ถึงฝั่ง

ภาคเอกชนก็มีบทบาทสำคัญ อาทิ กลุ่ม SK หรือที่คนไทยคุ้นเคยกับชื่อ SK Telecom ค่ายโทรคมนาคมรายใหญ่ ล่าสุดประธานาธิบดีเกาหลีใต้เพิ่งระบุว่า กลุ่ม SK จะใช้งบฯถึง 93 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสนับสนุนนโยบายนี้

จึงได้เห็นกลุ่ม SK เป็นสปอนเซอร์ทั้งงานวิจัยพัฒนาการสร้างพื้นที่อบรมบ่มเพาะผู้ประกอบการ หรือการให้ทุนสร้าง TIDE Institute สตูดิโอขององค์กรพัฒนาเอกชนที่เปิดให้บรรดานักพัฒนาหน้าใหม่เข้ามาใช้พื้นที่และอุปกรณ์ โดยเสียค่าเช่าในราคาถูก เช่น เครื่องพิมพ์สามมิติพร้อมอุปกรณ์สิ้นเปลือง ไม่ว่าจะเป็นแผ่นไม้หรืออะคริลิกที่ใช้ขึ้นรูปชิ้นงาน คิดค่าเช่าใช้อุปกรณ์เพียง 4,000 วอน/ชั่วโมง (110 บาท)

"Lee Myung Su" ผู้ก่อตั้ง "Leemyungsu Design Lab Inc." เจ้าของผลงาน SEIL-bag (Safe Enjoy Interact Light) กระเป๋าเป้สำหรับนักปั่นจักรยานที่แสดงสัญญาณไฟ LED เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน ซึ่งคว้ารางวัลชนะเลิศ Reddot Design Award 2010 และ iF Product Design Award 2013 คือตัวอย่างหนึ่งของการสนับสนุนอย่างจริงจังที่รัฐบาลเกาหลีมีส่วนสำคัญ

โดย "Lee" เล่าว่า เมื่อเขามีไอเดียจะสร้างตัวช่วยให้บรรดานักปั่นจักรยานปลอดภัยบนถนนและเริ่มพัฒนา SEIL-bag ก็ทำเรื่องขอทุนและได้รับเงินสนับสนุนจากภาครัฐมา 15 ล้านบาท ตลอดเวลา 5 ปีที่พัฒนางานและจดสิทธิบัตร จนเป็นสินค้าวางขายในเกาหลี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรปแล้ว โดยเป็นทุนให้เปล่าและนำไปใช้ได้ทั้งในการพัฒนานวัตกรรม และการทำตลาด

ย้อนกลับมาดูไทย

"ศันสนีย์ ฮวบสมบูรณ์" รองผู้อำนวยการฝ่าย ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย ผู้ปลุกปั้นเยาวชนในโครงการเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี กล่าวว่า "ทุนสนับสนุน" คือสิ่งที่แตกกันชัดเจนในการผลักดันผู้ประกอบการหน้าใหม่ด้านเทคโนโลยีของไทยกับเกาหลี

"ถ้าเป็นเด็กไทย แหล่งทุนที่ง่ายที่สุดคือเข้าประกวดชิงรางวัล มีหลายครั้งที่เราเห็นว่าเด็กต้องปรับงานตนเองให้เข้าคอนเซ็ปต์แต่ละโครงการ แม้ตอนนี้เวทีประกวดจะมีเพิ่มขึ้น และเปิดกว้างมากขึ้น แต่ยังไม่ครบวงจรที่จะช่วยให้นักธุรกิจหน้าใหม่เกิดขึ้นจริง เด็ก ๆ ต้องมัวแต่ล่าเงินรางวัล ไม่ได้เริ่มทำธุรกิจจริง ๆ สุดท้ายความมุ่งมั่นในการทำธุรกิจก็จะลดถอยไปเรื่อย ๆ นี่คือสิ่งที่ต้องระวัง"

ขณะที่ผู้ประกอบการหน้าใหม่ในต่างประเทศเน้นหาลูกค้าก่อน ต่อเมื่อต้องไปตลาดต่างประเทศหรือขายงานกับภาครัฐจึงจะไปประกวดเพื่อให้มีรางวัลการันตี วัตถุประสงค์ในการประกวดจึงไม่ได้หวังเงินรางวัล

"กรณี SEIL-bag เห็นได้ชัดว่า รัฐบาลเกาหลีชัดเจนเกี่ยวกับการสนับสนุนนวัตกรรมที่ต่อยอดธุรกิจได้ แต่ฝั่งไทยที่ใกล้เคียงที่สุดคือโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (Industrial Technology As-sistance Program : iTAP) ของ สวทช. หรือสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) NIA แต่ต้องเป็นนวัตกรรมเด่นจริง ๆ และไม่ใช่ได้มาง่าย ๆ"

ไม่แปลกใจที่โครงการเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยีคัดเลือกนักพัฒนาหน้าใหม่ระดับหัวกะทิมา 3 ปีแล้ว แต่มีเพียง 5% เท่านั้นที่ใจสู้ดิ้นรนจนสร้างธุรกิจของตนเองได้สำเร็จ แต่มีน้อยมีมากก็ยังดีกว่าไม่มี


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1421250310

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.