Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 มกราคม 2558 ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ระบุ พ.ร.บ.คอมพ์ร่างใหม่พนักงานอำนาจที่ได้รับการแต่งตั้งปิดได้ทันที!! โดยไม่ต้องขอหมายศาล นับเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน

ประเด็นหลัก



นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษากฎหมายอิสระ กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่...) พ.ศ..... ซึ่งแก้ไข พ.ร.บ.ฉบับเดิม แต่ฐานความผิดที่แก้ไขไม่ตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ม.14 เดิมระบุว่า ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดย (1) ระบุว่านำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

ฉบับแก้ไข ความว่า ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หรือ (4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ กฎหมายใหม่ได้กำหนดอายุเด็กไม่เกิน 18 ปีแทน โดยระบุว่า ผู้ใดจัดทำรูปภาพลามกอนาจารเพื่อวัตถุประสงค์ในการแจกจ่ายผ่านระบบคอมพิวเตอร์, นำเสนอหรือจัดให้มี แจกจ่ายหรือโอนถ่าย จัดหามาให้ ครอบครองรูปภาพลามกอนาจารของบุคคลอายุไม่เกิน 18 ปีต้องระวางโทษจำคุก 6 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

ทั้งนี้ ในกฎหมายอาญาจะไม่มีระบุเช่นนี้

ส่วนการปิดบล็อกเว็บไซต์ กฎหมายเดิมให้กระทำเมื่อผิด พ.ร.บ.คอมพ์ แต่กฎหมายใหม่ให้ทำได้โดยไม่ว่าจะผิดกฎหมายใดก็ตาม ให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งปิดได้เลย






_____________________________________________________














ชี้พ.ร.บ.คอมพ์ร่างใหม่พนักงานอำนาจล้นหวั่นละเมิดสิทธิ


นักกฎหมายชี้ ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่มากเกินหวั่นละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานประชาชน



นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษากฎหมายอิสระ กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่...) พ.ศ..... ซึ่งแก้ไข พ.ร.บ.ฉบับเดิม แต่ฐานความผิดที่แก้ไขไม่ตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ม.14 เดิมระบุว่า ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดย (1) ระบุว่านำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

ฉบับแก้ไข ความว่า ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หรือ (4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ กฎหมายใหม่ได้กำหนดอายุเด็กไม่เกิน 18 ปีแทน โดยระบุว่า ผู้ใดจัดทำรูปภาพลามกอนาจารเพื่อวัตถุประสงค์ในการแจกจ่ายผ่านระบบคอมพิวเตอร์, นำเสนอหรือจัดให้มี แจกจ่ายหรือโอนถ่าย จัดหามาให้ ครอบครองรูปภาพลามกอนาจารของบุคคลอายุไม่เกิน 18 ปีต้องระวางโทษจำคุก 6 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

ทั้งนี้ ในกฎหมายอาญาจะไม่มีระบุเช่นนี้

ส่วนการปิดบล็อกเว็บไซต์ กฎหมายเดิมให้กระทำเมื่อผิด พ.ร.บ.คอมพ์ แต่กฎหมายใหม่ให้ทำได้โดยไม่ว่าจะผิดกฎหมายใดก็ตาม ให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งปิดได้เลย

"เดิมมาตรฐานของพนักงานเจ้าหน้าที่ค่อนข้างต่ำอยู่แล้ว โดยกำหนดให้ผ่านการอบรม 3 เดือน แล้วจึงแต่งตั้ง แต่ปี 2550 รัฐมนตรีได้ช็อตคัท เร่งด่วน อบรม 3 วันแต่งตั้งเลย คนอบรม 3 วัน เทียบกับมาตรฐานต่างประเทศ เช่น กฎหมายต่อต้านก่อการร้าย ต้องระดับผู้อำนวยการเอฟบีไอ หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เซ็น"

เขา กล่าวด้วยว่า สำหรับกฎหมายไทยหากพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการไปแล้ว หากผิดพลาดผู้เสียหายจะฟ้องร้องไม่ได้ เพราะมี พ.ร.บ.รับผิดทางแพ่งของพนักงานเจ้าหน้าที่คุ้มครองอยู่

นอกจากนี้ ยังตั้งข้อสังเกตุถึง ม.18 ที่ของเดิมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดูล็อกไฟล์ได้ โดยต้องขออำนาจศาลก่อน เช่น เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา 26 หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.นี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่

สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคล ใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้

ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.นี้

ขณะที่ พ.ร.บ.ใหม่ อนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการต่างๆ เหล่านี้ได้เลย เป็นการให้อำนาจมากเกินไป โดยไม่ต้องขอหมายศาล นับเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ซึ่งหากอ้างถึงสถานการณ์เร่งด่วน ฉุกเฉินที่ต้องเร่งดำเนินการ ก็มี พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน คำสั่ง คสช. พ.ร.บ.เกี่ยวกับความมั่นคง รองรับอยู่แล้ว

"กรณีนี้ หากมีปัญหาระหว่างกัน ไปแจ้งเจ้าหน้าที่ๆ ก็จะแฮคข้อมูลของอีกฝ่ายได้เลย ไม่ต้องไปขออนุญาตศาล นับว่าเป็นอันตรายมาก การไม่ต้องขอศาล เรื่องอาจเกิดได้ถึงการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ยิ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ แค่อบรม 3 วันแล้วมาทำหน้าที่ เสี่ยงที่จะทำให้ประเทศไปเหมือนจีนที่กรองที่เกตเวย์ได้เลย แต่ประเทศอื่นๆ จะต้องมีผู้บริหารกลั่นกรองก่อน ต้องมีโค้ด ออฟ คอนดักต์ สร้างความรู้ความเข้าใจต่อเจ้าหน้าที่รัฐอย่างดี"




http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20150113/628285/ชี้พ.ร.บ.คอมพ์ร่างใหม่พนักงานอำนาจล้นหวั่นละเมิดสิทธิ.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.