Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 มกราคม 2558 ผลวิจัย Global IT Study อีเอ็มซี เผย การป้องกันข้อมูลในประเทศไทย จากการสำรวจพบว่า 37% ของธุรกิจยังขาดการวางแผนการกู้คืนระบบจากการใช้งานบิ๊กดาต้า โมบายล์ และไฮบริดคลาวด์ และมีเพียง 4% เท่านั้น

ประเด็นหลัก


    สำหรับแนวโน้มการดำเนินธุรกิจต่างๆ เช่น บิ๊กดาต้า โมบายล์ และไฮบริดคลาวด์ ก่อให้เกิดความท้าทายใหม่ๆ ด้านการป้องกันข้อมูลในประเทศไทย   จากการสำรวจพบว่า 37% ของธุรกิจยังขาดการวางแผนการกู้คืนระบบจากการใช้งานบิ๊กดาต้า โมบายล์ และไฮบริดคลาวด์  และมีเพียง 4% เท่านั้นที่มีการวางแผนในเรื่องเหล่านี้  ขณะที่ 69% ของผู้ตอบแบบสอบถามให้น้ำหนักว่า บิ๊กดาต้า โมบายล์และไฮบริดคลาวด์นั้นยากต่อการป้องกัน และ 18% ของข้อมูลพื้นฐานทั้งหมดที่อยู่ในรูปแบบบางรูปแบบของคลาวด์สตอเรจ อาจทำให้เกิดการสูญเสียได้อย่างมาก


_____________________________________________________














องค์กรไทยสูญ 15 พันล.ดอลล์

 ผลวิจัย Global IT Study อีเอ็มซี  เผย  องค์กรธุรกิจในไทยสูญเกือบ 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี จากสาเหตุข้อมูลสูญหายและระบบหยุดทำงานทำธุรกิจขาดความต่อเนื่อง  ระบุองค์กรธุรกิจไทยยังไม่ได้เตรียมพร้อมรับยุคใหม่ของการใช้งานเทคโนโลยี โมบายล์ คลาวด์ และบิ๊กดาต้า
  นฐกร พจนสัจนฐกร พจนสัจ  รายงานข่าวจาก บริษัทอีเอ็มซี คอร์ปอเรชั่น  จำกัด  ได้ระบุถึงผลการศึกษา Global IT Study จาก 24 ประเทศทั่วโลกฉบับใหม่เรื่องการปกป้องข้อมูล ที่ชี้ให้เห็นว่า ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา องค์กรธุรกิจต่างๆ ในประเทศไทยเกิดการสูญเสียทางธุรกิจอันเนื่องมาจากการสูญหายของข้อมูลและระบบล่มสูงถึงเกือบ 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นที่มีอัตราเฉลี่ยการสูญเสียประมาณ 34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และอัตราการสูญเสียข้อมูลทั่วโลกเพิ่มขึ้น 400% ตั้งแต่ปี 2555 และเป็นที่น่าแปลกใจว่า 86% ขององค์กรในไทยยังคงไม่มั่นใจเต็มร้อยว่าจะสามารถกู้คืนระบบหลังจากที่ระบบล่มไป
    โดยผลสำรวจองค์กรธุรกิจในไทย  พบว่า  62% ขององค์กรที่สำรวจ เคยเผชิญกับการสูญหายของข้อมูลหรือระบบหยุดทำงานในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ,โดยเฉลี่ยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา องค์กรต้องเผชิญกับปัญหาระบบล่มคิดเป็นเวลามากกว่า 3 วันทำการปกติ (32 ชั่วโมง) จากการไม่คาดหวังเรื่องระบบล่ม , ผลกระทบในการทำธุรกิจอื่นๆ อันเนื่องมาจากการหยุดชะงักของระบบ ได้แก่ 58% ทำให้การพัฒนาสินค้าและบริการต้องล่าช้าไป และ 47% ทำให้ลูกค้าสูญเสียความเชื่อมั่นและความภักดีในแบรนด์
    สำหรับแนวโน้มการดำเนินธุรกิจต่างๆ เช่น บิ๊กดาต้า โมบายล์ และไฮบริดคลาวด์ ก่อให้เกิดความท้าทายใหม่ๆ ด้านการป้องกันข้อมูลในประเทศไทย   จากการสำรวจพบว่า 37% ของธุรกิจยังขาดการวางแผนการกู้คืนระบบจากการใช้งานบิ๊กดาต้า โมบายล์ และไฮบริดคลาวด์  และมีเพียง 4% เท่านั้นที่มีการวางแผนในเรื่องเหล่านี้  ขณะที่ 69% ของผู้ตอบแบบสอบถามให้น้ำหนักว่า บิ๊กดาต้า โมบายล์และไฮบริดคลาวด์นั้นยากต่อการป้องกัน และ 18% ของข้อมูลพื้นฐานทั้งหมดที่อยู่ในรูปแบบบางรูปแบบของคลาวด์สตอเรจ อาจทำให้เกิดการสูญเสียได้อย่างมาก
    ขณะที่การนำเทคโนโลยีการปกป้องข้อมูลขั้นสูงมาใช้สามารถลดปริมาณระบบหยุดชะงักได้อย่างมีนัย ทำให้หลายๆ บริษัทหันไปใช้บริการจากบริษัทผู้ให้บริการไอทีหลายๆ แห่ง เพื่อให้ช่วยแก้ปัญหาความท้าทายในการปกป้องข้อมูลของพวกเขา  อย่างไรก็ดีวิธีการแบบนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงได้ กล่าวคือ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการในประเทศไทยที่ยังไม่ได้นำกลยุทธ์ "ระบบพร้อมทำงานอย่างต่อเนื่อง" มาใช้ และมีแนวโน้มที่จะประสบความสูญเสียข้อมูลมากถึง 3 เท่าของผู้ที่ใช้กลยุทธ์นี้แล้ว
    โดยนายนฐกร พจนสัจ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท อีเอ็มซี อินฟอร์เมชั่น ซิสเท็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด   กล่าวว่าในขณะที่ธุรกิจยังคงต้องต่อสู้เพื่อปกป้องเวิร์กโหลดปัจจุบันของตน ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการหลายรายในประเทศไทยยังคงเตรียมตัวได้ไม่ดีนักที่จะเผชิญกับความท้าทายในการปกป้องข้อมูลที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการจัดเก็บข้อมูล  องค์กรธุรกิจต่างๆ ในประเทศไทยจะพบว่าการปกป้องข้อมูลของตนเองจะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น  ด้วยการรู้เท่าทันกับเทคโนโลยีการปกป้องข้อมูลที่พัฒนาควบคู่ไปกับความท้าทาย และแอพพลิเคชันใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น  และคิดเชิงกลยุทธ์เกี่ยวกับการปกป้องข้อมูล เพื่อเตรียมตัวเองให้พร้อมมากขึ้นในการรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน และความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ที่อาจส่งผลให้การทำงานหยุดชะงักและสูญเสียข้อมูลที่สำคัญได้"


จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,018  วันที่  15 - 17  มกราคม  พ.ศ. 2558



http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=261309:-15-&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.VLitWMZAeuw


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.