Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 มกราคม 2558 กสทช.สุภิญญา ระบุ หากพ.ร.บ.กสทช. (ฉบับบใหม่) นี้ผ่านแล้วกระบวนการสรรหาชุดใหม่ตามกฎหมายเสร็จสิ้น บอร์ด กสทช.ชุดนี้ก็คงหมดวาระไป คงไม่เร็วนัก

ประเด็นหลัก


    ด้านนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์  กรรมการ กสทช. แสดงความคิดเห็นในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า  รู้แต่ว่าจะมีการยุบ 2 บอร์ด (กสท. และ กทค.) ใน กสทช. ให้เหลือเพียงบอร์ดเดียว และ ดึงอำนาจบางส่วนออกไป  คงต้องขอดูร่างประกาศก่อนแล้วจึงจะให้ความเห็นได้  ถือเป็นครั้งที่ 3 แล้วภายใต้รัฐธรรมนูญผ่านมา  3 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นฯ แต่เป็นฉบับแรกที่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นตัวร่างเลยแม้แต่บรรทัดเดียว คงเพราะอยู่ในฐานะขององค์กรที่ต้องถูกปฏิรูป
    ทั้งนี้หากพ.ร.บ. นี้ผ่านแล้วกระบวนการสรรหาชุดใหม่ตามกฎหมายเสร็จสิ้น บอร์ด กสทช.ชุดนี้ก็คงหมดวาระไป คงไม่เร็วนัก แต่ก็คงไม่นานมากนับถอยหลัง และ คงมีการเปลี่ยนแปลงในระดับสำนักงานด้วย รอดูตัว พ.ร.บ.ก่อน ซึ่งคงมีการถกกันในขั้น สนช. เข้มข้น คงต้องฝากองค์กรสื่อ ช่วยให้ความเห็นเรื่องการหลอมรวมงานสื่อสารมวลชนในบอร์ดชุดเดียวกับด้านโทรคมนาคม และถ้าต้องอยู่ใต้อำนาจยึดโยงกับรัฐบาล ผ่านบอร์ดดิจิตอลอีโคโนมีชุดใหม่ว่าวงการสื่อเห็นเป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,018  วันที่  15 - 17  มกราคม  พ.ศ. 2558


_____________________________________________________














นับถอยหลังทอนอำนาจกสทช.

 บอร์ด "กสทช." เกาะเก้าอี้กันแน่น หลัง "มติ ครม.ประยุทธ์" รวบอำนาจคลื่นความถี่-เงินนำส่งรายได้ค่าใบอนุญาตก่อนหักค่าใช้จ่าย ผ่องถ่ายเข้ากองทุนพัฒนาดิจิทัลและเศรษฐกิจ  ด้าน "พล.อ.ธเรศ ปุณศรี-หมอลี่-สุภิญญา"  เผยต้องรอดูการถกของ สนช. หลังคลอดกฎหมายอย่างเป็นทางการ การันตี 4 จีประมูลแน่     altพล.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" เกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรี( ครม.) เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2558 ที่ผ่านมา ต่อกรณีออกร่างพ.ร.บ. จำนวน 10 ฉบับ โดยมีร่างกฎหมายจำนวน 2  ฉบับที่เกี่ยวข้องกับกสทช. นั้นก็คือร่างพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ….  และร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจาย เสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ให้ยกเลิกคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม และแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ว่า แม้ครม.มีมติปรับปรุงร่างกฎหมายแต่ขั้นตอนหลังจากนี้ต้องส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบให้แล้วเสร็จ เพื่อส่งคืนให้กับครม. และ นำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อออกกฎหมายซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร
 
สำหรับการประมูลคลื่นความถี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์นั้น กสทช. ยังคงดำเนินการประมูลตามกำหนดการ คือ หลังเดือนกรกฎาคม 2558 เนื่องจากรัฐบาลยังไม่มีคำสั่งชะลอการประมูล
 
ขณะที่ นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า  มติครม.เมื่อวันที่ 6 มกราคม ที่ผ่านมานั้น ได้มีการปรับภารกิจของ กสทช.ด้วยกัน 4 ส่วน คือ 1. ยุบคณะอนุกรรมการเหลือชุดเดียว ,2. คือ ยุบคณะอนุกรรมการ กสท. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และ กิจการโทรทัศน์) และ ยุบคณะอนุกรรมการ กทค.(คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ,3. การจัดสรรคลื่นความถี่กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปรับเปลี่ยนวิธีการประมูล เป็นแบบคัดเลือก

4. การจัดตั้งกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  หมายถึงรายได้จากค่าใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมภายหลังหักค่าใช้จ่ายนำส่ง 50% ที่เหลือเข้าส่งแผ่นดิน จากเดิมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช.  หากมีกฎหมายบังคับอย่างจริงจังต้องนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
 
อย่างไรก็ตาม การออกร่างกฎหมายของรัฐบาลในครั้งนี้ บทบาทและหน้าที่ ของ กสทช.ยังคงเหมือนเดิม เพียงแต่รัฐบาลนำโครงสร้างบางส่วนไปบริหารจัดการเอง คือ การจัดตั้งกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ พ.ร.บ.การจัดสรรคลื่นความถี่ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เหตุผลเนื่องจาก รัฐบาลต้องการขับเคลื่อนประเทศไปสู่เศรษฐกิจดิจิตอลตามที่ประกาศนโยบายไว้
 
" การยุบคณะอนุกรรมการทั้ง 2 บอร์ดให้เหลือเพียงบอร์ดเดียวป็นการหลอมหลวมเทคโนโลยีไม่มีการแบ่งแยกอำนาจเพราะอนาคตทุกอย่างต้องหลอมรวมเข้าด้วยกัน เพราะที่ผ่านมาต่างคนต่างทำงาน"
    ด้านนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์  กรรมการ กสทช. แสดงความคิดเห็นในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า  รู้แต่ว่าจะมีการยุบ 2 บอร์ด (กสท. และ กทค.) ใน กสทช. ให้เหลือเพียงบอร์ดเดียว และ ดึงอำนาจบางส่วนออกไป  คงต้องขอดูร่างประกาศก่อนแล้วจึงจะให้ความเห็นได้  ถือเป็นครั้งที่ 3 แล้วภายใต้รัฐธรรมนูญผ่านมา  3 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นฯ แต่เป็นฉบับแรกที่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นตัวร่างเลยแม้แต่บรรทัดเดียว คงเพราะอยู่ในฐานะขององค์กรที่ต้องถูกปฏิรูป
    ทั้งนี้หากพ.ร.บ. นี้ผ่านแล้วกระบวนการสรรหาชุดใหม่ตามกฎหมายเสร็จสิ้น บอร์ด กสทช.ชุดนี้ก็คงหมดวาระไป คงไม่เร็วนัก แต่ก็คงไม่นานมากนับถอยหลัง และ คงมีการเปลี่ยนแปลงในระดับสำนักงานด้วย รอดูตัว พ.ร.บ.ก่อน ซึ่งคงมีการถกกันในขั้น สนช. เข้มข้น คงต้องฝากองค์กรสื่อ ช่วยให้ความเห็นเรื่องการหลอมรวมงานสื่อสารมวลชนในบอร์ดชุดเดียวกับด้านโทรคมนาคม และถ้าต้องอยู่ใต้อำนาจยึดโยงกับรัฐบาล ผ่านบอร์ดดิจิตอลอีโคโนมีชุดใหม่ว่าวงการสื่อเห็นเป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,018  วันที่  15 - 17  มกราคม  พ.ศ. 2558



http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=261312:2015-01-13-00-28-50&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.VLitVsZAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.