Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 มกราคม 2558 Microsoft ไทย.สมศักดิ์ เปิดโครงการ สานต่อครูไทยหัวใจไอที คัดเหลือ100 คน มาพรีเซนต์ผลงาน และเป็น 1 ใน 10 ในการนำเสนอผลงานทางวิชาการ Microsoft Innovative Educator (MIE) Expert

ประเด็นหลัก



  นายสมศักดิ์ มุกดาวรรณกร (ซ้าย) ผู้อำนวยการฝ่ายภาครัฐและการศึกษา บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย)จำกัด กล่าวว่า ไมโครซอฟท์ยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเทคโนโลยีเริ่มมีราคาถูกลง ปัจจุบันสามารถหาแท็บเล็ตวินโดวส์ ราคา 3,000-4,000 บาท ในท้องตลาดได้แล้ว ทำให้ถูกนำไปใช้งานในภาคการศึกษามากขึ้น ทำให้ไมโครซอฟท์เริ่มการผลักดันแนวคิดแบบองค์รวมในการปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษ ที่ 21ขึ้น หรือที่รู้จักกันในมุมของ ดิจิตอล เลิร์นนิ่ง (Digital Learning) ซึ่งประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบสำคัญคือ 1. ความพร้อมของบุคลากรครู 2. เนื้อหาการเรียนการสอนแบบดิจิตอล 3. ซอฟต์แวร์และบริการคลาวด์ และ 4. ดีไวซ์ที่นำมาใช้ในห้องเรียน
     
       ที่สำคัญคือองค์ประกอบทั้ง 4 ต้องอยู่บนแนวคิดพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร และความเข้าใจเทคโนโลยี ทำให้ตัวแปรที่สำคัญที่สุดหนีไม่พ้นบุคลากรอย่างครูที่จะเข้าไปช่วยให้ความรู้แก่นักเรียนทั่วประเทศ
   


     
       โดยการคัดเลือกตัวแทนในประเทศไทยเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปีที่ผ่านมาจากครูผู้สมัครเข้าร่วมกว่า 600 คนในการนำเสนอผลงานทางวิชาการ Microsoft Innovative Educator (MIE) Expert ของประเทศไทยที่คัดเหลือ100 คน มาพรีเซนต์ผลงาน และเป็น 1 ใน 10 ครูผู้ชนะเลิศในปีนี้ ซึ่งได้รับพระราชทานถ้วยรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
     
       โครงการดังกล่าวจัดขึ้นมาต่อเนื่องกว่า 10 ปีแล้ว โดยเน้นการฝึกอบรมทักษะเทคโนโลยีให้กับครูทั่วประเทศ ซึ่งที่ผ่านมามีครูกว่า 550,000 คน ได้รับการอบรมผ่านโครงการ และคาดว่าจะเพิ่มจำนวนครูเข้าอบรมเพิ่มมากขึ้น 10% อย่างต่อเนื่องในแต่ละปี
   





_____________________________________________________


















ไมโครซอฟท์ ร่วมปั้นครูไทยสู่ศตวรรษที่ 21



ไมโครซอฟท์ สานต่อครูไทยหัวใจไอที หลังคัดเลือกตัวแทนครูจากไทย เข้าสู่การประกวดในเวทีระดับโลก Microsoft Global Educator Exchange (E2) ภายใต้แนวคิดแบบองค์รวมในการปฏิรูปการศึกษาเพื่อก้าวสู่ศตวรรษที่ 21
     
       นายสมศักดิ์ มุกดาวรรณกร (ซ้าย) ผู้อำนวยการฝ่ายภาครัฐและการศึกษา บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย)จำกัด กล่าวว่า ไมโครซอฟท์ยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเทคโนโลยีเริ่มมีราคาถูกลง ปัจจุบันสามารถหาแท็บเล็ตวินโดวส์ ราคา 3,000-4,000 บาท ในท้องตลาดได้แล้ว ทำให้ถูกนำไปใช้งานในภาคการศึกษามากขึ้น ทำให้ไมโครซอฟท์เริ่มการผลักดันแนวคิดแบบองค์รวมในการปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษ ที่ 21ขึ้น หรือที่รู้จักกันในมุมของ ดิจิตอล เลิร์นนิ่ง (Digital Learning) ซึ่งประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบสำคัญคือ 1. ความพร้อมของบุคลากรครู 2. เนื้อหาการเรียนการสอนแบบดิจิตอล 3. ซอฟต์แวร์และบริการคลาวด์ และ 4. ดีไวซ์ที่นำมาใช้ในห้องเรียน
     
       ที่สำคัญคือองค์ประกอบทั้ง 4 ต้องอยู่บนแนวคิดพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร และความเข้าใจเทคโนโลยี ทำให้ตัวแปรที่สำคัญที่สุดหนีไม่พ้นบุคลากรอย่างครูที่จะเข้าไปช่วยให้ความรู้แก่นักเรียนทั่วประเทศ
     
       นายสุพจน์ ศรีนุตพงษ์ (ขวา) ผู้อำนวยการโครงการภาครัฐ ไมโครซอฟท์ กล่าวเสริมถึงโครงการE2ว่า เป็นเวทีการศึกษาระดับโลกที่ไมโครซอฟท์ จะจัดขึ้นที่เมืองเรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเทศไทยได้มีการคัดเลือกครูที่จะเข้าร่วมจากผู้สมัครทั้งหมด 22,000 คนจากทั่วโลก เป็น 1 ใน 300 คนที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้
     
       โดยการคัดเลือกตัวแทนในประเทศไทยเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปีที่ผ่านมาจากครูผู้สมัครเข้าร่วมกว่า 600 คนในการนำเสนอผลงานทางวิชาการ Microsoft Innovative Educator (MIE) Expert ของประเทศไทยที่คัดเหลือ100 คน มาพรีเซนต์ผลงาน และเป็น 1 ใน 10 ครูผู้ชนะเลิศในปีนี้ ซึ่งได้รับพระราชทานถ้วยรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
     
       โครงการดังกล่าวจัดขึ้นมาต่อเนื่องกว่า 10 ปีแล้ว โดยเน้นการฝึกอบรมทักษะเทคโนโลยีให้กับครูทั่วประเทศ ซึ่งที่ผ่านมามีครูกว่า 550,000 คน ได้รับการอบรมผ่านโครงการ และคาดว่าจะเพิ่มจำนวนครูเข้าอบรมเพิ่มมากขึ้น 10% อย่างต่อเนื่องในแต่ละปี
     
       'ในช่วงแรกของโครงการจากพื้นฐานครูส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ ทำให้ค่อนข้างยึดติดกับรูปแบบการสอนแบบเดิม ทำให้ในช่วงแรกจะมีอุปสรรคในการฝึกอบรมบ้าง แต่เมื่อมีครูรุ่นใหม่เข้ามาก็จะเกิดการนำเทคโนโลยีมาเปลี่ยนแปลงค่อนข้างสูง ทำให้ในปัจจุบันเมื่อมีครูที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่เปิดใจรับไอทีมากขึ้น ทำให้ได้ผลตอบรับที่ดีขึ้น เพราะเน้นที่การสอนให้นำไอทีไปประยุกต์ใช้มากกว่า'
     
       นายเชาวน์ สุวรรณชล ครูวิทยาศาตร์ โรงเรียน กัลยาณีศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ได้รับคัดเลือกจากทางไมโครซอฟท์ ให้เข้าเวทีระดับโลก E2 ให้ข้อมูลว่า การได้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมต่างๆของไมโครซอฟท์ รวมไปถึงการเข้าประกวดในประเทศ และได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทน ไม่ใช่แค่ได้ความรู้เพียงอย่างเดียว แต่ยังได้ให้เห็นแนวทางที่ชัดเจนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษา
     
       'การศึกษายุคใหม่ไม่ใช่เป็นการสอนเพื่อให้ความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการผสมผสานการทำงานระหว่างรูปแบบเดิม และนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อเก็บประสบการณ์ใช้งานจากเด็กมาประมวลผล และค่อยๆนำไปใช้ให้เด็กมีความรู้สึกว่าเทคโนโลยี ไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินไป'
     
       สำหรับ เทคโนโลยีที่น่าสนใจของไมโครซอฟท์ ในการประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน นอกจากตัวโปรแกรม Microsoft Office 365 ที่ไมโครซอฟท์ ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้นักเรียน 8 ล้านคน และบุคลากรอีก 4 แสนคนได้ใช้งาน Office 365 Education ฟรีแล้วยังมีโปรแกรมอื่นๆที่น่าสนใจอีก
     
       ยกตัวอย่างเช่น Sway เว็บแอปพลิเคชันใหม่ล่าสุดในตระกูลออฟฟิศ ที่จะเป็นเครื่องมือในการสร้างพรีเซนเทชันออนไลน์ เพื่อแสดงผลบนหน้าเว็บไซต์ได้ทันทีOffice Mix ที่จะทำงานคล้ายๆกับ Powerpoint แต่ผู้สร้างสามารถใส่รูปแบบการถาม-ตอบ ปัญหาลงไปด้วย และนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผล
     
       รวมไปถึงแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเกมภายใต้ชุดคำสั่งอย่างง่ายใน Kudo หรือ Project Spark ที่นำรูปแบบของเกม 3 มิติ มาประยุกต์ เพื่อจูงใจให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้ และอยากสร้างโปรแกรมต่อไปในอนาคต
http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000007129

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.