Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

26 มกราคม 2558 รองนายกรัฐมนตรี.สิทธิชัย ระบุ มีการตั้งทีมพิเศษเพื่อทำร่างกฎหมาย Digital Economy ใหม่อีกครั้ง เพราะ พ.ร.บ.ดังกล่าวกลับร่างเพื่อให้รัฐบาลเป็นผู้ควบคุม เอกชนที่ไหนจะกล้าดำเนินการ

ประเด็นหลัก


    นายสิทธิชัย โภไคยอุดม ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวถึงกระแสการต่อต้านร่าง พ.ร.บ.ที่จะขับเคลื่อนนโยบาย Digital Economy ว่า ตนเองก็เพิ่งเห็นรายละเอียดของร่าง พ.ร.บ.หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติผ่านไปแล้ว ทำให้ถึงกับตกใจกันทุกคน และก็เห็นด้วยกับความคิดเห็นต่อต้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดสิทธิ์ การหมกเม็ดเพื่อสร้างอำนาจให้กับรัฐบาล ซึ่งตนมีความเห็นว่านโยบาย Digital Economy จะสำเร็จได้ต้องดำเนินการโดยเอกชน รัฐมีหน้าที่เพียงการส่งเสริมเท่านั้น
     
       แต่ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวกลับร่างเพื่อให้รัฐบาลเป็นผู้ควบคุม อย่างนี้แล้วเอกชนที่ไหนจะกล้าดำเนินการ ท้ายสุดนโยบาย Digital Economy ก็ไม่สำเร็จ กล่าวได้ว่าร่าง พ.ร.บ.ที่ผ่าน ครม.ทั้งหมดนั้นไม่ได้มีอะไรที่เขียนแล้วส่งเสริมให้เกิด Digital Economy เลย
     
       ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวจึงได้มีการตั้งทีมพิเศษเพื่อทำร่างกฎหมายใหม่ เพื่อไม่ให้กฎหมายที่ออกมาเป็นประเด็นว่าทำเพื่อรัฐบาล ซึ่งเรื่องนี้ทั้งนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ต่างเป็นกังวล เพราะรัฐบาลไม่ต้องการกฎหมายเผด็จการ รัฐบาลนี้ไม่ได้อยู่ค้ำฟ้า ดังนั้นกฎหมายที่ออกมาต้องเป็นธรรม เป็นประชาธิปไตย และมีความเป็นสากล
     
       ดังนั้น การพิจารณากฎหมายจะพิจารณาเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย Digital Economy อย่างแท้จริง ซึ่งในเบื้องต้นมี 2 ร่าง พ.ร.บ.ที่ต้องดำเนินการก่อนคือ ร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อตั้งคณะกรรมการมาขับเคลื่อนนโยบาย และร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อนำเงินจากกองทุนมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่กำลังมีปัญหามากที่สุดขณะนี้ จะเป็นร่าง พ.ร.บ.ฉบับสุดท้ายที่จะพิจารณา เพราะไม่มีความจำเป็นต่อการขับเคลื่อน Digital Economy เลย
     
       'ส่วนประเด็นที่ว่าใครเป็นคนร่างกฎหมายผมไม่ทราบ แต่เรื่องนี้เป็นสิ่งที่รองนายกฯ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กังวลมาก คณะกรรมการและวิญญูชนทุกคนก็ต่างตกใจ ดังนั้นเราต้องแก้ให้เป็นธรรมมากที่สุด ขอให้เอ็นจีโอที่คัดค้านทั้งหลายใจเย็นๆ'
   







_____________________________________________________
















ตั้งทีมพิเศษยกร่าง กม. Digital Economy ใหม่


นายสิทธิชัย โภไคยอุดม ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)

        'สิทธิชัย' เผย 'หม่อมอุ๋ย' กังวลร่าง พ.ร.บ.ขับเคลื่อนนโยบาย Digital Economy มาก พร้อมตั้งทีมพิเศษเพื่อแก้ไขกฎหมายทั้งหมดแล้ว ยอมรับเพิ่งเห็นเนื้อกฎหมายหลังผ่าน ครม.ระบุเห็นด้วยกับนักต่อต้านทั้งหลายที่เห็นว่ากฎหมายเอื้ออำนาจรัฐ ไม่ได้ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจตามที่ตั้งใจ
     
       นายสิทธิชัย โภไคยอุดม ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวถึงกระแสการต่อต้านร่าง พ.ร.บ.ที่จะขับเคลื่อนนโยบาย Digital Economy ว่า ตนเองก็เพิ่งเห็นรายละเอียดของร่าง พ.ร.บ.หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติผ่านไปแล้ว ทำให้ถึงกับตกใจกันทุกคน และก็เห็นด้วยกับความคิดเห็นต่อต้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดสิทธิ์ การหมกเม็ดเพื่อสร้างอำนาจให้กับรัฐบาล ซึ่งตนมีความเห็นว่านโยบาย Digital Economy จะสำเร็จได้ต้องดำเนินการโดยเอกชน รัฐมีหน้าที่เพียงการส่งเสริมเท่านั้น
     
       แต่ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวกลับร่างเพื่อให้รัฐบาลเป็นผู้ควบคุม อย่างนี้แล้วเอกชนที่ไหนจะกล้าดำเนินการ ท้ายสุดนโยบาย Digital Economy ก็ไม่สำเร็จ กล่าวได้ว่าร่าง พ.ร.บ.ที่ผ่าน ครม.ทั้งหมดนั้นไม่ได้มีอะไรที่เขียนแล้วส่งเสริมให้เกิด Digital Economy เลย
     
       ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวจึงได้มีการตั้งทีมพิเศษเพื่อทำร่างกฎหมายใหม่ เพื่อไม่ให้กฎหมายที่ออกมาเป็นประเด็นว่าทำเพื่อรัฐบาล ซึ่งเรื่องนี้ทั้งนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ต่างเป็นกังวล เพราะรัฐบาลไม่ต้องการกฎหมายเผด็จการ รัฐบาลนี้ไม่ได้อยู่ค้ำฟ้า ดังนั้นกฎหมายที่ออกมาต้องเป็นธรรม เป็นประชาธิปไตย และมีความเป็นสากล
     
       ดังนั้น การพิจารณากฎหมายจะพิจารณาเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย Digital Economy อย่างแท้จริง ซึ่งในเบื้องต้นมี 2 ร่าง พ.ร.บ.ที่ต้องดำเนินการก่อนคือ ร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อตั้งคณะกรรมการมาขับเคลื่อนนโยบาย และร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อนำเงินจากกองทุนมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่กำลังมีปัญหามากที่สุดขณะนี้ จะเป็นร่าง พ.ร.บ.ฉบับสุดท้ายที่จะพิจารณา เพราะไม่มีความจำเป็นต่อการขับเคลื่อน Digital Economy เลย
     
       'ส่วนประเด็นที่ว่าใครเป็นคนร่างกฎหมายผมไม่ทราบ แต่เรื่องนี้เป็นสิ่งที่รองนายกฯ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กังวลมาก คณะกรรมการและวิญญูชนทุกคนก็ต่างตกใจ ดังนั้นเราต้องแก้ให้เป็นธรรมมากที่สุด ขอให้เอ็นจีโอที่คัดค้านทั้งหลายใจเย็นๆ'
     
       ก่อนหน้านี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมาอนุมัติหลักการร่างกฎหมายใหม่ที่เกี่ยวข้องต่ออุตสาหกรรมไอทีและอินเทอร์เน็ต จำนวน 10 ฉบับ ภายใต้แนวคิดการส่งเสริม Digital Economy ของประเทศไทย ได้แก่ 1. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 2. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 3. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 4. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 5. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล 6. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 7. ร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม 8. ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 9. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ 10. ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เพื่อกำหนดให้มีกระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
     
       ภายหลังอนุมัติได้มีหลายหน่วยงานออกมาคัดค้าน ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายพลเมืองเน็ตมองว่ากฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายเพื่อความมั่นคงมากกว่า ทั้งเรื่องการคืนคลื่นความถี่ให้รัฐบาล การเข้าถึงข้อมูลประชาชน การดักฟังข้อมูล โดยอ้างว่าทำเพื่อความมั่นคงของประเทศ สอดคล้องกับความกังวลของกลุ่มนักกฎหมายว่าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมีเนื้อหาเกี่ยวกับความมั่นคงมากเกินไป อันจะเป็นผลเสียมากกว่าการพัฒนาเศรษฐกิจตามนโยบาย Digital Economy ขณะที่ยังได้ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงทางไซเบอร์ฯ เขียนเพื่อจัดตั้งองค์กรทำหน้าที่ป้องกันอาชญากรรมทางไซเบอร์ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบในวงกว้าง และในเนื้อหาบางมาตราก็ยังมีการใช้คำว่า ไปรษณีย์ และ โทรเลข ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับโลกไซเบอร์ และเป็นการสื่อสารยุคเก่าที่ไม่มีแล้ว จึงตั้งข้อสังเกตว่าเกิดจากความเร่งรีบในการแก้กฎหมายจนเกินไปหรือไม่
     
       ล่าสุดสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ออกจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง แสดงความห่วงใยร่างกฎหมายดิจิตอล 10 ฉบับ ว่าจะละเมิดสิทธิประชาชน จำกัดสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นผ่านอินเทอร์เน็ต ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ไร้ขอบเขต หมกเม็ดบางหน่วยงานรัฐไร้การตรวจสอบ มีลักษณะควบคุมมากกว่าส่งเสริม จึงขอให้ชะลอการพิจารณา และเปิดรับฟังความเห็นทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางก่อน
     
       ขณะที่ ร.ท.เจษฎา ศิวรักษ์ เลขานุการรองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงทางไซเบอร์ฯ ว่า ขอให้คนไทยอย่าได้กลัวรัฐบาลไทยตรวจสอบกันเองเลย เพราะที่คนไทยใช้เฟซบุ๊กอยู่ทุกวันนี้หน่วยงานภาครัฐของสหรัฐอเมริกาเขาก็สามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ได้อยู่แล้ว เพราะในต่างประเทศหลายประเทศเขาก็เขียนกฎหมายให้รัฐเข้าไปดูข้อมูลได้ทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยและมั่นคงของประเทศ


http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000008909

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.