Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 มกราคม 2558 คนร.ไฟเขียวโครงสร้างปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ "การปรับปรุงบัญชีโครงสร้างอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ" ซึ่ง คนร.ได้เห็นชอบ รัฐวิสาหกิจปรับเงินขั้นต่ำจาก 5,710 บาท มาอยู่ที่ 9,040 บาทต่อเดือน


ประเด็นหลัก

เรื่องสุดท้าย "การปรับปรุงบัญชีโครงสร้างอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ" ซึ่ง คนร.ได้เห็นชอบในหลักการให้มีการปรับปรุงอัตราค่าจ้างตามบัญชีโครงสร้างอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจเนื่องจากเป็นการปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันรวมถึงเป็นการสร้างแรงจูงใจในการทำงานของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ โดยลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจปรับเงินขั้นต่ำจาก 5,710 บาท มาอยู่ที่ 9,040 บาทต่อเดือน

ทั้งนี้ สำหรับกรณีรัฐวิสาหกิจจะขยายเพดานอัตราค่าจ้างขั้นสูงขึ้นไปสูงกว่าอัตราขั้นสูงที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันจะต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเป็นรายกรณีไปรวมทั้งการขยายเพดานอัตราค่าจ้างขั้นสูงจะต้องสอดคล้องกับขนาดภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบของรัฐวิสาหกิจที่มีความแตกต่างกันตามความเหมาะสม ตลอดจนความสามารถในการรองรับภาระค่าใช้จ่ายบุคลากรที่เพิ่มขึ้นของรัฐวิสาหกิจด้วย




_____________________________________________________














ไฟเขียวโครงสร้างปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ศึกษารูปแบบกำกับดูแลใหม่-เห็นชอบปรับอัตราค่าจ้าง



คนร.ไฟเขียวโครงสร้างปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ให้ศึกษารูปแบบกำกับดูแลใหม่ พร้อมรับทราบแผนฟื้นฟู รฟท.-ขสมก. รวมถึงเห็นชอบหลักการปรับปรุงอัตราค่าจ้างตามบัญชีโครงสร้างอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ

รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง แจ้งว่า วันนี้ (26 ม.ค.) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ครั้งที่ 3/2558 โดยมีนายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เป็นเลขานุการ คนร. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล

ทั้งนี้ คนร.ได้พิจารณาเรื่องที่สำคัญหลายเรื่อง ได้แก่ เรื่องแรก "การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ" ซึ่ง คนร.ได้เห็นชอบกรอบและโครงสร้างการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจที่ประกอบด้วย บทบาทของรัฐวิสาหกิจต่อทิศทางการพัฒนาประเทศและทิศทางการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยให้กำหนดบทบาทที่คาดหวังและภารกิจของรัฐวิสาหกิจในแต่ละอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน มีแนวทางการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินร่วมกันของรัฐวิสาหกิจ

โดยให้นำหลักการ 5 ข้อ มาพิจารณาการกำหนดบทบาทที่คาดหวัง ได้แก่ 1) การแยกบทบาทการกำกับดูแล (Regulator) ออกจากรัฐวิสาหกิจ 2) การเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาร่วมเป็นผู้ประกอบการเพื่อส่งเสริมการแข่งขัน 3) การบูรณาการระหว่างแผนงานโครงการก่อสร้าง 4) การพิจารณาวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์ที่ควรให้รัฐวิสาหกิจดำเนินการ และ 5) การนำทรัพย์สินที่มีอยู่มาบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้ง มีแนวทางการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ การประเมินผลและการให้ผลตอบแทนที่จูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ระบบบรรษัทภิบาลของรัฐวิสาหกิจให้มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ เป็นต้น


เรื่องที่สอง "รูปแบบการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจภาพรวมของประเทศ" ซึ่ง คนร.ได้เห็นชอบในหลักการให้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่เจ้าของรัฐวิสาหกิจแบบรวมศูนย์ โดยมอบหมายให้คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบกำกับดูแลและระบบบรรษัทภิบาลของรัฐวิสาหกิจ ศึกษาในรายละเอียดว่าจะเป็นหน่วยงานในรูปแบบใด ซึ่งจะต้องมีการกำหนดความชัดเจนของหน้าที่ระหว่างหน่วยงานเจ้าของดังกล่าวและกระทรวงเจ้าสังกัด และนำเสนอ คนร.ในการประชุมคราวต่อไปในเดือนหน้า


เรื่องที่สาม "การแก้ไขปัญหาการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)" โดยกรณี รฟท. คนร.ได้รับทราบผลการพิจารณาแผนการแก้ไขปัญหาของ รฟท.ของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ และมีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของ คนร.ร่วมในการแก้ไขปัญหาของ รฟท. ประกอบด้วย 1.มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเร่งสร้างความชัดเจนระหว่างบทบาทของกรมรางและ รฟท. ในการก่อสร้างและบำรุงรักษาทางรถไฟ

2.มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมจัดทำแนวทางการให้เอกชนมาร่วมในการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงและรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ(AirportRailLink) และ 3.มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมหารือร่วมกับกระทรวงการคลังในการโอนสิทธิ์ในการใช้ที่ดินของ รฟท. เพื่อให้กระทรวงการคลังรับภาระหนี้สิน (ประมาณ 80,000 ล้านบาท) และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารจัดการ

ส่วนกรณี ขสมก. นั้น คนร.ได้รับทราบผลการพิจารณาแผนการแก้ไขปัญหาของ ขสมก.ของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ และมีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของ คนร. ร่วมในการแก้ไขปัญหาของ ขสมก. ประกอบด้วย 1.ให้ ขสมก. ดำเนินการในฐานะผู้ประกอบการเท่านั้น และให้กรมการขนส่งทางบกทำหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแล (Regulator) ผู้ให้บริการรถโดยสารสาธารณะแทน

2.ให้กระทรวงคมนาคมเร่งสร้างความชัดเจนของเส้นทางการเดินรถและการจัดสรรเส้นทางระหว่างขสมก.และรถเอกชน และจัดซื้อรถให้สอดคล้องต่อไป และ 3.เมื่อมีความชัดเจนในเรื่องของเส้นทางเดินรถของ ขสมก. ให้กระทรวงการคลังพิจารณาในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของ ขสมก. และ


เรื่องที่สี่ "แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 – 2565 และแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2558 (Action Plan)" โดย คนร.ได้เห็นชอบในหลักการแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 – 2565 และแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2558 (Action Plan) เพื่อใช้เป็นกรอบทิศทางในการพัฒนาภาคคมนาคมขนส่งของประเทศ และเป็นแนวทางเร่งรัดติดตามการดำเนินงานด้านขนส่งเพื่อให้สามารถเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งในรูปแบบต่างๆและบูรณาการการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ให้กระทรวงคมนาคมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพิจารณารูปแบบแหล่งเงินทุนทางเลือกที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงภาระเงินงบประมาณและหนี้สาธารณะของประเทศด้วยโดยการให้หน่วยงานที่มีศักยภาพพิจารณาจัดหาแหล่งเงินทุนในลักษณะSelfFinancing เช่น การจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) เป็นต้น


เรื่องที่ห้า "โครงการขยายเขตระบบไฟฟ้าให้ครัวเรือนที่ห่างไกลของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)" ซึ่ง คนร.ได้เห็นชอบในหลักการให้ กฟภ. ดำเนินโครงการขยายเขตระบบไฟฟ้าให้ครัวเรือนที่ห่างไกล วงเงินลงทุนทั้งสิ้น 1,215 ล้านบาท โดยใช้เงินกู้ในประเทศจำนวน 910 ล้านบาท และเงินรายได้ของ กฟภ. จำนวน 305 ล้านบาท โดยให้ กฟภ. ทยอยกู้เงินตามความจำเป็น เพื่อตอบสนองความต้องการในการมีไฟฟ้าใช้ของประชาชน ช่วยพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง รวมทั้งสร้างความเท่าเทียมและลดความเหลื่อมล้ำของคนในสังคม


เรื่องสุดท้าย "การปรับปรุงบัญชีโครงสร้างอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ" ซึ่ง คนร.ได้เห็นชอบในหลักการให้มีการปรับปรุงอัตราค่าจ้างตามบัญชีโครงสร้างอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจเนื่องจากเป็นการปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันรวมถึงเป็นการสร้างแรงจูงใจในการทำงานของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ โดยลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจปรับเงินขั้นต่ำจาก 5,710 บาท มาอยู่ที่ 9,040 บาทต่อเดือน

ทั้งนี้ สำหรับกรณีรัฐวิสาหกิจจะขยายเพดานอัตราค่าจ้างขั้นสูงขึ้นไปสูงกว่าอัตราขั้นสูงที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันจะต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเป็นรายกรณีไปรวมทั้งการขยายเพดานอัตราค่าจ้างขั้นสูงจะต้องสอดคล้องกับขนาดภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบของรัฐวิสาหกิจที่มีความแตกต่างกันตามความเหมาะสม ตลอดจนความสามารถในการรองรับภาระค่าใช้จ่ายบุคลากรที่เพิ่มขึ้นของรัฐวิสาหกิจด้วย



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1422262902

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.