Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 กุมภาพันธ์ 2558 (บทความ) อีก 2 ปี จีนจะเป็นมหาอำนาจด้าน"หุ่นยนต์" // IFR ระบุว่า ปัจจุบัน จีนมีการใช้งานหุ่นยนต์ในอัตราส่วน 30 ตัวต่อแรงงาน 10,000 คน ซึ่งยังถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับเกาหลีใต้ (437 ตัว) ญี่ปุ่น (323 ตัว) เยอรมนี (282 ตัว) และสหรัฐอเมริกา (152 ตัว)

ประเด็นหลัก


  ข้อมูลดังกล่าวได้รับการเปิดเผยโดย The International Federation of Robotics (IFR) ที่ระบุว่า ปัจจุบัน จีนมีการใช้งานหุ่นยนต์ในอัตราส่วน 30 ตัวต่อแรงงาน 10,000 คน ซึ่งยังถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับเกาหลีใต้ (437 ตัว) ญี่ปุ่น (323 ตัว) เยอรมนี (282 ตัว) และสหรัฐอเมริกา (152 ตัว) แต่การที่มีบริษัทผลิตรถยนต์จำนวนมากมาตั้งโรงงานผลิตในจีนอันเนื่องมาจากค่าแรงที่ถูกมากจะทำให้การใช้งานหุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรมของจีนเพิ่มขึ้นเป็น 428,000 ตัวภายในปี ค.ศ. 2017


_____________________________________________________











อีก 2 ปี จีนจะเป็นมหาอำนาจด้าน"หุ่นยนต์"


        จีนเตรียมขึ้นแท่นมหาอำนาจด้านหุ่นยนต์ในภาคการผลิต โดยคาดว่าในปี ค.ศ. 2017 จีนจะมีการใช้งานหุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรมมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์และการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
     
       ข้อมูลดังกล่าวได้รับการเปิดเผยโดย The International Federation of Robotics (IFR) ที่ระบุว่า ปัจจุบัน จีนมีการใช้งานหุ่นยนต์ในอัตราส่วน 30 ตัวต่อแรงงาน 10,000 คน ซึ่งยังถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับเกาหลีใต้ (437 ตัว) ญี่ปุ่น (323 ตัว) เยอรมนี (282 ตัว) และสหรัฐอเมริกา (152 ตัว) แต่การที่มีบริษัทผลิตรถยนต์จำนวนมากมาตั้งโรงงานผลิตในจีนอันเนื่องมาจากค่าแรงที่ถูกมากจะทำให้การใช้งานหุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรมของจีนเพิ่มขึ้นเป็น 428,000 ตัวภายในปี ค.ศ. 2017
     
       "บริษัทที่มาลงทุนจะถูกกดดันให้ใช้แรงงานหุ่นยนต์มากขึ้น เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพและคุณภาพ" Gudrun Litzenberger เลขาธิการของ IFR กล่าว
     
       "ปัจจุบัน การใช้งานหุ่นยนต์ยังอยู่ในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหลัก แต่ในอีกสองถึงสามปีข้างหน้า การใช้หุ่นยนต์จะขยายไปสู่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้"
     
       ส่วนผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการขยายตัวของตลาดหุ่นยนต์ในจีนก็ไม่ใช่ใคร ประเทศเพื่อนบ้านอย่างญี่ปุ่นนั่นเอง โดยญี่ปุ่นได้ส่วนแบ่งจากตลาดนี้ค่อนข้างสูง ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่รองลงมาคือ บริษัทสัญชาติจีนเองอีกราว 25 เปอร์เซ็นต์ของตลาด และส่วนที่เหลือก็คือหุ่นยนต์จากสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา
     
       ปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์ต่างชาติมาตั้งฐานการผลิตในจีนอยู่ 4 แห่งได้แก่ ABB จากสวิสเซอร์แลนด์ Kuka จากเยอรมนี Yaskawa และ Fanuc จากญี่ปุ่น และคาดว่าจะมีอีกหลายบริษัทตามมาในอนาคตอันใกล้
     
       นอกจากนี้ โรงงาน Foxconn อันอื้อฉาวจากกรณีการใช้แรงงานคนจีนผลิตไอโฟนและไอแพดจนมีผู้ล้มป่วยจากการสัมผัสสารพิษเองก็มีการพัฒนาหุ่นยนต์ Foxbot ขึ้นมาแล้วด้วยเช่นกัน โดยทางโรงงานมีทั้งหุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นใช้เอง ควบคู่กับการซื้อหุ่นจากซัพพลายเออร์รายอื่นมาด้วย



http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000016229

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.