Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 เมษายน 2558 การเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซส่งผลให้บุคลากร และระบบขนส่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของค้าปลีกขนาดใหญ่ และเอสเอ็มอีที่จะเข้ามาทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นจึงเป็นโอกาสของบริษัททำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 3 เท่าตัวเมื่อเทียบกับ 6 เดือนก่อนหน้านี้

ประเด็นหลัก




จากการที่ธุรกิจเข้าสู่อีคอมเมิร์ซมากขึ้นทำให้การนำกลยุทธ์ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งมาใช้เพิ่มยอดขายได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นด้วยโดยเฉพาะรูปแบบ"รีทาร์เก็ตติ้ง"หรือการยิงโฆษณาออนไลน์ตามพฤติกรรมของผู้ใช้แต่ละคน เพราะสามารถปิดการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหนือกว่าการสร้างโฆษณาในลักษณะแบนเนอร์ โดยบริษัทสามารถเพิ่มจำนวนผู้ซื้อให้กับร้านค้าออนไลน์ที่รับผิดชอบการตลาดให้ถึง 600% เมื่อเทียบกับ 2556 และประหยัดงบประมาณการทำตลาด 84% ที่สำคัญยังทำให้รายได้ของร้านค้าที่รับผิดชอบด้านการตลาดให้เพิ่มขึ้นถึง 800%

โดยบริษัทเป็นพาร์ตเนอร์กับ "คริทิโอ"ผู้ให้บริการด้านรีทาร์เก็ตติ้งระดับโลกทำให้มีอาวุธในการช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สร้างยอดขายผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซได้ดีขึ้น นอกจากบริการเสิร์ชมาร์เก็ตติ้ง และการทำโฆษณาในรูปแบบอื่น ส่วนปัจจัยที่ทำให้รีทาร์เก็ตติ้งเป็นเครื่องมือสำคัญคือ สามารถสร้างโฆษณาสินค้าที่ตรงกับความชอบของผู้บริโภคแต่ละคนได้ และไปแสดงในเว็บไซต์หลัก ๆ ผู้ค้าอีคอมเมิร์ซแต่ละรายซื้อพื้นที่ไว้ เนื่องจากการเข้ามาซื้อสินค้าของผู้ใช้จะมี 80-90% ที่ไม่ตัดสินใจซื้อในทันที

"การเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซส่งผลให้บุคลากร และระบบขนส่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของค้าปลีกขนาดใหญ่ และเอสเอ็มอีที่จะเข้ามาทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นจึงเป็นโอกาสของบริษัททำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 3 เท่าตัวเมื่อเทียบกับ 6 เดือนก่อนหน้านี้ ทั้งจากตลาดในประเทศไทย และภูมิภาคอาเซียนที่เติบโตในอัตราที่สูงมาก มีไทย และอินโดนีเซียเป็นแหล่งรายได้หลัก ถัดมาเป็นฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ แบ่งเป็นรายได้จากบริการขนส่งสินค้า 70% ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง 20% และบริการด้านเทคโนโลยี 10% เช่น ออกแบบเว็บไซต์"

_____________________________________________________











"เอ คอมเมิร์ซ" โกยรายได้3เท่า อานิสงส์โกออนไลน์อาเซียน



"เอ คอมเมิร์ซ" ดี๊ด๊าธุรกิจโกออนไลน์โตก้าวกระโดด "ต่างชาติ-ค้าปลีกยักษ์" โดดลงสนามคึกคัก ปลุก "ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง-โลจิสติกส์" บูม ดัน "รีทาร์เก็ตติ้ง" ขึ้นแท่นฮอตฮิต ชูบริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรตอบโจทย์ลูกค้าทั้งไทยและอาเซียน โกยรายได้โต 3 เท่าภายใน 6 เดือน ทั้งเผยผู้บริโภคไทยนิยม Cash on Delivery ตอกย้ำความสำคัญของระบบโลจิสติกส์


นายเชจิ โฮ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท เอ คอมเมิร์ซ จำกัด ผู้ให้บริการโซลูชั่นอีคอมเมิร์ซครบวงจร เปิดเผยว่า มูลค่าการซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ (อีคอมเมิร์ซ) ในไทยเติบโตรวดเร็ว คล้ายกับในจีนเมื่อปี 2551 เมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียน ไทยเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด แม้จำนวนประชากรจะน้อยกว่าอินโดนีเซียที่เริ่มใช้อีคอมเมิร์ซแล้วก็ตาม

"ความเชื่อมั่นในการซื้อสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้นมากทำให้มีบริษัทจากต่างชาติและห้างสรรพสินค้าท้องถิ่นเข้ามาเป็นผู้เล่นมากขึ้นหลังจากที่ปล่อยให้ลาซาด้าที่เข้ามาเป็นรายแรกๆ กินมาร์เก็ตแชร์ไปพอสมควร เมื่อมีผู้เล่นมากขึ้นทำให้การซื้อขายโตขึ้นอัตโนมัติ เรียกว่าเป็นปัจจัยหลักในการเติบโตของมูลค่าอีคอมเมิร์ซปีนี้ โดยมูลค่าการซื้อขายเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคจะมาจาก Cash on De-livery (จ่ายเงินเมื่อได้รับสินค้า) ถึง 70% ถ้าไม่มีใครพัฒนาช่องทางนี้ออกมา การเติบโตของอีคอมเมิร์ซไทยอาจไม่มากขนาดนี้"

จากการที่ธุรกิจเข้าสู่อีคอมเมิร์ซมากขึ้นทำให้การนำกลยุทธ์ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งมาใช้เพิ่มยอดขายได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นด้วยโดยเฉพาะรูปแบบ"รีทาร์เก็ตติ้ง"หรือการยิงโฆษณาออนไลน์ตามพฤติกรรมของผู้ใช้แต่ละคน เพราะสามารถปิดการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหนือกว่าการสร้างโฆษณาในลักษณะแบนเนอร์ โดยบริษัทสามารถเพิ่มจำนวนผู้ซื้อให้กับร้านค้าออนไลน์ที่รับผิดชอบการตลาดให้ถึง 600% เมื่อเทียบกับ 2556 และประหยัดงบประมาณการทำตลาด 84% ที่สำคัญยังทำให้รายได้ของร้านค้าที่รับผิดชอบด้านการตลาดให้เพิ่มขึ้นถึง 800%

โดยบริษัทเป็นพาร์ตเนอร์กับ "คริทิโอ"ผู้ให้บริการด้านรีทาร์เก็ตติ้งระดับโลกทำให้มีอาวุธในการช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สร้างยอดขายผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซได้ดีขึ้น นอกจากบริการเสิร์ชมาร์เก็ตติ้ง และการทำโฆษณาในรูปแบบอื่น ส่วนปัจจัยที่ทำให้รีทาร์เก็ตติ้งเป็นเครื่องมือสำคัญคือ สามารถสร้างโฆษณาสินค้าที่ตรงกับความชอบของผู้บริโภคแต่ละคนได้ และไปแสดงในเว็บไซต์หลัก ๆ ผู้ค้าอีคอมเมิร์ซแต่ละรายซื้อพื้นที่ไว้ เนื่องจากการเข้ามาซื้อสินค้าของผู้ใช้จะมี 80-90% ที่ไม่ตัดสินใจซื้อในทันที

"การเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซส่งผลให้บุคลากร และระบบขนส่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของค้าปลีกขนาดใหญ่ และเอสเอ็มอีที่จะเข้ามาทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นจึงเป็นโอกาสของบริษัททำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 3 เท่าตัวเมื่อเทียบกับ 6 เดือนก่อนหน้านี้ ทั้งจากตลาดในประเทศไทย และภูมิภาคอาเซียนที่เติบโตในอัตราที่สูงมาก มีไทย และอินโดนีเซียเป็นแหล่งรายได้หลัก ถัดมาเป็นฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ แบ่งเป็นรายได้จากบริการขนส่งสินค้า 70% ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง 20% และบริการด้านเทคโนโลยี 10% เช่น ออกแบบเว็บไซต์"

ทั้งนี้ บริษัทเริ่มให้บริการในปี 2556 เพื่อปักธงเป็นผู้ให้บริการระบบอีคอมเมิร์ซเต็มรูปแบบในอาเซียนเน้นไปที่ระบบโลจิสติกส์ เพราะอีคอมเมิร์ซเริ่มโตในภูมิภาคนี้ แต่ยังไม่มีใครเข้ามาทำตรงนี้มากนัก และปีนี้จะขยายทีมงานเพิ่มเพื่อรองรับดีมานด์ จากปัจจุบัน 4 ประเทศ มีพนักงาน 400 คน ส่วนใหญ่เป็นพนักงานส่งสินค้า โดยในประเทศไทย มีรถบรรทุก และมอเตอร์ไซค์ อย่างละ 75 คัน พร้อมโกดังสินค้าขนาดใหญ่ ซึ่งสินค้าที่ขายเยอะผ่านช่องทางออนไลน์ในเอเชียเป็นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์

สำหรับลูกค้าของบริษัททั่วภูมิภาคมีมากกว่า10 รายเช่น ในประเทศไทย ได้แก่ เอไอเอส, ลาซาด้า และเอ็นโซโก รับผิดชอบเรื่องการขนส่ง และการตลาดออนไลน์ให้ รวมถึงเป็นพาร์ตเนอร์กับแอปพลิเคชั่นไลน์ที่เข้าไปรับผิดชอบในการหาสินค้า, ส่ง และรับชำระเงินให้กับ Line Hot Deal และ Hot Deal : Living เป็นต้น


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1428553852

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.