Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 เมษายน 2558 TOT ชี้แจงว่า คลื่นความถี่ 2300 MHz ที่จะนำไปใช้ในพื้นที่ห่างไกลในเบื้องต้นจะขอทดลองใช้ความถี่ในขนาด 20 MHz จากขนาดคลื่นความถี่ทั้งหมด 64 MHz ซึ่งทีโอทีจำเป็นต้องใช้คลื่นดังกล่าว

ประเด็นหลัก


นายวุฒิดนัย ฐิตะกสิกร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริการสังคมโดยทั่วถึง บริษัท ทีโอที เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนที่จะนำคลื่นความถี่ในย่าน 2300 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) มาใช้ในการทำโครงการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐาน โดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO) หรือโครงการยูโซ เพื่อให้บริการบนเทคโนโลยีแอลทีอี (LTE) ในพื้นที่ห่างไกล โดยจะเสนอแผนการนำคลื่นความถี่ในย่าน 2300 MHz ต่อสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ภายใน 3 เดือนข้างหน้า

นายวุฒิดนัย ชี้แจงว่า คลื่นความถี่ 2300 MHz ที่จะนำไปใช้ในพื้นที่ห่างไกลในเบื้องต้นจะขอทดลองใช้ความถี่ในขนาด 20 MHz จากขนาดคลื่นความถี่ทั้งหมด 64 MHz ซึ่งทีโอทีจำเป็นต้องใช้คลื่นดังกล่าว เนื่องจากในพื้นที่ห่างไกลของประเทศอาจไม่มีแรงจูงใจให้ภาคเอกชนเข้าไปลงทุนในการให้บริการดังกล่าว


_____________________________________________________











ไม่คืนคลื่น2300MHz ทีโอทียื้อใช้ลงทุน "ยูโซ"

ทีโอทียื้อคืนคลื่น 2300 MHz นำมาพัฒนาในโครงการยูโซในพื้นที่ห่างไกล ถก กสทช.

ไม่คืนคลื่น2300MHz ทีโอทียื้อใช้ลงทุน

นายวุฒิดนัย ฐิตะกสิกร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริการสังคมโดยทั่วถึง บริษัท ทีโอที เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนที่จะนำคลื่นความถี่ในย่าน 2300 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) มาใช้ในการทำโครงการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐาน โดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO) หรือโครงการยูโซ เพื่อให้บริการบนเทคโนโลยีแอลทีอี (LTE) ในพื้นที่ห่างไกล โดยจะเสนอแผนการนำคลื่นความถี่ในย่าน 2300 MHz ต่อสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ภายใน 3 เดือนข้างหน้า

นายวุฒิดนัย ชี้แจงว่า คลื่นความถี่ 2300 MHz ที่จะนำไปใช้ในพื้นที่ห่างไกลในเบื้องต้นจะขอทดลองใช้ความถี่ในขนาด 20 MHz จากขนาดคลื่นความถี่ทั้งหมด 64 MHz ซึ่งทีโอทีจำเป็นต้องใช้คลื่นดังกล่าว เนื่องจากในพื้นที่ห่างไกลของประเทศอาจไม่มีแรงจูงใจให้ภาคเอกชนเข้าไปลงทุนในการให้บริการดังกล่าว

สำหรับการพัฒนาโครงการ USO นั้น บริษัท ทีโอที ได้เป็น ผู้ชนะประมูลการพัฒนาโครงการดังกล่าวมาจาก กสทช.ตั้งแต่ปี 2557 โดยตามขั้นตอน กสทช.จะเสนอโครงการดังกล่าวไปที่ คณะอนุกรรมการเตรียมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (บอร์ดดีอี) หลังจากนั้นเมื่อบอร์ดดีอี อนุมัติจะเสนอเรื่องต่อไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) และเมื่อ ครม.มีมติอนุมัติ จะเสนอเรื่องให้คณะกรรมการ กสทช.ดำเนินการอีกครั้ง

ขั้นตอนต่อมา เมื่อคณะกรรมการ กสทช.อนุมัติภายใน 3 เดือนข้างหน้า หรือภายในเดือน มิ.ย.นี้ กสทช.จะมีการร่วมลงนามกับบริษัท ทีโอที ที่เป็นผู้พัฒนาโครงการดังกล่าว ซึ่งทีโอทีจะเสนอให้มีการปรับแก้ไขเงื่อนไขประกวดราคา (ทีโออาร์) ที่จะมีการให้ใช้คลื่นความถี่ 2300 MHz เพื่อใช้เทคโนโลยีระบบแอลทีอี ที่รองรับได้ทั้งบริการด้านเสียง (วอยซ์) และบริการด้านสื่อสารข้อมูล (ดาต้า) จากเดิมเป็นเทคโนโลยีระบบทีดีเอ็มเอ (TDMA) ที่รองรับการใช้งานเฉพาะวอยซ์

ทั้งนี้ โครงการยูโซ ระยะที่ 3 (เริ่มปี 2555-2559) ที่บริษัท ทีโอที ดำเนินการจะนำร่องในพื้นที่จ.หนองคาย และพิษณุโลก วงเงินรวม 429 ล้านบาท โดยจะเริ่มลงทุนให้บริการโทรศัพท์สาธารณะในเวลา 6 เดือน และให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงใน 1 ปี




http://www.posttoday.com/ดิจิตอลไลฟ์/359837/ไม่คืนคลื่น2300MHz-ทีโอทียื้อใช้ลงทุน-ยูโซ

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.