Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 เมษายน 2558 TOT มีมติเลือกบริษัท ดีลอยซ์ จากประเทศอังกฤษ เป็นที่ปรึกษาวิเคราะห์หาพันธมิตรทางธุรกิจ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องสามารถประเมินมูลค่าสินทรัพย์ของทีโอทีได้อย่างแท้จริง

ประเด็นหลัก



นายชิต เหล่าวัฒนา กรรมการบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ดทีโอที เมื่อวันที่ 8 เมษายนที่ผ่านมา มีมติเลือกบริษัท ดีลอยซ์ จากประเทศอังกฤษ เป็นที่ปรึกษาวิเคราะห์หาพันธมิตรทางธุรกิจ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องสามารถประเมินมูลค่าสินทรัพย์ของทีโอทีได้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 3 ธุรกิจหลักของทีโอทีที่จะสามารถสร้างรายได้ให้มากที่สุด ได้แก่ ธุรกิจโทรศัพท์ กิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กองทุน กทปส.) และโครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสายเคเบิลใยแก้วนำแสง รวมถึงต้องมีความสามารถในการเจรจาเพื่อให้ได้ประโยชน์สำหรับทีโอทีมากที่สุด โดยมีบริษัทสนใจเสนอตัวเจรจาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจแล้วราว 5-6 ราย คาดว่าจะเจรจาสำเร็จภายใน 2-3 เดือน

นายชิตกล่าวว่า นอกจากนี้ ดีลอยซ์ต้องร่วมกับทีโอทีเจรจาข้อพิพาทกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ที่ชะลอการส่งมอบเสาโทรคมนาคมจำนวน 13,000 ต้น ให้ทีโอที ซึ่งไม่เป็นไปตามสัญญาสัมปทาน อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการนโยบายกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ได้แนะนำให้ใช้รูปแบบเดียวกับที่บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ที่ลงนามความร่วมมือใช้ทรัพย์สินด้านโทรคมนาคมร่วมกัน

_____________________________________________________











ทีโอทีจ้าง "ดีลอยซ์" เจรจาเอไอเอส จบข้อพิพาทชะลอมอบเสาโทรคมฯ


นายชิต เหล่าวัฒนา กรรมการบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ดทีโอที เมื่อวันที่ 8 เมษายนที่ผ่านมา มีมติเลือกบริษัท ดีลอยซ์ จากประเทศอังกฤษ เป็นที่ปรึกษาวิเคราะห์หาพันธมิตรทางธุรกิจ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องสามารถประเมินมูลค่าสินทรัพย์ของทีโอทีได้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 3 ธุรกิจหลักของทีโอทีที่จะสามารถสร้างรายได้ให้มากที่สุด ได้แก่ ธุรกิจโทรศัพท์ กิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กองทุน กทปส.) และโครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสายเคเบิลใยแก้วนำแสง รวมถึงต้องมีความสามารถในการเจรจาเพื่อให้ได้ประโยชน์สำหรับทีโอทีมากที่สุด โดยมีบริษัทสนใจเสนอตัวเจรจาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจแล้วราว 5-6 ราย คาดว่าจะเจรจาสำเร็จภายใน 2-3 เดือน

นายชิตกล่าวว่า นอกจากนี้ ดีลอยซ์ต้องร่วมกับทีโอทีเจรจาข้อพิพาทกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ที่ชะลอการส่งมอบเสาโทรคมนาคมจำนวน 13,000 ต้น ให้ทีโอที ซึ่งไม่เป็นไปตามสัญญาสัมปทาน อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการนโยบายกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ได้แนะนำให้ใช้รูปแบบเดียวกับที่บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ที่ลงนามความร่วมมือใช้ทรัพย์สินด้านโทรคมนาคมร่วมกัน

นายชิตกล่าวว่า บอร์ดทีโอทียังอนุมัติตั้งหน่วยงานเพื่อเดินหน้าโครงการกองทุน กทปส.ของ กสทช. ที่ทีโอทีชนะการประมูลตั้งแต่ปี 2557 ในการจัดบริการโทรศัพท์สาธารณะ และจัดบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงทั่วถึง วงเงิน 441 ล้านบาท นำร่อง 2 จังหวัด คือ พิษณุโลก 55 ตำบล และหนองคาย 24 ตำบล ภายใต้แผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (พ.ศ.2555-2559) ระยะที่ 3 โดยหน่วยงานที่ตั้งขึ้นจะมีทีมงานราว 50 คน




ที่มา : นสพ.มติชน



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1428648409

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.