Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 เมษายน 2558 วีเอ็มแวร์ สัดส่วนลูกค้า65% เป็นภาครัฐและองค์กรขนาดใหญ่ อีก 35% เป็นขนาดกลางถึงเล็ก โดยเป็นลูกค้าเอกชน 80% อีก 20% เป็นภาครัฐ

ประเด็นหลัก



ขณะที่สัดส่วนลูกค้า65% เป็นภาครัฐและองค์กรขนาดใหญ่ อีก 35% เป็นขนาดกลางถึงเล็ก โดยเป็นลูกค้าเอกชน 80% อีก 20% เป็นภาครัฐ ซึ่งสัดส่วนลูกค้าและรายได้ของบริษัทจะปรับเปลี่ยนตามทิศทางตลาดในแต่ละปี

นายภาณุรัตน์ ธัญญสิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายสารสนเทศ โรงพยาบาลสมิติเวช กล่าวว่า ธุรกิจเฮลท์แคร์นำไอทีไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น สมิติเวชเป็นโรงพยาบาลแรกๆ ในไทยที่นำเทคโนโลยีเซิร์ฟเวอร์เวอร์ชวลไลเซชั่น และเดสก์ทอปเวอร์ชวลไลเซชั่นมาใช้ เพื่อรองรับการขยายตัวขององค์กร ซึ่งทำให้สามารถลดค่าไฟที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์และเซิร์ฟเวอร์ได้ถึง 90%

"เมื่อเราเปลี่ยนมาทำเดสก์ทอปเวอร์ชวลไลเซชั่น ค่าไฟเหลือเพียง 30 วัตต์จาก 390 วัตต์/เครื่อง ทั้งยังบริหารจัดการคอมพิวเตอร์ในองค์กรได้ผ่านจากศูนย์กลาง ไม่ต้องส่งพนักงานไอทีลงไปหน้างาน ลดค่าบำรุงรักษา และแชร์ใช้ทรัพยากรกันได้"

แต่ละปีโรงพยาบาลสมิติเวชจะใช้งบฯลงทุนด้านไอทีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ราว 1.5% ของรายได้ เพราะระบบสารสนเทศจำเป็นมาก จึงต้องให้ความสำคัญควบคู่ไปกับการขยายธุรกิจ ดังนั้นแม้เศรษฐกิจจะตกก็ไม่เคยตัดงบฯลงทุนในส่วนนี้ลง ปัจจุบันมีฝ่ายไอที 50 คน ดูแลระบบโครงสร้างพื้นฐาน แอปพลิเคชั่นและโปรแกรมมิ่ง ซึ่งในเร็ว ๆ นี้จะลงทุนศูนย์สำรองข้อมูลที่สาขาศรีนครินทร์ และไพรเวตคลาวด์ เน็ตเวิร์กเวอร์ชวลไลเซชั่น


_____________________________________________________











วีเอ็มแวร์ ปรับกลยุทธ์รับศก.ฝืด เจาะเฮลท์แคร์ ชูธงลดค่าใช้จ่าย



"วีเอ็มแวร์" ปรับธุรกิจรับมือเศรษฐกิจฝืดชูโซลูชั่นครบวงจรเจาะกลุ่มเฮลท์แคร์ระหว่างรอเมกะโปรเจ็กต์ภาครัฐกระตุ้นครึ่งปีหลัง ด้านสมิติเวชย้ำไอทีช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 90% ปันงบฯลงทุน 1.5% ของรายได้รวมไม่เคยตัดแม้เศรษฐกิจตก


นายชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน บริษัท วีเอ็มแวร์ จำกัด เปิดเผยว่า สัญญาณเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ยังฝืดเคือง มีเอกชนบางส่วนชะลอการลงทุนทางธุรกิจหรือจำกัดงบฯการลงทุนอยู่ ขณะที่กลุ่มภาครัฐยังชะลอการลงทุนต่อเนื่อง โดยทุกฝ่ายต่างรอความชัดเจนการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์กระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

"เท่าที่เห็นตอนนี้ยังเป็นแผนในระดับนโยบายทุกฝ่ายจึงรอความชัดเจนในการปฏิบัติอย่างโครงการสร้างดาต้าเซ็นเตอร์แห่งชาติคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะได้เห็นความชัดเจนและเม็ดเงินทุนด้านไอทีจากภาครัฐที่มีมากขึ้น"

เพื่อเป็นการปรับตัวทางธุรกิจวีเอ็มแวร์จึงได้เพิ่มน้ำหนักการทำตลาดในกลุ่มธุรกิจใหม่ๆที่เพิ่งเริ่มนำไอทีไปใช้ในการบริหารงาน อาทิ กลุ่มประกันภัย การศึกษา โรงพยาบาลและสุขภาพ ซึ่งในช่วง 1-2 ปีนี้มีการปรับตัวทางธุรกิจมาก และมีความต้องการใช้งานเวอร์ชวลไลซ์ เดสก์ทอป และโมบิลิตี้ดีไวซ์ในการทำงานมากขึ้น จากที่บริษัทมีลูกค้าหลักในกลุ่มสถาบันการเงินและโทรคมนาคม

"เน้นเข้าไปเสนอเป็นโซลูชั่นที่จะตอบโจทย์การทำงานลูกค้าได้อย่างครบวงจรพร้อมเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่เน็ตเวิร์กเวอร์ชวลไลเซชั่นที่วีเอ็มแวร์เริ่มนำมาทำตลาดในไทยจริงจังเมื่อกลางปีที่ผ่านมา"

ขณะที่สัดส่วนลูกค้า65% เป็นภาครัฐและองค์กรขนาดใหญ่ อีก 35% เป็นขนาดกลางถึงเล็ก โดยเป็นลูกค้าเอกชน 80% อีก 20% เป็นภาครัฐ ซึ่งสัดส่วนลูกค้าและรายได้ของบริษัทจะปรับเปลี่ยนตามทิศทางตลาดในแต่ละปี

นายภาณุรัตน์ ธัญญสิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายสารสนเทศ โรงพยาบาลสมิติเวช กล่าวว่า ธุรกิจเฮลท์แคร์นำไอทีไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น สมิติเวชเป็นโรงพยาบาลแรกๆ ในไทยที่นำเทคโนโลยีเซิร์ฟเวอร์เวอร์ชวลไลเซชั่น และเดสก์ทอปเวอร์ชวลไลเซชั่นมาใช้ เพื่อรองรับการขยายตัวขององค์กร ซึ่งทำให้สามารถลดค่าไฟที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์และเซิร์ฟเวอร์ได้ถึง 90%

"เมื่อเราเปลี่ยนมาทำเดสก์ทอปเวอร์ชวลไลเซชั่น ค่าไฟเหลือเพียง 30 วัตต์จาก 390 วัตต์/เครื่อง ทั้งยังบริหารจัดการคอมพิวเตอร์ในองค์กรได้ผ่านจากศูนย์กลาง ไม่ต้องส่งพนักงานไอทีลงไปหน้างาน ลดค่าบำรุงรักษา และแชร์ใช้ทรัพยากรกันได้"

แต่ละปีโรงพยาบาลสมิติเวชจะใช้งบฯลงทุนด้านไอทีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ราว 1.5% ของรายได้ เพราะระบบสารสนเทศจำเป็นมาก จึงต้องให้ความสำคัญควบคู่ไปกับการขยายธุรกิจ ดังนั้นแม้เศรษฐกิจจะตกก็ไม่เคยตัดงบฯลงทุนในส่วนนี้ลง ปัจจุบันมีฝ่ายไอที 50 คน ดูแลระบบโครงสร้างพื้นฐาน แอปพลิเคชั่นและโปรแกรมมิ่ง ซึ่งในเร็ว ๆ นี้จะลงทุนศูนย์สำรองข้อมูลที่สาขาศรีนครินทร์ และไพรเวตคลาวด์ เน็ตเวิร์กเวอร์ชวลไลเซชั่น



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1428553950

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.